ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จักรวรรดิโรมันตะวันออก

จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือไบแซนทิอุม (อังกฤษ: Byzantine Empire หรือ Byzantium, กรีก: ???????? ??? ???????) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน ค.ศ. 1453 ในสมัยที่ยังมีจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่นั้น จักรวรรดิเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและกำลังทหารแข็งแกร่งที่สุดในยุโรป

จากประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้แสดงให้เห็นว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์คือจักรวรรดิของชาวกรีก เมื่อคำนึงถึงอิทธิพลของภาษากรีก วัฒนธรรมกรีกและประชากรเชื้อสายกรีก แต่ประชาชนของจักรวรรดิเองนั้น มองจักรวรรดิของตนว่าเป็นเพียงจักรวรรดิโรมันที่มีจักรพรรดิโรมันสืบทอดตำแหน่งอย่างต่อเนื่องกันเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

การเริ่มต้นของจักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยส่วนใหญ่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 849-880) แห่งโรมได้สถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็น "โรมใหม่" ในปี พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) และย้ายเมืองหลวงจากโรมมาเป็นคอนสแตนติโนเปิลแทน ดังนั้น จึงถือว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปโดยปริยาย แต่ก็มีบางส่วนถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นในสมัยของธีโอโดเซียสมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 922-938) ซึ่งคริสต์ศาสนาได้เข้ามาแทนที่ลัทธิเพเกินบูชาเทพเจ้าโรมันในฐานะศาสนาประจำชาติ หรือหลังจากธีโอโดเซียสสววรคตใน พ.ศ. 938 เมื่อจักรวรรดิโรมันได้แบ่งขั้วการปกครองเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างเด็ดขาด ทั้งยังมีบ้างส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้น "อย่างแท้จริง" เมื่อจักรพรรดิโรมูลูส ออกุสตูลูส ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกองค์สุดท้ายถูกปราบดาภิเศก ซึ่งทำให้อำนาจในการปกครองจักรวรรดิตกอยู่ที่ชาวกรีกในฝั่งตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียว และยังมีอีกบางส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิโรมันได้แปลงสภาพเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสมบูรณ์ เมื่อจักรพรรดิเฮราคลิอุสเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งในราชการ จากเดิมที่เป็นภาษาละติน ให้กลายเป็นภาษากรีกแทน

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงสถานะของจักรวรรดินั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงก่อนที่จักรพรรดิคอนสแตนตินจะสถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมันใน พ.ศ. 873 ก็ตาม ในตอนนั้นก็ได้มีการแปลงสภาพวัฒนธรรมจากโรมันเป็นกรีก รวมถึงการเปิดรับคริสต์ศาสนาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปแล้ว

การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยทั่วไปแล้ว เชื่อว่าเกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยชาวออตโตมันเติร์ก ในปี พ.ศ. 1996 โดยกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นจุดสิ้นสุดยุคกลางในยุโรปอีกด้วย

ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิโรมัน ในปี ค.ศ. 330 พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันไปยังเมืองไบแซนทิอุม จากนั้นทรงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโนวาโรม หรือกรุงโรมใหม่ หลังพระองค์สวรรคตในปี ค.ศ. 337 กรุงโรมใหม่ ก็ได้เปลี่ยนเป็น คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) เพื่อเป็นการถวายเกียรติแด่พระองค์

เมืองไบแซนทิอุม เมื่อถูกตั้งเป็นเมืองหลวงมีความสำคัญทางด้านการเมืองและได้เป็นศูนย์กลางการค้าของจักรวรรดิ ในเวลานั้นจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออกยังมีจักรพรรดิองค์เดียวกันอยู่ การแบ่งจักรวรรดิเป็นสองส่วนนั้นเป็นเพียงแบ่งการปกครองเท่านั้น

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 395 จักรพรรดิเธโอดอซุสที่ 1 ทรงแบ่งแยกจักรวรรดิโรมันเป็น 2 ส่วน เพื่อให้พระโอรสทั้งสองพระองค์ คือ เจ้าชายอาร์คาดิอุส ได้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันออกโดยมีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ในขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้ถูกทำลายและล่มสลายไปในปี ค.ศ. 476 ซึ่งนำไปสู่ยุคมืดของยุโรป จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้หันมารับภาษาและวัฒธรรมกรีก ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอนาโตเลีย ภาษาละตินของโรมันค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยภาษากรีกและได้เป็นภาษาที่ยอมรับในจักรวรรดิไบแซนไทน์

จักรวรรดิไบแซนไทน์เจริญถึงขีดสุดในรัชสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) (ครองราชย์ ค.ศ. 527-565) ทรงต้องการรวบรวมดินแดนของจักรวรรดิโรมันที่สูญเสียไปกลับคืน ทรงปกครองดินแดนที่ขยายกว้างใหญ่ออกไปให้กว้างกว่าจักรวรรดิโรมันตะวันออก

นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงสร้างและบูรณะเมืองต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิ จนทำให้อีกหลายเมือง เช่น เมืองดามาคัส เมืองแอนติออค เมืองเบรุต และเมืองอเล็กซานเดรีย มีศิลปกรรมที่สวยงามและเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน ผลงานชิ้นเอกคือฮายาโซฟีอาเป็นศิลปะไบแซนไทน์

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของจักรพรรดิจัสติเนียน คือ ประมวลกฎหมายจัสติเนียน พระองค์ทรงตั้งคณะกรรมการขึ้นมา พิจารณาชำระและร่างกฎหมายขึ้น จักรพรรดิจัสติเนียนเองก็มีส่วนในการวินิจฉัยแก้ประมวลกฎหมายนั้นด้วย กฎหมายตราขึ้นในปี ค.ศ. 529 และแก้ไขเพิ่มให้สมบูรณ์อีกครั้งในอีก 5 ปีต่อมา

หลังจากจักรพรรดิจัสติเนียนเสด็จสวรรคตแล้ว จักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มเสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆตามเวลา พระองค์สวรรคตในปี ค.ศ. 565 และช่วงเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 565-641 ปรากฏว่ามีจักรพรรดิปกครองถึง 6 พระองค์ แต่ละองค์ปกครองจักรวรรดิในช่วงเวลาสั้น ๆ และจักรวรรดิไบแซนไทน์ต้องเสียดินแดนในการปกครองอย่างต่อเนื่องโดยจักรพรรดิไม่สามารถทำอะไรได้เลยนอกจากพยามรักษาจักรวรรดิเอาไว้จากการรุกรานของต่างชาติ โดยเฉพาะพวกเปอร์เซียและสลาฟ

เปอร์เซียรุกรานจักรวรรดิ กองทัพเปอร์เซียซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ยกกองทัพเข้ามารุกรานไบแซนไทน์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่พรมแดนยุโรปตะวันออกก็ถูกพวกสลาฟรุกราน ทำให้จักรพรรดิของไบแซนไทน์ต้องทำนโยบายต่าง ๆ นั้นทำให้ประชาชนไม่พอใจและร่วมขับไล่จักรพรรดิมอริสในปี ค.ศ. 582-602 แล้วนายทหารชื่อโฟคาสก็ได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิปกครองอยู่ในช่วงหนึ่งคือปี ค.ศ. 602-610 โฟคาสก็ยังต้องพบกับปัญหาเดิม ๆ อีกและด้วยการที่เขานำวิธีการปกครองแบบเผด็จการมาใช้ผนวกเข้าไปด้วยก็กลับสร้างความไม่พอใจกับประชาชน ในที่สุดเขาถูกชิงอำนาจโดยนายทหารอีกผู้หนึ่งแทน

ค.ศ. 610-641 เป็นยุคสมัยจักรพรรดิเฮราเคียส ก็ยังคงเผชิญกับการรุกรานเช่นเดิม เปอร์เซียรุกลึกเข้าในจักรวรรดิมากคือเข้ามาถึงอาร์มีเนียและเมโสโปเตเมีย แล้วในปี ค.ศ. 613 ก็สามารถยึดเมืองแอนนิออค ปี ค.ศ. 614 ก็ยึดเมืองเยรูซาเล็ม ซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ ก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของเปอร์ดซีย ไม่รวมแม้แต่เอเชียไมเนอร์ที่กำลังถูกรุกราน ด้วยสถานการณ์ที่คับขันทำให้จักรพรรดิต้องลงนามสนธิสัญญาสันติภาพดับพวกอวาร์ที่รุกรานอยู่ยุโรปตะวันออก โดยหวังจะระดมพลกองทัพไบแซนไทน์ทั้งหมดไปเอเชียไมเนอร์ แต่ปรากฏว่าเมื่อยกทัพออกไป ทัพของเปอร์เซียก็ร่วมมือกับอวาร์เข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลทำให้จักรพรรดิต้องยกทัพกลับ

แต่ในปลายปี ค.ศ. 627 กองทัพไบแซนไทน์กลับเอาชนะกองทัพเปอร์เซียได้ ไบแซนไทน์ขับพระมหากษัตริย์เปอร์เซียและปลงชีพพระองค์ทำให้เปอร์เซียถูกบังคับให้ลงนามสนธิสัญญาสงบศึก ทำให้ไบแซนไทน์ดูเหมือนกลับมาสงบอีกครั้ง

การรุกรานใหม่กำลังเริ่มเข้ามาสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์อีกครั้งนั้นก็คือ ศาสนาอิสลามที่กำลังเผยแพร่ศาสนาโดยนำของมุสลิมชาวอาหรับที่มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆทุกที ค.ศ. 632 กองทัพมุสลิมอาหรับก็สามารถเข้าครอบครองคาบสมุทรอารเบีย แล้วเริ่มรุกรานเข้าสู่ดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์และเปอร์เซีย

ต่อจากนั้นก็เริ่มเข้ายึดครองเมืองดามัสกัสในปี ค.ศ. 635 ได้จอร์แดนและซีเรียในปี ค.ศ. 636 ได้เยรูซาเล็มในปี ค.ศ. 638 มุสลิมชาวอาหรับก็เริ่มรุกเข้าอียิปต์ และรุกรานเอเชียไมเนอร์ จักรพรรดิเฮราเคลียของไบแซนไทน์พยามต่อต้านการรุกรานอย่างเต็มกำลัง จนกระทั่งสิ้นรัชกาลในปี ค.ศ. 641 สถานการณ์ยังคงไม่ดีขึ้น

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 มุสลิมอาหรับได้ดินแดนแอฟริกาตอนเหนือของไบแซนไทน์ไปจนหมด ซึ่งดินแดนเหล่านี้ถือเป็นดินแดนที่สำคัญของจักรวรรดิ เพราะมีประชากรมากที่สุด ชาวเมืองเป็นชุมชนที่มีความรู้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและที่สำคัญคือเป็นที่ตั้งของเมืองขนาดใหญ่และสำคัญ เช่น เมืองอเล็กซานเดรีย, เยรูซาเล็ม การสูญเสียครั้งนี้ถือเป็นการสุญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับจักรวรรดิไบแซนไทน์ เพราะทำให้ไบแซนไทน์ต้องอ่อนแอลงทั้งด้านกำลังคนและเศรษฐกิจ จนเป็นส่วนหนึ่งของการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ต่อมา[ต้องการอ้างอิง]

ปัญหาการรุกรานของมุสลิมอาหรับกับไบแซนไทน์ก็ดูเหมือนว่าจะจบลงไปชั่วคราวเมื่อได้พันธมิตร โดยจักรพรรดิลีโอที่ 3 ได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับชนเผ่าเติร์กจากเอเชียกลางมาช่วยกันไม่ให้มุสลิมอาหรับและบัลแกเรียที่รุกรานนออกห่างกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้

ค.ศ. 867–1025 ความสงบชั่วคราวทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เพราะจักรวรรดิมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา การเมืองภายในสงบ มึการขยายดินแดน เศรษฐกิจก็มั่นคง ความก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการก็เจริญ ด้วยการปกครองของจักรพรรดิที่มาจากราชวงศ์มาซิโดเนีย โดยมีจักรพรรดิที่สำคัญได้แก่ เบซิลที่ 1 และเบซิลที่ 2

แท้จริงตำแหน่งจักรพรรดิของไบแซนไทน์นั้นมาจากการเลือกตั้งทำให้ราชวงศ์มาซิโดเนียสามารถเข้ามาเป็นผู้นำได้ อีกทั้งด้วยผลงานของจักรพรรดิเบซิลที่ 1 ที่สามารถมีชัยชนะต่อกองทัพอาหรับ และสามารถขยายดินแดนไปยุโรปตะวันออก อีกทั้งยังยืนยันในการเป็นจักรวรรดิผู้นำคริสต์ศาสนานิกายออร์ทอดอกซ์ไปเผยแพร่อีกด้วยทำให้พระองค์ได้รับความนิยมอย่างมาก

ช่วงปลายรัชสมัยของจักรพรรดิเบซิลนั้นพระองค์สามารถเป็นพันธมิตรกับบัลแกเรียได้ด้วยนโยบายทางศาสนาแต่ก็กลายเป็นปัญหากับไบแซนไทน์มากกว่าที่เคยมีกับอาหรับ โดยจักรพรรดิเบซิลที่ 2 ได้ทำสงครามอย่างยาวนานกับบัลแกเรียนานหลายปี จนกระทั่งปี ค.ศ. 1018 บัลแกเรียก็พ่ายแพ้และตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ชัยชนะที่มีต่อบัลแกเรียนี้ทัให้ไบแซนไทน์สามารถขยายอาณาเขตในยุโรปตะวันออกไปไกลอีกคือ เซอร์เบีย โครเอเชีย แต่อำนาจของและความรุ่งเรืองของจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ หลังจากที่จักรพรรดิเบซิลที่ 2 สวรรคตในปี ค.ศ. 1025

หลังจักรพรรดิเบซิลที่ 2 เสด็จสวรรคต พระอนุชาคือ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์ไม่มีโอรส จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 พระองค์ครองอำนาจในระยะสั้น แม้ในเวลาต่อมาพระองค์จะไม่มีพระราชโอรสแต่ก็มีพระองค์มีพระราชธิดา 2 พระองค์เท่านั้นคือ โซอิ์และธีโอโดรา แต่ประชาชนก็ยังเลือกเอาพระธิดาของพระองค์ให้ขึ้นครองราชย์ เพราะประชาชนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าความมั่งคั่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์มากจากราชวงศ์มาซิโดเนียเท่านั้น

แม้จะมีจักรพรรดิจากราชวงศ์อื่นขึ้นเป็นจักรพรรดิก็ตามแต่ก็อยู่ได้เพียงระยะสั้นเพราะประชาชนไม่นิยมสุดท้าย โซอิ์ ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดินี ครองราชย์ในช่วง ค.ศ. 1028-1050 พระนางได้เสกสมรสถึง 3 ครั้ง ทำให้พระสวามีทั้งสามได้เป็นองค์จักรพรรดิตามไปด้วย ได้แก่ โรมานุสที่ 3 ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อปี 1028-1034 ไมเคิลที่ 4 ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อปี 1034-1041 และ คอนสแตนตินที่ 9 ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อปี 1042-1055 เมื่อคอนสแตนตินที่ 9 สิ้นพระชนม์ ธีโอโดราก็ได้เป็นจักรพรรดินีองค์ต่อมา กระทั่ง ค.ศ. 1055

ช่วงระยะนี้ คือตั้งแต่ปี 1025-1081 นั้น นับเป็นช่วงปลายยุคทองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระยะเวลาเพียง 56 ปี มีจักรพรรดิปกครองถึง 13 พระองค์ มีความพยายามที่จะเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่เข้ามาปกครองแต่ไม่สำเร็จ กระทั่ง ค.ศ. 1081 อเล็กเซียที่ 1 จากตระกูลคอมเมนุส ก็ทำการสำเร็จ และตระกูลนี้ปกครองต่อมาอีก ตั้งแต่ปี 1081-1185

ยุคทองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ด้านหนึ่งก็มีผลร้ายเหมือนกัน นั่นคือ ด้วยความมั่งคั่ง และรุ่งเรืองต่อเนื่องยาวนานทำให้ประชาชนหลงใหลและขาดการเตรียมตัว ทำให้จักรวรรดิเริ่มอ่อนแอลง อีกทั้งเกิดความแตกแยกในหมู่ผู้ปกครองและชนชั้นสูงปละระหว่างกลุ่มขุนนางหารกับขุนนางพลเรือน เมื่อเกิดการรุกรานจากศตรูทำให้ไบแซนไทน์ต้องประสบปัญหาในที่สุด

โดยเฉพาะการรุกรานของชนเผ่าเติร์กหรือเซลจุกเตริร์กในเวลาต่อมากล่าวคือชนเผ่าเติร์กเป็นศตรูกลุ่มใหม่ที่เริ่มรุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์ในกลางศตวรรษที่ 11 อันที่จริงแล้วเมื่อสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 เคยได้เข้าร่วมกับพวกเติร์กในการต่อต้านการรุกรานของบัลแกเรียมาแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นจักรพรรดิทรงอนุญาตให้ชาวเติร์กตั้งถิ่นฐานอยู่ในทางตอนใต้ของแม่น้ำดานูบ และที่สำคัญเหนือไปกว่านั้นชาวไบแซนไทน์เองที่สอนให้ชาวเติร์กให้รบเก่งและมีระบบ

ต่อมาเมื่อเติร์กขยายตัวมากยิ่งขึ้นก็เริ่มรุกรานพื้นที่หลายแห่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี 1055 เติร์กสามารถชนะเปอร์เซีย หลังจากนั้นพวกเขาก็ยกทัพเข้าแบกแดดและเริ่มสถาปนาตนเองเป็นสุลต่าน พร้อมอ้างตัวเป็นผู้คุ้มครองกาหลิบอับบาสิค และเริ่มขยายอำนาจเข้าสู่อียิปต์และอนาโตเนีย ต่อมา ค.ศ. 1065 เติร์กรุกเข้าอาร์มีเนีย และ ค.ศ. 1067 ก็สามารถขยายอำนาจเข้าสู่ตอนกลางอนาโตเลีย

ค.ศ. 1067 ไบแซนไทน์มีจักรพรรดิคือ โรมานุสที่ 4 พระองค์ทรงพ่ายแพ้ต่อกองทัพเติร์กที่สนามรบอาร์มีเนีย และพระองค์ก้ถูกจับเป็นเชลยต่อกองทัพของเติร์กจำเป็นต้องเซ็นสัญญาสงบศึกกับเติร์กก่อนจะได้รับการปล่อยตัว เมื่อจักรพรรดิโรมานุสเดินทางกลับยังคอนสแตนติโนเปิลพระองค์ก็ไม่เป็นที่ยอมรับจนเกิดการแย่งชิงอำนาจขึ้นภายในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ทำให้เติร์กส่งกองกำลังมารบกวนจนสามารถยึดไนเซีย อันเป็นเมืองฐานกำลังทหารและเศรษฐกิจของจักรวรรดิ ไม่เพียงเท่านี้นไบแซนไทน์ยังถูกซ้ำเติมอีกชาวนอร์แมน รุกเข้ามายึดอิตาลีทั้งหมดในกลางปี 1071 โดยเข้ายึดฐานที่มั่นของไบแซนไทน์ในอิตาลีที่เมืองบารีได้ให้อิตาลีทั้งหมดตกอยู่ในใต้อำนาจของนอร์แมนกลายเป็นการปิดฉากอำนาจของไบแซนไทน์ในคาบสมุทรอิตาลีไปด้วย

หลังจากเสียอิธิพลในฝั่งอิตาลีไปแล้ว ไบแซนไทน์ก็มีอาณาเขตเล็กลงมาก นอกจากนั้นภายในไบแซนไทน์ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันอย่างไม่สิ้นสุด หลังจากที่แย่งชิงกันอยู่ถึง4ปี สุดท้าย อเล็กเซียส คอมมินุส ซึ่งเป็นขุนนางทหารก็ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อจักรวรรดิถูกปิดล้อมทั้งตะวันตกโดยชาวนอร์แมน และทางตะวันออกโดยเซลจุกเติร์กทำให้จักรพรรดิ อเล็กเซียสที่ 1 (ค.ศ. 1081-1811) ต้องไปขอความช่วยเหลือจากพวกวินีเทียน โดยที่พระองค์ต้องยอมตกลงตามข้อเรียกร้องของวินีเทียน โดยให้สิทธิการค้าในกรุงคอนสแตนติโนเปิลและที่อื่น ๆ ในไบแซนไทน์ ซึ่งข้อตกลงนี้เองทำให้ชาวเวนิสกลายมาเป็นพ่อค้าสำคัญในด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในเวลาต่อมา

สงครามครูเสด การรุกรานของชนทั้งสองต่อไบแซนไทน์ก็ยังไม่สิ้นสุดลงจนกระทั่งจักรพรรดิอเล็กเซียสที่ 1 จำต้องขอความชั่วเหลือไปยังสมเด็จพระสันตะปาปา โดยยกขออ้างให้ช่วยเหลือเมืองเยรูซาเล็ม ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกเติร์กยึดครองไปตั้งแต่ ค.ศ. 1077 และกองทัพครูเสคครั้งที่ 1 ก็ถูกส่งเข้ามา

ด้วยชัยชนะของกองทัพครูเสคดินแดนบางส่วนก็ได้ส่งคืนให้กับจักรพรรดิไบแซนไทน์ แต่บางส่วนแม่ทัพชาวมอร์แมนกลับไม่ยอมยกคืนให้ทั้งที่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นั้นจักรพรรดิไบแซนไทน์เป็นผู้ที่เสียให้เกือบทั้งหมด ผ่านพ้นสงครามครูเสดครั้งที่ 1 พวกเติร์กก็ยังรุกรานอยู่เช่นเดิม จักรพรรดิองค์ต่อมาเห็นว่าชาวตะวันตกมีบทบาทจึงได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับชาวตะวันตกเอาไว้ ต่อมาเกิดสงครามครูเสดครั้งที 2 กองทัพครูเสดต้องใช้ไบแซนไทน์เป็นทางผ่านทำให้ไบแซนไทน์ถูกกองทัพครูเสดบางกกลุ่มเข้าปล้น

ไบแซนไทน์ยังต้องทำสงครามกับเติร์กมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยชาวเติร์กรุกเข้ามาในจักรวรรดิ โดยเริ่มจาก ค.ศ. 1377 เติร์กประกาศตั้งเมืองหลวงของออตโตมันที่อเดรียนเนเปิล ค.ศ. 1385 ก็ยึดเมืองโซเฟีย ค.ศ. 1386 ได้เมืองนีส เมืองเทสสาโลนิกา

มกราคม ค.ศ. 1453 จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ต้องพ่ายแพ้แด่จักรวรรดิออตโตมันของชาวเติร์ก และถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันในที่สุด จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ล่มสลายลง จักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นรักษาวัฒธรรมของโรมันและวัฒธรรมกรีก เป็นระยะเวลา 1123ปี จักรวรรดินั้นถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 330-1453

การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ เกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยชาวออตโตมันเติร์ก ในปี ค.ศ. 1453 หลังจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นที่สิ้นสุดของยุคกลางในยุโรป

อาณาจักรพระสันตะปาปา ? อิตาลี ? จักรวรรดิโรมัน ? ซาร์ดิเนีย ? ซิซิลีทั้งสอง ? ซิซิลี ? เนเปิลส์ ? ลอมบาร์ด ? ลอมบาร์ดี-เวเนเชีย ? ทัสกานี ? มิลาน ? ปาร์มา ? โมเดนาและเรจโจ ? อูร์บีโน ? มัสซาและการ์รารา ? ลูคคา ? เพรซิดิ ? โซรา ? เทรนต์ ? มานตัว ? มอนต์เฟอร์รัต ? ซาลุซโซ ? สโปเลโต ? จักรวรรดิไบแซนไทน์ ? อิตาลี (นโปเลียน) ? อิตาลี (ยุคกลาง) ? อิทรูเรีย ? ซาแลร์โน ? เบเนเวนโต ?


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301