ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ดาวเคราะห์นอกระบบ

ดาวเคราะห์นอกระบบ (อังกฤษ: extrasolar planet หรือ exoplanet) คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ และอยู่ในระบบดาวเคราะห์อื่นที่ไม่ใช่ระบบสุริยะเดียวกันกับโลก นับถึงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2014 มีการตรวจค้นพบและยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบรวมทั้งสิ้นแล้วมากกว่า 1800 ดวง (1821 ดวง ในระบบดาวเคราะห์ 1135 แห่ง ในจำนวนนี้ 467 แห่งประกอบด้วยดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวง และถูกบรรจุไว้ในสารานุกรมดาวเคราะห์นอกระบบ โดยส่วนมากพบจากการตรวจวัดด้วยวิธีความเร็วแนวเล็งและกระบวนการทางอ้อมต่าง ๆ มากกว่าวิธีการถ่ายภาพโดยตรง ดาวเคราะห์นอกระบบส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์คล้ายกับดาวพฤหัสบดี ซึ่งน่าจะเป็นผลจากกระบวนวิธีในการตรวจจับนั่นเอง แต่ผลการตรวจจับในระยะหลังมีแนวโน้มจะพบดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเล็กลง ปัจจุบันมีการค้นพบดาวเคราะห์หินขนาดเบาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนดาวเคราะห์แก๊สยักษ์แล้ว

ดาวเคราะห์นอกระบบเริ่มเป็นหัวข้อตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักดาราศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบมีอยู่จริง แต่ไม่อาจทราบได้ว่ามันมีลักษณะเช่นไร หรือคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเพียงใด การตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1995 ด้วยวิธีตรวจวัดด้วยความเร็วแนวเล็ง ค้นพบดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่มีคาบการโคจร 4 วันอยู่รอบดาว 51 เพกาซี นับแต่นั้นก็ตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มมากขึ้น เมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 ก็มีการตรวจพบเพิ่มขึ้นทุกปีมากกว่าปีละ 15 ดวง และมีการตรวจพบเพิ่มขึ้นถึง 61 ดวงในปี ค.ศ. 2007 ประมาณการว่า อย่างน้อย 10% ของดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์จะต้องมีดาวเคราะห์บริวาร โดยสัดส่วนที่แท้จริงอาจสูงกว่านั้น การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า จะมีบางดวงที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหรือไม่

ขณะนี้ กลีเซอ 581 ดี ดาวเคราะห์ดวงที่สี่ของดาวแคระแดง กลีเซอ 581 (ห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง) ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดเท่าที่ค้นพบ มีโอกาสจะเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของมันในระยะวงโคจรที่เหมาะสม แม้ผลการตรวจวัดเบื้องต้นจะบ่งชี้ว่ามันอยู่นอก "เขตโกลดิล็อก" ก็ตาม แต่ผลสำรวจในภายหลังส่อว่ามันอาจอยู่ภายในเขตพอดีก็ได้

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้นิยาม "ดาวเคราะห์" ไว้ว่า ดาวเคราะห์ต้องโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ในปัจจุบันคำนิยามนี้จะใช้สำหรับดาวเคราะห์ภายในระบบสุริยะเท่านั้น มิได้ใช้นิยามนี้กับดาวเคราะห์นอกระบบ สำหรับคำนิยามของดาวเคราะห์นอกระบบ "ที่ใช้งานจริง" เริ่มกำหนดขึ้นราวปี ค.ศ. 2001 (แก้ไขล่าสุดในปี ค.ศ. 2003) โดยมีคำจำกัดความดังต่อไปนี้

มีรายงานจำนวนหนึ่งที่ศึกษาวัตถุลอยอิสระเหล่านี้ (ที่ไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงใดเลย) โดยเรียกพวกมันว่า "ดาวเคราะห์โรก" (rogue planet) หรือ "ดาวเคราะห์ระหว่างดวงดาว" (interstellar planet) บทความนี้จะไม่กล่าวถึงวัตถุประเภทนี้ เพราะถือว่ามิได้อยู่ภายใต้นิยามของ ดาวเคราะห์ แม้ว่ามันอาจเคยเป็นดาวเคราะห์ของระบบดาวใดมาก่อนแต่ถูกดีดตัวออกมาก็ตาม

แม้แนวคิดเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบจะไม่ได้รับการยืนยันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1988 แต่ก็เคยมีการคาดเดามาก่อนหน้านี้แล้วย้อนไปถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ว่า อาจมีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบ ๆ ดาวฤกษ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้าก็ได้ ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเก่าแก่นี้พบได้ในหนังสือเจเนอร์รัล สคลอเลียม ของไอแซก นิวตัน ในปี ค.ศ. 1713 ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า "ถ้าดาวฤกษ์เหล่านั้นต่างเป็นศูนย์กลางของสิ่งอื่น ๆ เหมือนเช่นระบบสุริยะ การก่อตัวอันมีลักษณะคล้ายคลึงกันเช่นนี้แสดงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอยู่ใต้กฎเกณฑ์อันเดียวกัน"

มีการอ้างว่าค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งการกล่าวอ้างช่วงแรก ๆ จำนวนหนึ่งมักอ้างถึงดาวคู่ 70 Ophiuchi ปี ค.ศ. 1855 กัปตัน ดับเบิลยู. เอส. เจค็อบ แห่งหอดูดาวมัทราส บริษัทอีสต์อินเดีย ได้รายงานการพบวงโคจรแปลกประหลาดที่ "มีความเป็นไปได้สูง" ที่จะเป็น "วัตถุลักษณะดาวเคราะห์" ในระบบนั้น ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 โทมัส เจ. เจ. ซี แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกกับหอดูดาวกองทัพเรือสหรัฐอเมริการะบุว่าวงโคจรแปลกประหลาดนั้นบ่งชี้ถึงวัตถุมืดอย่างหนึ่งในระบบของ 70 Ophiuchi โดยมีรอบการโคจรรอบดาวฤกษ์หนึ่งรอบประมาณ 36 ปี อย่างไรก็ดีไม่นานหลังจากนั้น ฟอเรสต์ เรย์ โมลตันก็ได้ตีพิมพ์บทความที่พิสูจน์ว่า ระบบแบบสามวัตถุที่มีค่าพารามิเตอร์วงโคจรเช่นนั้นเป็นระบบที่ไม่เสถียรอย่างที่สุด ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1960 ปีเตอร์ แวน เดอ คัมป์ แห่งวิทยาลัยสวาร์ทมอร์ได้เผยแพร่ข้อมูลอ้างถึงการค้นพบอย่างต่อเนื่องที่มีชื่อเสียงมาก ครั้งนี้เป็นการพบดาวเคราะห์ในระบบดาวเบอร์นาร์ด แต่นักดาราศาสตร์ในปัจจุบันถือว่าข้อมูลการค้นพบในอดีตเหล่านี้เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

ปี ค.ศ. 1991 แอนดรูว์ ลิน, เอ็ม เบลเลส และ เอส.แอล. ชีมาร์ อ้างว่าค้นพบดาวเคราะห์พัลซาร์ในวงโคจรรอบดาว PSR 1829-10 โดยใช้วิธีการประมวลความเปลี่ยนแปรเวลาของพัลซาร์ การกล่าวอ้างครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้น แต่ไม่นานหลังจากนั้นลินกับพวกก็เพิกถอนการค้นพบเสีย

การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่มีการเผยแพร่เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 โดยกลุ่มนักดาราศาสตร์ชาวแคนาดา ได้แก่ บรูซ แคมเบล, จี. เอ. เอช. วอล์กเกอร์ และ เอส. หยาง ผลจากการศึกษาเรื่องความเร็วแนวเล็งของดาวทำให้พบว่ามีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งโคจรอยู่รอบดาวแกมมาเซเฟย์ (ในกลุ่มดาวซีฟิอัส) พวกเขายังคงไม่แน่ใจที่จะรายงานการตรวจพบดาวเคราะห์ เพราะเป็นที่ร่ำลืออยู่ทั่วไปในแวดวงดาราศาสตร์มานานหลายปีแล้วเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทำนองนี้ การศึกษาในยุคนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มากเนื่องมาจากความสามารถของเครื่องมือวัด นอกจากนี้ยังมีความสับสนอีกว่าวัตถุที่สงสัยจะเป็นดาวเคราะห์บางทีอาจเป็นเพียงดาวแคระน้ำตาล ซึ่งมีมวลอยู่กึ่งกลางระหว่างดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ก็ได้

ในปีถัดมามีการค้นพบเพิ่มเติมที่ช่วยยืนยันการมีอยู่ของดาวเคราะห์รอบดาวแกมมาเซเฟย์ แม้ว่างานศึกษาต่อเนื่องในปี ค.ศ. 1992 จะทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมา ตราบจนกระทั่งปี ค.ศ. 2003 เทคนิคที่พัฒนาขึ้นจึงช่วยยืนยันได้ว่าดาวเคราะห์ที่สงสัยนั้นมีอยู่จริง

ช่วงต้นปี ค.ศ. 1992 นักดาราศาสตร์วิทยุ อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน และ เดล เฟรล ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์รอบพัลซาร์อีกแห่งหนึ่ง คือ PSR 1257+12 (กลุ่มดาวหญิงสาว) การค้นพบครั้งนี้ได้รับการยืนยันอย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นการตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบเป็นครั้งแรก เชื่อว่าดาวเคราะห์พัลซาร์เหล่านี้ก่อตัวขึ้นจากเศษซากซูเปอร์โนวาที่ผิดปกติอันเป็นกำเนิดของพัลซาร์แห่งนั้น ซึ่งอาจเป็นการก่อตัวดาวเคราะห์เป็นครั้งที่สอง หรืออาจเป็นแกนหินที่หลงเหลืออยู่จากดาวแก๊สยักษ์ที่รอดจากซูเปอร์โนวา แล้วจึงหมุนวนเข้ามาสู่วงโคจรดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1995 มิเชล เมเยอร์และดิดิเยร์ เควลอซ แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักแบบปกติเป็นครั้งแรก คือโคจรรอบดาว 51 เพกาซี (กลุ่มดาวม้าบิน) การค้นพบคราวนี้เกิดขึ้นที่หอดูดาว de Haute-Provence และนำไปสู่ยุคใหม่แห่งการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นโดยเฉพาะเทคนิคด้านสเปกโตรสโกปีที่มีความละเอียดสูง ทำให้มีการตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ความก้าวหน้ายังช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถตรวจสอบค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบโดยวิธีทางอ้อมได้โดยตรวจวัดแรงโน้มถ่วงที่กระทำเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ดวงแม่ นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์นอกระบบอีกจำนวนหนึ่งที่ตรวจพบโดยบังเอิญจากการเฝ้าสังเกตการแปรแสงสว่างปรากฏของดาวฤกษ์โดยมีดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าไป

จนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบแล้ว 1821 ดวง รวมถึงจำนวนดาวเคราะห์ที่เคยถูกปฏิเสธเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 แต่ได้รับการยืนยันในภายหลัง ระบบดาวแห่งแรกที่ค้นพบว่ามีดาวเคราะห์มากกว่า 1 ดวงได้แก่ อัปซีลอนแอนดรอเมดา โดยที่ได้พบระบบดาวกว่า 467 แห่งแล้วที่มีดาวเคราะห์ในระบบจำนวนหลายดวง ในบรรดาดาวเคราะห์นอกระบบทั้งหมดมีดาวเคราะห์ที่เป็นดาวพัลซาร์ 4 ดวงโคจรรอบพัลซาร์อื่น 2 ดวงที่แยกจากกัน การสังเกตการณ์แผ่นจานฝุ่นระหว่างดาวในช่วงคลื่นอินฟราเรดบ่งชี้อีกว่ามีดาวหางอีกหลายล้านดวงอยู่ในระบบดาวฤกษ์มากมายหลายแห่ง

โดยทั่วไปวิธีการตั้งชื่อของดาวเคราะห์นอกระบบจะคล้ายคลึงกับการตั้งชื่อระบบดาวคู่ แตกต่างกันที่ดาวเคราะห์จะใช้ตัวอักษรตัวเล็กในภาษาอังกฤษ ขณะที่ดาวฤกษ์จะใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ ตัวอักษรตัวเล็กจะถูกเขียนต่อท้ายชื่อดาว โดยเริ่มต้นที่ตัวอักษร "บี" สำหรับดาวเคราะห์ดวงแรกที่ค้นพบในระบบนั้น ๆ เช่น 51 Pegasi b ดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบดวงถัดไปจะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวถัดไป เช่น 51 Pegasi c และ 51 Pagesi d ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบเดียวกันพร้อมกันสองดวงในเวลาเดียวกัน จะให้ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ในระบบดังกล่าวมีอักษรลำดับก่อนหน้า ส่วนดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ห่างออกไปจะมีอักษรลำดับถัดไป อย่างไรก็ดีมีบางกรณีเหมือนกันที่มีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงเล็กกว่าอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากกว่าดาวเคราะห์ดวงที่ค้นพบแล้ว เช่นในระบบ Gliese 876 มีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงล่าสุดชื่อ Gliese 876 d ทั้ง ๆ ที่ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่าดาวเคราะห์ Gilese 876 b และ Gilese 876 c ซึ่งค้นพบมาก่อน ดาวเคราะห์ 55 Cancri f เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในปัจจุบันที่ใช้อักษร f ในชื่อ (หมายถึงมีดาวเคราะห์จำนวนห้าดวงถูกค้นพบในระบบ 55 Cancri) ถือเป็นจำนวนดาวเคราะห์สูงสุดในระบบ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีดาวเคราะห์ที่ใช้อักษรถัดจาก f ไป ประโยชน์ของการใช้อักษรตัวเล็กในการระบุชื่อดาวเคราะห์ปรากฏให้เห็นในกรณีเฉพาะจำนวนหนึ่งเมื่อดาวเคราะห์นั้น ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงที่สองของระบบ เช่น ดาวเคราะห์ 16 Cygni Bb ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ 16 Cygni B เป็นต้น

มีระบบดาวเคราะห์เพียงแค่สองระบบที่มีการตั้งชื่อดาวเคราะห์แบบไม่ปกติ ก่อนการค้นพบดาวเคราะห์ 51 Pegasi b ในปี 1995 ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์พัลซาร์สองดวง (PSR B1257+12 B และ PSR 1257+12 C) จากระยะเวลาที่พัลซาร์ถูกปล่อยออกมาจากซากดาว เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีวิธีการตั้งชื่อดาวเคราะห์อย่างเป็นทางการ ดาวเคราะห์ทั้งสองจึงถูกเรียกว่า "B" และ "C" (คล้ายกับการตั้งชื่อดาวเคราะห์ในปัจจุบัน) การที่เลือกอักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษมาใช้ในการตั้งชื่อมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากวิธีการตั้งชื่อให้แก่ดาวคู่โดยมาก ต่อมาเมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สาม จึงได้รับการตั้งชื่อเป็น PSR B1257+12 A (เพราะดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากกว่าสองดวงที่ถูกค้นพบก่อนหน้า) มีบางครั้งที่การตั้งชื่อใช้อักษรโรมัน (ส่วนมากพบในนิยายวิทยาศาสตร์) ในการเรียงลำดับดาวเคราะห์จากดาวฤกษ์ (มาจากระบบการตั้งชื่อดวงจันทร์แบบเก่า เช่น จูปิเตอร์ IV หมายถึงดวงจันทร์คัลลิสโต) แต่จากเหตุผลดังอธิบายก่อนหน้านี้ วิธีการนี้จึงไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ (ยกตัวอย่างเช่นระบบสุริยะของเรา ดาวพฤหัสบดีย่อมเป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบก่อนดวงอื่น และดาวเสาร์เป็นลำดับถัดมา ส่วนพวกดาวเคราะห์ใกล้โลกจะไม่อาจถูกตรวจพบได้โดยง่าย ดังนั้นดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ย่อมถูกตั้งชื่อว่า Sol I และ Sol II ตามแบบวิธีการตั้งชื่อในนิยายวิทยาศาสตร์ แต่มันจะต้องถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Sol V และ Sol VI หากมีการค้นพบดาวเคราะห์ชั้นในอีก 4 ดวงในภายหลัง แต่ถ้าหากใช้วิธีการตั้งชื่ออย่างระบบปัจจุบัน แม้จะมีการค้นพบดาวเคราะห์ชั้นในในภายหลัง ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ก็ยังคงได้ชื่อว่า Sol b และ Sol c โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ)

ถ้าดาวเคราะห์ไม่ได้โคจรอยู่ในวงโคจรรอบระบบดาวคู่ จะนำตัวอักษรของชื่อดาวฤกษ์นั้นเพิ่มเข้าในชื่อของดาวเคราะห์ด้วย ถ้าดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในระบบ แล้วมีการค้นพบดาวฤกษ์ดวงที่สองภายหลังดาวเคราะห์ หรือดาวฤกษ์ดวงที่สองอยู่ไกลจากดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ดวงแรกค่อนข้างมาก จะไม่มีการนำชื่อดาวนั้นมาเกี่ยวข้อง เช่น ดาวเคราะห์ Tau Bootis b โคจรรอบระบบดาวคู่ แต่ดาวฤกษ์ดวงที่สองถูกค้นพบภายหลังดาวเคราะห์และอยู่ค่อนข้างไกลจากดาวฤกษ์ดวงแรก จึงไม่ค่อยใช้ชื่อดาวเคราะห์เป็น "Tau Bo?tis Ab" เท่าใดนัก อย่างไรก็ดี (เช่นในกรณีของ 16 Cygni Bb และ 83 Leonis Bb) ถ้าดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงที่สอง จะนำชื่อของดาวดวงนั้นมาใช้ด้วย ดาวเคราะห์บางดวงมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่อาจเทียบได้กับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ที่น่าสนใจได้แก่ Osiris (HD 209458 b) , Bellerophon (51 Pegasi b) และ Methuselah (PSR B1620-26 b) ปัจจุบันนี้ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลยังไม่มีแผนจะกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อดาวเคราะห์นอกระบบอย่างเป็นทางการ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเหลือวิสัยและไม่ได้ผล

ดาวเคราะห์นอกระบบจะเป็นดาวที่จางมาก ๆ เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ดวงแม่ของมัน ในระดับความยาวคลื่นที่ตามองเห็นดาวเคราะห์เหล่านี้จะส่องสว่างน้อยกว่าดาวแม่นับล้านเท่า นอกจากความส่องสว่างที่น้อยมาก ๆ แล้ว แสงสว่างจากดาวฤกษ์เองก็บดบังดาวเคราะห์ไปเสียด้วย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว กล้องโทรทรรศน์ในปัจจุบันจึงสามารถจับภาพโดยตรงของดาวเคราะห์นอกระบบได้เฉพาะดวงที่มีสภาวะพิเศษเท่านั้น คือในกรณีที่ดาวเคราะห์นั้นมีขนาดใหญ่มาก ๆ (ใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี) และอยู่ค่อนข้างห่างจากดาวฤกษ์ดวงแม่ รวมถึงมีความร้อนเพียงพอที่จะแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา

ถ้าไม่นับดาวเคราะห์นอกระบบที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน ดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมากจะถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก อย่างไรก็ตามวิธีการหลายวิธีอาจให้ผลที่ดีกว่าเมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ตั้งอยู่เหนือชั้นบรรยากาศ COROT (ปล่อยขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2006) และ Kepler (ปล่อยขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2009) เป็นเพียงสองโครงการในปัจจุบันที่มีภารกิจในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเพียงไม่กี่ดวง แต่ก็ยังมีโครงการอีกหลายโครงการที่มีภารกิจในค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ เช่น New Worlds Mission. Darwin, Space Interferometry Mission, Terrestrial Planet Finder และ PEGASE

ดาวเคราะห์นอกระบบที่ถูกค้นพบในปัจจุบันส่วนมากจะโคจรรอบดาวฤกษ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับดวงอาทิตย์ของเรา คือเป็นดาวฤกษ์ในแถบกระบวนหลักซึ่งมีประเภทสเปกตรัม F, G หรือ K สาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากโปรแกรมการค้นหาที่มุ่งศึกษาดาวฤกษ์ในประเภทนี้ ถึงอย่างไรก็ตามข้อมูลทางสถิติก็บ่งชี้ว่า โอกาสจะพบดาวเคราะห์ในระบบของดาวฤกษ์มวลน้อย (ดาวแคระแดง ซึ่งมีประเภทสเปกตรัม M) ก็ค่อนข้างน้อย หรือมิฉะนั้นตัวดาวเคราะห์เองก็อาจมีมวลต่ำมากทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้น การสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อไม่นานมานี้ได้ค้นพบว่าดาวฤกษ์ในประเภทสเปกตรัม O ซึ่งมีความร้อนกว่าดวงอาทิตย์ของเรา จะมีปรากฏการณ์ การระเหยด้วยแสง ซึ่งส่งผลในทางขัดขวางการก่อตัวของดาวเคราะห์

ดาวฤกษ์ส่วนมากจะประกอบด้วยธาตุเบา อาทิ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม โดยอาจมีส่วนประกอบธาตุหนักอย่างเหล็กในสัดส่วนเล็กน้อย สัดส่วนนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงค่าความเป็นโลหะของดาว ดาวฤกษ์ที่มีค่าความเป็นโลหะสูงจะมีโอกาสที่จะมีดาวเคราะห์สูงกว่า และดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์กลุ่มนี้มีแนวโน้มจะมีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์ซึ่งมีค่าความเป็นโลหะต่ำ

การสำรวจพบดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์นอกระบบโดยมากมักเป็นการค้นพบโดยวิธีทางอ้อม ดังนั้นจึงสามารถระบุสมบัติทางฟิสิกส์และค่าองค์ประกอบวงโคจรได้เพียงบางส่วนเท่านั้น วิธีความเร็วแนวเล็งทำให้เราทราบค่าองค์ประกอบวงโคจรทั้งหมดยกเว้นความเอียง ซึ่งหมายรวมถึงค่าคาบการโคจร, ระยะครึ่งแกนเอก, ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร, ระยะเชิงมุม ตำแหน่งที่ดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากที่สุด, เวลาที่ดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากที่สุด และ ระยะครึ่งหนึ่งของแอมพลิจูด การที่ไม่ทราบค่าความเอียงทำให้ไม่ทราบมวล และทำให้สามารถระบุได้เพียงค่ามวลต่ำที่สุดเท่านั้น ในบางกรณีวัตถุท้องฟ้าที่ค้นพบอาจเป็นวัตถุมวลมากชนิดอื่น เช่นดาวแคระน้ำตาลหรือดาวแคระแดงก็ได้ อย่างไรก็ตามถ้าวงโคจรดาวเคราะห์นอกระบบมีลักษณะตั้งฉากกับท้องฟ้า (มุมเอียงเกือบ 90 องศา) เราอาจสามารถสังเกตเห็นการเคลื่อนผ่านของดาวเคราะห์ก็ได้ ซึ่งทำให้สามารถวัดค่ามวลที่แท้จริงและรัศมีของดาวได้ด้วย นอกจากนี้การสังเกตการณ์ทางด้านดาราศาตร์และการศึกษาทางด้านพลศาสตร์ในระบบดาวเคราะห์หลายดวงสามารถนำมาใช้กำหนดมวลของดาวเคราะห์ได้

การวัดสเปกตรัมระหว่างการเคลื่อนผ่านสามารถนำมาศึกษาส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่กำลังเคลื่อนผ่านได้ การเคลื่อนผ่านทุติยภูมิ (เกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์อยู่หลังดาวฤกษ์) สามารถใช้ตรวจจับการแผ่รังสีอินฟราเรดจากดาวเคราะห์ได้โดยตรง นอกจากนี้การสังเกตการณ์ในช่วงอินฟราเรดสามารถศึกษารูปแบบความร้อนบนพื้นผิวใกล้ดาวเคราะห์ได้

ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบส่วนมากจะมีมวลมาก ดังเช่นเดือนสิงหาคม 2008 ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบเกือบทั้งหมดมีมวลมากกว่าโลกหลายสิบเท่า (ยกเว้นเพียง 12 ดวง) มีอยู่หลายดวงที่คาดว่ามีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลมากที่สุดในระบบสุริยะเสียด้วย อย่างไรก็ตามการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีมวลมากนี้เป็นผลอย่างหนึ่งที่เกิดจากปรากฏการณ์การเลือก เพราะวิธีการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบทุกวิธีที่ใช้ล้วนแต่นำไปสู่การค้นพบดาวเคราะห์มวลมากทั้งนั้น ความโน้มเอียงดังกล่าวนี้ทำให้การวิเคราะห์ทางสถิติผิดพลาดไป แต่ดูเหมือนว่าดาวเคราะห์มวลน้อยน่าจะสามารถพบได้มากกว่าดาวเคราะห์มวลมาก โดยสังเกตจากช่วงการกระจายมวลของดาวซึ่งนับรวมดาวเคราะห์ยักษ์ทั้งหมด นอกจากนี้ นักดาราศาสตร์ยังได้ค้นพบดาวเคราะห์จำนวนมากที่มีมวลมากกว่าโลกเพียงไม่กี่เท่า ทั้งที่สามารถตรวจจับได้ยากมาก นี่บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์ในลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมเป็นดาวเคราะห์ที่พบได้ทั่วไป ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วเชิงรัศมีของดาวฤกษ์ความแม่นยำสูงนับถึงปี 2008 เครื่องมือวัดสเปกตรัมในหอดูดาวลาซียา ในประเทศชิลี ประมาณหนึ่งในสิบสี่จะเป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ ขณะที่หนึ่งในสามเป็นดาวเคราะห์หินที่มีมวลต่ำกว่าสามสิบเท่าของมวลโลก

ดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากจะโคจรใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่าในระบบสุริยะ ซึ่งเป็นผลจากการปรากฏการณ์การเลือก ด้วยวิธีการความเร็วแนวเล็งซึ่งสามารถตรวจจับดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรเล็ก ในตอนแรกนักดาราศาสตร์เคยประหลาดใจกับ "ดาวพฤหัสบดีร้อน" (Hot Jupiter) เหล่านี้ แต่ในปัจจุบันค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่าดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมาก (อย่างน้อยก็สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลมาก) จะมีวงโคจรที่ค่อนข้างใหญ่ บางดวงยังตั้งอยู่ในบริเวณซึ่งสามารถเกิดน้ำในรูปแบบของของเหลวหรือสิ่งมีชีวิต จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพบดาวเคราะห์ยักษ์หนึ่งหรือสองดวงในระบบดาวเคราะห์นอกระบบซึ่งมีขนาดพอเหมาะคล้ายดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ในระบบสุริยะของเรา

ค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรเป็นการวัดว่าวงโคจรนั้นมีความรีเพียงใด ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบส่วนมากจะมีค่าความรีค่อนข้างมาก นี่มิได้เป็นผลจากปรากฏการณ์การเลือก เพราะการตรวจจับดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์สามารถเป็นไปได้ไม่ว่าจะมีความรีของวงโคจรเพียงใด การที่ดาวเคราะห์นอกระบบมีวงโคจรที่รีมากจึงเป็นปริศนาข้อใหญ่ เนื่องจากทฤษฎีว่าด้วยการกำเนิดของดาวเคราะห์ในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ควรถือกำเนิดขึ้นด้วยวงโคจรที่ค่อนข้างเป็นวงกลม (กล่าวคือไม่มีความรี) หนึ่งในทฤษฎีที่เป็นไปได้คืออาจมีดาวคู่ดวงเล็ก ๆ ดังเช่น ดาวแคระที (T dwarf: ดาวแคระน้ำตาลประกอบด้วยมีเทน) ซ่อนอยู่ในระบบดาวฤกษ์นั้นและเป็นสาเหตุให้วงโคจรของดาวเคราะห์มีลักษณะสุดโต่งดังที่เห็น ทฤษฎีนี้ยังอธิบายได้อีกว่า ระบบสุริยะของเราต่างหากที่ผิดปรกติ เนื่องจากดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ยกเว้นดาวพุธ จะมีวงโคจรที่ค่อนข้างกลม

นับถึงต้นปี ค.ศ. 2009 มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบแล้วมากกว่า 300 ดวง และยังมีการค้นพบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดร. อลัน บอส แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์คาร์เนกีประมาณว่า อาจจะมีดาวเคราะห์นอกระบบถึงหนึ่งแสนล้านดวงเฉพาะในดาราจักรทางช้างเผือกของเรา ดร.บอส เชื่อว่ามีดาวเคราะห์นอกระบบหลายดวงที่มีรูปแบบชีวิตอย่างง่าย และอาจมีอารยธรรมนับพัน ๆ แห่งอยู่ในดาราจักรของเรา ดร.บอส คาดว่าดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ทุกดวงจะมีดาวเคราะห์คล้ายโลกเฉลี่ยแห่งละ 1 ดวง

งานวิจัยล่าสุดที่มหาวิทยาลัยเอดินเบอระพยายามจะระบุถึงจำนวนอารยธรรมที่อาจมีอยู่ในอวกาศภายนอก ผลงานวิจัยระบุว่าอาจมีนับเป็นจำนวนหลายพันแห่ง

มีคำถามที่ยังตอบไม่ได้จำนวนมากเกี่ยวกับคุณสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบ อย่างเช่น รายละเอียดขององค์ประกอบของดาว และโอกาสที่ดาวเหล่านี้จะมีดวงจันทร์ของตัวเอง ในปัจจุบันพบว่าดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากไม่มีน้ำซึ่งแสดงว่ายังคงต้องมีการศึกษาสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มเติม อีกคำถามหนึ่งคือมีสิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์นอกระบบหรือไม่ ดาวเคราะห์หลาย ๆ ดวงมีวงโคจรอยู่ในระยะที่สามารถมีสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งมีโอกาสที่เงื่อนไขหลายประการทำให้ดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่ดาวเคราะห์เหล่านี้ส่วนมากเป็นดาวเคราะห์ยักษ์คล้ายดาวพฤหัสบดีมากกว่า ถ้าดาวเคราะห์เหล่านี้มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ เป็นไปได้ว่าดวงจันทร์เหล่านั้นจะสามารถเป็นแหล่งกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้ การตรวจหาสิ่งมีชีวิตบนดาวที่อยู่ห่างไกล (ยังไม่นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมหรือไม่) เป็นสิ่งที่น่าท้าทายอย่างยิ่งและอาจยังเป็นไปไม่ได้ในช่วงระยะเวลาหลายปีนี้ แม้ว่าการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาก็ตาม

การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกมีการบันทึกไว้ในปี ค.ศ. 1992 เมื่อ อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน และ เดล เฟรล ได้ตีพิมพ์ผลการค้นพบลงในวารสาร Nature โดยประกาศการค้นพบดาวเคราะห์รอบพัลซาร์แห่งหนึ่ง คือ PSR 1257+12 โวลส์ชานค้นพบพัลซาร์ระดับมิลลิวินาทีตัวปัญหานั้นเมื่อปี ค.ศ. 1990 ณ หอดูดาวอเรบิโก นี่เป็นการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกที่ได้รับการยืนยัน และยังคงเป็นที่น่าสนใจอย่างมากเนื่องจากดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวโคจรรอบพัลซาร์

การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักคือ ดาวเคราะห์ 51 Pegasi b ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ 51 Pegasi ค้นพบโดยมิเชล เมเยอร์และดิดิเยร์ เควลอซ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1995 นักดาราศาสตร์ค่อนข้างตื่นเต้นกับการค้นพบ ดาวพฤหัสบดีร้อน ดวงนี้ หลังจากนั้นไม่นานการค้นพบดาวเคราะห์ในลักษณะเดียวกันก็มีมากขึ้น

หลังจากการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในครั้งแรก ก็ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก ที่โดดเด่นและน่าสนใจมีดังต่อไปนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301