อำเภอชุมแพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นประมาณ 82 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 520 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประมาณปี พ.ศ. 2400 พระครูหงส์ได้ชักชวนญาติพี่น้อง 8 ครอบครัวอพยพออกจากเมืองภูเวียง ครั้งสุดท้ายได้หยุดพักเกวียนที่บ้านกุดจอกน้อย แล้วแบ่งครอบครัวออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กุดแห่น้อย บ้านแห่ ส่วนกลุ่มที่นำโดยพระครูหงส์มีบุตร 3 คน คือ นายโฮม (ต้นตระกูลโฮมหงส์) นายโชค และนายหลอด (ต้นตระกูลหงส์ชุมแพ) ได้เดินทางต่อมาและเลือกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านร้าง มีวัดร้างและกุดแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก วัดร้างนี้มีธาตุและต้นโพธิ์จึงตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์ธาตุ พร้อมกับตั้งชื่อว่าบ้านกุดธาตุ กุดธาตุมีน้ำลึกมาก มีจระเข้ และป่าทึบทำให้จับปลาได้ยาก ประกอบกับรอบ ๆ กุดธาตุมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่น ชาวบ้านจึงตัดไม้ไผ่มามัดเป็นแพใช้ยืนหว่านแหแล้วตีวงล้อมเข้าหากัน นานเข้าจึงเรียกว่า "กุดชุมแพ" และ "บ้านชุมแพ"
เดิมสุขาภิบาลชุมแพได้ตราประจำประกอบด้วยสัญญาลักษณ์เป็นเจดีย์ใบโพธิ์ และคลื่นฟองน้ำอยู่ภายในวงกลม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอำเภอชุมแพขึ้นอีก เปลี่ยนตราประจำสำนักงานเทศบาลตามที่กรมศิลปกรออกแบบให้ตราใหม่มีลักษณ์เป็น วงกรมมีสัญญาลักษณ์เป็นรูปเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีประทับ อยู่บน แพมือขวาถือลูกธนูมือซ้ายถือคันธนูมีนายทหารคนสนิท 2 ชาย นั่งถือธงปลายหอกอยู่คนละข้าง (ประกาศเทศบาลตำบลชุมแพ วันที่ 23 มีนาคม 2530) สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปปราบฮ่อ ในเมืองพวน เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกดังนี้ 1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักรศิบปาคมเป็นแม่ทัพฝ่ายใต้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองหนองคาย 2. เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เป็นแม่ทัพฝ่ายเหนือยกกองทัพขึ้นไปทางหลวงพระบาง โดยให้ยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2428 (ยงศิลป และโขมพัตร เรืองศุข 2540 : 180) จากประวัติการยกทัพครั้งนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองพิชัย เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ตลอดจนถึงเมืองสิบสองจุไทย แสดงว่าไม่ได้ยกกองทัพผ่านบ้านชุมแพเลย บ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์ จงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น ๆ แบ่งได้เป็น 2 คุ้มอู่ระหว่าง 3 วัด ได้แก่ วัดเหนือ (ปัจจุบันเป็นที่ทำการประปา) วัดกลาง (วัดโพธิ์ธาตุ) และวัดใต้ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนบ้านชุมแพ) ปีพุทธศักราช 2543 ในระหว่างที่ท้าวอุปชิต มิตตะปิด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ได้เกิดเพลิงไม้กอไผ่ริมหนองอีเลิงด้านใต้แล้วลุกลามไหม้บ้านนายคาน หงส์ชุมแพจนถึงด้านทิศเหนือ ชาวบ้านไม่มีที่อยู่อาศัย จึงอพยพไปอยู่ตามที่นาของตนเอง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่บ้านหนองไผ (บ้านหนองไผ่ใต้) และบ้านโคกไม้งานในปัจจุบัน
ประมาณปี พ.ศ. 2470 เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น ปี พ.ศ. 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ต่อมา กำนันจาก 4 ตำบลของอำเภอภูเวียง ได้แก่ ตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลขัวเรียง และตำบลสีสุก (ศรีสุข) ได้ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ (ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น) ได้มาตรวจที่ ประกอบกับระยะนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ตั้ง อำเภอชุมแพ โดยยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่
วันที่ 1 ก.ค. 2486 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 132 ลว 1 ก.ค. 2486 ยกฐานะตำบลชุมแพขึ้นเป็นอำเภอชุมแพมีตำบลในเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ต.ชุมแพ ต.โนนหัน ต.ขัวเรียง ต.ครีสุขมี นายพิชญ พรมนารถ เป็นนายอำเภอคนแรก
คืนวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่บริเวณตลาดใต้ ตลาดสดดีบุญมีและโรงภาพยนตร์ชุมแพ
คณะ[ใคร?] ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดภูเวียง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อแยก อำเภอภูเวียง (ปัจจุบันแยกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภอภูเวียง และอำเภอเวียงเก่า) อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ อำเภอภูผาม่าน และอำเภอหนองนาคำ รวมกันขึ้นเป็น จังหวัดภูเวียง โดยมีผู้เข้าชื่อเสนอร่างจำนวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งเกินจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิจารณา
ก่อนหน้านี้ มึความพยายามผลักดันให้มีการก่อตั้งจังหวัดชุมแพ แต่เมื่อถึงขั้นตอนลงประชามติ พบว่ามีผู้ลงชื่อไม่ถึงจำนวน 5 หมื่นคน ทำให้ พรบ.จัดตั้งจังหวัดชุมแพตกไป ในเวลาต่อมาจึงได้มีความพยายามผลักดันให้อำเภอภูเวียงเป็นศูนย์กลางของจังหวัดใหม่อีกครั้ง
ในปี พ.ศ. 2555 นายสุชาย ศรีสุรพล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. ... ต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญในการยกฐานเป็นจังหวัดชุมแพ ประกอบด้วย อำเภอชุมแพ อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภอสีชมพู อำเภอหนองนาคำ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
คณะยื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง จังหวัดภูเวียง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อแยก อำเภอภูเวียง (ปัจจุบันแยกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภอภูเวียง และอำเภอเวียงเก่า) อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ อำเภอภูผาม่าน และ อำเภอหนองนาคำ รวมกันขึ้นเป็น จังหวัดภูเวียง โดยมีผู้เข้าชื่อเสนอร่างจำนวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งเกินจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้และโดยล่าสุดร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว กำลังอยู่ในระหว่างการผลักดันให้เข้าเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนหน้านี้มึความพยายามผลักดันให้มีการก่อตั้งจังหวัดชุมแพ แต่เมื่อถึงขั้นตอนลงประชามติ พบว่ามีผู้ลงชื่อไม่ถึงจำนวน 5 หมื่นคน ทำให้ พรบ.จัดตั้งจังหวัดชุมแพตกไป
มีประชากร ทั้งสิ้น 122,685 คน แยกเป็น ชาย 61,015 คน หญิง 61,670 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ 240.14 คน/ตารางกิโลเมตร แยกเป็นรายตำบล
นอกเขต เทศบาลเมืองชุมแพ เทศบาลตำบลโนนหัน และเทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์ ประชากร ชาย 40,972 คน หญิง 40,621 คน รวม 81,573 คน ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ ประชากร ชาย15,606 คน หญิง 16,203 คน รวม 31,809 คน ในเขตเทศบาลตำบลโนนหัน ประชากร ชาย 2,329 คน หญิง 2,548 คน รวม 4,877 คน ในเขตเทศบาลโคกสูงสัมพันธ์ ประชากร ชาย 2,108 คน หญิง 2,318 คน รวม 4,426 คน
อำเภอชุมแพมีเนื้อที่ทั้งหมด 318,750 ไร่ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ทิศเหนือมีภูเขาสูงและที่ราบสูงลาดเอียงไปทางทิศใต้ บริเวณทางทิศใต้มีลำน้ำเชิญเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างอำเภอชุมแพกับอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ทางทิศเหนือบางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติภูเวียง พื้นที่ทางทิศตะวันตกบางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงลาน รวมพื้นที่ป่าสงวนในเขตอำเภอชุมแพทั้งหมด 90,250 ไร่
แม้ฤดูฝนจะมีระยะเวลา 6 เดือนดังกล่าว แต่โดยทั่วไปจะมีสภาวะฝนทิ้งช่วงในราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และจะตกใหม่ในช่วงเดือนกันยายน เป็นเหตุให้การเพาะปลูกมักประสบปัญหาฝนแล้งอยู่เป็นประจำ
อำเภอชุมแพมีทรัพยากรที่สำคัญทางธรรมชาติ ดังนี้ ดิน ลักษณะของดินเป็นดินร่วน เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวนแหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอชุมแพคือ ลำน้ำเชิญ เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรในอำเภอชุมแพและอำเภอใกล้เคียง ชาวอำเภอชุมแพได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำเชิญที่บ้านดอนหัน ซึ่งเป็นเขื่อนที่เอื้อประโยชน์ให้ชาวชุมแพด้านการเกษตรและสาธารณูปโภค ป่าไม้ อำเภอชุมแพมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงลานที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงทั้งทางตรงและทางอ้อม สัตว์ ประชากรในอำเภอนิยมเลี้ยงสุกร โค กระบือ ไว้บริโภคและจำหน่าย บางครอบครัวยังได้ยึดเป็นอาชีพหลัก
ตั้งอยู่บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 4 ตำบลชุมแพ โนนเมืองเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น เมืองชั้นในรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 420 เมตร เมืองชั้นนอกทรงยาวรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 600 เมตร หรือมีเนื้อที่ประมาณ 216 ไร่ เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16) ในปี พ.ศ. 2513 หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้สำรวจพบเป็นครั้งแรก ต่อมาได้ดำเนินการขุดตรวจ ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ (อายุประมาณ 2,500-2,000 ปี) ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ เครื่องใช้ กระดูกสัตว์ จำนวน 13 หลุม จึงได้ทำหลังคาคลุมไว้ เพื่อแสดงในลักษณะพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้ง ให้ผู้สนใจได้เข้าชม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชุมแพ ไปทางชุมชนนาโพธิ์ (ผ่านโรงเรียนชุมชนชุมแพ) - บ้านโนนเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร หรือไปทางชุมชนพรานราษฎร์-บ้านโนนเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4324-2129, 0-4333-7629 ได้รับงบประมาณปรับปรุงจากปี 2546-2549 ประมาณ 30 ล้านบาท
ตั้งอยู่บนยอดเขาภูเวียง บ้านโนนสะอาดหมู่ที่ 8 ตำบลหนองไผ่ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ศิลปสมัยทวาราวดีที่งดงาม สลักอยู่บนหน้าผายาวกว่า 3.75 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก และหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ นอนตะแคงพระเศียรหนุนแนบกับลำแขนขวา แขนซ้ายทอดไปตามลำพระองค์เป็นท่านอนแบบเก่าที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชุมแพไปตามถนน มลิวรรณ (ชุมแพ - ขอนแก่น) แยกซ้ายบ้านโนนสะอาด - วัดผาพระนอนพัฒนาราม ประมาณ 6 - 7 กิโลเมตร (รถยนต์ถึง) เดินเท้าขึ้นเขาภูเวียงต่อระยะเดินเท้าประมาณ 2-3 กิโลเมตร ความสูงจากพื้นดินประมาณ 450 เมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 1.5 - 2 ชั่วโมง บนผาพระนอนจะมองเห็นทิวทัศนียภาพเมืองชุมแพที่สวยงามมาก จะมีงานนมัสการในวันตรุษสงกรานต์ทุกปี
ที่ตั้งที่ทำการอุทยานบ้านซำผักหนาม หมู่ที่ 12 ตำบลนาหนองทุ่ม " อุทยานแห่งชาติภูผาม่านมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 72 ( เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2543) มีเนื้อที่ประมาณ 350 กม.2 หรือประมาณ 218,750 ไร่ มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่งโดยเฉพาะถ้ำและน้ำตก เป็นแหล่งต้นกำเนิด " ลำน้ำพอง " ที่ทำการอุทยานฯ ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรับรองนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติ และเป็นอุทยาน ฯ นำร่อง 1 ใน 8 แห่ง ทั่วประเทศไทย มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เรือนรับรอง ห้องน้ำ ห้องสุขา ห้องประชุมสัมมนา บริเวณจัดแคมป์ไฟ กางเต๊นท์นอน ที่สะดวกสบาย มีทิวทัศน์สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างดียิ่งห่างจากอำเภอชุมแพไปตามถนนชุมแพ - เลย เลี้ยวซ้ายมือที่หลักกิโลเมตร ที่ 112 อีก 5 กิโลเมตร ถึงที่ตั้งที่ทำการ ระยะทาง 35 กิโลเมตร(สนใจสั่งจองที่พักหรือข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ โทรศัพท์ 0 - 4324 - 9050
อยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (ชุมแพ - เลย)ห่างจากอำเภอชุมแพประมาณ 35 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยเป็นห้อง ๆ นับได้ 5 ห้อง มีเกล็ดแวววาว ระยิบระยับสวยงาม และมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ด้านหน้าถ้ำมีศาลปู่หลุบเป็นที่เคารพสักการบูชาของผู้คนที่ผ่านไป - มา
อยู่ในเขตตำบลนาหนองทุ่ม จากอำเภอชุมแพไปตามถนนชุมแพ - เลย ประมาณ 30 กิโลเมตร มีทางแยกขวามือเข้าสู่ถ้ำอีกประมาณ 5 กิโลเมตร (เป็นทางดินและทางเดินป่า) เดิมเรียกว่า " ถ้ำร้อยพวง "เป็นถ้ำบนภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีเสาหินเกิดจากหินย้อยลงมาลักษณะเป็นพวง จากเพดานถ้ำดูสวยและแปลกตา ปากถ้ำอยู่สูงและทะลุออกไปบนยอดเขาสามารถมองเห็นทัศนียภาพรอบๆ ได้สวยงามยิ่ง
เป็นภูเขาสูงตระหง่านอยู่ริมน้ำพองในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อำเภอชุมแพ อยู่ห่างจากอำเภอชุมแพ ประมาณ 40 กิโลเมตร ตามถนนมลิวรรณ ลักษณะของผานกเค้าเป็นภูเขาหินสีดำ บางส่วนกะเทาะออกเป็นเนื้อหินสีส้ม มองเห็นลักษณะคล้ายนกเค้าที่กางปีกออกสองข้างถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่งของอำเภอชุมแพ
ผลิตภัณฑ์ข้าวหลาม รสชาติอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ไม่ใส่สารกันบูด เป็นการนำข้าวสารและส่วนประกอบการทำข้าวหลามมาผสมตามสูตรและขั้นตอน หวาน มัน อร่อย กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลหนองไผ่
น้ำฝรั่ง น้ำกระเจี๊ยบ ไวน์กระเจี๊ยบ ข้าวหมาก มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลนาหนองทุ่ม
ทำจากไม้ไผ่นำมาดัดแปลงเป็นแก้วน้ำ เหยือกน้ำ กระปุกออมสิน ที่เสียบปากกา แจกัน กาน้ำ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลโนนสะอาด
ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่,ต้นหมาก(สินค้าพื้นเมือง) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลชุมแพ
มีหลายประเภท มีทั้ง ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าขิด ผ้าลายยกดอก ฯลฯ มีความปราณีต สวยงาม กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลโนนหัน
ผลิตภัณฑ์จากฝ้ายมาทอเป็นผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลชุมแพ
ผ้ามัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ, ผ้าพื้นย้อมสีธรรมชาติ, ผ้าลายสก๊อตย้อมสีธรรมชาติ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลหนองเสาเล้า
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้ไผ่จักสานทั้งหมด มีความแข็งแรง ใช้งานได้นาน กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลวังหินลาด
" โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 รวม 61 แห่ง " โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขตที่ 25 จำนวน 6 แห่ง " บุคลากรทางการศึกษา ครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 5 - ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 280 คน - ครูโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 220 คน - ครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 170 คน " โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12 แห่ง เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 " โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ 1 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาล 1(สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) " วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือวิทยาลัยการอาชีพชุมแพ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) " โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 2 แห่ง คือ โรงเรียนโนนหันวิทยายน และ โรงเรียนมัธยมหนองเขียด สถานศึกษาที่สำคัญได้แก่