จุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร
จุลจิตรกรรมสำหรับหนังสือวิจิตร (อังกฤษ: Miniature (illuminated manuscript)) คำว่า “Miniature” มาจากภาษาละตินว่า “Minium” ที่หมายถึงสารสี “เลดเทโทรไซด์” หรือ “ตะกั่วแดง” (Lead tetroxide) คือหนังสือวิจิตรโบราณหรือจากยุคกลาง หรือ ลายตกแต่งอย่างง่ายๆ ของกฎบัตรที่ตกแต่งด้วยสารสีตะกั่วแดงดังกล่าว การที่ภาพโดยทั่วไปจากยุคกลางมักจะมีขนาดเล็กทำให้สับสนกับจิตรกรรมขนาดเล็กโดยเฉพาะภาพเหมือนขนาดเล็ก (portrait miniature) ที่พัฒนามาจากลักษณะการวาดที่มีประวัติคล้ายคลึงกัน นอกไปจากธรรมเนียมการวาดจุลจิตรกรรมทางตะวันตกและไบแซนไทน์แล้ว ทางตะวันออกก็มีการเขียนจุลจิตรกรรมที่มักจะเป็นภาพที่มีเนื้อหามากกว่าทางตะวันตก และจากที่เป็นงานที่เขียนสำหรับหนังสือก็พัฒนาไปเป็นงานเขียนเป็นแผ่นๆ ที่ใช้เก็บในอัลบัมได้ ที่เรียกว่าจุลจิตรกรรมเช่นเดียวกับทางตะวันตก แต่มีลักษณะเดียวกับภาพเขียนสีน้ำ จุลจิตรกรรมทางตะวันออกก็รวมทั้งจุลจิตรกรรมเปอร์เซีย และ จุลจิตรกรรมโมกุล, จุลจิตรกรรมออตโตมัน และ จุลจิตรกรรมอินเดีย
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/จุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร
|