สมเด็จพระจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง (ภาษาจีน: ?? Huizong; ค.ศ. 1320 - ค.ศ. 1370) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ (ภาษามองโกล: Toghon Tem?r) จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์มองโกล องค์ที่ 12 และองค์สุดท้ายของราชวงศ์หยวน ในค.ศ. 1370 จูหยวนจาง ผู้นำกบฏโพกผ้าแดง (Red Turban Rebellion) นำทัพเข้าบุกยึดนครต้าตูหรือปักกิ่งอันเป็นราชธานีของราชวงศ์หยวน เป็นเหตุให้พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ต้องทรงหลบหนีออกจากเมือง เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์หยวนที่ปกครองประเทศจีนมาเป็นเวลากว่า 90 ปี
ในค.ศ. 1316 เจ้าชายคูซาลา (Ku?ala) เจ้าชายแห่งราชวงศ์หยวน หลบหนีภายทางการเมืองมายังจักรวรรดิข่านจักกาไท (Chagatai Khanate) อันเป็นอาณาจักรของชนชาติมองโกลในภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งเจ้าชายคูซาลาได้พบกับนางไมไลตี (Mailaiti) บุตรสาวของหัวหน้าเผ่าคาร์ลุก (Karluks) และได้ให้กำเนิดพระโอรสพระนามว่า เจ้าชายทอคอนเตมูร์ (Toghon Tem?r) ในค.ศ. 1320 หลังจากให้กำเนิดเจ้าชายทอคอนเตมูร์เพียงไม่นานนางไมไลตีก็เสียชีวิต
เหตุการณ์ทางฝ่ายเมืองต้าตู ในค.ศ. 1328 เจ้าชายทูคเตมูร์ (Tugh Tem?r) ผู้เป็นพระอนุชาของเจ้าชายคูซาลา สามารถเข้ายึดบัลลังก์ราชวงศ์หยวนได้ด้วยการสนับสนุนของขุนพลเอลเตมูร์ (El Tem?r) และบายันแห่งเมอร์กิต (Bayan of the Merkit) เจ้าชายทูคเตมือร์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิหยวนเหวินจง (ภาษาจีน: ?? Wenzong) และอัญเชิญพระเชษฐาเจ้าชายกูซาลาเสด็จนิวัตินครต้าตู เจ้าชายคูซาลาจึงเสด็จกลับต้าตูพร้อมกับเจ้าชายทอคอนเตมูร์พระโอรส แต่ได้นำกองทัพจากอาณาจักรจักกาไทมาด้วย เจ้าชายคูซาลานำทัพเข้ายึดนครต้าตูจากพระอนุชาในค.ศ. 1329 และขึ้นครองราชสมบัติแทนเป็นจักรพรรดิหยวนหมิงจง (ภาษาจีน: ?? Mingzong) จักรพรรดิหยวนหมิงจงอยู่ในราชสมบัติได้เพียงแปดเดือนก็ถูกเอลเตมือร์วางยาพิษปลงพระชนม์สวรรคต จักรพรรดิเหวินจงทูคเตมูร์พระอนุชาได้ราชบัลลังก์กลับคืนมาอีกครั้ง ส่งผลให้เจ้าชายทอคอนเตมูร์พระชนมายุเพียงเก้าพระชันษาต้องถูกเนรเทศไปยังอาณาจักรโครยอ (Goryeo) และต่อมาก็ถูกโยกย้ายไปยังมณฑลกวางสี
พระจักรพรรดิเหวินจงทูคเตมูร์สวรรคตในค.ศ. 1332 ก่อนจะสวรรคตจักรพรรดิเหวินจงทรงรู้สึกผิดต่อพระเชษฐาจักรพรรดิหมิงจงคูซาลา จึงมีพระราชโองการให้พระโอรสของจักรพรรดิหมิงจงสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ (แม้ว่าจักรพรรดิเหวินจงจะทรงมีพระโอรสอยู่แล้วคือ เจ้าชายเอลเตกูส (El Tegus) ) ซึ่งเป็นที่คัดค้านของเอลเตมือร์เนื่องจากตนเป็นผู้ปลงพระชนม์ชีพพระจักรพรรดิหมิงจง เกรงว่าถ้าพระโอรสของจักรพรรดิหมิงจงได้ขึ้นครองราชย์แล้วตนเองจะถูกลงโทษ อย่างไรก็ตามด้วยการสนับสนุนของไทเฮาพุดาชีรี (Budashiri) พระจักรพรรดินีในจักรพรรดิเหวินจง และเนื่องจากเจ้าชายทอคอนเตมูร์ทรงถูกเนรเทศอยู๋ในดินแดนห่างไกล ราชสำนักจึงยกเจ้าชายรินชินบาล (Rinchinbal) พระอนุชาต่างมารดาของเจ้าชายทอคอนเตมูร์พระชนมายุเพียงหกพระชันษาขึ้นครองราชสมบัติเป็น จักรพรรดิหยวนหนิงจง (ภาษาจีน: ?? Ningzong) แต่ทว่าพระจักรพรรดิหนิงจงรินชินบาลอยู๋ในราชสมบัติได้เพียงสองเดือนก็ประชวรสวรรคต ไทเฮาพุดาชีรีจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้เจ้าชายทอคอนเตมูร์ทรงกลับมาครองราชย์เป็น พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ ในที่สุดในค.ศ. 1332
พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ขึ้นครองราชสมบัติด้วยพระชนมายุเพียงสิบสามพระชันษา จึงจำต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนคือไทเฮาพูดาชีรีและเอลเตมือร์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนเอลเตมือร์มีอำนาจมากมายล้นฟ้า จักรพรรดิทอคอนเตมูร์ทรงอภิเษกกับพระจักรพรรดินีทานาชีรี (Danashiri) ซึ่งเป็นธิดาของเอลเตมือร์ และเนื่องจากจักรพรรดิยังทรงไม่มีพระโอรส เอลเตมือร์จึงพลักดันให้พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ทรงแต่งตั้งเจ้าชายเอลเตกูส พระโอรสของพระจักรพรรดิเหวินจงทูคเตมูร์ เป็นไท่จื่อหรือเจ้าชายรัชทายาท ในปีต่อมาค.ศ. 1333 เอลเตมูร์ถึงแก่อสัญกรรม อำนาจจึงถูกถ่ายทอดให้แก่ทังกีช (Tangkish) ผู้เป็นบุตรชาย ในค.ศ. 1335 ทังกีชก่อการกบฏหมายจะยึดราชบัลลังก์มาให้แก่เจ้าชายรัชทายาทเอลเตกูส แต่ขุนพลบายันแห่งเมอร์กิตได้ให้การสนับสนุนจักรพรรดิทอคอนเตมูร์และยกทัพเจ้าปราบกบฏของทังกีชได้สำเร็จ ทังกีชถูกประหารชีวิตและจักรพรรดินีทานาชีรีถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศ ต่อมาภายหลังบายันแห่งเมอร์กิตได้ส่งคนไปลอบวางยาพิษปลงพระชนม์อดีตพระจักรพรรดินีทานาชีรีสิ้นพระชนม์
ผลงานการปราบกบฏของทังกีชในค.ศ. 1335 โดยขุนพลบายันแห่งเมอร์กิต ทำให้บายันขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในราชสำนักหยวน ช่วงเวลาแห่งการปกครองของบายันนั้นเป็นช่วงเวลาแห่งการกดขี่สำหรับชาวจีน ด้วยเหตุที่บายันมีความเห็นว่าราชสำนักหยวนในขณะนั้นถูกอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนเข้าครอบงำและกำลังจะสูญเสียวิถีชีวิตอย่างชาวมองโกลไป บายันแห่งเมอร์กิตจึงมีนโยบายลดบทบาทของวัฒนธรรมจีนลง โดยยกเลิกการสอบจอหงวน (ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในสมัยของจักรพรรดิหยวนเหรินจง) นโยบายแบ่งแยกชนชาติระหว่างชาวมองโกลและชาวจีน โดยห้ามชาวจีนเรียนรู้ภาษามองโกล และห้ามชาวมองโกลเรียนรู้ภาษาจีน จนถึงขั้นมีการเสนอให้สังหารชาวจีนห้าแซ่ ได้แก่ แซ่จาง แซ่หวัง แซ่หลิว แซ่หลี่ และแซ่เจ้า ไปทั้งหมดเพื่อป้องกันการกบฏ แม้ว่านโยบายนี้จักรพรรดิทอคอนเตมูร์จะทรงไม่เห็นด้วยก็ตาม ค.ศ. 1339 บายันได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครเสนาบดี มีอำนาจล้นฟ้าอีกเช่นกัน พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์เกรงว่าบายันจะเป็นภัยต่อพระองค์เอง จึงทรงสมคบคิดกับทอคตอ (Toghto) ผู้เป็นหลานชายของบายัน ทำการยึดอำนาจมาจากบายันและสังหารบายันไปในค.ศ. 1340
เนื่องจากจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ทรงไม่ใส่พระทัยในกิจการบ้านเมืองเท่าใดนัก อำนาจการปกครองทั้งหลายจึงตกอยู่แก่ทอคตอ ทอคตอมีนโยบายที่ตรงข้างกับบายันแห่งเมอร์กิต คือมีนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมจีนโดยรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีน รวมทั้งหลักปรัชญาขงจื้อ
ในค.ศ. 1340 พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์มีพระชนมายุมากเพียงพอที่จะว่าราชการได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแทน จักรพรรดิทอคอนเตมูร์จึงทรงเริ่มทำการแก้แค้นให้แก่พระบิดาคือจักรพรรดิหมิงจงกูซาลา โดยปลดพระป้ายวิญญาณของจักรพรรดิเหวินจงทูคเตมูร์พระปิตุลาออกจากศาลบรรพกษัตริย์ ปลดไทเฮาพูดาชีรีออกจากตำแหน่งและเนรเทศออกจากพระราชวัง ซึ่งต่อมาไม่นานอดีตไทเฮาก็สิ้นพระชนม์ รวมทั้งปลดเจ้าชายเอลเตกูสออกจากตำแหน่งรัชทายาทและเนรเทศออกจากพระราชวังเช่นกัน ระหว่างที่เสด็จเนรเทศออกไปนั้นพระจักรพรรดิก็ทรงส่งคนไปทำการปลงพระชนม์อดีตเจ้าชายรัชทายาทเอลเทกูสสิ้นพระชนม์
ในค.ศ. 1340 เช่นกัน พระสนมชาวเกาหลีตระกูลคี ซึ่งเป็นพระสนมองค์โปรด ได้ประสูติพระโอรสพระองค์แรก พระนามว่าเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ (Ayurshiridar) ทำให้พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ทรงโปรดปรานพระสนมแซ่คีมากขึ้นไปอีก จนมีการแต่งตั้งให้พระสนมคีเป็น พระจักรพรรดินีโอลเจย์คูตูค (?ljei Khutugh) หรือ จักรพรรดินีคี (ภาษาจีน: ???; ภาษาเกาหลี:???) แม้ว่าจักรพรรดิทอคอนเตมูร์จะทรงมีจักรพรรดินีอยู่แล้วก็ตาม ทำให้ในขณะนั้นราชวงศ์หยวนจึงมีพระจักรพรรดินีพร้อมกันสองพระองค์
กลุ่มของชาวจีนผู้เลื่อมใสในลัทธิบัวขาวและมีแนวคิดต่อต้านการปกครองของชาวมองโกล รวมตัวกันขึ้นเป็นกบฏโพกผ้าแดง (ภาษาจีน: ??? H?ngj?nj?n) ซึ่งปะทุขึ้นครองแรกที่เมืองอิงโจว (ภาษาจีน: Yingzhou) มีผู้นำได้แก่ ฮั่นหลินเอ๋อ (ภาษาจีน: ??? Han Lin'er) และหลิวฟุตง (ภาษาจีน: ??? Liu Futong) ในค.ศ. 1351 จากนั้นกบฏโพกผ้าแดงจึงขยายตัวขึ้นมีชาวจีนเข้าร่วมมากมายตลอดจนทั้งภูมิภาคจีนตอนเหนือ ทอคตอจึงนำกองทัพเข้าปราบกบฏในช่วงค.ศ. 1352-ค.ศ. 1354 ใช้เวลาถึงสามปีในการปราบกบฏโพกผ้าแดงจนหมดสิ้นไป แต่ยังคงหลงเหลือกลุ่มกบฏโพกผ้าแดงในทางตอนใต้ของจีนซึ่งคอยหาทางโจมตีนครต้าตูจากทางทะเลอยู่เสมอ
ค.ศ. 1353 พระจักรพรรดินีตระกูลคีได้ร่วมมือกับขุนนางมองโกลชื่อว่า ฮามา (Hama) ทำการโน้มน้าวให้พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ทรงแต่งตั้งเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ให้เป็นไท่จื่อหรือเจ้าชายรัชทายาท แต่ถูกคัดค้านโดยอัครเสนาบดีโทคโตคา ทำให้จักรพรรดินีคีทรงพิโรธและสมคบคิดกันกับฮามาสร้างข้อกล่าวหาการทุจริตฉ้อราชย์บังหลวงให้แก่ทอคตอ เป็นเหตุให้ทอคตอถูกปลดจากตำแหน่งอัครเสนาบดีและถูกเนรเทศไปมณฑลยูนนานในค.ศ. 1354 และเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายรัชทายาทในที่สุด โดยมีฮามาเป็นผู้กุมอำนาจในราชสำนักหยวนคนใหม่ ฮามาวางแผนการก่อกบฏปลดพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์และยกเจ้าชายรัชทายาทอายูร์ชีรีดาร์เป็นพระจักรพรรดิองค์ใหม่ในค.ศ. 1356แต่ไม่สำเร็จ ฮามาถึงถูกเนรเทศออกจากราชสำนักไปในที่สุด
ในค.ศ. 1364 เจ้าชายรัชทายาทอายูร์ชีรีดาร์ทรงวางแผนก่อการกบฏล้มราชบัลลังก์ของพระบิดา แต่ทว่าพอดลัดเตมูร์ (Bolad Tem?r) ขุนนางผู้จงรักภัคดีต่อพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ได้ยกทัพเข้าต่อต้านเจ้าชายรัชทายาทอายูร์ชีรีดาร์และยึดนครต้าตูไว้ เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ทรงหลบหนีไปยังมณฑลเหอหนานเพื่อขอความช่วยเหลือจากขุนพลโคเกเตมูร์ (K?ke Tem?r) เคอเกเตมือร์ยกทัพเข้ายึดนครต้าตูคืนให้แก่เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ จักรพรรดิทอคอนเตมูร์ส่งคนไปทำการลอบสังหารพอดลัดเตมูร์เป็นเหตุให้โคเกเตมือร์มีชัยชนะเข้ายึดเมืองต้าตูได้ เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ทรงบังคับให้จักรพรรดิทอคอนเตมูร์พระบิดาสละราชบัลลังก์ ซึ่งจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ทรงไม่ยอมแต่มอบตำแหน่งทางทหารให้แก่พระโอรสจนเป็นที่พอพระทัยทั้งสองฝ่าย
ในค.ศ. 1368 ขุนพลชาวจีนชื่อว่า จูหยวนจาง (ภาษาจีน: ??? Zhu Yuanzhang) ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของกลุ่มกบฏโพกผ้าแดงและรวบรวมดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเข้ามาในอาณัตของตนแล้วนั้น ได้ทำการปราบดาภิเษกก่อตั้งราชวงศ์หมิง (Ming dynasty) ขึ้นที่เมืองนานกิงอันเป็นฐานที่มั่นของจูหยวนจาง โดยมีพระนามว่า พระจักรพรรดิหงหวู่ (Hongwu Emperor) จากนั้นในปีเดียวกันได้ยกทัพเข้ายึดนครต้าตูอันเป็นราชธานีของราชวงศ์หยวนได้สำเร็จ พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์พร้อมด้วยพระโอรสเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์เสด็จหลบหนีไปยังเมืองซ่างตู (ภาษาจีน: ?? Shangdu) ราชธานีฝ่ายเหนือของราชวงศ์หยวน ในค.ศ. 1370 กองทัพราชวงศ์หมิงเข้ายึดเมืองซ่างตู ทำให้จักรพรรดิทอคอนเตมูร์ต้องเสด็จหนีอีกครั้งพร้อมกับพระโอรสไปยังเมืองอิงชาง (ภาษาจีน: ?? Yingchang; อยู่ในเขตมองโกเลียในในปัจจุบัน) ซึ่งในปีนั้นเองพระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ประชวรสวรรคตที่เมืองอิงชาง พระชนมายุห้าสิบชันษา
ตลอด 37 ปีแห่งการครองราชย์ทรงได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากชาวจีน เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนในยุคนั้นตกต่ำอย่างหนัก และชาวจีนเห็นว่าชาวมองโกลเป็นชาวต่างชาติ ประกอบกับราชสำนักเริ่มอ่อนแอลง ชาวจีนจึงก่อการกบฏไปทั่ว โดยเฉพาะมณฑลทางใต้
หลังจากที่พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์สวรรคตได้ไม่นานในปีเดียวกันเมืองอิงชางก็ตกเป็นของราชวงศ์หมิง เจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์พระโอรสเสด็จหนีไปยังเมืองคาราโครุม (Karakorum) ก่อตั้งราชวงศ์หยวนเหนือ พระจักรพรรดิหงหวู่ถวายพระนามแด่พระจักรพรรดิทอคอนเตมูร์ว่า พระจักรพรรดิซุ่นตี้ (ภาษาจีน: ?? Shundi) ในขณะที่ราชสำนักหยวนเหนือถวายพระนามว่า พระจักรพรรดิฮุ่ยจง
ซื่อจู (กุบไล ข่าน) ? เฉินจง (เตมูร์ ข่าน) ? หวู่จง (คูลุก ข่าน) ? เหรินจง (อายูบาร์ดา ข่าน) ? อิงจง (จีจิน ข่าน) ? ไท่ติง (เยซุน เตมูร์ ข่าน) ? เทียนซุน (ราจิบาก ข่าน) ? เหวินจง (จายาตู ข่าน) ? หมิงจง (คูบุกตู ข่าน) ? เหวินจง (ครั้งที่ 2) ? หนิงจง (รินชินบาล ข่าน) ? ฮุ่ยจง (อูคานตู ข่าน)