จังหวัดนครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ด้านอุตุนิยมวิทยาจัดอยู่ในภาคตะวันออก
จังหวัดนี้ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 14 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101 องศาตะวันออก มีระยะทางจากจากกรุงเทพมหานครตามถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) ผ่านอำเภอองครักษ์ถึงจังหวัดนครนายก ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,326,250 ไร่
สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองสมัยทวารวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคูอยู่ที่ตำบลดงละคร แต่นครนายกนั้นปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออกในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรีจนเมื่อปี พ.ศ. 2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมืองและให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทน ในช่วง พ.ศ. 2486-2489 นครนายกได้โอนไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระ
จังหวัดนครนายก ระหว่างปี พ.ศ. 2382 - 2386 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวต่างประเทศคือ บาทหลวงปาเลอกัวซ์ และ ดาเวนพอร์ท เดินทางมาถึงเมืองนครนายก และได้บันทึกว่า เมืองนครนายกมีพลเมืองประมาณ 5,000 คน ส่วนมากเป็นชาวลาว และมีชาวสยามอยู่ด้วย ราษฎรประกอบอาชีพในการปลูกข้าวและหาของป่าส่งไปขายที่กรุงเทพ
สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชันในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี ซึ่งมีเทือกเขาติดต่อกับทิวเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัดคือ ยอดเขาเขียวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า "ที่ราบกรุงเทพฯ"
น้ำตกวังตะไคร้ วังตะไคร้เป็นของกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ และหม่อมราชวงศ์หญิงพันธุ์ทิพย์บริพัตร เป็นอุทยานที่ได้รับการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ใน เนื้อที่ 1,500 ไร่ มีถนนให้นำรถยนต์เข้าชมในบริเวณได้ เปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วไป ทั้งประเภทเช้าไปเย็นกลับ และประเภทค้างแรม โดยคิดค่าผ่านประตู ดังนี้ นักท่องเที่ยวคนละ 10 บาท รถยนต์ รถกระบะ รถตู้ รถสองแถว คันละ 100 บาท (ผู้โดยสารไม่เกิน 4 คน) มากกว่า 4 คน คิดเพิ่มตามจำนวนคนๆ ละ 10 บาท รถบัส คนละ 10 บาท
น้ำตกสาริกา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สายน้ำไหลตกจากหน้าผาเป็นทอดๆ ถึง 9 ชั้น แต่คุณสามารถเที่ยวได้แค่ชั้นที่ 1-4 เท่านั้นนะจ๊ะ ความโดดเด่นของน้ำตกสาริกาเป็นน้ำตกที่ค่อนข้างสูง และสายน้ำทิ้งตัวลงมาสู่เบื้อล่างอย่างสวยงามมาก ผาที่สูงที่สุดประมาณ 200 เมตร แต่ละชั้นมีอ่างรับน้ำ และมีน้ำมากในฤดูฝน ซึ่งชั้นที่เหมาะแก่การเล่นน้ำและนั่งปิกนิคริมน้ำตกก็คือชั้นที่ 1ส่วนฤดูแล้งน้ำแห้ง บริเวณด้านล่างของน้ำตกมีบริการห้องอาบน้ำ ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก
น้ำตกนางรอง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีความสวยงามเป็นธรรมชาติ มีชื่อเสียงเคียงคู่กันมาเลยกับน้ำตกสาริกา แม้น้ำตกนางรองจะไม่สูงเท่าน้ำตกสาริกา แต่ก็มีความสวยงามไม่น้อยหน้ากัน เพราะมีสายน้ำไหลลดหลั่นผ่านชั้นหินลงมาเป็นชั้นๆ และมีแอ่งให้ลงเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำจากน้ำตกนางรองจะไหลเชี่ยวมาก ควรระมัดระวังในการลงเล่นน้ำ การจัดบริเวณภายในเป็นระเบียบสะอาดตา และมีบ้านพักบริการ
ตั้งอยู่ที่ วัดฝั่งคลอง ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จ.นครนายก เป็นที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของชาวไทยพวนในอดีต ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนในมณฑลยูนาน ที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากเมื่อราว 200 ปีก่อน เช่น ผ้าซิ่นไทยพวน โม่หิน ถังต้มกาแฟโบราณ อุปกรณ์ทำนา เครื่องมือทอผ้า เป็นต้น
อุทยานพระพิฆเนศ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกประชาเกษม หมู่ 11 ถ.นครนายก-น้ำตกสาริกา ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเณศวรขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 9 เมตร สถานที่แห่งนี้จัดสร้างโดย พระราชพิพัฒน์โกศล หรือ หลวงพ่อเณร เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ ภายใน อุทยานพระพิฆเณศ ผู้ศรัทธาจะพบกับความอลังการของเทวรูปพระพิฆเนศขนาดมหึมา