เว็บเชิงความหมาย หรือ ซีแมนติกเว็บ (อังกฤษ: Semantic Web) คือพัฒนาการของเวิลด์ไวด์เว็บซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการบริการบนเว็บไซต์ โดยสร้างความเป็นไปได้ที่เว็บไซต์จะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้และเครื่องมือที่ใช้บรรจุลงในสารบัญเว็บไซต์ ซึ่งมีที่มาจากเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เซอร์ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี มีทัศนคติเกี่ยวกับเว็บว่าเป็นแหล่งรวมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้
เว็บเชิงความหมายโดยแก่นแท้จะบรรจุไปด้วยเซ็ตของหลักของการออกแบบ การทำงานร่วมกัน และความหลากหลายของเทคโนโลยี พื้นฐานบางส่วนของเว็บเชิงความหมายแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะรองรับกับเทคโนโลยีหรือสามารถนำมาใช้ได้จริงในภายภาคหน้า ส่วนอื่นของเว็บเชิงความหมายแสดงถึงลักษณะพิเศษ ซึ่งจะประกอบด้วย Resource Description Framework (RDF) ความหลากหลายของการสับเปลี่ยนของข้อมูล (เช่น RDF/XML, N3, Turtle, N-Triples) และเครื่องหมาย เช่น RDF Schema (RDFS) และ Web Ontology Language (OWL) ซึ่งสิ่งเหล่านี้มุ่งหมายเพื่อเตรียมการถึงส่วนประกอบของการจำกัดความ กำหนดการ และความรู้ที่ได้รับ
มนุษย์สามารถใช้เว็บไซต์เพื่อจัดเก็บงาน เช่น การค้นหาคำว่า "monkey" ในภาษาอังกฤษ การจองหนังสือในห้องสมุด และการค้นหาราคาแผ่นดีวีดีที่ราคาถูกที่สุด อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงในงานเดียวกันได้หากปราศจากการควบคุมของมนุษย์ เพราะเว็บเพจได้ถูกออกแบบให้มนุษย์ใช้สำหรับอ่าน ไม่ใช่เครื่องจักรกล เว็บเชิงความหมายคือทัศนคติของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ดังนั้นเราจึงแสดงถึงความยุ่งยากของงานซึ่งนำไปสู่การค้นหา การแบ่งปัน และการแบ่งส่วนของข้อมูลบนเว็บ
แฟ้มข้อมูลในคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นเอกสารกับข้อมูล ซึ่งเอกสารจำพวกข้อความในจดหมาย รายงาน ใบปลิวที่อ่านโดยมนุษย์ ข้อมูลจำพวกปฏิทิน สมุดที่อยู่ รายชื่อเพลง แผ่นพับที่แสดงในแอปพลิเคชันซึ่งสามารถมอง ค้นหา และแยกส่วนออกได้หลายทาง
ปัจจุบันนี้เวิลด์ไวด์เว็บใช้พื้นฐานการเขียน Hypertext Markup Language (HTML) เป็นหลัก ซึ่งใช้หลักการของส่วนของโค้ดที่กระจายตัวกับมัลติมีเดีย เช่น รูปภาพและฟอร์ม ซึ่งอธิบายได้ดังนี้