ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ช่อง7

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7 สี) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสี แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[ต้องการอ้างอิง] และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทาน กับกองทัพบกไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบภาพสี และย้ายการออกอากาศ ไปทางช่องสัญญาณที่ 7 จนถึงปัจจุบัน มีกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นประธานกรรมการบริษัท และพลากร สมสุวรรณ เป็นกรรมการผู้จัดการ

บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุน 10,000,000 บาท เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เพื่อประกอบธุรกิจโฆษณา ขณะที่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) มีทุนจดทะเบียนที่ 61,000,000 บาท โดยมีรายชื่อผู้ก่อตั้งประกอบด้วย คุณหญิงไสว จารุเสถียร (คำนำหน้าชื่อขณะนั้น; ภริยาจอมพล ประภาส จารุเสถียร), เรวดี เทียนประภาส (น้องสาวคุณหญิงไสว), ร้อยเอกชูศักดิ์ บุณยกะลิน, เฑียร์ กรรณสูต (น้องชายสุชาติ กรรณสูต สามีของเรวดี ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ พ.ศ. 2501), ชาติเชื้อ กรรณสูต (บุตรชายคนโต), ร้อยโทชายชาญ กรรณสูต (ยศขณะนั้น; บุตรชายคนที่สอง เปลี่ยนมาใช้นามสกุลฝ่ายแม่ เมื่อ พ.ศ. 2517) และสุรางค์ เปรมปรีดิ์ (บุตรสาวคนเล็ก) ซึ่งคณะผู้ก่อตั้งมอบหมายให้สมภพ ศรีสมวงศ์ (ปัจจุบันชื่อสหสมภพ) เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนบริคณห์สนธิ กับกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ จากนั้นมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กันยายน ซึ่งมีมติแต่งตั้งให้คุณหญิงไสว เป็นประธานกรรมการบริษัท ส่วนเฑียร์, ชาติเชื้อกับร้อยโทชายชาญ เป็นกรรมการบริษัท ทั้งสี่ถือหุ้นจำนวน 100 หุ้นเท่ากัน, ชวน รัตนรักษ์ ผู้บริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นรองประธานกรรมการ ถือ 50 หุ้น, เรวดีเป็นกรรมการผู้จัดการ ถือ 230 หุ้น และร้อยเอกชูศักดิ์ เป็นกรรมการบริษัท ถือ 20 หุ้น

ในระยะเดียวกัน จอมพลประภาส ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายให้ คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ลงมติอนุมัติให้ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ดำเนินการติดต่อให้นำเครื่องส่งโทรทัศน์สี ของบริษัทฟิลิปส์แห่งฮอลแลนด์ ระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที มาทดลองใช้งาน โดยบันทึกภาพการประกวดนางสาวไทย ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มาถ่ายทอดผ่านคลื่นวิทยุ ในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 7 และออกอากาศคู่ขนาน ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9 ในอีกสองวันถัดมา คือวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน หลังจากนั้น ก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม มีการประกอบพิธีสถาปนา บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ อย่างเป็นทางการ

โดยในปีถัดมา (พ.ศ. 2511) ผู้ถือหุ้นมีมติให้เฑียร์ ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการบริษัท, หัวหน้าฝ่ายรายการ และหัวหน้าฝ่ายเทคนิค โดยแต่งตั้งให้สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เข้าเป็นกรรมการแทน พร้อมถือ 80 หุ้น และในปีเดียวกัน คณะกรรมการฯ ทำสัญญาร่วมกับทาง บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ จัดสร้างอาคารที่ตั้ง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ภายในบริเวณที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.) สนามเป้า พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ. แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ.เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเข้าบริหารงานอีกทอดหนึ่ง โดยในระยะสองปีแรก ใช้บุคลากรและห้องส่ง ร่วมกับ ททบ. พร้อมทั้งนำรถประจำทางเก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ ททบ.สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไปพลางก่อน

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2512 บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จัดหาเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 10 กิโลวัตต์ พร้อมเสาอากาศสูง 570 ฟุต และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ เพื่อส่งมอบให้แก่ ททบ. และในวันที่ 30 มกราคม ปีถัดมา (พ.ศ. 2513) เรวดีและร้อยเอกชูศักดิ์ เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้งให้ชาติเชื้อ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ โดยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ย้ายเข้าใช้อาคารที่ทำการถาวร ของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 บริเวณหลังสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) แห่งเดิม (ปัจจุบันเป็น อาคารศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส และลานจอดรถ สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร บริเวณสถานีสวนจตุจักร) และเมื่อวันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เวลา 15:30 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปยัง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เพื่อทอดพระเนตรการแข่งขัน มวยไทยและมวยสากล โดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล พร้อมทั้งพระราชทานถ้วยรางวัล แก่นักกีฬามวยไทยและมวยสากลยอดเยี่ยม

จากนั้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ชาติเชื้อขอลาออก ผู้ถือหุ้นจึงมีมติให้ร้อยเอกชายชาญ เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ แล้วแต่งตั้งให้ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ สามีของสุรางค์ ที่มีอยู่ 20 หุ้น เป็นกรรมการบริษัท และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 ท่านผู้หญิงไสวลาออกจากกรรมการบริษัท ชวนจึงขยับขึ้นเป็นประธานกรรมการแทน และให้ร้อยเอกหญิงสุมิตรา จารุเสถียร บุตรสาวท่านผู้หญิงไสว ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการที่ว่าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ททบ.ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย เพื่อถ่ายทอดสัญญาณจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่สถานีเครือข่ายทุกภูมิภาค เป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเช่าสัญญาณดาวเทียมนานาชาติ (อินเทลแซท) ถ่ายทอดเหตุการณ์จากทั่วโลกมายังไทย และในเวลาใกล้เคียงกัน ก็ริเริ่มใช้รถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียมย่านความถี่สูง (เคยู-แบนด์) และรถบรรทุกเครื่องถ่ายทอดนอกสถานที่ (โอ.บี.) ใช้ย่านความถี่ ซี-แบนด์ ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายชั่วคราว เพื่อถ่ายทอดสดงานประเพณีที่น่าสนใจ กีฬานัดสำคัญ และเหตุการณ์ในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

ผลงานสำคัญของชายชาญ ในหน้าที่กรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถานีฯ โดยตำแหน่งคือ การขยายสถานีส่งสัญญาณช่อง 7 สีออกไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากกว่า 300 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2522 บริษัทจึงเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งใช้วิธีขายหุ้นเพิ่มทุน ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ เป็นจำนวน 10 ล้านบาท อีกส่วนหนึ่งให้ประธานกรรมการ (ชวน รัตนรักษ์) และกรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ดำเนินการตามที่เห็นสมควร เป็นจำนวน 30 ล้านบาท และให้ลดมูลค่าต่อหุ้นลงเหลือ 100 บาท เมื่อรวมกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกครั้ง เป็นจำนวน 61 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2527 จึงทำให้ในที่สุด สกุลรัตนรักษ์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ แทนกลุ่มสกุลจารุเสถียร กรรณสูต และเทียนประภาส

พันโทชายชาญ ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนขนาด 11 มิลลิเมตร ยิงจนเสียชีวิตที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2523 ส่งผลให้ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการว่างลง ผู้ถือหุ้นมีมติให้จัดตั้ง คณะกรรมการผู้จัดการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ ในความรับผิดชอบของกรรมการผู้จัดการ โดยมีไพโรจน์เป็นประธาน คณะกรรมการชุดดังกล่าว และมีกรรมการคือพิสุทธิ์ ตู้จินดา, สมภพ ศรีสมวงศ์, ร้อยเอกสุพจน์ แสงสายัณห์, ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ (อดีตนักร้องชื่อดัง ผู้เป็นภรรยาซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรส ของพันโทชายชาญ) และวีระพันธ์ ทีปสุวรรณ ซึ่งเป็นญาติของสกุลรัตนรักษ์ ซึ่งวีระพันธ์เข้ามารับตำแหน่ง กรรมการบริษัทที่ว่างลงด้วย ทว่าต่อมาไม่นาน ระบบคณะกรรมการผู้จัดการก็ยกเลิกไป โดยผู้ถือหุ้นแต่งตั้งให้ไพโรจน์ เป็นกรรมการผู้จัดการแต่เพียงผู้เดียว

จากนั้นในปี พ.ศ. 2524 ชาติเชื้อกลับเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอีกครั้ง พร้อมทั้งให้น้องสาว คือสุรางค์เข้ามาช่วยงานด้วย ซึ่งเป็นผลให้ช่อง 7 สีประสบความสำเร็จอย่างสูงในระยะต่อมา และเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2536 ชวนก็เสียชีวิตลง โดยมีบุตรชายคือกฤตย์ รัตนรักษ์ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เข้าดำรงตำแหน่งแทนบิดา อนึ่ง ในช่วงปลายพุทธทศวรรษ 2530 ชาติเชื้อล้มป่วยด้วยอาการอัมพาต จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่มาหลายปี ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 สุรางค์จึงต้องรับตำแหน่งแทนพี่ชาย โดยที่ยังเป็นผู้จัดการฝ่ายข่าว (2541-2545) และผู้จัดการฝ่ายรายการ (2524-2551) อยู่ด้วย

ทว่าเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554 กฤตย์ลงนามในคำสั่งบริษัทฯ ให้สุรางค์พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ โดยให้ส่งมอบงานแก่ศรัณย์ วิรุตมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ภายในวันที่ 30 ธันวาคม และให้ศรัณย์เริ่มเข้ารักษาการกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ต่อมาในเดือนเมษายนปีเดียวกัน ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติ ให้แต่งตั้งพลากร สมสุวรรณ อดีตพิธีกรในสังกัดช่อง 7 สีขึ้นเป็นกรรมการแทนสุรางค์ ซึ่งเป็นการพ้นจากตำแหน่งสุดท้ายในบริษัทฯ พร้อมทั้งมอบหมายให้พลากร เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และรักษาการในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายรายการด้วย จากนั้นพลากรก็ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการ แทนศรัณย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน

กระทั่ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ประกาศเรียงลำดับเลขช่องทุกกล่องในระบบดาวเทียมเป็นเลขเดียวกับทีวีดิจิตอล ช่อง 7 HD ในระบบดิจิตอลทีวี และในระบบจานดาวเทียม ทางช่องหมายเลข35 เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ลักษณะโดยรวมคล้ายตราสัญลักษณ์ของช่อง 7 HD โดยมีสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบ่งแนวทะแยงเป็นสีขาวและสีฟ้า โดยด้านสีขาวเป็นอัตลักษณ์สถานี ส่วนด้านสีฟ้าเป้นคำว่า "กดหมายเลข 35" สีขาว โดยจะแสดงบนหน้าจอในช่วงต้นรายการเป็นเวลาประมาณ 5-6 วินาที (ยกเว้นรายการสด)

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มดำเนินการจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณในส่วนภูมิภาค มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 นับจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 37 สถานีฯ ดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จัดตั้งฝ่ายข่าวขึ้น พร้อมกับการเปิดดำเนินงานของสถานีฯ มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง ปัจจุบัน รายการข่าวของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ที่นิยมเรียกกันว่า ข่าวเด็ดเจ็ดสี นำเสนอข่าวสาร แบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดทั้งวัน ผ่านช่วงข่าวภาคเช้า ข่าวภาคเที่ยง ข่าวภาคค่ำ เด็ดข่าวดึก รวมถึงข่าวสั้น ซึ่งทำหน้าที่กระจกเงา สะท้อนวิถีชีวิตและสภาพปัญหา ของประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ ผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น สกู๊ปชีวิต ข่าวช่วยชาวบ้าน โดยป๋าแหงม-ศักดินา รักษ์อุดมการณ์ ด้วยลำแข้ง รายงานของคำรณ หว่างหวังศรี (ปัจจุบันทั้งสองคนย้ายไปทำรายการข่าวแนวเดิมทางไทยทีวีสีช่อง 3) ตลอดจนช่วงสะเก็ดข่าว และภาพกีฬามันมันส์ในข่าวภาคค่ำ ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งยังได้รับความนิยมจากผู้ชม

ตลอดระยะเวลาประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายข่าวของสถานีฯ เก็บรักษาและรวบรวมแฟ้มข่าวในประเทศ และแฟ้มภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ) ข่าวในประเทศ อันมีคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก มีระบบการจัดเก็บและดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน จนมีการก่อตั้ง "ศูนย์ข้อมูลทางโทรทัศน์" ของสถานีฯ ขึ้นเพื่อให้บริการแฟ้มข่าว และแฟ้มภาพข่าวดังกล่าว แก่สถานีโทรทัศน์และสำนักข่าวต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ ทางสถานีฯ ยังริเริ่มจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคขึ้น โดยมีอุปกรณ์เทคโนโลยีอันทันสมัยครบครัน เพื่อรายงานข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ผู้ชมทั่วประเทศรับชมได้พร้อมกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553 ข่าวภาคค่ำทั้งสองช่วง เริ่มนำเสนอข่าวและใช้ฉากข่าวรูปแบบใหม่ ซึ่งผลิตขึ้นด้วยระบบเวอร์ชวลสตูดิโอ พร้อมทั้งเปลี่ยนไตเติลข่าวภาคต่างๆ, กราฟิกหัวข้อข่าว และข่าวแถบตัววิ่ง ส่วนจิงเกิลประกอบข่าวภาคค่ำ ยังคงเป็นเพลงเดิมซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2537

โดยทั้งฝ่ายข่าวส่วนกลาง และศูนย์ข่าวภูมิภาค ต่างประกอบไปด้วยผู้ประกาศข่าวซึ่งมีชื่อเสียงหลายคน เช่น จักรพันธุ์ ยมจินดา, ศันสนีย์ นาคพงศ์, พิษณุ นิลกลัด, ศศินา วิมุตตานนท์, จรณชัย ศัลยพงศ์, ศุภรัตน์ นาคบุญนำ, พิสิทธิ์ กีรติการกุล, นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง, เอกชัย นพจินดา, วีรศักดิ์ นิลกลัด, ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร, อดิสรณ์ พึ่งยา, สุฐิตา ปัญญายงค์, ช่อฟ้า เหล่าอารยะ, ภัทร จึงกานต์กุล, นารากร ติยายน, อนุวัต เฟื่องทองแดง, ศจี วงศ์อำไพ เป็นต้น และผู้สื่อข่าวคุณภาพ ซึ่งรายงานข่าวต่างๆ ภายใต้แนวนโยบายเชิงวิสัยทัศน์ ในอันที่จะรายงานข่าวอย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง เป็นข่าวยอดนิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง ตลอดจนสะท้อนเรื่องราวหรือปัญหาต่างๆ จากมุมมองของประชาชนทั่วไป

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ถือเป็นผู้นำของการนำเสนอรายการละครโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นด้วยการนำเสนอละครพื้นบ้านในช่วงเช้าวันสุดสัปดาห์ จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงมาเป็น การนำบทประพันธ์ของนักเขียนชื่อดัง ตลอดจนบทละครที่เขียนขึ้นใหม่ มาสร้างเป็นละครเพื่อนำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ 20.30 น. ช่วงเย็นประมาณ 18.30 น. ภายหลังได้มีละครเยาวชนเพิ่มอีกในเวลา 18.00 น. และมีเวลาของละครซิตคอมในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.10 น. และเวลา 13.00 น. นอกจากนี้ ก่อนออกอากาศละครภาคเย็นและภาคค่ำ ยังมีข้อความแสดงคำเตือนเรื่องลิขสิทธิ์ เป็นสถานีฯ แรกด้วย

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีนโยบายสำคัญประการหนึ่ง ในอันที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาวงการกีฬาในประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปสู่ระดับสากล พร้อมทั้งให้การสนับสนุนแก่เยาวชนไทย ให้ความสนใจกับการเล่นกีฬา เพื่อส่งเสริมให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วย

โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2527 ทางสถานีฯ ริเริ่มจัดการแข่งขันกีฬาสำหรับเยาวชนขึ้น ตามโครงการ แชมป์กีฬา 7 สี จนกระทั่งเกิดนักกีฬารุ่นใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศจำนวนมาก เช่น ศิริมงคล สิงห์วังชา อดีตแชมป์สภามวยโลก ในรุ่นแบนตั้มเวทและซูเปอร์เฟเธอร์เวท, เรวดี ศรีท้าว (วัฒนสิน) นักกรีฑา เจ้าของเหรียญทองซีเกมส์หลายสมัย, มนัสนันท์ แพงขะ - รัตนาภรณ์ อาลัยสุข นักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด เจ้าของเหรียญทองเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13, ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร - มธุรดา คุโณปการ - ดุลยฤทธิ์ พวงทอง นักกีฬาว่ายน้ำ เจ้าของเหรียญทองซีเกมส์หลายสมัย และยังร่วมจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียน 7 คน เป็นรายการแรกของประเทศไทย และยังร่วมสนับสนุนส่งเสริมเยาวชนไทย ให้ก้าวสู่การแข่งขันกีฬาระดับอาชีพ ผ่านการแข่งขันเทนนิส "แชมป์กีฬา 7 สี กรุงศรีฯ สานฝัน ตามรอยภราดร" และ การแข่งขันกอล์ฟ "แชมป์กีฬา 7 สี กรุงศรีฯ สานฝัน ตามรอยวิรดา"

สถานีฯ ริเริ่มกระตุ้นให้ชาวไทย สนใจในกีฬาต่างๆ ด้วยการบุกเบิกถ่ายทอดสด และบันทึกการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ กล่าวคือ ฟุตบอลโลก, ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งเอเชีย, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งอาเซียน, ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, ฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, ฟุตบอลยูฟ่าซูเปอร์คัพ, ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก, ฟุตบอลเอฟเอคัพ, ฟุตบอลลีกคัพ, ฟุตบอลยุโรป, เทนนิสแกรนด์สแลม, เทนนิสมาสเตอร์ซีรีส์, เทนนิสเอทีพีทัวร์, เทนนิสดับเบิลยูทีเอทัวร์, กอล์ฟเมเจอร์, กอล์ฟยูเอสพีจีเอ, กอล์ฟแอลพีจีเอ, กอล์ฟไรเดอร์คัพ, มวยสากลชิงแชมป์โลก เป็นต้น

แชนแนลเซเว่น บันเทิงเจ็ดสี (อังกฤษ: Channel 7 Magazine) นิตยสารแบบรายเดือนจาก สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ภายใต้การดูแลของบริษัท มีเดียสตูดิโอ จำกัด

ซึ่งฉบับปฐมฤกษ์ออกวางแผงเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยนิตยสารฉบับนี้ได้รวบรวมข่าวสาร เบื้องหลังกองละคร และบทสัมภาษณ์รวมถึงภาพถ่ายสวยๆ จากดาราในสังกัดช่อง 7

ก่อนหน้านั้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 ทางช่อง 7 ได้เคยผลิตนิตยสารแนวเดียวกันออกมาจนถึงปี พ.ศ. 2539 จึงได้ยุติการผลิตไป


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406