ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: ?? Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง ?) มีชื่อทางการคือประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: ??? Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ ?) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกะกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490

ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสามของโลกในปี พ.ศ. 2553 ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี

ในภาษาญี่ปุ่น ชื่อประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า นิปปง (????) หรือ นิฮง (???) ซึ่งใช้คันจิตัวเดียวกันคือ ?? คำว่านิปปง มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนคำว่า นิฮง จะเป็นศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป

สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (??) " ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับราชวงศ์สุยของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ

ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน (อังกฤษ: Japan), ยาพัน (เยอรมัน: Japan), ฌาปง (ฝรั่งเศส: Japon), ฆาปอน (สเปน: Jap?n) รวมถึงคำว่าญี่ปุ่น ในภาษาไทย น่าจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋วที่ออกเสียงว่า "ยิดปุ่น" (ฮกเกี้ยน) หรือ "หยิกปึ้ง" (แต้จิ๋ว) ทั้งหมดล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน ??? ซึ่งอ่านว่า "จีปังกู" แต่ในสำเนียงแมนดารินอ่านว่า รื่อเปิ่นกั๋ว (จีน: ???; พินอิน: R?b?n'gu?) หรือย่อ ๆ ว่า รื่อเปิ่น (จีน: ??; พินอิน: R?b?n) ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี ออกเสียงว่า "อิลบน" (เกาหลี: ??; ?? Ilbon) และภาษาเวียดนาม ที่ออกเสียงว่า "เหญิ่ตบ๋าน" (เวียดนาม: Nh?t B?n, ??) จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า ?? ด้วยภาษาของตนเอง

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า เมื่อประมาณ 35,000 ปีก่อนพุทธศักราช หลังจากนั้นยุคโจมงก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร คำว่าโจมงในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าลายเชือกซึ่งมาจากลวดลายเชือกบนภาชนะในยุคนั้นที่ค้นพบในช่วงแรก

ยุคยะโยะอิ เริ่มเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่ผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูกข้าว การตีโลหะ ซึ่งได้รับความรู้มาจากผู้อพยพชาวจีนแผ่นดินใหญ่ การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น โฮ่วฮั่นชู (???) ในปี 57 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเรียกชาวญี่ปุ่นว่า วะ (?) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรที่ทรงอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นคือยะมะไทโคะกุ (????) ปกครองโดยพระนางฮิมิโกะ ซึ่งเคยส่งคณะทูตไปยังประเทศจีนผ่านทางเกาหลีด้วย

ยุคโคะฟุง ซึ่งตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึง 12 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณภาคคันไซ ในยุคนี้พระพุทธศาสนาได้เข้ามาจากคาบสมุทรเกาหลีสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น แต่พระพุทธรูปและพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นหลังจากนั้นได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลักเจ้าชายโชโตะกุทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมจากแผ่นดินใหญ่มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทรงตรารัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นตั้งแต่สมัยอะซึกะ

ยุคนะระ (พ.ศ. 1253-1337) เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยนำระบอบการปกครองมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือเฮโจเกียวหรือจังหวัดนะระในปัจจุบัน ในยุคนะระเริ่มพบการเขียนวรรณกรรมเช่นโคะจิกิ (พ.ศ. 1255) และนิฮงโชะกิ (พ.ศ. 1263) เมืองหลวงถูกย้ายไปที่นะงะโอกะเกียวเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกย้ายอีกครั้งไปยังเฮอังเกียว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง

ระหว่าง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็นยุคเฮอังนั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองเริ่มพัฒนาขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ฮิระงะนะ ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ได้มีการแต่งนวนิยายเรื่องนิทานเก็นจิ (????) ขึ้น ซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปกครองของตระกูลฟุจิวะระ และบทกลอนที่ถูกใช้เป็นเนื้อเพลงของเพลงชาติญี่ปุ่น คิมิงะโยะ ก็ถูกแต่งขึ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกัน

ยุคศักดินาญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่ผู้ปกครองทางการทหารเริ่มมีอำนาจขึ้น พ.ศ. 1728 หลังจากการพ่ายแพ้ของตระกูลไทระ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ได้แต่งตั้งตนเองเป็นโชกุน และสร้างรัฐบาลทหารในเมืองคะมะกุระ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคคะมะกุระซึ่งมีการปกครองแบบศักดินา แต่รัฐบาลคะมะกุระก็ไม่สามารถปกครองทั้งประเทศได้ เพราะพวกราชวงศ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในภาคตะวันตก หลังจากการเสียชีวิตของโชกุนโยะริโตโมะ ตระกูลโฮโจได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน รัฐบาลคะมะกุระสามารถต่อต้านการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยได้รับความช่วยเหลือจากพายุคะมิกะเซะซึ่งทำให้กองทัพมองโกลประสบความเสียหายอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคะมะกุระก็อ่อนแอลงจากสงครามครั้งนี้ จนในที่สุดต้องสูญเสียอำนาจให้แก่จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ผู้ซึ่งพ่ายแพ้ต่ออะชิกะงะ ทะกะอุจิในเวลาต่อมาไม่นาน อะชิกะงะ ทะกะอุจิย้ายรัฐบาลไปตั้งไว้ที่มุโระมะชิ (เคียวโตะ) จึงได้ชื่อว่ายุคมุโระมะชิ ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 อำนาจของโชกุนเริ่มเสื่อมลงและเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น เพราะบรรดาเจ้าแคว้นต่างทำสู้รบเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสงครามที่เรียกว่ายุคเซ็งโงะกุ

ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 มีพ่อค้าและมิชชันนารีจากโปรตุเกสเดินทางมาถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก (การค้านัมบัน)

สงครามดำรงอยู่หลายสิบปี จนโอะดะ โนะบุนะงะเอาชนะเจ้าครองแคว้นอื่นหลายคนโดยใช้เทคโนโลยีและอาวุธของยุโรปและเกือบจะรวมประเทศญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่นได้แล้วเมื่อเขาถูกลอบสังหารใน พ.ศ. 2125 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อมาสามารถปราบปรามบ้านเมืองให้สงบลงได้ใน พ.ศ. 2133 ฮิเดะโยะชิรุกรานคาบสมุทรเกาหลีถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเมื่อเขาเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2141 ญี่ปุ่นก็ถอนทัพ

หลังจากฮิเดะโยะชิถึงแก่อสัญกรรม โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนบุตรชายของฮิเดะโยะชิ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ เพื่อได้อำนาจทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะซุเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ในยุทธการเซะกิงะฮะระใน พ.ศ. 2143 จึงขึ้นเป็นโชกุนใน พ.ศ. 2146 และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ที่นครเอะโดะ ยุคเอะโดะจึงเริ่มต้นขึ้น รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะได้ใช้วิธีหลายอย่าง เช่น บุเกโชฮัตโต เพื่อควบคุมไดเมียวทั้งหลาย ใน พ.ศ. 2182 รัฐบาลเริ่มนโยบายปิดประเทศและใช้นโยบายนี้อย่างไม่เข้มงวดนักต่อเนื่องถึงประมาณสองร้อยห้าสิบปี ในระหว่างนี้ ญี่ปุ่นศึกษาเทคโนโลยีตะวันตกผ่านการติดต่อกับชาวดัตช์ที่สามารถเข้ามาที่เกาะเดจิมะ (ในจังหวัดนะงะซะกิ) เท่านั้น ความสงบสุขจากการปิดประเทศเป็นเวลานานทำให้ชนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองอย่างเช่นชาวเมืองได้มีโอกาสที่จะประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาในทางของตนเอง ในยุคเอะโดะนี้ยังมีการเริ่มต้นการให้ศึกษาประชาชนเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

แต่ญี่ปุ่นก็ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกให้เปิดประเทศอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2397 นาวาเอก (พิเศษ) แมทธิว เพอร์รี่ และเรือดำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาบุกมาถึงญี่ปุ่นเพื่อบังคับให้เปิดประเทศด้วยสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ต้องทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ ซึ่งสนธิสัญญาเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นประสบปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง เพราะการเปิดประเทศและให้สิทธิพิเศษกับชาวต่างชาติทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไม่พอใจต่อรัฐบาลเอะโดะ และเกิดกระแสเรียกร้องให้คืนอำนาจอธิปไตยแก่องค์จักรพรรดิ (ซึ่งมักเรียกว่าการปฏิรูปเมจิ) จนในที่สุดรัฐบาลเอะโดะก็หมดอำนาจลง

ในยุคเมจิ รัฐบาลใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ย้ายฐานอำนาจขององค์จักรพรรดิมายังเอะโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจากเอะโดะเป็นโตเกียว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองตามแบบตะวันตก เช่นบังคับใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2443 และก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยใช้ระบบสองสภา นอกจากนี้ จักรวรรดิญี่ปุ่นยังสนับสนุนการรับเอาวิทยาการจากประเทศตะวันตกและทำให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มมีความขัดแย้งทางทหารกับประเทศข้างเคียงเมื่อพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ได้ชัยชนะในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437-2438) และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2447-2448) ญี่ปุ่นก็ได้อำนาจปกครองไต้หวัน เกาหลี และตอนใต้ของเกาะซาคาลิน

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่ายไตรภาคี ผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตต่อไปอีก ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายขยายดินแดนต่อไปโดยครอบครองแมนจูเรียใน พ.ศ. 2474 และเมื่อถูกนานาชาติประณามในการครอบครองดินแดนนี้ ญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปีต่อมา ในปี 1936 ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลกับนาซีเยอรมนี และเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปี 1941

ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และการยาตราทัพเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจากยุทธนาวีแห่งมิดเวย์ (พ.ศ. 2485) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนะงะซะกิ (ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลำดับ) และการรุกรานของสหภาพโซเวียต (วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ

ใน พ.ศ. 2490 ญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นเรื่องประชาธิปไตยอิสระ การควบคุมญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกใน พ.ศ. 2499 และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 1956 หลังจากสงครามญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่การเติบโตก็หยุดในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530 เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังฟองสบู่แตก เศรษฐกิจที่ถดถอยต่อเนื่องยาวนานกว่าสิบปีมีทีท่าว่าจะฟื้นตัวขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 26 แต่กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินใน พ.ศ. 2551

ประเทศญี่ปุ่นมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และมีรูปแบบการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา องค์จักรพรรดิไม่ทรงปกครองประเทศ พระองค์มีพระราชอำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นให้ไว้ องค์จักรพรรดิมิได้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำในทางพิธีการ รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของประชาชน"องค์จักรพรรดิพระองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือ เจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น

อำนาจการปกครองส่วนใหญ่นั้นตกอยู่แก่นายกรัฐมนตรี และสมาชิกคนอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนชาวญี่ปุ่น

องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งใช้ระบบระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (???( ชุงิ-อิง )?) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และ ราชมนตรีสภา (???( ซังงีง )?) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไปพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน พ.ศ. 2498 จนในปี พ.ศ. 2552 พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี

สำหรับอำนาจบริหารนั้น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเลือกสมาชิกด้วยกันมาหนึ่งคนให้เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วองค์จักรพรรดิจึงทรงลงพระนามาภิไธยรับรองการแต่งตั้งนั้น ส่วนนายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายชินโซ อะเบะ

ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอะโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประชุมราชนีติ (??????( Kujikata Osadamegaki )?) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรป โดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนี เป็นต้นแบบ เช่น ใน พ.ศ. 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง (??( Minp? )?) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน

กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ (??( Kenp? )?) ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียกประมวลกฎหมายทั้งหก (??( Ropp? )?) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ บรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา องค์จักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรในประกาศด้วย ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้ว องค์จักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย

ญี่ปุ่นรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางทหารกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก โดยมีความร่วมมือทางความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศ ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 1956 ได้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวม 9 ครั้ง (ล่าสุดเมื่อปี 2005-2006) เป็นหนึ่งในกลุ่ม G4 ซึ่งมุ่งหวังจะเข้าเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง ญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกของ จี 8และเอเปค มีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศและกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญทั่วโลก นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) รายใหญ่ของโลก โดยบริจาค 7.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007 จากการสำรวจของบีบีซีพบว่านอกจากประเทศจีนและเกาหลีใต้แล้ว ประเทศส่วนใหญ่มองอิทธิพลของญี่ปุ่นที่มีต่อโลกในเชิงบวก

ญี่ปุ่นมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องสิทธิในดินแดนต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กับรัสเซียเรื่องเกาะคูริล กับเกาหลีใต้เรื่องหินลีอังคอร์ท (หรือทะเกะชิมะ ในภาษาญี่ปุ่น) กับจีนและไต้หวันเรื่องหมู่เกาะเซ็งกะกุ กับจีนเรื่องเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบ ๆ โอะกิโนะโทะริชิมะ เป็นต้น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหากับเกาหลีเหนือกรณีการลักพาตัวชาวญี่ปุ่นและเรื่องการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องเกาะคูริล ในทางกฎหมายแล้วญี่ปุ่นยังคงทำสงครามอยู่กับรัสเซีย เพราะไม่เคยมีการลงนามในข้อตกลงใด ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้

1. โดยที่มีความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติโดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนานโดยให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ กับทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ 2. เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่น ๆ ในทางสงคราม ไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม

สำหรับกองทัพญี่ปุ่นนั้นจะเรียกว่ากองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองทางบก กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล และ กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ กองกำลังของญี่ปุ่นถูกส่งไปเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศอิรักใน พ.ศ. 2547-2549 ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติการของกองทัพในต่างประเทศครั้งแรกตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม การส่งกองกำลังไปยังอิรักนี้ถูกต่อต้านจากประชาชนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก

ประเทศญี่ปุ่นและไทยมีความสัมพันธ์มายาวนานกว่า 600 ปี ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430 ความร่วมมือระหว่างกันของทั้งสองประเทศครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศเติบโตขึ้นจากการขยายตัวกิจการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนับแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้นในพุทธทศวรรษที่ 2520) การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยนับเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (รองจากจีน) และทำให้มีชาวญี่ปุ่นมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย ทั้งสองประเทศมีการทำข้อตกลงทวิภาคีหลายข้อ เช่นข้อตกลงความร่วมมือทางเทคโนโลยี (JTPP: Japan- Thailand Partnership Programme in Technical Cooperation) การจัดทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA:Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) เป็นต้น จากการสำรวจความคิดเห็นในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศที่จัดทำในเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 โดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น พบว่าคนไทยร้อยละ 98 เห็นว่าญี่ปุ่นคือมิตรประเทศ

ญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 จังหวัด และ แบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร

ในแต่ละจังหวัดมีมีการแบ่งเขาการปกครองออกเป็นเทศบาลย่อยๆ แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยรวมเทศบาลที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเทศบาลลงได้ การรวมเขตเทศบาลนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เทศบาลใน พ.ศ. 2542 ให้เหลือ 1,773 เทศบาลใน พ.ศ. 2553

ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป

ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นหมู่เกาะซึ่งมีจำนวนมากกว่า 3,000 เกาะวางตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของทวีปเอเชีย เกาะที่สำคัญเรียงจากเหนือไปใต้ได้แก่ฮกไกโด ฮนชู ชิโกกุ และคีวชู นอกจากนี้ยังมีหมู่เกาะริวกิวทางตอนใต้ของเกาะคีวชู ซึ่งเกาะทั้งหมดนี้เรียกรวมกันว่าหมู่เกาะญี่ปุ่น ญี่ปุ่นถูกล้อมรอบด้วยทะเลทุกด้าน ได้แก่ทะเลโอค็อตสค์ทางเหนือ ทะเลญี่ปุ่นทางตะวันตก ทะเลจีนตะวันออกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลฟิลิปปินส์ทางใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก พื้นที่ประมาณร้อยละ 70 เป็นภูเขา ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการเพาะปลูกได้ เพราะมีลักษณะสูงชันและมีโอกาสที่จะเกิดดินถล่มจากแผ่นดินไหวหรือฝนที่ตกหนัก ประชากรญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอย่างหนาแน่น และทำให้เมืองสำคัญในญี่ปุ่นมีประชากรหนาแน่นมาก ใน พ.ศ. 2548 ญี่ปุ่นมีป่าไม้ร้อยละ 66.4 พื้นที่ทางการเกษตรร้อยละ 12.6 อาคารร้อยละ 4.9 พื้นน้ำร้อยละ 3.5 ถนนร้อยละ 3.5 และอื่น ๆ ร้อยละ 9

ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น ทำให้เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงต่ำบ่อย ๆ และยังมีแผ่นดินไหวความรุนแรงสูงที่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหลายครั้งในศตวรรษที่ผ่านมา เช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวในชูเอะสึ พ.ศ. 2547 และ แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 เป็นต้น นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ยังทำให้ญี่ปุ่นมีบ่อน้ำพุร้อนจำนวนมากทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวภูเขาฟูจิซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นก็เป็นภูเขาไฟ

หมู่เกาะญี่ปุ่นวางตัวยาวในแนวเหนือใต้ จึงทำให้มีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ประเทศญี่ปุ่นสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศออกเป็น 6 เขต คือ

ฤดูฝนหลักเริ่มต้นขึ้นในต้นเดือนพฤษภาคมที่โอะกินะวะ และจึงค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปจนถึงฮกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม บนเกาะฮนชูฤดูฝนจะเริ่มในกลางเดือนของเดือนมิถุนายน มีระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง และในช่วงปลายฤดูร้อนจนถึงต้นฤดูใบไม้ร่วงมักมีไต้ฝุ่นพัดผ่าน โดยเฉลี่ยจะมีไต้ฝุ่นพัดเข้าใกล้ญี่ปุ่นปีละ 11 ลูก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี

จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4 ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดา นินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่งตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด

ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้

ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6 และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงมีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่การคมนาคมในประเทศญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม ร้อยละ 20 จากถ่านหิน ร้อยละ 14 จากก๊าซธรรมชาติ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่หลังจากเกิดเหตุอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ รัฐบาลญี่ปุ่นก็วางแผนที่จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในทศวรรษที่ 2570

ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน รถไฟชินกันเซ็นซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา ทางรถไฟญี่ปุ่น ระยะทางรวมทั้งสิ้น23,474 กิโลเมตรแบ่งเป็น ราง 1.435 เมตร สำหรับวิ่งรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟใต้ดินหลายเมือง ระยะทาง 2,664 กม รางรถไฟ 1.067 เมตร สำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองรถไฟทางใกล ระยะทาง 22,445 กม. ทางด่วนแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่นมีระยะทางทั้งสิ้น 11,520 กิโลเมตร การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมีสนามบิน 173 แห่งทั่วประเทศ สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับ 3 ของโลกตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นมาเพื่ออยู่รอด สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3 ของ โลก เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด

ญี่ปุ่นยังเป็น หนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริด ซึ่งได้เทคโนโลยีมาจากเยอรมัน อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียได้น้อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิง ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก

องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลคิโบ มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ. 2552

จากการสำรวจในวันที่ 1 สิงหาคม 2012 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127,692,273 คน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสายชาวยะมะโตะ และมีชนกลุ่มน้อยเช่นชาวไอนุและชาวริวกิว รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่าบุระกุ

ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับมีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบี้บูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25) ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี พ.ศ. 2550) ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด) การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระเงินบำนาญของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่รายชื่อเมืองในญี่ปุ่นเรียงตามจำนวนประชากร และ จำนวนประชากรญี่ปุ่นแยกตามจังหวัด

จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นนับถือพุทธชินโตเยอะที่สุดเท่ากับอศาสนาในญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตนไม่มีศาสนา ในอดีตศาสนาในญี่ปุ่นถูก ผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้าชินโตเพื่อทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน แต่งงานในโบสถ์คริสต์และฉลองในวันคริสต์มาส จัดงานศพแบบพุทธ และบูชาบรรพบุรุษแบบขงจื๊อ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น ศาสนาเทนริเกียว ลัทธิเทนริเกียว และลัทธิโอมชินริเกียว]]

ประชากรมากกว่าร้อยละ 95 ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ ภาษาญี่ปุ่นมีวิธีการผันคำกริยาและคำศัพท์ที่แสดงถึงสถานะระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งแสดงถึงลักษณะสังคมที่มีระดับขั้นของญี่ปุ่น ภาษาพูดนั้นมีทั้งภาษากลางและสำเนียงของแต่ละท้องถิ่น เช่นสำเนียงคันไซ โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนมักมีวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ

ระบบการศึกษาในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษาถูกนำมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเมจิ ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 การศึกษาภาคบังคับของญี่ปุ่นมีระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ประถมศึกษาจนจบมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อ จากข้อมูลของกระทรวงการศึกษาของญี่ปุ่น (MEXT) ใน พ.ศ. 2547 พบว่าร้อยละ 75.9 ของผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ การศึกษาในญี่ปุ่นเต็มไปด้วยการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบเข้าเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ซึ่งจัดขึ้นโดยโออีซีดี จัดอันดับให้เด็กญี่ปุ่นมีความรู้และทักษะเป็นอันดับ 6 ของโลก มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น เช่น มหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ และ มหาวิทยาลัยเคียวโตะ เป็นต้น

คุณภาพของระบบรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นมีระดับที่สูงมาก เห็นได้จากอายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรที่สูงและอัตราการตายของทารกที่ต่ำ รัฐบาลกำหนดให้ประชาชนทุกคนทำประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือประกันสำหรับพนักงานบริษัท และประกันที่ทำกับรัฐบาลท้องถิ่น ผู้ป่วยสามารถเลือกแพทย์หรือสถานที่รักษาได้โดยอิสระ ผู้สูงอายุของญี่ปุ่นทั้งหมดได้รับการคุ้มครองด้วยประกันของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2516 แต่ปัจจุบันรัฐบาลต้องปรับระบบประกันเปล่านี้เพื่อรองรับโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป

วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิ อุกิโยะ-เอะตุ๊กตา เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิ โน บุนระกุระกุโงะ และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชา ศิลปการต่อสู้ สถาปัตยกรรม การจัดสวน ดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่นแอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523

ดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะ โคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากร เซจิ โอะซะวะ นักไวโอลิน มิโดะริ โกะโต เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น

วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่นตำนานเก็นจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก ระหว่างยุคเอะโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้นโซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น ตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ, ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ, ยะซุนะริ คะวะบะตะ, มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮะรุกิ มุระกะมิ ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ ยะซุนะริ คะวะบะตะ (พ.ศ. 2511) และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537)

หลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษา ในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่น กีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่

ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ, เท็มปุระ, สุกียากี้, ยะกิโทะริ และ โซบะ เป็นต้น อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่น ทงกะสึ, ราเม็ง และ แกงกะหรี่ญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก

ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่นและอาหารประจำฤดู วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุ, มิโซะ, เต้าหู้ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย

ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น

รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยว โดยทางการญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวให้กับประเทศเป้าหมาย รวมถึงประเทศไทย กระแสไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นน่าจะยังได้รับความนิยมในหมู่คนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนสำคัญๆ ทั้งจากมาตรการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวที่ยังคงมีผลบังคับใช้ บวกกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและโปรโมชั่นอัดแน่นจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงอานิสงส์ส่วนหนึ่งก็มาจากเงินเยนที่อ่อนค่า รวมทั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางทัวร์ญี่ปุ่นมากขึ้นทุกปี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406