ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ยุคชึลมุน
ยุคมูมุนอาณาจักรโชซ็อนโบราณ 2333–108 BC
รัฐจิ้นก่อนสามก๊ก: 108–57 BC
พูยอ, อกจอ, ทงเย
สามฮั่น: มา, บย็อน, ชินสามก๊ก: 57 BC – 668 AD
อาณาจักรโคกูรยอ 37 BC – 668 AD
อาณาจักรแพ็กเจ 18 BC – 660 AD
อาณาจักรชิลลา 57 BC – 935 AD
คายา 42–562อาณาจักรเหนือใต้: 698–935
อาณาจักรรวมชิลลา 668–935
อาณาจักรพัลแฮ 698–926
สามอาณาจักรหลัง 892–935
อาณาจักรโคกูรยอใหม่, อาณาจักรแพ็กเจใหม่, อาณาจักรชิลลาราชวงศ์โครยอ 918–1392ราชวงศ์โชซ็อน 1392–1897จักรวรรดิเกาหลี 1897–1910ญี่ปุ่นปกครอง 1910–1945
รัฐบาลพลัดถิ่น 1919–1948การแบ่งเกาหลี 1945–1948เหนือ, ใต้ 1948–present
สงครามเกาหลี 1950–1953
จักรวรรดิโชซอน หรือ แทฮันเจกุก (อังกฤษ: The Greater Korean Empire ; เกาหลี: ????, ฮันจา: ????, MC: Daehan Jeguk, MR: Taehan Chekuk) คือราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโกจง พร้อมกับการเปลี่ยนพระอิสริยยศจาก กษัตริย์ เป็น จักรพรรดิ โดยพระองค์มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิโชซอน เพื่อให้ประเทศเอกราชจากจักรวรรดิชิง และยกสถานะของประเทศมีความเท่าเทียมกับจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าโดยพฤติการณ์แล้วสถานะของโชซอนไม่ได้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิเลยก็ตาม จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี ค.ศ. 1910
ราชอาณาจักรโชซ็อนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนและญี่ปุ่น ซึ่งกำลังพัฒนาประเทศให้ทันสมัยตามแบบชาวตะวันตก ขณะที่อาณาจักรโชซ็อนยึดมั่นในความสันโดษอย่างแข็งกร้าว ในปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) เป็นปีแห่งความวุ่นวายของอาณาจักรโชซ็อน ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจปีคัปชิน ทำให้ฝ่ายหัวก้าวหน้ามีอำนาจ หรือกบฏทงฮัก ซึ่งทั้งจีน (ตามคำขอของพระมเหสีมินจายอง) และญี่ปุ่นต่างส่งทัพมาปราบ และทำสงครามกัน ผลลงเอยด้วยญี่ปุ่นได้ชัยชนะกำจัดอิทธิพลจีนเข้าควบคุมอาณาจักรโชซ็อนและบังคับให้อาณาจักรโชซ็อนประกาศเอกราชจากจีนตามสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ
แต่จักรวรรดิรัสเซียเห็นว่าการขยายอำนาจในตะวันออกไกลของญี่ปุ่นจะเป็นภัย ด้วยความช่วยเหลือของเยอรมนีและฝรั่งเศส จึงบังคับยึดเอาพอร์ตอาเธอร์ในคาบสมุทรเหลียวตงมาจากจีน เป็นภัยโดยตรงต่อญี่ปุ่น พระมเหสีมินจายองทรงเป็นผู้นำในการต่อต้านอิทธิพลของญี่ปุ่นในอาณาจักรโชซ็อน จึงทรงถูกทหารญี่ปุ่นลอบสังหารในปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) ทำให้พระเจ้าโกจงทรงหลบหนีไปสถานกงสุลรัสเซีย ญี่ปุ่นเข้าควบคุมการปกครองอาณาจักรโชซ็อน ทำการปรับปรุงประเทศต่างๆ ยกเลิกประเพณีเก่าแก่ เช่น ยกเลิกการใช้นามปีนับศักราชแบบจีน และให้ใช้ปฏิทินเกรกอเรียนแทน รวมทั้งการตัดจุกของผู้ชาย ซึ่งขัดกับหลักขงจื้อที่ห้ามตัดผมตลอดชีวิต ทำให้ประชาชนเล็งเห็นถึงภัยจากต่างชาติที่กำลังคุกคามอาณาจักรโชซ็อน อย่างหนัก จึงรวมตัวกันเป็นสมาคมเอกราช รบเร้าให้พระเจ้าโกจงทรงกลับมาต่อต้านอิทธิพลของญี่ปุ่น
ในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) พระเจ้าโกจงทรงกลับมาประทับที่พระราชวังต๊อกซูกุง ประกาศเปลี่ยนให้อาณาจักรโชซ็อนเป็นจักรวรรดิโชซอน และพระองค์เองทรงเลื่อนสถานะเป็นสมเด็จจักรพรรดิควางมู(???; ???) (รวมทั้งเลื่อนสถานะพระมเหสีมินจายองเป็นสมเด็จจักรพรรดินีเมียงซอง) ทรงเลือกใช้คำว่า"ฮัน"มาเป็นชื่อประเทศจากอาณาจักรสามฮันในสมัยโบราณ
หลังจากที่จีนสิ้นอำนาจไปแล้วจักรวรรดิรัสเซียก็เริ่มที่จะมีอิทธิพลในตะวันออกไกลแทน รัสเซียสร้างทางรถไฟในแมนจูเรียจากฮาร์บินผ่านมุกเดนมาถึงพอร์ตอาเธอร์ แต่กบฏนักมวยได้เผาทางรถไฟของรัสเซียในแมนจูเรียในพ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899)ทำให้รัสเซียยกทัพเข้ายึดครองแมนจูเรีย อ้างว่าเพื่อปกป้องทางรถไฟของตน และบรรลุข้อตกลงกับญี่ปุ่น ว่ารัสเซียจะไม่ยุ่งกับเกาหลี และญี่ปุ่นจะไม่ยุ่งกับแมนจูเรีย แต่ทั้งสองประเทศต่างก็รู้ดีว่าอีกฝ่ายจ้องจะยึดครองอาณานิคมของอีกฝ่ายอยู่
จนญี่ปุ่นทำข้อตกลงพันธมิตรกับอังกฤษในพ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) ทำให้รัสเซียไม่อาจดึงชาติตะวันตกอื่นๆมาร่วมได้ เพราะจะต้องเป็นปฏิปักษ์กับอังกฤษ ขณะเดียวกันรัสเซียก็เริ่มเคลื่อนไหวที่ริมฝั่งแม่น้ำยาลูฝั่งแมนจูเรีย ในพ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ทูตญี่ปุ่นที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้พยายามเจรจาอีกครั้ง แต่ไม่ประสบผล ในพ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นจึงเริ่มขึ้น โดยรบกันที่พอร์ตอาเธอร์และแม่น้ำยาลูเป็นส่วนใหญ่ ญี่ปุ่นนำกองทัพเคลื่อนผ่านโชซอนไปมาโดยที่เกาหลีไม่สามารถทำอะไรได้เลย เพราะแม้พระเจ้าโกจงทรงอุตสาหะเลื่อนสถานะของประเทศเป็นจักรวรรดิ แต่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นอยู่ดี
ญี่ปุ่นยึดพอร์ตอาเธอร์ได้ในที่สุดในพ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905)การชนะสงครามกับรัสเซียในครั้งนี้ ทำให้ญี่ปุ่นเป็นเจ้าแห่งเอเชียตะวันออก และสามารถขอการสนับสนุนจากชาติตะวันตกในการยึดครองโชซอนได้ เช่น สหรัฐอเมริกายินยอมให้ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลสู่โชซอนในข้อตกลงทาฟต์-คะสึระ จนบังคับโชซอนลงนามใน สนธิสัญญาอึลซา ให้โชซอนตกเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีเพียงรัฐมนตรีโชซอนบางคนเท่านั้นที่ลงนามยอมรับ แต่ตัวจักรพรรดิควางมูเองมิได้ทรงลงนามด้วย แต่อย่างไรก็ตาม โชซอนก็ได้หมดสภาพในการติดต่อสัมพันธ์กับต้างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศผ่านท่าเรือทุกแห่งญี่ปุ่นจะเข้าควบคุมดูแล รวมทั้งเข้ายึดครองระบบขนส่งและสื่อสารทั้งหมดของประเทศ
แต่จักรพรรดิควางมูก็ยังไม่ทรงหมดความหวัง โดยแอบส่งทูตไปยังการประชุมอนุสัญญากรุงเฮกในปีพ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมจากการกระทำของญี่ปุ่นในสภาโลก แต่บรรดามหาอำนาจทั้งหลายไม่ยอมรับโชซอนเป็นรัฐเอกราช และไม่ยอมให้ผู้แทนโชซอนเข้าร่วมการประชุม เมื่อญี่ปุ่นทราบเหตุการณ์จึงกล่าวโทษโชซอนว่าละเมิดข้อสัญญาในสนธิสัญญาอึลซา จึงบังคับให้โชซอนทำสนธิสัญญาญี่ปุ่น-โชซอนฉบับที่ 3 ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) และให้จักรพรรดิควางมูสละบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิยุงฮึย ชาวญี่ปุ่นได้เข้าเป็นผู้บริหารประเทศ จักรพรรดิควางมูสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน
จนในพ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) การลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-โชซอน ทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองโชซอนอย่างสมบูรณ์ ในสนธิสัญญามีตราตั้งพระราชลัญจกร แต่ไม่มีพระนามของจักรพรรดิยุงฮึย กลับมีลายมือชื่อของลีวานยง นายกรัฐมนตรีโชซอนแทน ดังนั้นตลอดเวลาและหลังการยึดครองของญี่ปุ่น จึงมีคำถามโดยเฉพาะกับชาวโชซอนว่าสนธิสัญญาฉบับนี้มีความถูกต้องมากเพียงใด ซึ่งแน่นอนว่าชาวโชซอนในปัจจุบันจะต้องไม่ยอมรับสัญญาฉบับนี้ และประกาศให้สัญญาฉบับนี้เป็นโมฆะในพ.ศ. 2548 แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม โชซอนก็ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นไป 30 กว่าปี จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โชซอนจึงถูกแบ่งเป็นเหนือและใต้
สถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยเจ้าหญิงเฮวอน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงประกาศฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีอย่างเป็นทางการ โดยพระนางทรงเรียกพระองค์เองว่า จักรพรรดินีแห่งเกาหลี ทำให้เกาหลีมีประมุขแห่งราชวงศ์ลีและสถาบันจักรพรรดิเกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ปิดฉากไปเป็นเวลานานกว่า 97 ปี (พ.ศ. 2453) ด้วยการที่จักรวรรดิญี่ปุ่น (ด้วยความร่วมมือขอพระราชบิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิควางมู หรือพระเจ้าโกจง) บุกยึดเกาหลีและล้มล้างสถาบันจักรพรรดิจนราบคาบ แต่เนื่องจากรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ยังมิได้ให้การรับรองหรือเข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ จึงทำให้พระนางยังคงขาดสถานะความเป็นประมุขแห่งรัฐ
อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอนทรงดำรงพระยศเป็น ประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลี และ ประมุขคริสตจักรเกาหลี