สมเด็จพระจักรพรรดิมุสึฮิโตะ (ญี่ปุ่น: ???? Mutsuhito-tenn? ?) (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 — 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455) พระนามตามรัชสมัยคือ จักรพรรดิเมจิ (ญี่ปุ่น: ???? Meiji-tenn? ?) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 122 ของประเทศญี่ปุ่น ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2410 ด้วยพระชนมายุเพียง 14 พรรษา จนเสด็จสรรคต
เจ้าชายมุสึฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 หลังการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิโคเม พระราชบิดาที่ประชวรด้วยไข้ทรพิษ ประมาณ 4 วัน
ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2411 กลุ่มผู้จงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ และต่อต้านอำนาจของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ ประกาศนโยบายฟื้นฟูพระราชอำนาจแห่งจักรพรรดิ ณ พระราชวังเคียวโตะ ซึ่งต่อมาในเดือนเดียวกันนั้น กองกำลังของกลุ่มผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์จากแคว้นโจชูและแคว้นซะสึมะได้กำชัยอย่างเด็ดขาดในสงครามโทะบะ-ฟุชิมิ ซึ่งเป็นการตอกย้ำความล่มสลายของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะลงไปอีก สงครามกลางเมืองได้ปะทุขึ้นเป็นครั้งคราว จนกระทั่งกองกำลังของตระกูลโทะกุงะวะปราชัยอย่างราบคาบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2412
สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน จักรพรรดิโคเม (พระราชโอรสองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์หลังประสูติไม่นาน) เสด็จพระราชสมภพ ณ นครเคียวโตะ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1852 เพียง 8 เดือนก่อนกองเรือดำ ของพลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รีแห่งสหรัฐอเมริกา จะเดินทางมาถึงอ่าวโตเกียวและเพียง 2 ปีก่อนที่ สนธิสัญญาอยุติธรรม ฉบับแรกจะมีขึ้น โดยโชกุนโทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ ยอมลงนามร่วมกับนายพลเพอร์รี่ เมื่อปี ค.ศ. 1854
พระนางโยชิโกะ พระราชมารดา เป็นผู้ที่มีความสำคัญในราชสำนัก และเป็นบุตรีของนะกะยะมะ ทะดะยะซุ ประธานองคมนตรี เมื่อยังทรงพระเยาว์สมเด็จพระจักรพรรดิทรงราชทินนามว่า เจ้าซะชิ (ซะชิ โนะ มิยะ) และได้เสด็จไปประทับอยู่ในความดูแลของตระกูลนะคะยะมะ เพราะการดูแลพระราชโอรสและพระราชธิดาถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า ให้มอบหมายเป็นหน้าที่ของตระกูลใหญ่ในวังหลวงตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ตระกูลนาคายามะจึงได้เอาธุระดูแลการศึกษาในชั้นต้นของเจ้าชายองค์น้อย
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ก็ได้ทรงแต่งตั้งให้ นิโจ นะริยุกิ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพื่อถวายคำแนะนำทางการเมือง แต่ดูเหมือนว่าตำแหน่งที่มีอายุการทำงานสั้นๆนี้ เป็นเพียงพิธีการอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะนิโจไม่ได้มีบทบาทต่อพระองค์เท่าไรนัก ยังมีอีกคนที่มีอิทธิพลต่อแนวพระราชดำริในทางรัฐศาสตร์การเมืองและบริหารอีกมาก
เมื่อพระชนมายุยังน้อย เจ้าซะชิทรงอยู่ในโลกต่างหากจากโลกภายนอก พระองค์และพระสหายทั้งหลายที่ได้รับการคัดเลือกมาจากเชื้อพระวงศ์และตระกูลขุนนางต่างๆ เช่นไซอนจิ คิมโมะชิ ที่จะเข้ามาปกครองวังหลวงในช่วงปลายรัชสมัยไทโช และต้นรัชสมัยโชวะ ได้รับการอบรมจากพระพี่เลี้ยง (เนียวกัง) ที่คอยสอดส่องดูแลทั้งกลางวันและกลางคืน
ในปี ค.ศ. 1860 เจ้าซะชิได้รับพระราชทานพระนามเป็นเจ้ามุสึฮิโตะ และได้รับการสถาปนาเป็นองค์รัชทายาท ขณะนั้นขุนนางชั้นสูงหลายคน อาทิ อิวะกุระ โทะโมะมิ และ เจ้าซันโจ ซะเนะโตะมิ เป็นผู้ดูแลองค์รัชทายาท ต่อมาขุนนางเหล่านี้ยังเป็นผู้จัดแจงและตระเตรียมราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างพระองค์กับอิชิโจ ฮะรุโกะ ธิดาในอิชิโจ ทะดะกะ เสนาบดีฝ่ายซ้าย ทั้งสองพระองค์ไม่มีพระราชโอรสพระธิดาด้วยกัน แต่มีบันทึกว่า สมเด็จพระจักรพรรดิโปรดที่จะเสด็จไปพบสมเด็จพระจักรพรรดินีแทบทุกวัน เดือนเมษายน ค.ศ. 1914 เมื่อพระนางสรรคตก็ได้รับพระราชทานพระสมัญญานามเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีโชเก็ง
อิวะกุระ, ซันโจ กับคิโดะ ทะกะโยะชิ แห่งโชชู และคนสำคัญอื่นๆ ในสมัยฟื้นฟูพระราชอำนาจได้ร่วมกันร่างพระราชโองการและพระราชกฤษฎีกาฉบับแรกในรัชสมัยเมจิขึ้น เช่น สัตยาบันแห่งคณะปฏิรูป ที่ประกาศเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1868 เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และมีเนื้อความตอนหนึ่งว่า
จงค้นคว้าและรวบรวมวิทยาการทั้งหลายทั่วโลก เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การปกครองแผ่นดินแห่งเท็นโน
การที่สมเด็จพระจักรพรรดิไม่ได้เสด็จออกนอกนครหลวงเคียวโตะเลยตั้งแต่ขึ้นครองราชย์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1867 จนกระทั่งได้เสด็จไปยังนครโอซะกะในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1868 ชี้ให้เห็นว่าพระองค์ต้องใช้พระวิริยอุตสาหะยาวนานเพียงใด กว่าจะล่วงพ้นวิสัยทัศน์อันคับแคบของเหล่าข้าราชการในช่วงต้นรัชสมัยไปได้ โลกทัศน์ของพระองค์ขยับขยายอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1868 หลังจากที่คณะรัฐบาลแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปยังนครโตเกียว สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปยังนครหลวงใหม่เป็นครั้งแรก ไพร่พลในขบวนเสด็จครั้งนั้นมีจำนวนถึง 3,300 ชีวิต ระหว่างทางได้ทอดพระเนตรดูผืนน้ำทะเลเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน เหตุการณ์นี้ทำให้คิโดะ ทะกะโยะชิ ที่โดยเสด็จอยู่ด้วยบันทึกไว้ว่า
ข้าพเจ้าตื้นตันจนมีน้ำตา เมื่อตระหนักว่านี่คือจุดเริ่มต้นแห่งยุคสมัยที่เดชานุภาพจะได้แผ่ไปทั่วโลกอันไพศาล
ครั้นขบวนเสด็จถึงกรุงโตเกียวในวันที่ 5 พฤศจิกายน พสกนิกรมากมายหลายหมื่นมาเฝ้ารอรับเสด็จอยู่ทั้งสองข้างทาง เพื่อถวายความจงรักภักดี พร้อมกันนั้น พระราชยานประดับรูปไก่ฟ้าทองคำก็เคลื่อนตรงไปยังปราสาทเอะโดะ อดีตที่พำนักของโชกุนที่จะใช้เป็นที่ประทับ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1869 สมเด็จพระจักรพรรดิเสด็จกลับไปยังเคียวโตะเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะเสด็จมาประทับที่โตกียวเป็นการถาวรในอีก 2 เดือนต่อมา
การฟื้นฟูพระราชอำนาจสงครามโบะชิงกบฏซะสึมะสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งการแทรกแทรงสามฝ่ายกบฎนักมวยพันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่นสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นการผนวกดินแดนเกาหลี
วิกฤตการณ์การเงินโชวะกระบวนการสันติภาพแมนจูกัวกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองสนธิสัญญาไตรภาคีกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่นสงครามแปซิฟิกการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโระชิมะและนะงะซะกิสงครามโซเวียต-ญี่ปุ่นการยอมจำนนของญี่ปุ่นการยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตร
เหตุผลหลักที่ผู้นำคนสำคัญในรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอกุโบะ โทะชิมิจิ และไซโง ทะคะโมะริ แห่งแคว้นซะสึมะ กราบทูลเชิญสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิไปยังโตเกียว ก็เพื่อผลักดันให้สมเด็จพระจักรพรรดิพระประมุขเป็นอิสระจากแนวคิดและลักษณะอนุรักษนิยมของชาวเคียวโตะ ค.ศ. 1871 ไซโกได้ทูลเกล้าฯ ถวายเสนอแผนปฏิรูปโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
อิทธิพลการศึกษาแบบอนุรักษนิยมส่งผลให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงคัดค้านแผนปฏิรูปเหล่านี้ ก่อนที่จะโปรดเกล้าฯให้ประกาศเป็นพระราชโอการได้ในค.ศ. 1872 ไม่ช้า สมเด็จพระจักรพรรดิก็สนิทสนมกับไซโกเป็นพิเศษเขาสนับสนุนให้ทรงม้าเพื่ออกกำลังเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่พระวรกาย และส่งเสริมให้มีความสนพระทัยในการทหารในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพ สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิโปรดการออกตรวจกำลังพล ที่ส่วนใหญ่มาจากเมืองโชชูและซะสึมะ เรียกว่า โกะชิมเป (ทหารราชองค์รักษ์) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1871
สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินีฮะรุโกะ ซึ่งต่อมาเมื่อสวรรคตได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระจักรพรรดินีโชเก็ง" แต่ไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาด้วยกัน เนื่องจากพระพลานามัยของสมเด็จพระจักรพรรดินีไม่เอื้ออำนวย แต่มีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 15 พระองค์ โดยประสูติจากพระสนมทั้งหมด โดยมีรายนาม พระมเหสี และพระสนม ดังนี้
แม้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิและสมเด็จพระจักรพรรดินีโชเก็งจะไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาด้วยกัน แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็มีพระโอรส-ธิดาประสูติจากพระสนม ทั้งสิ้น 15 พระองค์ คือ
ในช่วงปลายรัชกาล พระจักรพรรดิทรงต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับโรคเบาหวาน และโรคไบร์ท (โรคไตอย่างหนึ่ง) ที่พระอาการมีแต่ทรุดลง จนในรัฐพิธีหลายวาระ สมเด็จพระจักรพรรดิทรงอ่อนเพลียอย่างหนักให้ผู้คนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งในปีที่พระองค์เสด็จสวรรคตก่อนฤดูร้อนปี พ.ศ. 2455นั้น ก็ยังไม่มีสัญญาณบอกเหตุว่าจะเสด็จสรรคตในปีเดียวกันนั้น
เดือนมกราคมปี พ.ศ. 2455 พระจักรพรรดิเสด็จร่วมงานประกวดกวีนิพนธ์ในวันปีใหม่ที่จัดขึ้นในพระราชวังเป็นประจำอย่างเช่นทุกปีเช่นที่เคยทรงปฏิบัติมา
เดือนกุมภาพันธ์ สมเด็จพระจักรพรรดิทรงพระประชวร แต่ไม่นานพระอาการก็ดีขึ้น สามารถทรงงานตามหมายงานที่กำหนดได้ตามปรกติเป็นต้นว่า
วันที่ 19 เดือนเดียวกัน ได้เสด็จไปประทับที่โต๊ะทรงพระอักษร แต่ทรงเหนื่อยเกินกว่าจะทรงงานใดๆได้ และขณะกำลังจะประทับยืนขึ้นนั่นเอง ทรงล้มลง บรรดาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยโตเกียวแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิถูกเรียกตัวมาช่วยคณะแพทย์หลวงถวายการรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งรัฐบาลได้ตัดสินแถลงข่าวให้สาธารณชนได้รับทราบในทันที
ระยะเวลาหลายวันต่อจากนั้น หนังสือพิมพ์ต่างพากันรายงานถึงพระอาการอย่างละเอียด ทั้งพระอัตราชีพจรที่อ่อนลงเรื่อยๆ และการทำงานเสื่อมทรุดลงของอวัยวะต่างๆ ประชาชนต่างสวดอธิษฐานให้สมเด็จพระจักรพรรดิหายประชวร มหาชนมารวมตัวกันอยู่รายรอบพระราชวัง หลายคนคุกเข่าหรือหมอบกราบอยู่กับพื้น
ท้ายที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิเสด็จสวรรคตด้วยอาการพระหทัยวาย เมื่อเวลา 0.43 นาฬิกา ของวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 พระชนมายุได้ 60 พรรษา ณ พระราชวังโตเกียว
ชาติทั้งชาติจมหายไปในความรู้สึกสูญเสียที่ท่วมท้น นักเขียนนวนิยายโทคุมิ โรกะ บรรยายไว้ว่า
การสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิได้ปิดบันทึกประวัติศาสตร์ในรัชสมัยเมจิลงแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกราวกับว่าแม้ชีวิตของตัวเองก็ถูกปลิดหลุดจากขั้ว
คืนวันที่ 13 กันยายน ประชาชนต่างยืนเบียดเสียดกันรอรับขบวนเสด็จอย่างเงียบๆ ขณะที่หีบบรรจุพระบรมศพบนพระราชยานเทียมโคเคลื่อนผ่านเสียงเดียวที่ได้ยินคือเสียงกงล้อบดเบาๆไปบนพื้นทรายกับเสียงเอียดอาดของเพลารถ พอขบวนแห่เคลื่อนไปถึงศาลาพระราชพิธีที่สร้างขึ้นบนลานสวนสนามโอะยะมะที่เตรียมไว้สำหรับวาระนี้โดยเฉพาะ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช จักรพรรดิพระองค์ใหม่ มีพระราชดำรัสสรรเสริญสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ เจ้าชายไซองจิ นายกรัฐมนตรี และวะตะนะเบะ ชิอะกิ สมุหราชมนเทียร ก็ได้กล่าวคำสรรเสริญแด่สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิด้วยเช่นกัน
วันที่ 15 กันยายน ได้อัญเชิญพระบรมศพจากกรุงโตเกียว ไปสู่นครเคียวโตะโดยทางรถไฟเพื่อประกอบพิธีฝังพระบรมศพไว้ที่สุสานหลวงโมะโมะยะมะ เขตฟุจิมิ เหตุการณ์เดียวที่ทำให้ช่วงเวลาที่คนทั้งชาติกำลังโศกเศร้าและไว้ทุกข์ต้องสะดุดไปคือข่าว นายพลโมงิ หนึ่งในวีรบุรุษจากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น พร้อมด้วยภริยา กระทำพิธีอัตวินิบาตกรรมภายในบ้านพักของตัวเองเมื่อวันที่ 13 กันยายน
สำหรับชาวญี่ปุ่นหลายคน การตายของนายพลโมงิ กระตุ้นให้พวกเขาหวนรำลึกถึงประเพณีปฏิบัติของซะมุไรในยุคกลางที่จะตามเจ้านายของตนไปยมโลกด้วยความจงรักภักดี แต่สำหรับคนอื่นๆการตายของโมงิกลับเป็นเรื่องหลงยุคหลงสมัย และขัดกับเจตนารมณ์ที่ต้องการพาญี่ปุ่นเข้าสู่การเป็นสมัยใหม่ที่สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงเป็นสัญลักษณ์
ในฐานะที่ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่ปรากฏพระองค์ต่อสาธารณชน และมีพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ให้ชมพระบารมีแทนสมเด็จพระบรมสาทิสลักษณ์เช่นในสมัยก่อน ต้องนับว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิมีพระบุคลิกภาพที่เด็ดขาด เปี่ยมด้วยพระราชอำนาจยิ่ง โดยรวมแล้ว พระราชจริยวัตรที่งามสง่าของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ส่งให้ทรงเป็นจักรพรรดิของญี่ปุ่นยุคใหม่เพียงพระองค์เดียวที่เรียกได้ว่าทรงพระบรมเดชานุภาพ อย่างแท้จริง
ในปี พ.ศ. 2456 รัฐสภาได้ตัดสินใจสร้างพระอารามแห่งหนึ่งขึ้นที่เขตโยโยงิ กรุงโตเกียว เพื่ออุทิศถวายแด่ดวงพระวิญญาณ เป็นการประโลมจิตใตและบรรเทากระแสจงรักภักดีแบบสุดโต่งของประชาชาชนลงบ้าง ก่อนที่พระอารามจะสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2463 หนุ่มสาวหลายพันคนอาสาเข้าช่วยก่อสร้างพระอาราม และปลูกต้นไม้ที่นำมาจากทุกภาคของประเทศให้เต็มพื้นที่สวนอันกว้างขวางโดยรอบ ความเทิดทูนบูชาในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิของพวกเขายังคงมีสูง โดยมีรายงานว่า หญิงสาวบางคนแสดงความประสงค์ที่จะถูกฝังทั้งเป็นใต้พระอารามก่อนสร้างเสร็จ โชคดีที่มีคนเกลี้ยกล่อมให้หญิงสาวเหล่านั้นตัดปอยผมของตนถวายแทน