ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมัน (อังกฤษ: Ottoman Empire) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง จักพรรดิเมห์เหม็ดที่ 2เป็นผู้นำทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม

อาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้

อาณาจักรออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก

ในช่วงที่เซลจุกเติร์กกำลังเสื่อมอำนาจ ชาวเติร์กเผ่าอื่นๆ ซึ่งได้อพยพตามเซลจุกเติร์กเข้ามายังอนาโตเลียจึงได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราช ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงชาวเติร์กกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของออสมาน เบย์ (Osman Bey) (“เบย์” ในภาษาตุรกีมีความหมายว่า ผู้นำ หรือ เจ้าเมือง) ผู้นำชาวเติร์กเผ่าคายี (Kayi) ซึ่งเป็นสายย่อยของเติร์กเผ่าโอกูซ (Oghuz) บิดาของออสมัน ชื่อ Ertugrul เป็นผู้นำเผ่าคายี ซึ่งเป็นเติร์กกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้าไปอยู่ในเปอร์เซีย ในกลางศตวรรษที่ 13 Ertugrul ได้พาเผ่าของตนอพยพเข้ามายังอนาโตเลีย เพื่อหลบหนีการโจมตีจากพวกมองโกล เมื่ออพยพเข้ามายังอนาโตเลียแล้ว Ertugrul เสียชีวิต ออสมันบุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ภายหลังที่อาณาจักรเซลจุกเสื่อมอำนาจ ออสมันได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราชและได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง ขึ้นในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย อาณาจักรแห่งนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า ออตโตมัน (Ottoman) แต่ในภาษาตุรกีจะเรียกว่า ออสมานลึ (Osmanli) ตามพระนามของสุลต่านออสมาน (Osman) ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงศ์

จักรวรรดิออตโตมันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองบูร์ซา เดิมชื่อเมืองโพรอุสซา (Proussa) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ออสมานได้ยกกำลังมาปิดล้อมเมืองนี้แต่ไม่สามารถยึดเมืองได้ หลังจากที่พยายามปิดล้อมเมืองอยู่นานเกือบ 10 ปี อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1869 (ค.ศ. 1326) ชาวเมืองโพรอุสซา ได้ยอมแพ้ต่อ ออร์ฮัน (Orhan) โอรสของออสมาน ซึ่งได้ขันมาเป็นผู้นำแทนบิดา การเข้ายึดครองเมืองดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อออตโตมัน ออตโตมันเติร์กซึ่งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้ลงหลักปักฐานที่เมืองนี้ พรัอมกับยุติการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน เมืองบูร์ซ่าเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก จนถึงปี พ.ศ. 1905 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านออร์ฮัน เมืองหลวงของออตโตมันก็ถูกย้ายไปเมืองเอดิร์เน (Edirne) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครคอนสแตนติโนเปิล

อาณาจักรออตโตมันตั้งประชิดติดกับอาณาจักรไบแซนไทน์ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลงตามลำดับ โดยมีดินแดนเหลืออยู่เพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและอาณาบริเวณโดยรอบเท่านั้น ซึ่งมีสภาพไม่ต่างอะไรไปจากนครเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบโดยอาณาจักรออตโตมัน ที่กำลังเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีนครรัฐไบแซนไทน์ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ โดยอาศัยกำแพงเมืองสูงใหญ่เป็นปราการป้องกันตนเอง กำแพงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิธีโอดอซิอุสที่ 2 (Theodosius II) กำแพงแห่งนี้ได้ปกป้องคุ้มครองนครคอนสแตนติโนเปิลจากการปิดล้อมและโจมตีของออตโตมันเติร์ก ซากของกำแพงในปัจจุบันจัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นจนกระทั่งทุกวันนี้และได้รับการยกย่องจาอองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก

ในปี พ.ศ. 1933 (ค.ศ. 1390) และ พ.ศ. 1934 สุลต่านไบยัดซึที่ 1 ทรงพยายามปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตีเมืองได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422) สุลต่านมูราตที่ 2 ได้ทำการปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ได้เปิดฉากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองเหลืออยู่เพียงประมาณ 50,000 คน จากเดิมที่เคยมีมากกว่า 500,000 คน

การปิดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในต้นฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) ภายหลังที่ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ประมาณ 50 วัน กองทหารออตโตมันก็สามารถทะลวงกำแพงเมืองอันสูงใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) และเข้ายึดกรุงได้ในที่สุด ซึ่งการปิดฉากอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งสามารถยืนหยัดอยู่รอดมาได้ยาวนานถึง 1,123 ปี มีจักรพรรดิปกครองรวมทั้งสิ้น 82 พระองค์จากหลายราชวงศ์ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของไบแซนไทน์ทรงสิ้นพระชนม์อย่างมีปริศนา ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในวันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก

ความสำเร็จในการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชนเชื้อสายเติร์ก ซึ่งได้อพยพเข้าสู่อนาโตเลีย ภายหลังที่สุลต่าน Alparslan ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรพรรดิโรมานุสที่ 6 (Romanus IV) แห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ในสมรภูมิ ณ เมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt)

ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1701) ชัยชนะของสุลต่าน Alparslan ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อาณาจักรอนาโตเลีย ในขณะที่ชัยชนะของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 ในปี พ.ศ. 1996 ได้เปิดทางให้จักรวรรดิออตโตมันได้ก้าวไปสู่การเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา

ภายหลังที่สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453 พระองค์ก็ทรงได้รับการขานพระนามว่า ฟาติ เมห์เมต (Fatih Mehmet) “ฟาติ” (Fatih) มีความหมายว่า “ผู้พิชิต” (the conqueror) สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 โปรดให้ย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิจากเมืองเอดิร์เน มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้โปรดให้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่เป็น อิสลามบูล (Islambul) ภายหลังที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ. 2466 นครอิสลามบูลได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “อิสตันบูล” (Istanbul) ในปัจจุบันในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี นับตั้งแต่ที่สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทรงสามารถตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ อาณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิมในเวลาต่อมา จักรวรรดิออตโตมันได้ขยายอำนาจครอบคลุมดินแดนถึง 3 ทวีป ได้แก่ ตะวันออกกลาง (เอเชีย) แอฟริกาเหนือ และยุโรปบอลข่าน

จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมาน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) – พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย

ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอาเรเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่” สำหรับชาวตุรกีพระองค์ได้รับสมัญญานามว่า “สุไลมาน ผู้พระราชทานกฎหมาย” เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมาย สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่างวทำสงครามที่ฮังการีในปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) สิริรวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตดตมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไลมานเป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน

สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1566) – พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาซิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1932 – 1946) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง ทันทีที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 (ค.ศ. 1605) โปรดให้เปลี่ยนการสำเร็จโทษมาเป็นการกักบริเวณแทน การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลตานได้ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ในยุคนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน

อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกรทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป

ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรป ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเสด็จเยือนจักรวรรดิออตโตมันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทรงวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดี โดยทรงวิเคราะห์ไว้ว่า แม้ว่าจักรวรรดิออตโตมันจะเสื่อมอำนาจ แต่ชาติตะวันตกก็ยังลังเลที่จะเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของเติร์กทั้งหมด เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว ออตโตมันจึงยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้ว่าจะอ่อนแอลงกว่าในอดีตมาก


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301