สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ (จีนตัวย่อ: ??; จีนตัวเต็ม: ??; พินอิน: P?y?) พระราชสมภพ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 มีพระนามเต็มว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ (จีนตัวย่อ: ???? ??; จีนตัวเต็ม: ???? ??; พินอิน: ?ix?nju?lu? P?y?) หรือ เฮนรี่ ผู่อี๋ (ชื่ออังกฤษที่เรจินัล จอนสตันตั้งให้) เป็นจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ชาวแมนจูแห่งราชวงศ์ชิง และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง (นับเริ่มแต่จักรพรรดิซุ่นจื้อ) และเป็นองค์สุดท้าย (????) ของประเทศจีนมีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง จากปี พ.ศ. 2451 จนกระทั่งสละราชสมบัติใน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 และในช่วงระยะเวลาการฟื้นฟูราชวงศ์สั้นๆในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยขุนศึก จาง ซวิน ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ก็ได้สถาปนาเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิคังเต๋อ ในประเทศแมนจูกัว ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นโดย จักรวรรดิญี่ปุ่น พระองค์ครองราชย์ที่แมนจูกัวจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2488 ต่อมาภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 ผู่อี๋ได้เข้าเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 จนกระทั่งสวรรคตเยี่ยงสามัญชนในปี พ.ศ. 2510
พระบรมไปยกา(ปู่ทวด) ของผู่อี๋คือสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง(ครองราชย์ 2363 - 2393) หลังจากนั้นโอรสองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิเต้ากวง คือจักรพรรดิเสียนเฟิง (ครองราชย์ 2393 - 2404) ก็ขึ้นสืบราชสมบัติต่อ
พระอัยกา (ปู่) ของผู่อี๋ อี้ซวน เจ้าชายฉุนที่ 1 (2383 - 2434) เป็นโอรสองค์ที่ 7 ของสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง และเป็นพี่น้องร่วมชนกเดียวกันกับสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง ภายหลังจากพระจักรพรรดิเสียนเฟิงสวรรคตแล้ว โอรสของพระองค์ จักรพรรดิถงจื้อ (ครองราชย์ 2404-2418) โอรสองค์เดียวในพระจักรพรรดิเสียนเฟิงได้ขึ้นสืบราชสมบัติ
จักรพรรดิถงจื้อสวรรคตเมื่อพระชนมายุ 18 พรรษา โดยไม่มีพระราชโอรส และผู้ที่มาสืบราชสมบัติต่อคือ จักรพรรดิกวังซวี่ (ครองราชย์ 2418-2451) โอรสในเจ้าชายฉุนที่ 1 และท่านผู้หญิง เย่เหอนาลา วานเจิน (ขนิษฐาในพระนางซูสีไทเฮา) สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่สวรรคตโดยไม่มีพระราชโอรส
ผู่อี๋ จึงสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี โดยผู่อี๋เป็นโอรสองค์โตของเจ้าชายฉุนที่ 2 ซึ่งเป็นโอรสของ อี้ซวน เจ้าชายฉุนที่ 1 โดยเจ้าชายฉุนและพระสนมของพระองค์ ท่านผู้หญิงหลิงกิยา (2409-2468) ท่านผู้หญิงหลิงกิยาเคยเป็นคนรับใช้ที่ตำหนักของเจ้าชายฉุน พื้นเพเป็นชาวฮั่น โดยมีแซ่ว่า แซ่หลิว (?) และเปลี่ยนเป็นชื่อแมนจูว่า หลิงกิยา เมื่อเป็นสนมของ เจ้าชายฉุนที่ 1 เพราะฉะนั้นไจ้เฟิง เจ้าชายฉุนที่ 2 จึงเป็นพี่น้องร่วมชนกเดียวกับสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่และเป็นทายาทสืบราชบัลลังก์ที่อยู่ในลำดับแรก
ผู่อี๋เป็นราชสกุล อ้ายซินเจว๋หลัวในสายที่ผูกพันกันแน่นกับเผ่าเย่เหอนาลาของพระนางซูสีไทเฮา นัดดาของพระนางซูสีไทเฮา คือ สมเด็จพระพันปีหลวงหลงยู่ (2411-2456) ก็เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่
พระอนุชาของผู่อี๋คือ เจ้าชายผู่เจี๋ย (2450-2537) ซึ่งต่อมาได้สมรสกับพระญาติของจักรพรรดิโชวะ คือ เจ้าหญิงฮิโระ ซะงะ ซึ่งกฎมณเฑียรบาลในเรื่องการสืบราชสมบัตินั้นให้ผู่เจี๋ยสืบราชบัลลังก์จากผู่อี๋ซึ่งไม่มีบุตรได้
ผู่เริ่น (2461-2558) พระอนุชาของพระองค์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นจีน คือ จิน โหย่วจือ อาศัยอยู่ที่ประเทศจีน โดยในปี 2549 จิน โหยว่จือได้ยืนฟ้องดำเนินคดีต่อศาลเกี่ยวกับสิทธิในรูปของผู่อี๋และความเป็นส่วนตัว โดยได้กล่าวอ้าวว่าสิทธิของเขาได้ถูกละเมิดจากงานจัดแสดง "จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายและราชวงศ์"
ส่วนญาติห่างๆของผู่อี๋ คือ ผู่ เซี่ยจ้าย เป็นนักดนตรีซึ่งเล่นกู่เจิ้งและเป็นศิลปินภาพเขียนจีน
พระราชมารดาของผู่อี๋คือ โย่วหลัน (2427-2464) เป็นลูกสาวของ ยงลู่ (2379-2446) รัฐบุรุษและนายพลจากเผ่ากูวาลเจีย โดยยงลู่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำของสายอนุรักษนิยมในราชวงศ์ชิง และเป็นผู้สนับสนุนที่ซื่อสัตย์ของพระนางซูสีไทเฮา โดยพระนางได้ตอบแทนความซื่อสัตย์ของยงลู่ จึงได้ให้ลูกสาวของเขา (พระมารดาของผู่อี๋) เสกสมรสเพื่อเข้ามาในกลุ่มราชวงศ์
เผ่ากูวาลเจีย เป็นหนึ่งในเผ่าที่ทรงอำนาจมากที่สุดของชาวแมนจูในสมัยราชวงศ์ชิง เอ๋าไป้ ผู้บัญชาการทางทหารผู้ทรงอิทธิพลและรัฐบุรุษซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการระหว่างต้นรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี ก็มาจากเผ่ากูวาลเจีย
ผู่อี๋ หรือ ถูกเลือกให้เป็นจักรพรรดิโดยพระนางซูสีไทเฮาในขณะที่ประชวรหนักอยู่บนพระแท่นบรรทม ผู่อี๋ขึ้นเป็นจักรพรรดิในขณะที่มีพระชนมายุ 2 พรรษากับอีก 10 เดือน ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2451 มีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง ชีวิตในการเป็นจักรพรรดิของพระองค์เริ่มต้นขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ของสำนักราชวังมายังตำหนักเจ้าชายฉุนเพราะนำตัวพระองค์ไปเป็นจักรพรรดิ โดยผู่อี๋ได้ทำการขัดขืนหรือกรีดร้องในขณะที่เจ้าหน้าที่ของพระราชวังสั่งให้ขันทีอุ้มพระองค์เจ้าชายฉุนที่ 2 พระบิดาของพระองค์ ได้ขึ้นเป็นองค์ชายผู้สำเร็จราชการ(???) ในระหว่างพิธีราชาภิเษกที่พระที่นั่งไท่เหอ พระบิดาได้อุ้มจักรพรรดิที่ยังทรงเยาว์ขึ้นไปยังบนบัลลังก์ ผู่อี๋ได้ตกใจฉากที่อยู่ต่อหน้าและเสียงอึกทึกของกลองและเสียงเพลงในพิธีราชาภิเษก และหลังจากนั้นผู่อี๋ก็เริ่มร้องไห้ พระบิดาของพระองค์ไม่สามารถที่จะทำสิ่งใดได้นอกจากพูดปลอบพระองค์ด้วยวลีอมตะว่า "อย่าร้องไห้ เดี๋ยวมันก็จบในอีกไม่ช้านี้"
แม่นมของผู่อี๋ เหวิน เฉาหว่าง เป็นเพียงคนเดียวที่สามารถควบคุมพระองค์ได้ เพราะฉะนั้นเธอจึงได้ตามพระองค์เข้าพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ไม่ได้เจอแม่ผู้ให้กำเนิดพระองค์ เป็นระยะเวลาถึง 7 ปี โดยเขาได้ผูกพันกับ เหวิน เฉาหว่าง และยอมรับว่าเธอเป็นเพียงผู้เดียวที่สามารถควบคุมพระองค์ได้ แต่เธอก็ได้ออกจากพระราชวังต้องห้ามเมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ภายหลังจากที่ผู่อี๋อภิเษกสมรส ในบางโอกาสพระองค์ก็พาแม่นมของเธอมาที่พระราชวังต้องห้าม รวมทั้งที่แมนจูกัว เพื่อมาเยี่ยมพระองค์ ภายหลังผู่อี๋ได้รับอภัยโทษจากรัฐบาลในปี พ.ศ. 2502 พระองค์ได้ไปเยี่ยมบุตรบุญธรรมของเธอและได้เรียนรู้ว่าเธอนั้นได้อุทิศตนเพื่อเป็นแม่นมของเขาแต่เพียงเท่านั้น
การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนผู่อี๋เป็นไปได้โดยยากในการเลี้ยงดูให้พระองค์เป็นผู้มีสุขภาพที่ดีดังเช่นเด็กปกติ ตลอดทั้งคืน พระองค์ถูกเลี้ยงดูดังเช่นเทพเจ้าและไม่สามารถที่จะประพฤติตัวได้อย่างเด็ก ชีวิตวัยผู้ใหญ่ของพระองค์ ยกเว้นแม่นมของพระองค์ ล้วนเป็นคนแปลกหน้าทั้งหมด,เป็นเหมือนญาติห่างๆ,ไม่คุ้นเคยและไม่สามารถที่จะอบรมพระองค์ได้ ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จไปที่ไหน จะมีคนคุกเข่าคำนับให้กับพระองค์จนกระทั่งเห็นพระองค์เดินไปจนลับสายตา ในไม่นานพระองค์ในวัยเยาว์ก็ทรงค้นพบว่าพระองค์ทรงมีอำนาจอย่างล้นพ้น พระองค์ทรงใช้อาวุธกับขันทีและทุบตีด้วยความผิดเล็กๆน้อยๆ
พระบิดาของผู่อี๋ เจ้าชายฉุนที่ 2 ได้เป็นผู้สำเร็จราชการถึงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2454 เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงหลงยู่เข้าควบคุมอำนาจเพื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่
พระพันปีหลวงหลงยู่เป็นผู้ลงพระนามาภิไธยใน "พระบรมราชโองการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง"(??????) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ภายหลังจากการปฏิวัติซินไห่ ภายใต้การต่อรองโดยขุนศึกหยวน ซื่อไข่ (นายพลแห่งกองทัพเป่ยหยาง) กับสมาชิกราชวงศ์ในปักกิ่ง และกลุ่มสาธารณรัฐในทางใต้ โดยมีการลงนามเพื่อก่อตั้ง สาธารณรัฐจีน ผู่อี๋เหลือเพียงตำแหน่งในราชวงศ์และได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลของสาธารณรัฐจากพิธีสารซึ่งจะถือว่าจะปฏิบัติพระองค์ให้เท่าเทียบกับกษัตริย์ของต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Law of Guarantees (1870) ข้อตกลงที่ให้พระสันตะปาปายังคงเกียรติยศและเอกสิทธิ์เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์อิตาลี ผู่อี๋และสมาชิกราชวงศ์ยังได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้ในส่วนเหนือของพระราชวังต้องห้าม(พระตำหนักส่วนพระองค์) และในพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน เงินช่วยเหลือสนับสนุนราชวงศ์มีจำนวนสูงถึง 4 ล้านเหรียญและจ่ายโดยรัฐบาลสาธารณรัฐให้แก่สมาชิกราชวงศ์ แต่ว่าเงินจำนวนนี้ทางวังไม่เคยได้รับเต็มจำนวนและถูกยกเลิกในเวลาต่อมาไม่กี่ปีหลังจากนั้น
ในปี พ.ศ. 2460 จาง ซวินได้นำผู่อี๋กลับขึ้นมาเป็นจักรพรรดิที่มีอำนาจอีกครั้งระหว่างวันที่ 1 ถึง 12 กรกฎาคม จางได้มีคำสั่งให้ทหารในกองทัพของเขาไว้หางเปียเพื่อแสดงความจงรักภักดีแด่องค์พระจักรพรรดิ ระหว่างช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟู ได้มีระเบิดขนาดเล็กหล่นลงมายังพระราชวังต้องห้ามโดยเครื่องบินของสาธารณรัฐ ก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อย อาจนับได้ว่าเป็นปฏิบัติการทางอากาศครั้งแรกที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออก การฟื้นฟูนอกจากจะล้มเหลวแล้วยังได้ก่อให้เกิดการต่อต้านไปทั่วประเทศ และมีการแทรกแซงจากขุนศึกต้วน ฉี่รุ่ย
หลังจากที่ถูกขับไล่ออกจากพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ใช้เวลาสองถึงสามวันอยู่ที่ตำหนักของพระบิดา หลังจากนั้นก็ไปอาศัยอยู่ที่สถานทูตญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราวประมาณ 1 ปีครึ่ง ในปี 2468 ผู่อี๋ได้ย้ายไปยัง Quiet Garden Villa ในเขตปกครองของญี่ปุ่นในเทียนจินระหว่างช่วงเวลานั้น ผู่อี๋และบรรดาที่ปรึกษาของเขา เฉิน เป่าเซิน,เจิง เสี่ยวซู และ โหล เซินยู่ ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับการฟื้นฟูเขาเป็นจักรพรรดิ โดยเจิงและโหลได้เสนอให้ขอความช่วยเหลือจากภายนอก แต่เฉินไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ในเดือนสิงหาคม 2474 ผู่อี๋ส่งจดหมายถึง จิโร่ มินะมิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม ของญี่ปุ่น บ่งบอกความภายในว่าเขาต้องการที่จะกลับมาเป็นจักรพรรดิ เขายังไปเยี่ยม เคนจิ โดอิฮะระ หัวหน้าหน่วยจารกรรมของกองทัพคันโต ผู้ซึ่งมีความปรารถนาจะให้ผู่อี๋เป็นผู้นำแห่งแมนจูกัว ในเดือนพฤศจิกายน 2474 ผู่อี๋และ เจิง เสี่ยวซูเดินทางไปยังแมนจูเรียเพื่อตกลงเกี่ยวกับแผนการตั้งรัฐแมนจูกัวให้สำเร็จ รัฐบาลจีนออกคำสั่งจับผู่อี๋ข้อหาเป็นกบฏแต่ไม่สามารถที่จะทำได้เพราะไม่สามารถฝ่าการคุ้มครองของญี่ปุ่นได้ เฉิน เป่าเซินเดินทางกลับสู่ปักกิ่งที่ซึ่งเขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2476
ในวันที่ 1 มีนาคม 2475 ผู่อี๋ได้เป็นผู้บริหารสูงสุดของแมนจูกัว ซึ่งก่อตั้งโดยญี่ปุ่น เมื่อพิจารณจากนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นรัฐที่เป็นหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยผู่อี๋ได้ดำรงตำแหน่งเป็น ต้าถ่ง (??) ในปี 2477 ผู่อี๋ก็ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัวโดยมีพระบรมนามาภิไธยว่า ตังเต๋อ (??) เขาไม่ค่อยพอใจที่ได้เป็นแค่ตำแหน่ง "ผู้บริหารสูงสุดของรัฐ" และต่อมาได้เป็น "จักรพรรดิแห่งแมนจูกัว" เพราะผู่อี๋ต้องการที่จะที่จะฟื้นฟูราชวงศ์ชิง โดยผู่อี๋ประทับอยู่ที่พระราชวัง (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งแมนจูกัว) ในช่วงเวลาที่เขาเป็นจักรพรรดิ ในการขึ้นครองบัลลังก์ของเขา เขาได้โต้เถียงกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับเรื่องเครื่องแต่งกาย โดยทางญี่ปุ่นต้องการให้เขาใส่ชุดเครื่องแบบแมนจูกัว เพราะว่าผู่อี๋ถือว่าเป็นการหยามเกียรติอย่างมากที่ให้ใส่ชุดใดๆนอกจากเสื้อคลุมยาวโบราณของแมนจู เพื่อความประนีประนอมเขายอมสวมเครื่องแบบทหารแบบตะวันตกในการขึ้นครองบัลลังก์(เป็นจักรพรรดิจีนเพียงพระองค์เดียวที่ได้สวมเครื่องแบบตะวันตกในวันขึ้นครองราชย์) และสวมเสื้อคลุมมังกรสำหรับการประกาศการขึ้นครองราชที่หอสักการะฟ้าเทียนถัน
ผู่เจี๋ยพระอนุชาของผู่อี๋ ผู้ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าหญิงฮิโระ ซะงะ พระญาติห่างๆของจักรพรรดิโชวะ ประกาศว่าเป็นรัชทายาทของผู่อี๋ การเสกสมรสนี้นี้เป็นอุบายทางการเมืองที่จัดการโดย ชิเงะรุ ฮนโจ นายพลแห่งกองทัพคันโต หลังจากนั้นผู่อี๋ไม่สามารถพูดคุยอย่างเปิดเผยกับพระอนุชาและปฏิเสธที่จะเสวยพระกระยาหารที่จัดเตรียมโดย ฮิโระ ซะงะ ผู่อี๋ถูกบังคับให้เซ็นข้อตกลงว่าถ้าเขามีโอรส จะต้องถูกส่งตัวไปญี่ปุ่นเพื่อเลี้ยงดูตามแบบที่นั่น
จากปี 2478 ถึงปี 2488 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพคันโต โยะชิโอะกะ ยะซุโนริ (????)ได้ถูกมอบหมายให้ไปเป็นนักการทูต เขาเป็นสายลับให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่น ควบคุมผู่อี๋ผ่านความกลัว,การขู่และคำสั่งโดยตรง เขาพยายามที่จะสังหารผู่อี๋หลายครั้งตลอดช่วงเวลานั้น รวมทั้งการแทงผู่อี๋โดยคนใช้ของวังในปี 2480 ระหว่างที่ผู่อี๋เป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัว ชีวิตครอบครัวของเขาถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากญี่ปุ่น ซึ่งในตอนนั้นกำลังเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปในแมนจูเรีย เพื่อขัดขวางผู่อี๋ในการประกาศตัวแยกเป็นเอกราช เขาได้ไปเลี้ยงฉลองเป็นเกียรติแก่ตัวเขาเองซึ่งจัดขึ้นโดยประชาชนชาวญี่ปุ่นระหว่างที่เขาได้ไปเยือนที่นั่น แต่เขาก็ยังคงต้องอ่อนน้อมต่อพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ สิ่งนี้ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ว่า การยอมรับวัฒนธรรมหรือพิธีกรรมจีนโบราณ เช่น การเรียกว่า "ฝ่าบาท" แทนการใช้ชื่อตัว มาจากความสนใจของผู้อี๋เองหรือมาจากการวางข้อกำหนดของญี่ปุ่นซึ่งใช้ในราชวงศ์ญี่ปุ่นอยู่แล้ว
ระหว่างช่วงเวลาเหล่านั้นผู้อี๋มีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับกฎหมายจีนโบราณและศาสนา(เช่นลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธ) แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้รับอนุญาตโดยญี่ปุ่น ผู้สนับสนุนเก่าแก่ของผู่อี๋ถูกกำจัดไปทีละน้อยและเอารัฐมนตรีพวกที่สนับสนุนญี่ปุ่นเข้ามาแทนที่ ระหว่างช่วงเวลานี้ชีวิตของผู่อี๋ประกอบไปด้วยการลงนามในกฎหมายที่จัดเตรียมโดยญี่ปุ่นเสียเป็นส่วนใหญ่, การสวดมนต์, ปรึกษาโหรและมีกำหนดการเยือนอย่างเป็นทางการไปทั่วประเทศ
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผู่อี๋ถูกจับโดยกองทัพแดงของโซเวียตในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ขณะที่จะพยายามจะหลบหนีทางเครื่องบินไปญี่ปุ่น โซเวียตพาเขาไปยังเมืองแถบไซบีเรีย ชิต้า โดยเขาอาศัยอยู่ในสถานพยาบาล ต่อมาเขาถูกย้ายไปยังเมือง ฮาบารอฟสค์ ใกล้กับชายแดนจีน
ในปี 2489 เขาได้ไปให้การเป็นพยานที่ศาลทหารระหว่างประเทศแห่งตะวันออกไกลที่โตเกียว ในรายละเอียดเกี่ยวกับความไม่พอใจของเขาที่ได้รับการปฏิบัติจากญี่ปุ่น
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้เหมา เจ๋อตง เข้ามามีอำนาจในประเทศจีนในปี พ.ศ. 2492 ผู่อี๋ถูกส่งตัวกลับจีนหลังจากการต่อรองกันระหว่างจีนและสหภาพโซเวียต ยกเว้นในช่วงสงครามเกาหลี เมื่อถูกย้ายไปฮาร์บินเขาใช้ชีวิตถึงสิบปีในศูนย์จัดการอาชญากรสงครามในฟู่ฉวนในมณฑลเหลียวหนิงจนกระทั่งเขาประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ ผู่อี๋กลับปักกิ่งในปี 2502 โดยได้รับอภัยโทษเป็นพิเศษจากประธาน เหมา เจ๋อตง และใช้ชีวิตเฉกเช่นสามัญชนในปักกิ่งกับน้องสาวเป็นเวลาหกเดือนก่อนที่จะย้ายไปยังโรงแรมที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาล ผู่อี๋บอกว่าจะสนับสนุนและทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์โดยเป็นคนสวนในสถาบันพฤษศาสตร์ เมื่ออายุ 56 ปี ผู่อี๋ได้แต่งงานกับหลี่ สูเสียน ซึ่งเป็นพยาบาล เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2505 ต่อมาเขาได้ทำงานเป็นบรรณาธิการแผนกวรรณกรรมที่สภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ โดยมีรายได้ 100 หยวน ต่อเดือน และเป็นที่ทำงานที่ผู่อี๋ทำจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ด้วยการได้รับกำลังใจจากประธาน เหมา เจ็อตงและนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีน ผู่อี๋ได้เขียนอัตชีวประวัติของตนเอง ว๋อ เต๋อ เฉียน ปาน เชิง (จีน: ?????; พินอิน: W? D? Qi?n B?n Sh?ng; literally: "ครึ่งหนึ่งของชีวิตข้าพเจ้า"; แปลออกมาเป็นภาษาไทย จากจักรพรรดิสู่สามัญชน) ในทศวรรษที่ 60 พร้อมกับ หลี่ เหวินด้า ซึ่งเป็นบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ประชาชนปักกิ่ง ในเวอร์ชันหนังสือของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ในบท ข้าพเจ้าปฏิเสธที่จะยอมรับความผิดของข้าพเจ้า เขาทำแถลงการณ์พิจารณาคำให้การของเขาที่การไต่สวนอาชญากรสงครามโตเกียว ความว่า:
ข้าพเจ้ารู้สึกอับอายเป็นอย่างมากกับคำให้การของข้าพเจ้า ว่าข้าพเจ้าระงับบางอย่างที่ข้าพเจ้ารู้เพื่อปกป้องตัวเองจากการถูกทำโทษโดยประเทศของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะพูดเกี่ยวกับความลับในการร่วมมือกับจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นระยะเวลานาน ความร่วมมือเกิดขึ้นเมื่อข้าพเจ้ายอมจำนนหลังจากวันที่ 18 กันยายน 2474 แต่ในส่วนสุดท้าย แทนที่ข้าพเจ้าจะพูดเกี่ยวกับในทางที่ญี่ปุ่นกดดันข้าพเจ้าและบีบบังคับข้าพเจ้าให้ทำในสิ่งที่เขาปรารถนาเท่านั้น ข้าพเจ้ายังคงรักษาไว้ที่จะไม่หักหลังประเทศของข้าพเจ้าแต่ข้าพเจ้าถูกลักพาตัวไป ข้าพเจ้าปฏิเสธความร่วมมือทั้งหมดกับญี่ปุ่น หรือแม้แต่กล่าวอ้างในจดหมายฉบับนั้นที่เขียนหา จิโร่ มินามินั้นเป็นของปลอม ข้าพเจ้าปกปิดอาชญากรรมที่ข้าพเจ้าได้ก่อเพื่อปกป้องตัวเอง
เหมา เจ๋อตง เริ่มต้นทำการการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2509 โดยกองกำลังเยาวชนกึ่งทหารซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ยุวชนแดง (Red Guard) มองผู่อี๋ว่าเป็นสัญลักษณ์ของจักวรรดิจีน ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่ง่ายในการโจมตี ผู่อี๋อยู่ในสถานที่ภายใต้การคุ้มกันของสำนักรักษาความปลอดภัยท้องถิ่น ถึงแม้ว่าส่วนแบ่งอาหาร, ค่าตอบแทนและสิ่งของหรูหราอื่น รวมถึงโซฟาและโต๊ะของเขาจะถูกถอดออกไป ทำให้เขาไม่ถูกประจานในที่สาธารณะแบบที่หลายคนถูกกระทำอย่างเป็นธรรมดาสามัญในช่วงเวลานั้น แต่อย่างไรก็ตามผู่อี๋ก็เข้าสู่ช่วงวัยชราและมีสุขภาพย่ำแย่ลง ผู่อี๋ถึงแก่กรรมอย่างสามัญชนในกรุงปักกิ่งด้วยโรคมะเร็งในไตและโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2510 มีอายุขัยได้ 61 ปี
ตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนในเวลานั้น ร่างของผู่อี๋ต้องทำพิธีเผา ในตอนแรกอัฐิของผู่อี๋บรรจุไว้ที่สุสานปฏิวัติปาเป่าซานเคียงข้างกับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนและบุคคลที่มีตำแหน่งระดับสูงของประเทศ (สถานที่แห่งนี้เคยเป็นสุสานของเหล่าสนมและขันทีก่อนมีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน)
ในปี พ.ศ. 2538 เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเชิงพาณิชย์ ภริยาม่ายของผู่อี๋ได้ย้ายอัฐิของเขาไปยังสุสานที่ตั้งขึ้นในเชิงพาณิชย์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางด้านการเงิน สุสานตั้งอยู่ใกล้กับสุสานราชวงศ์ชิงตะวันออก ห่างจากกรุงปักกิ่งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ใต้ 120 กิโลเมตร ซึ่งมีจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงฝังอยู่ 4 พระองค์ และจักรพรรดินี 3 พระองค์,องค์ชายและองค์หญิงรวมถึงสนมอีก 69 พระองค์
ซุ่นจื้อ ? คังซี ? ยงเจิ้ง ? เฉียนหลง ? เจียชิ่ง ? เต้ากวง ? เสียนเฟิง ? ถงจื้อ ? กวังซวี่ ? ผู่อี๋ (เซวียนถ่ง)