ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จู้อิน

จู้อิน หรือ จู้อินฝูเฮ่า (จีนตัวย่อ: ????; จีนตัวเต็ม: ????; พินอิน: zh?y?n f?h?o; จู้อิน : ??? ?? แปลว่า เครื่องหมายกำกับเสียง) เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง

ถึงแม้ว่าจู้อินจะถูกจัดว่าเป็นชุดตัวอักษร (alphabet) อย่างหนึ่ง ระบบนี้ก็ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ แต่ประกอบด้วยต้นพยางค์ (syllable onset) กับสัมผัสพยางค์ (syllable rime) ระบบนี้มีพื้นฐานจากตารางสัมผัส (rime table) ของภาษาจีน แต่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) แทนเสียงวรรณยุกต์แยกออกจากเสียงสัมผัส ในฐานะชุดตัวอักษร พยัญชนะต้นพยางค์มีอักษรใช้แทน 21 ตัว ที่เหลือเป็นสระเดี่ยว สระประสม และสระที่มีพยัญชนะสะกดซึ่งใช้อักษรแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น luan จะเขียนเป็น ??? (l-u-an) ซึ่งอักษรตัวสุดท้ายใช้แทนสระที่มีพยัญชนะสะกด -an ทั้งชุด เป็นต้น (อย่างไรก็ตาม พยัญชนะสะกด -p, -t, -k ไม่มีการใช้ในภาษาจีนกลาง แต่มีในสำเนียงอื่น สามารถเขียนเป็นตัวห้อยของพยัญชนะเหล่านี้หลังเสียงสระแทน)

ในภาษาพูดทุกวันนี้ จู้อินมักถูกเรียกว่า ปอพอมอฟอ (????: bopomofo) ซึ่งเป็นอักษรชุดแรกในระบบนี้ เอกสารอย่างเป็นทางการในบางโอกาสจะเรียกว่า Mandarin Phonetic Symbols I (?????????) หรือย่อเป็น MPS I (????) ซึ่งชื่อนี้ไม่ค่อยปรากฏการใช้ในภาษาอื่น เลขโรมันที่ปรากฏหลังชื่อมีไว้เพื่อแยกแยะออกจากระบบ MPS II ที่คิดค้นขึ้นในยุคเดียวกันแต่ไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน

โครงการรวมเสียงอ่านเป็นหนึ่งเดียว (?????: Commission on the Unification of Pronunciation) นำโดย อู๋ จิ้งเหิง (???) นักภาษาศาสตร์และนักปรัชญา ดำเนินงานเมื่อ ค.ศ. 1912–1913 ในไต้หวัน ได้สร้างระบบแทนเสียงอ่านที่มีชื่อว่า กว๋ออินจื้อหมู่ (????) หรือ จู้อินจื้อหมู่ (???? หรือ ????) โดยใช้พื้นฐานจากบันทึก จี้อินจื้อหมู่ (????) ของ จาง ปิ่งหลิน (???) นักนิรุกติศาสตร์ ซึ่งระบบใหม่นี้มีความแตกต่างจากระบบของจางบ้างเล็กน้อย เช่นการเพิ่มเข้าหรือตัดตัวอักษรบางตัวออกไป ฉบับร่างของระบบนี้ได้เผยแพร่โดยกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติของไต้หวันเมื่อ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 แต่ยังไม่ได้ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928

ต่อมา จู้อินจื้อหมู่ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น จู้อินฝูเฮ่า ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1930 ดังคำพูดโดย จอห์น เดอฟรังซิส (John DeFrancis) จากหนังสือ The Chinese Language: Fact and Fantasy ที่กล่าวไว้ว่า

สัญลักษณ์เหล่านี้เดิมมีชื่อเรียกว่า จู้อินจื้อหมู่ (ชุดอักษรแทนเสียง) ต่อมามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า กว๋ออินจื้อหมู่ (ชุดอักษรแทนเสียงแห่งชาติ) แต่ด้วยเกรงว่ามันอาจถูกตีความเป็นระบบการเขียนอักขระแบบชุดตัวอักษรอิสระ ในปี ค.ศ. 1930 จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น จู้อินฝูเฮ่า (สัญลักษณ์แทนเสียง)

แต่ในเวลาต่อมา ระบบพินอินซึ่งประกาศใช้โดยจีนแผ่นดินใหญ่ เริ่มเข้ามาแทนที่ระบบจู้อิน ถึงแม้ว่าคำอ่านในพจนานุกรมมาตรฐานบางครั้งก็ระบุการถอดเสียงทั้งแบบพินอินและจู้อิน กระทรวงศึกษาธิการของไต้หวันได้พยายามที่จะยกเลิกการใช้งานระบบจู้อินมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เนื่องจากความเห็นชอบที่จะใช้ระบบที่มีพื้นฐานบนอักษรละตินมากกว่า (เช่น MPS II) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปอย่างช้ามาก เนื่องจากความยากลำบากในการอบรมให้ครูโรงเรียนประถมทั้งหมดเข้าใจในระบบอักษรละตินใหม่นี้

จู้อินสามารถใช้เป็นวิธีการป้อนข้อมูลสำหรับอักษรจีน เนื่องจากสามารถป้อนตามเสียงอ่านได้โดยตรง เป็นหนึ่งในไม่กี่วิธีที่สามารถพบได้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ไม่ได้ดาวน์โหลดหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ใดเพิ่มเติม รวมทั้งการป้อนข้อมูลอักษรจีนบนโทรศัพท์มือถือ

ซอฟต์แวร์แปลศัพท์ภาษาจีนบนจอภาพสามารถนำไปใช้ได้หลายจุดประสงค์ จู้อินก็ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาเรียนรู้ภาษาจีนกลางสำหรับนักเรียนนักศึกษา อักษรจู้อินมีจำนวนตัวอักษรน้อยกว่า มีกฎการเปลี่ยนรูปอักษรน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพินอินที่กำกับคำศัพท์คำเดียวกัน (ข้อเท็จจริงคือระบบจู้อินไม่มีการเปลี่ยนรูปเลย) และอักษรจู้อินบางตัวก็มีลักษณะคล้ายอักษรจีนอยู่แล้ว ทำให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเรียนรู้ก้าวหน้าไปอีกขั้น

อักษรจู้อินทั้งหมดประดิษฐ์ขึ้นโดย จาง ปิ่งหลิน ซึ่งนำมาจากอักษรจีนโบราณหรืออักษรที่เขียนแบบหวัดเป็นหลัก หรือใช้เพียงส่วนหนึ่งของตัวอักษรเหล่านั้น หนังสือสมัยใหม่ก็ยังคงมีเสียงอ่านเหมือนเช่นตัวอักษรตัวนั้นนำเสนอ (จะทะยอยเพิ่มเสียงไทยให้ครับ)

อักษรจู้อินในฟอนต์มักจะนำเสนอด้วยการเขียนด้วยพู่กันคงไว้เช่นนั้น (เหมือนการเขียนแบบ regular script) อักษรจู้อินบรรจุอยู่บนยูนิโคดในบล็อกปอพอมอฟอ ที่รหัส U+3105 ถึง U+312D โดยมีตัวสุดท้ายแทนเสียงสระ ? (ih) และสามตัวถัดมาเป็นสำเนียงที่ไม่มีอยู่ในภาษาจีนกลางได้แก่ ? (v), ? (ng), และ ? (ny) นอกจากนี้ยังมีบล็อกปอพอมอฟอส่วนขยาย ที่รหัส U+31A0 ถึง U+31B7 สำหรับภาษาจีนฮกเกี้ยนและภาษาจีนแคะ

สัญลักษณ์แทนเสียงเหล่านี้บางครั้งปรากฏเป็นอักษรประกอบคำ (ruby character) ซึ่งพิมพ์ไว้ถัดจากอักษรจีนในตำราเรียนของเด็ก และในหนังสือที่มีอักษรแบบดั้งเดิมซึ่งอักษรนั้นไม่ได้ใช้ในการเขียนปกติทั่วไปในสมัยใหม่ บางครั้งในสื่อโฆษณาใช้แทนคำลงท้ายบางคำ (เช่นใช้ ? แทน ? เป็นต้น) อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์เหล่านี้พบที่ใช้ในสื่อสาธารณะต่างๆ ได้น้อยมาก ที่นอกเหนือไปจากการอธิบายคำอ่านในพจนานุกรม อักษรจู้อินยังถูกจับคู่กับปุ่มต่างๆ บนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ (1=ปอ, q=พอ, a=มอ, z=ฟอ, ฯลฯ) เพื่อเป็นวิธีการหนึ่งสำหรับการป้อนข้อความที่เป็นอักษรจีนเข้าสู่คอมพิวเตอร์

จุดประสงค์เพียงอย่างเดียวของจู้อินในการเรียนในชั้นประถมศึกษา คือเพื่อสอนให้เด็กๆ รู้จักการอ่านภาษาจีนกลางแบบมาตรฐาน (ซึ่งต่างกับพินอินในแง่ของการศึกษาโดยชาวต่างชาติและการทับศัพท์) ตำราชั้น ป.1 ของทุกวิชาจะถูกจัดพิมพ์เป็นจู้อินทั้งหมด หลังจาก ป.1 อักษรจีนจะเข้ามาแทนที่จู้อิน แต่ก็ยังมีจู้อินกำกับไว้ข้างๆ ในช่วง ป.4 การปรากฏของจู้อินจะลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งจะเหลือเพียงแค่ส่วนของการสอนอักษรจีนตัวใหม่ และเมื่อเด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้อักษรต่างๆ ได้ ก็จะสามารถถอดเสียงอ่านที่ให้ไว้ในพจนานุกรมภาษาจีนได้ และยังสามารถค้นหาว่าคำๆ หนึ่งเขียนอย่างไรโดยที่ทราบเพียงแค่เสียงอ่านของมัน

บางครั้งจู้อินใช้เขียนภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาบางภาษา อาทิ ภาษาอตายัล , ภาษาซีดิก , ภาษาไปวัน , หรือ ภาษาเตา เป็นต้น จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นระบบการเขียนหลักของภาษานั้น ไม่ได้ใช้เป็นระบบการเขียนโบราณอย่างภาษาจีน

อักษรจู้อินถูกเขียนให้เหมือนกับอักษรจีนทั่วไป รวมทั้งกฎเกณฑ์ของลำดับการขีดและตำแหน่ง ปกติอักษรจู้อินจะเขียนไว้ที่ด้านขวาของอักษรจีนตัวนั้นเสมอ ไม่ว่าอักษรจีนจะเขียนแนวตั้งหรือแนวนอน โดยทางเทคนิคแล้วการเขียนแบบนี้เรียกว่าอักษรประกอบคำ (ruby character) และพบได้น้อยมากที่อักษรประกอบคำจะไปปรากฏอยู่ข้างบนเมื่อเขียนตามแนวนอน (เหมือนฟุริงะนะที่กำกับคันจิในภาษาญี่ปุ่น) กล่องแสดงสัญลักษณ์มักจะมีอักษรจู้อินสองหรือสามตัว (ซึ่งตัวมันเองนั้นมีขนาดพอดีกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส) วางซ้อนกันในแนวตั้ง ทำให้กล่องของอักษรจีนหนึ่งตัวมีความยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

เครื่องหมายวรรณยุกต์ของจู้อินมี 4 ตัว ได้แก่ <?> แทนเสียงที่สอง, <?> แทนเสียงที่สาม, <?> แทนเสียงที่สี่, และ <?> แทนเสียงที่ห้า (เสียงเบา) ในภาษาจีนกลาง สำหรับเสียงที่หนึ่งจะไม่มีการเขียนวรรณยุกต์กำกับ ระบบพินอินได้นำเอาวรรณยุกต์เหล่านี้ไปใช้ โดยตัดรูปวรรณยุกต์เสียงที่ห้าออก แล้วเพิ่มรูปวรรณยุกต์ <?> สำหรับเสียงที่หนึ่งแทน ตามตาราง ส่วนทงย่งพินอินนั้นใช้วรรณยุกต์เหมือนกับจู้อิน การเขียนวรรณยุกต์จะเขียนที่กึ่งกลางค่อนไปทางขวาของกล่องจู้อิน เว้นแต่เครื่องหมายจุดของเสียงที่ห้า จะเขียนไว้บนสุดของกล่อง

ทั้งจู้อินและพินอินต่างก็มีพื้นฐานมาจากการออกเสียงภาษาจีนกลางเหมือนกัน ซึ่งสามารถจับคู่สัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างสองระบบนี้ได้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ในตารางต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเทียบเท่ากันระหว่างจู้อินและพินอิน อักษรในวงเล็บ ?? ใช้แสดงถึงรูปแบบสำหรับประกอบกับอักษรตัวอื่น

พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406