ซูลู (อังกฤษ: Zulu) เป็นชนเผ่ากลุ่มหนึ่งของแอฟริกา มีจำนวนประชากรประมาณ 11 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่อาศัยในควาซูลู-นาตาล แอฟริกาใต้ มีจำนวนเล็กน้อยที่อยู่อาศัยในซิมบับเว แซมเบียและโมแซมบีก ภาษาอีซิซูลู (isiZulu) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาบันตู (Bantu) ซึ่งจัดอยู่ในภาษาลุ่มย่อย "นูนิ" (Nguni)
ราชอาณาจักรซูลูมีบทบาทสำคัญมากในประวัติศาสตร์ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2344 - พ.ศ. 2444 (คริสต์ศตวรรษที่ 19-20) ในยุคแห่งการถือผิว ชาวซูลูถูกจัดให้เป็นประชาชนชั้น 2 และถูกดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง ปัจจุบันชาวซูลูเป็นชนเผ่าที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศแอฟริกาใต้และมีสิทธิเสรีภาพแห่งมนุษยชนเท่าเทียมกับประชาชนทุกเชื้อชาติและชนเผ่าในประเทศ
แต่เดิมซูลู เป็นชนเผ่ากลุ่มน้อยที่อยู่ในตอนเหนือของควาซูลู-นาทาลปัจจุบัน ได้สถาปนาตนเองเป็นราชอาณาจักรขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2330 โดยซูลู คานโตมบฮีลี (Zulu kaNtombhele) ในภาษาซูลู คำว่า "ซูลู" แปลว่าสวรรค์ หรือท้องฟ้า ในสมัยนั้น พื้นที่ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเล็กที่เรียกว่า "นูนิ" หลายกลุ่ม พวกนูนิได้ย้ายถิ่นฐานลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกามากกว่าพันปีมาแล้ว อาจเป็นไปได้ที่ได้มาถึงบริเวณที่เป็นประเทศแอฟริกาใต้ในปัจจุบันเมื่อประมาณ 800 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 2800 ปีก่อน
ซูลูชากาเป็นโอรสนอกสมรสของพระเจ้า "เชนซานกาโนมา" กษัตริย์เผ่าซูลู เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2330 ชากาและพระมารดาถูกเนรเทศโดยเชนซานกาโนมา และไปลี้ภัยอยูใน "มเธทวา"(Mthethwa) ชากาได้ฝึกการสู้รบเพื่อเป็นนักรบภายใต้ "ดิงกิสวาโย" (Dingiswayo) หัวหน้าเผ่ามเธวา เมื่อเชนซานกาโนมาถึงแก่พิราลัย ดิงกิสวาโยจึงช่วยหนุนให้ชากาทวงสิทธิ์การเป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรซูลู
ดิงกาเน พระอนุชาต่างพระมารดาได้สืบทอดราชบรรลังก์ต่อจากชากาโดยสมรู้ร่วมคิดกับ "มลางกานา" (Mhlangana) โอรสต่างพระมารดาอีกผู้หนึ่งเพื่อลอบปลงพระชนม์ หลังการปลงพระชนม์แล้ว ดิงกาเนก็ประหารชีวิตมลางกานาแล้วขึ้นครองบรรลังก์ พระราชกรณียกิจแรกๆ ของพระองค์คือการประหารชีวิตพระราชวงศ์เป็นจำนวนมากเพื่อไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน ยกเว้น"มพันเด" (Mpande) พระอนุชาต่างพระมารดาอีกพระองค์หนึ่งซึ่งอ่อนแอไม่มีอันตรายในขณะนั้น
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2380 ปิเอต์ รีทีฟ หัวหน้าพวกวูเทรกเกอรส์ (นักบุกเบิกดินแดนแอฟริกา) ได้ขอเข้าเฝ้าพระเจ้าดิงกาเนที่พระตำหนักเพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับที่ดินของนักบุกเบิก และในเดือนพฤศจิกายน คาราวานเกวียนประมาณ 1,000 เล่มของพวกวูเทกเกอร์ได้เดินทางลงจากเขาดราเก็นสเบอร์ก จาก "ออเนจ์ฟรีสเตท" มาสู่ดินแดนซึ่งเป็แคว้นควาซุลู-นาทาล ในปัจจุบัน
พระเจ้าดิงนาเกขอให้รีทรีฟและชาวคณะให้ช่วยนำฝูงปสุสัตว์ที่หัวหน้าเผ่าในบริเวณนั้นลักไปมาคืนให้ และรีทรีฟก็ได้รีบทำตามและส่งคืนให้ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2381 และในวันรุ่งขึ้นก็ได้มีการลงนามในข้อตกลงโดยพระเจ้าดิงกาเนยอมมอบดินแดนฝั่งใต้ทั้งหมดของแม่น้ำ "ตูเลกา" จดกับแม่น้ำ "ซิมวูบุ" ให้แก่ชาววูเทรกเกอร์ การเฉลิมฉลองได้ตามมาโดยในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ คณะของรีทรีฟได้รับเชิญให้ร่วมเต้นระบำร่วมกันโดยให้วางอาวุธไว้ข้างหลัง ในขณะที่การร่ายรำกำลังสนุกถึงที่ ดิงเนเกได้ลุกขึ้นยืนกระโดดและตระโกนว่า "แบมบานิ อบา ทาคาติ" (ภาษาซูลูแปลว่า "ฆ่าพวกพ่อมด") รีทรีฟและพวกถูกจับตัวและนำไปประหารที่เนินเขาคามาติวาเน เป็นที่เชื่อกันว่าเหตุผลรีทรีฟและพวกถูกฆ่านั้นเนื่องมาจากการยักยอกไม่คืนวัวที่เรียกคืนมาให้ครบทั้งหมด ทหารของดิงกาเนได้โจมตีและฆ่าพวกวูเทกเกอร์รวมทั้งเด็กและสตรีไปประมาณ 500 คน บริเวณที่เกิดเหตูการณ์นี้ในปัจจุบันเรียกว่า "วีเนน" (ภาษาดัทช์แปลว่า "การร่ำไห้)
ชาววูเทกเกอร์ที่เหลือได้เลือกหัวหน้าใหม่ชื่อ แอนเดรียร์ส เปรโตรเรียส (Andries pretorius) และพระเจ้าดิงนาเกประสบกับการพ่ายแพ้ใน "การสู้รบแห่งแม่น้ำสายเลือด" เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2381 โดยนำของกลุ่มนักสู้ 470 คนของนักบุกเบิกวูเทกเกอร์ที่เหลือที่นำโดยเปรโตรเรียส
หลังจากการพ่ายแพ้พระเจ้าดิงกาเนก็เผาพระตำหนักและอาคารบ้านเรือนหนีไปทางเหนือ มพันเด พระอนุชาต่างพระมารดาซึ่งได้รับการไว้ชีวิตจากพระอนุชาได้รวบรวมชนเผ่าพรรคพวกจำนวน 17,000 คน ร่วมกับเปรโตเรียสและพวกวูเทกเกอร์ไล่ล่าทำสงครามกับพระเจ้าดิงกาเน ซึ่งในที่สุดก็ถูกปลงพระชนม์ที่ชายเขตแดนสวาซิแลนด์ปัจจุบัน มพันเดจึงได้ขึ้นสู่บรรลังเป็นประมุขของชาติซูลูสืบต่อมา
สืบเนื่องต่อจากการสู้รบกับดิงกาเน ในปี พ.ศ. 2382 ชาวอาณานิคมวูเทกเกอร์นำโดยเปรโตเรียสได้ก่อตั้ง "สาธารณรัฐบัวร์" แห่งนาตาเลียซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางใต้ของแม่น้ำตูเกลากับด้านตะวันตกของอาณานิคมอังกฤษที่ปอร์ตนาทาล (ปัจจุบันคือดุร์บาน) พระเจ้ามพันเดและเปรโตเรียสยังคงมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันอยู่ อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2385 ได้เกิดสงครามระหว่างพวกบัวร์กับอังกฤษ มีผลให้อังกฤษผนวกนาตาเลียเข้าไว้ในอาณานิคม เป็นเหตุให้พระเจ้ามพันเดหันจำต้องไปเข้ากับฝ่ายอังกฤษและก็ได้มีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน
ในปี พ.ศ. 2386 พระเจ้ามพันเดได้สั่งกำจัดพวกที่ถูกเข้าใจว่าเป็นอริในราชอาณาจักรของพระองค์ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากมาย มีการอพยพลี้ภัยไปสู่ประเทศข้างเคียงรวมทั้งอาณานิคมนาทาลที่อยู่ในบังคับอังกฤษ พวกอพยพเหล่านี้หนีไปพร้อมกับฝูงปสุสัตว์ พระเจ้ามพันเดจึงสั่งกวาดล้างพื้นที่ข้างเคียงจนถึงจุดสูงสุดกลายเป็นการรุกรานสวาซีแลนด์ในปี พ.ศ. 2385 แต่ฝ่ายอังกฤษก็ใช้อิทธิพลกดดันให้มพันเดถอยออกไป ซึ่งพระองค์ก็ทำตามโดยดีในเวลาไม่ยาน
ถึงตอนนี้สงครามแย่งชิงบรรลังก์ได้เกิดขึ้นระหว่างพระโอรสสองพระงค์ของพระเจ้ามพันเด คือ เคตช์วาโย กับ มบูยาซี เหตุการณ์ถึงขีดสุดเมือ่ปี พ.ศ. 2395 ด้วยการสู้รบและการตายของมบูยาซ๊ จากนั้นเคตช์วาโย ก็ค่อยๆ ยึดอำนาจการบริหารจากพระราชบิดา เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ด้วยโรคชราเมื่อ พ.ศ. 2415 เคตช์วาโย ก็เสด็จขึ้นครองราชย์
ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2421 ผู้แทนของฝ่ายอังกฤษใด้ยื่นคำขาดให้กับหัวเผ่า 18 เผ่าย่อยที่ขึ้นอยู่กับเซ็ทช์วาโย เนื้อความสำคัญในคำขาดเป็นสิ่งที่พระเจ้าเคตช์วาโย รับไม่ได้ ฝ่ายอังกฤษจึงบุกข้ามแม่น้ำตูเกลาในปลายเดือนธันวาคม สงครามจึงได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2422 ในตอนแรกของสงคราม ฝ่ายซูลูรบชนะอังกฤษใน "การสู้รบที่ไอแลนด์ลวานา" (Battle of Islandlwana) ในวันที่ 22 มกราคม แต่กลับมาพ่ายแพ้อย่างยับเยินในวันเดียวกันที่รอร์กดริฟ สงครามจบลงด้วยการพ่ายแพ้ของฝ่ายซูลูในวันที่ 4 กรกฎาคม
พระเจ้าเคตช์วาโย ถูกจับได้ในเวลา 1 เดือนหลังสงครามและถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองเคปทาวน์ อังกฤษจัดแบ่งแยกราชอาณาจักรซูลูออกเป็นอาณาจักรเล็กๆ 13 อนุราชอาณาจักรแต่ละอนุราชอาณาจักรมีอำนาจในอาณาจักรของตนเอง ในเวลาไม่นานก็ได้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นในระหว่างอนุราชอาณาจักรเหล่านั้น และในปี พ.ศ. 2425 พระเจ้าเคตช์วาโย ก็ได้เสด็จเยือนอังกฤษและได้รับพระราชวโรกาสจากสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียให้เข้าเฝ้าและพบปะกับบุคคลสำคัญของอังกฤษก่อนที่จะได้รับการยินยอมให้เสด็จกลับสู่การครองแผ่นดินซูลูแลนด์อีกครั้งหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2456 พระเจ้าเคตช์วาโยกลับได้รับมอบอำนาจให้ครอบครองเฉพาะอาณาเขตรอยต่อที่มีขนาดเล็กกว่าราชอาณาจักรเดิมของพระองค์เป็นอย่างมาก ในปลายปีนั้นพระเจ้าเคตช์วาโย ได้ถูกลอบทำร้ายโดยพวกซิบเฮบฮู หนึ่งใน 13 อนุราชอาณาจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากพวกบัวร์ พระองค์ได้รับการบาดเจ็บและสิ้นพระชนม์ในปีต่อมา ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการลอบวางยาพิษ พระโอรส คือ "ไดนูซูลู"พระชนมายุ 15 พรรษาได้ขึ้นครองราชแทน