จักรพรรดิฮั่นอู่ (จีน: ???; พ.ศ. 388–457) เป็นจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น พระนามเดิมว่า หลิว เช่อ (??) ขึ้นครองราชย์เมื่ออายุ 16 พรรษา ปกครองนานถึง 54 ปี (ปี 140 – 87 ก่อนคริสต์ศักราช นับว่าเป็นฮ่องเต้ ชาวฮั่น ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดด้วย) ผลงานปรับปรุงประเทศและแผ่ขยายอิทธิพลของพระองค์ทำให้นักประวัติศาสตร์ถือเป็นมหาราชซึ่งมีชื่อเสียงมากในประวัติศาสตร์ของจีน พระองค์กำหนดปีรัชสมัยของตนขึ้นเป็นครั้งแรกในชื่อว่า “เจี้ยนหยวน” นับจากนี้ไป ฮ่องเต้ องค์ต่อมาต่างถือเป็นประเพณีตั้งชื่อรัชศกของตนมาจนกระทั่งสิ้นสุดยุคจักรพรรดิ
พระองค์ปรับปรุงระบบการเข้ารับราชการใหม่ โดยกำหนดให้ทุกท้องที่เลือกผู้มีจิตกตัญญูหรือขุนนางซื่อสัตย์ไปที่เมืองหลวงเพื่อเป็นข้าราชการ ทำให้ระบบคัดเลือกขุนนางแบบเดิมซึ่งสืบทอดตำแหน่งโดยทายาทลดความสำคัญลงไปอย่างมาก คุณภาพของขุนนางดีขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลเป็นอันดีทำงานเพื่อบ้านเมืองและราษฎร ส่งเสริมความสุขของพลเมืองได้มากยิ่งกว่าระบบสืบทอดตำแหน่งขุนนางแบบเดิม
พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ก่อสร้างพระราชวังและมีการทำสงครามแผ่ขยายอำนาจบ่อยครั้ง จึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินมาก พระองค์ออกข้อกำหนดเข้มงวดในทางเศรษฐกิจแตกต่างจากอดีตเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในภารกิจดังกล่าว ตัวอย่างเช่น
เมื่อ 140 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ขึ้นครองราชสมบัติด้วยพระชนมายุเพียง 16 พรรษา พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล จึงทรงสร้างผลงานยิ่งใหญ่ให้กับประเทศด้านกิจการภายในและการต่างประเทศ พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลา 54 ปี ทรงปกครองประเทศจีนให้พัฒนาขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกำลังเข้มแข็งที่สุดของโลกในยุคนั้น จากทัศนะของนักประวัติศาสตร์ในหนังสือ "ประวัติศาสตร์โลก" ฉบับที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ประเทศที่มีกำลังพอ ๆ กับราชวงศ์ฮั่นในสมัยนั้นมีเพียงอาณาจักรโรมันเลยทีเดียว
พระเกียรติที่ได้รับการเทิดทูนมากที่สุดของพระเจ้าฮั่นหวู่ตี้คือผลงานด้านการทหาร นับตั้งแต่การสถาปนาราชวงศ์ฮั่นเมื่อ 202 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมา เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นก็ถูกเผ่าชนซงหนูซึ่งเป็นเผ่าชนปศุสัตว์เร่ร่อนทางภาคเหนือรุกรานเรื่อยมา ส่งผล กระทบร้ายแรงต่อเสถียรภาพและการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ กษัตริย์องค์ก่อนๆ ของราชวงศ์ฮั่นทรงใช้นโยบายตั้งรับซึ่งทำให้ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ เช่น พระราชทานพระธิดาให้ผู้นำชนเผ่าซงหนู เพื่อแลกกับสันติภาพชั่วคราว พอมาถึงสมัยพระเจ้าฮั่นหวู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่นก็เสริมสร้างแสนยานุภาพให้เข้มแข็งเกรียงไกรขึ้น ใช้นโยบายออกโจมตีอย่างเป็นฝ่ายกระทำ โดยมีการจัดส่งกองทัพไปประจำยังพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้าและทะเลทรายทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี อีกทั้งยังยกทัพไปตีชนเผ่าซงหนูให้ราบคาบจนชนเผ่าซงหนูได้รับความปราชัย ชนเผ่าซยงหนูจึงไม่บังอาจยกทัพไปรุกรานราชวงศ์ฮั่นอีก
จากนั้นพระองค์ยังได้สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับการพัฒนาและเสริมความมั่นคงให้แก่ประเทศ หลังจากพระเจ้าฮั่นหวู่ตี้สวรรคตไปแล้ว พระองค์ได้รับการถวายพระนามยกย่องสดุดีพระเกียรติให้เป็น "กษัตริย์หวู่ตี้" ซึ่งแปลว่า "กษัตริย์นักรบ" (ฮั่นบู๊เต้ ในภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งเป็นข้อสรุปสำหรับผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ด้านกิจการภายในนั้น พระเจ้าฮั่นหวู่ตี้ทรงเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พระองค์ได้ประกาศล้มล้างแนวคิดลัทธิเต๋าที่เชิดชู "ความเป็นธรรมชาติแบบปล่อยปละและไม่กระทำการใด ๆ" ซึ่งฮ่องเต้องค์ก่อน ๆ ได้ถือปฏิบัติมา และมีพระราชดำริให้นำแนวคิดลัทธิขงจื๊อมาเป็นหลักในการปกครองแทน ทำให้ลัทธิขงจื๊อได้เลื่อนขึ้นมาเป็นความคิดที่ชี้นำการปกครองบ้านเมืองของฮ่องเต้รุ่นหลังเป็นเวลาอีกกว่า 2,000 ปี
ขณะเดียวกัน พระเจ้าฮั่นหวู่ตี้ยังเป็นนักการทูตที่มีสายพระเนตรยาวไกลอีกด้วย มีอยู่สองครั้งที่พระองค์เคยแต่งตั้งจางเชียนเป็นทูตให้ออกเดินทางไปทางเขตตะวันตก ซึ่งก็คือ พื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลทางตะวันตกของมณฑลกานสูและเขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูรย์ในปัจจุบัน เป็นการเริ่มต้นเปิด "เส้นทางสายไหม" ที่เชื่อมจีนกับเอเชียกลางและโลกตะวันตก จากนั้น ผ้าไหม วิธีการทำกระดาษและศิลปะต่าง ๆ ของจีนก็ได้แพร่เข้าสู่ดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกโดยผ่านเส้นทางสายไหม ส่วนเครื่องหอมและผลิตภัณฑ์ศิลปะหัตถกรรมต่างๆ ของนานาประเทศก็ได้แพร่เข้าสู่จีนโดยผ่านเส้นทางสายไหมเช่นกัน กล่าวได้ว่า พระเจ้าฮั่นหวู่ตี้ได้ปูพื้นฐานให้แก่การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับโลกตะวันตก ฉางอันราชธานีของราชวงศ์ฮั่นเคยเป็นศูนย์กลางการเมืองและเศรษฐกิจของทวีปเอเชียในสมัยนั้น ส่วนเส้นทางสายไหมก็เป็นเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมจีนกับตะวันตกอยู่หลายร้อยปีจนเส้นทางคมนาคมทางทะเลได้เกิดบทบาทขึ้นมาแทนในช่วงศตวรรษที่ 8
นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าฮั่นหวู่ตี้ยังโปรดปรานวรรณคดีและศิลปะหลากหลายประเภท ซือหม่าเซี่ยนหรู กวีในยุคนั้นได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าฮั่นหวู่ตี้ให้เป็นขุนนางชั้นสูงเพราะมีความรู้ความสามารถ
ทางด้านศิลปะวรรณคดี ซือหม่าเซียน นักประวัติศาสตร์และนักวรรณคดีที่มีความรู้มากที่สุดอีกคนหนึ่งก็ได้รับการพระราชทานแต่งตั้งเป็นขุนนางชั้นสูงเช่นกัน ซือหม่าเชียนได้รวบรวมประวัติศาสตร์จีน 3,000 ปีขึ้นเป็นฉบับแรก กล่าวได้ว่า พระเจ้าฮั่นหวู่ตี้มีส่วนส่งเสริมให้วัฒนธรรมจีนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อย ๆ
เรื่องราวของพระองค์ได้รับการเล่าขานต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงชนรุ่นหลัง เช่นในวรรณคดีสามก๊กระบุว่า โจโฉ มีความเคารพพระองค์มาก ถึงกับพยายามเอาพระองค์เป็นแบบอย่าง ดั่งจะเห็นได้จากบทโคลงที่ร่ายถึงชัยชนะที่มีต่ออ้วนเสี้ยวในศึกกัวต๋อที่หน้าผาจรดทะเล สถานที่เดียวกับพระเจ้าฮั่นหวู่ตี้เคยชนะศึกมาเช่นเดียวกัน
ในวัฒนธรรมสมัยนิยมในปัจจุบัน เช่น ละครโทรทัศน์ของฮ่องกงได้มีการสร้างละครเกี่ยวกับพระองค์ ชื่อ ต้าฮั่นเทียนจื่อ (จอมจักรพรรดิ์ ฮั่นอู่ตี้ หรือ ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นกับหมอดูเทวดา) หรือ จักรพรรดิจอมทะเล้น เป็นต้น
เกาจู (หลิวปัง) ? ฮุ่ยตี้ (หลิวอิ๋ง) ? เซ่าตี้ (หลิวกง) ? เซ่าตี้ (หลิวหง) ? เหวินตี้ (หลิวเหิง) ? จิงตี้ (หลิวฉี่) ? อู่ตี้ (หลิวเช่อ) ? เจาตี้ (หลิวฝูหลิง) ? หลิวเฮ่อ ? เสวียนตี้ (หลิวสวิน) ? หยวนตี้ (หลิวซื่อ) ? เฉิงตี้ (หลิวเอ้า) ? ไอตี้ (หลิวซิน) ? ผิงตี้ (หลิวคั่น) ?
กวงอู่ตี้ (หลิวซิ่ว) ? หมิงตี้ (หลิวจวาง) ? จางตี้ (หลิวต๋า) ? เหอตี้ (หลิวจ้าว) ? ชางตี้ (หลิวหลง) ? อันตี้ (หลิวฮู่) ? จ้าวตี้ (หลิวอี้) ? ชุนตี้ (หลิวเป่า) ? ฉงอู่ตี้ (หลิวปิ่ง) ? จื่ออู่ตี้ (หลิวจ่วน) ? ฮวนเต้ (หลิวจื้อ) ? เลนเต้ (หลิวหง) ? เซ่าตี้ (หลิวเปี้ยน/หองจูเปียน) ? เหี้ยนเต้ (หลิวเสีย/หองจูเหียบ)