ซีเวอร์ต (อังกฤษ: sievert, Sv) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอของปริมาณรังสีสมมูล มันจะแสดงถึงผลทางชีวภาพของรังสีตรงข้ามกับลักษณะทางกายภาพซึ่งเป็นลักษณะของปริมาณรังสีดูดซึมโดยวัดเป็นหน่วยเกรย์ ซีเวอร์ตได้ชื่อตาม รอล์ฟ ซีเวอร์ต (Rolf Sievert) นักฟิสิกส์การแพทย์ชาวสวีเดนที่อุทิศตนเพื่อศึกษาผลของรังสีที่มีต่อสิ่งมีชีวิต
ปริมาณรังสีสมมูลในเนื้อเยื่อพบโดยเพิ่มขึ้นของปริมาณรังสีดูดซึมในหน่วยเกรย์โดยปัจจัยคุณภาพไร้มิติ Q ซึ่งขึ้นกับชนิดรังสี และปัจจัยไร้มิติ N ซึ่งขึ้นกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งหมด N ขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่ฉายรังสี เวลา และ ปริมาณที่มากกว่าปริมาณที่จะกระจายได้ แม้แต่สปีชีส์ Q และ N ประกอบด้วยค่าปรับเทียบตามชนิดรังสี (WR) Q เป็นสิ่งเดียวกับผลกระทบเชิงชีววิทยาสัมพันธ์ (RBE) สำหรับชีวิตประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิด ฟังก์ชันน้ำหนักหรือปริพันธ์จะถูกใช้บ่อยครั้ง (ในปี ค.ศ. 2002 CIPM ตัดสินใจว่าความแตกต่างระหว่าง Q และ N เป็นเหตุให้เกิดความสับสนจำนวนมาก ดังนั้นจึงลบปัจจัย N จากนิยามของปริมาณรังสีดูดซึมในแผ่นพับ SI )
แม้ว่าซีเวอร์ตจะมีมิติเดียวกันกับเกรย์ (คือ จูลต่อกิโลกรัม) แต่ก็วัดต่างกันในด้านปริมาณ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการสับสนระหว่างปริมาณรังสีดูดซึมและปริมาณรังสีสมมูลซึ่งคล้ายกันนั้น เกรย์ จึงแทนด้วย จูลต่อกิโลกรัม สำหรับปริมาณรังสีดูดซึม และ ซีเวอร์ต แทนด้วย จูลต่อกิโลกรัม สำหรับปริมาณรังสีสมมูล สำหรับผลรวมของรังสี (วัดในหน่วยเกรย์) ผลกระทบเชิงชีววิทยา (วัดในหน่วยซีเวอร์ต) สามารถต่างกันไปตามผลของค่าปรับเทียบตามชนิดรังสี WR การเปลี่ยนแปลงในผลมาจากการแปลงพลังงานเชิงเส้น [LET] ของรูปแบบรังสี สร้างความแตกต่างของผลกระทบเชิงชีววิทยาสัมพันธ์สำหรับแต่ละชนิดรังสี กฎระเบียบของรัฐส่วนมาก กำหนดให้ RBE [Q] สำหรับอิเล็กตรอนและรังสีโฟตอนคือ 1 สำหรับรังสีนิวตรอนเป็น 10 และสำหรับรังสีแอลฟาเป็น 20 มีการถกเถียงกันว่า Q หรือ RBE สำหรับรังสีอัลฟาเป็นการประเมินค่าต่ำกว่าความเป็นจริงเนื่องจากสมมติฐานผิดพลาดในงานเริ่มแรกในคริสต์ทศวรรษ 1950 ที่พัฒนาค่าเหล่านั้น งานเริ่มแรกละเลยองค์ประกอบของรังสีสะท้อนนิวเครียสสำหรับตัวให้แอลฟา