ค้นหา
  
1280 720
Search Engine Optimization Services (SEO)

จังหวัดภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย

จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ

คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต(ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง

เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นั่นเอง[ต้องการอ้างอิง]

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต

ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"

ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน

ประชากรส่วนใหญ่ในภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73, ศาสนาอิสลามร้อยละ 25, ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2

ภาษาถิ่นของจังหวัดภูเก็ตเป็นภาษาถิ่นใต้ที่ไม่เหมือนถิ่นอื่นในภาคใต้ โดยจะมีสำเนียงภาษาจีนฮกเกี้ยนและภาษามลายูปนอยู่มาก ดังนั้นภาษาถิ่นภูเก็ตจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พบได้เฉพาะแถบภูเก็ตและพังงาเท่านั้น ในอดีตนั้นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้นส่วนใหญ่ล้วนเป็นชาวจีนอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน เมื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในภูเก็ตแล้วก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมายเข้ามาใช้ หนึ่งในนั้นก็คือ ภาษา ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาจีนฮกเกี้ยน ต่อมามีการค้าขายมากขึ้นต้องติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น ชาวจีนฮกเกี้ยนบางส่วนก็ไปมาหาสู่กับปีนัง มาเลเซียบ้าง มีการค้าขายแร่ดีบุกต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์เริ่มเข้ามาผสมปนเข้าด้วยกันกับภาษาฮกเกี้ยน ทำให้เกิดเป็นภาษาที่ผสมสำเนียงเข้าด้วยกัน เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูเก็ตและใกล้เคียง ภาษาฮกเกี้ยนในภูเก็ตนั้นปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่เพียงแต่สำเนียงอาจจะเพี้ยนไปจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมบ้าง เพื่อปรับให้เข้ากับการออกเสียงของคนภูเก็ต ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาฮกเกี้ยนที่ใช้กันในปีนัง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เนื่องจากมีการปรับเสียงให้เข้ากับสัทอักษรการออกเสียงของคนภูเก็ต บางคำในภาษาฮกเกี้ยนจึงไม่เหมือนกันภาษาฮกเกี้ยนแท้ของจีน แต่ก็ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบว่าระบบไวยากรณ์ที่ใช้นั้นบ้างก็ยืมมากจากภาษาฮกเกี้ยนด้วย ภาษาภูเก็ตบ้างก็เรียก ภาษาบาบ๋า

สถาปัตยกรรมในย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ตบนถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนพังงา ถนนเยาราช และซอยรมณีย์ รวมทั้งถนนใกล้เคียงเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงของการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกแลกะการค้าแร่ดีบุกเฟื่องฟู ในยุคนั้นภูเก็ตมีชาวต่างชาติทั้งจีน อินเดีย อาหรับ มาเลย์ และยุโรปเข้ามาทำการค้าและอาศัยอยู่ เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่น ๆ ในแหลมมลายู เช่น ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การก่อสร้างและออกแบบอาคารจึงได้รับอิทธิพลจากนานาชาติไปด้วย ลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในเมืองภูเก็ตอาจแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคแรกประมาณช่วง พ.ศ. 2411-2443 เป็นช่วงของการเริ่มพัฒนาเมือง ยุคที่สอง พ.ศ. 2444-2475 เป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป และยุคที่สามยุคนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตซึ่งชาวภูเก็ตทุกคนภาคภูมิใจ และตั้งใจจะรักษาให้คงอยู่สืบไป


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944