ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์

ไอรีนแห่งเอเธนส์ จักรพรรดินีแห่งไบแซนไทน์ หรือ ไอรีน เดอะเอเธนส์เนียน (กรีก:?????? ? ???????; ราวค.ศ. 712 - 9 สิงหาคม ค.ศ. 803) พระนามเดิมคือ ไอรีน ซารันตาเปชาอีนา (กรีก:?????? ??????????????) ทรงเป็นจักรพรรดินี พระประมุขแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ตั้งแต่ค.ศ. 797 ถึงค.ศ. 802 ก่อนนี้ที่จะทรงเป็นจักรพรรดินีพระประมุข พระนางไอรีนทรงดำรงเป็นจักรพรรดินีพระมเหสีตั้งแต่ค.ศ. 775 ถึงค.ศ. 780 และทรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินตั้งแต่ค.ศ. 780 ถึงค.ศ. 797

พระนางไอรีนเดิมประสูติในตระกูลขุนนางชาวกรีก ซารันตาเปชาอีนาแห่งเอเธนส์ เมื่อว่าพระนางจะทรงเป็นเด็กกำพร้าแต่พระปิตุลาของพระนาง คือ คอนสแตนติน ซารันตาเปชาอีนาเป็นแพทริเซียนและอาจจะเป็นสเตรทกอสจากธีมแห่งเฮลลาสในช่วงปลายศตวรรษที่แปด พระนางทรงถูกนำมาที่คอนสแตนติโนเปิลโดยพระบัญชาของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 768 และพระนางทรงเสกสมรสกับพระโอรสของพระองค์คือ จักรพรรดิเลโอที่ 4 เดอะคาซาร์ ในวันที่ 17 ธันวาคม แม้ว่าพระนางจะมีเชื้อสายขุนนาง แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมพระนางถึงถูกเลือกให้เป็นพระมเหสีของจักรพรรดิเลโอที่ 4 นักวิชาการหลายคนคาดเดาว่า พระนางอาจจะถูกเลือกจากพิธีแสดงตัวเจ้าสาว ที่ซึ่งหญิงสาวผู้มีสิทธิจะเดินเรียงออกมาต่อหน้าเจ้าบ่าว จนกระทั่งพระนางทรงได้รับการเลือกในที่สุด

ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 771 พระนางไอรีนทรงมีพระประสูติกาลพระโอรส ซึ่งต่อมาคือ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 สวรรคตในเดือนกันยายน ค.ศ. 775 จักรพรรดิเลโอทรฃขึ้นสืบราชบัลลังก์ด้วยพระชนมายุ 25 พรรษา จักรพรรดิเลโอทรงเป็นนักทำลายรูปเคารพ (Iconoclasts) แต่นโยบายในช่วงแรกของพระองค์เป็นต่อต้านผู้สนับสนุนรูปเคารพแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่นโยบายของพระองค์ได้รุนแรงมากยิ่งขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 780 ข้าราชบริพารจำนวนหนึ่งถูกลงโทษเนื่องจากยังคงเลื่อมใสในรูปเคารพ ตามโบราณราชประเพณี พระองค์ทรงพบว่ารูปเคารพได้ถูกเก็บซ่อนในทรัพย์สินของจักรพรรดินีไอรีน และพระองค์จึงปฏิเสธที่จะร่วมบรรทมกับพระนางตั้งแต่ตอนนั้น อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิเลโอสวรรคตในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 780 พระนางไอรีนทรงกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในจักรพรรดิคอนสแตนติน พระโอรสวัย 9 ชันษา

เกือบทันทีที่ทรงรับตำแหน่ง สมเด็จพระพันปีหลวงไอรีนทรงต้องเผชิญกับการสมคบคิดก่อการกบฏซึ่งพระนางทรงได้ยินว่า จะมีการยึดพระราชบัลลังก์ให้แก่ ซีซาร์ เจ้าชายนิเคโฟรอส พระอนุชาต่างบิดาของจักรพรรดิเลโอที่ 4 เพื่อให้ทรงชนะความท้าทายนี้ พระนางทรงให้เจ้าชายนิเคโฟรอสและผู้ร่วมแผนการของพระองค์ถือเพศบรรพชิต ซึ่งเป็นสถานะซึ่งต้องสละสิทธิในการปกครอง

ในช่วงต้นค.ศ. 781 สมเด็จพระพันปีหลวงไอรีนทรงพยายามมีสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดขึ้นกับราชวงศ์การอแล็งเฌียงและพระสันตะปาปาแห่งโรม พระนางทรงเจรจาแผนการอภิเษกสมรสระหว่างจักรพรรดิคอนสแตนติน พระโอรสของพระนางกับเจ้าหญิงโรทรูด พระราชธิดาในพระเจ้าชาร์เลอมาญแห่งอาณาจักรแฟรงค์ ซึ่งประสูติแต่พระมเหสีองค์ที่สาม สมเด็จพระราชินีฮิลเดการ์ด ในช่วงนี้พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงทำสงครามกับชาวแซกซัน และจากนั้นจะทรงกลายเป็นพระมหากษัตริย์ของชาวแฟรงค์พระองค์ใหม่ สมเด็จพระพันปีหลวงไอรีนทรงส่งข้าราชการของพระนางไปเพื่อถวายการศึกษาแก่เจ้าหญิงชาวแฟรงก์ให้ทราบเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมกรีก แต่พระนางไอรีนก็ทรงยกเลิกสัญญาในปีค.ศ. 787 เนื่องจากขัดความประสงค์ของพระโอรส

พระนางไอรีนทรงสามารถปราบปรามกบฏที่นำโดยเอลพิดิอุส สเตรตกอสแห่งซิชิลี ซึ่งครอบครัวของเขาได้ถูกทรมานและถูกคุมขังเมื่อกองทัพเรือมาถึง ซึ่งตามมาด้วยความสำเร็จในการปราบปรามชาวซิชิลี เอลพิดิอุสได้หลบหนีไปยังแอฟริกา ซึ่งเขาได้สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์อับบาซียะฮ์ หลังจากความสำเร็จของมิคาเอล ลาชาโนดรากอน นายพลในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5 ผู้ซึ่งสามารถสกัดกั้นการโจมตีของอับบาซียะฮ์ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพใหญ่ของราชวงศ์อับบาซียะห์นำโดยฮะรูน อัล-ราชิด ได้รุกรานอะนาโตเลีย ในฤดูร้อนปีค.ศ. 782 สเตรตกอสแห่งบูเซลลาเรียนธีม คือ ทัทซาเทส ได้แปรพักตร์ไปเข้ากับราชวงศ์อับบาซียะห์ และพระนางไอรีนทรงยินยอมที่จะจ่ายบรรณาการประจำปีจำนวน 70,000 ถึง 90,000 ดินาร์แก่ราชวงศ์อับบาซียะห์เป็นสัญญาสงบศึกเวลาสามปี ต้องมอบผ้าไหม 10,000 ผืน และต้องจัดหาคนนำทาง เสบียงอาหารและการเข้าถึงตลาดแก่หองทัพอับบาซียะห์ในระหว่างที่ถอนทัพด้วย

พระกรณียกิจสำคัญของสมเด็จพระพันปีหลวงไอรีนคือการฟื้นฟูการเคารพในรูปเคารพ (ภาพของพระคริสต์หรือนักบุญ) ได้มีการเลือกตั้งให้ทาราซิออส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนพระนางและเป็นอดีตเลขานุการของพระนาง ดำรงเป็นอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลในปีค.ศ. 784 พระนางทรงเรียกประชุมสภาศาสนจักรสองครั้ง ครั้งแรกจัดประชุมขึ้นในปีค.ศ. 786 ที่คอนสแตนติโนเปิล การประชุมครั้งนี้ได้สร้างความคับข้องใจแก่ฝ่ายต่อต้านอย่างฝ่ายทหารที่มีความศรัทธาและจงรักภักดีต่อจักรพรรดิผู้นับถือลัทธิทำลายรูปเคารพหลายพระองค์ตั้งแต่ในอดีต การประชุมครั้งที่สองจัดขึ้นที่ไนเซีย ในปีค.ศ. 787 ได้มีการรื้อฟื้นการเคารพในรูปเคารพและพยายามรวมศาสนจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์กับโรมกลับมาอีกครั้ง (ดูบทความ สังคายนาไนเซียครั้งที่สอง)

ในขณะที่ความสัมพันธ์กับรัฐพระสันตะปาปาดีขึ้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการเกิดขึ้นของสงครามกับอาณาจักรแฟรงค์ได้ ซึ่งได้ทำการยึดครองอิสเตรียและเบเนเวนโตในปีค.ศ. 788 ในทางกลับกัน ความพยายามทางทหารของสมเด็จพระพันปีหลวงไอรีนได้ประสบความสำเร็จบ้าง ในปีค.ศ. 782 สตอราคิออส มหาดเล็กคนโปรดของพระนางสามารถปราบปรามชาวสลาฟแห่งบอลข่าน และทรงวางรากฐานการขายอำนาจของไบแซนไทน์และพยายามรื้อฟื้นการทำให้เป็นกรีกในดินแดนขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม พระนางไอรีนทรงถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากกองทัพอับบาซียะห์ ในปีค.ศ. 782 และค.ศ. 798 ทรงต้องยอมรับเงื่อนไขของเคาะลีฟะฮ์ อัล-มะห์ดีและฮะรุน อัล-ราชิด

เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงบรรลุนิติภาวะ พระองค์รู้สึกร้อนพระทัยภายใต้การปกครองของพระมารดา ทรงพยายามปลดปล่อยพระองค์เองให้ทรงเป็นอิสระด้วยการใช้กำลังทหารแต่ก็ถูกกวาดล้างโดยสมเด็จพระพันปีหลวง พระนางทรงประณามว่าคำสาบานว่าจงรักภักดีควรจะต้องมอบให้แก่พระนางเพียงพระองค์เดียว ความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ก่อให้เกิดการต่อต้านในค.ศ. 790 และทหารนำโดยกองกำลังจากอาร์เมนิแอคธีมได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 เป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียว

ความเป็นพันธมิตรที่ดูไม่มีความหมายระหว่างจักรพรรดิคอนสแนตินกับสมเด็จพระพันปีหลวงไอรีนยังคงดำเนินอยู่ ซึ่งตำแหน่งจักรพรรดินีของพระนางได้รับการยอมรับในปีค.ศ. 792 แต่ความเป็นศัตรูกันระหว่างฝ่ายก็ยังคงอยู่ และในปีค.ศ. 797 พระนางไอรีนทรงก่อการสมรู้ร่วมคิดด้วยพระนางเองด้วยกลอุบายที่เล่ห์เหลี่ยม ร่วมกับเหล่าบาทหลวงและข้าราชบริพาร จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงลี้ภัยไปขอความช่วยเหลือจากแคว้นต่างๆ แต่ผู้ก่อการได้ล้อมจับกุมพระองค์ ทรงถูกจู่โจมโดยคนรับใช้ของพระองค์ที่ชายฝั่งเอเชียของช่องแคบบอสฟอรัส จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกนำพระองค์กลับมายังคอนสแตนติโนเปิล ดวงพระเนตรของพระองค์ถูกควักออกมา และพระองค์สวรรคตด้วยพระอาการบาดเจ็บในหลายวันถัดมา เกิดสุริยุปราคาและความมืดกินเวลา 17 วัน ทำให้มีการเชื่อว่าเป็นความน่าสะพรึงกลัวของสวรรค์

แม้ว่าจะทรงอ้างพระองค์เองเป็นพระประมุข พระนางไอรีนทรงเรียกพระนางเองว่า "บาซิลิอุส" (Basileus) (????????) หรือ "จักรพรรดิ" มากกว่าจะทรงใช้คำว่า "บาซิลิสซา" (basilissa) (?????????) หรือ "จักรพรรดินี" ในความเป็นจริงมีเพียงสามกรณีที่รู้จกพระนางในตำแหน่ง "บาซิลิอุส" สองกรณีมาจากเอกสารทางการซึ่งพระนางทรงลงพระปรมาภิไธยว่า "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" และอีกกรณีหนึ่งคือเหรียญตราพระรูปของพระนางที่พบในซิชิลีได้ลงอักษรว่า "บาซิลิอุส" ตามเหรียญ ตัวอักษรบนเหรียญมีสภาพแย่และยังคงเป็นข้อถกเถียงว่าเป็นเหรียญของจักรพรรดินีไอรีนหรือไม่ แต่พระนางทรงใช้คำว่า "บาซิลิสซา" ในเอกสาร เหรียญและตราแผ่นดินทั้งหมด

จักรพรรดินีไอรีนทรงครองราชย์เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ค.ศ. 797 ถึง ค.ศ. 802 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงต้องการขอความช่วยเหลือในการกำจัดศัตรูในกรุงโรม และทรงเห็นว่าราชบัลลังก์ไบแซนไทน์ว่างลง (ขาดผู้ครองบัลลังก์ที่เป็นบุรุษ) พระองค์ทรงทรงสวมมงกุฏให้กับชาร์เลอมาญในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปีค.ศ. 800 การไม่ยอมรับการครองราชย์ของจักรพรรดินีไอรีนของพระสันตะปาปาครั้งนี้ถือเป็นการหยามเกียรติของจักรวรรดิโรมันตะวันออก อย่างไรก็ตามจักรพรรดินีไอรีนทรงพยายามที่จะเจรจาต่อรองการอภิเษกสมรสระหว่างพระนางเองกับจักรพรรดิชาร์เลอมาญ แต่ตามบันทึกของธีโอฟาเนส ผู้สารภาพ ซึ่งเป็นคนเดียวที่กล่าวถึงเรื่องนี้ ระบุว่าแผนการนี้ได้ถูกทำให้ไร้ผลโดยอาเอทิออส หนึ่งในคนโปรดของพระนาง

ในปีค.ศ. 802 กลุ่มขุนนางแพทริเซียนได้สมคบคิดวางแฟนโค่นล้มพระนางและสถาปนานิเคโฟรอส เสนาบดีคลัง (โลโกเททิส ตูร์ เกอนิโค) จักรพรรดินีไอรีนทรงถูกเนรเทศไปยังเลสบอส ทรงถูกบังคับให้ปั่นขนแกะเพื่อเป็นรายได้ยังชีพ พระนางไอรีนสวรรคตในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 803

ความตั้งพระทัยในการฟื้นฟูรูปเคารพและอารามทำให้ธีโอดอร์เดอะสตูดิเตยกย่องพระนางในฐานะนักบุญแห่งคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แต่พระนางก็ไม่ได้ทรงได้รับการประกาศเป็นนักบุญอย่างเป็นทางการ ได้มีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการตั้งพระนางให้เป็นนักบุญซึ่งส่วนใหญ่มาจากแหล่งอ้างอิงจากตะวันตก แต่ข้อเรียกร้องก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากมีไนออน (เป็นหนังสือทางพิธีกรรมอย่างเป็นทางการซึ่งมีเงื่อนไขในการตั้งนักบุญแห่งอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อย่างเหมาะสม) และยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากหนังสือ "Lives of Saints" ของนิโคเดมุส เดอะฮากิโอไรท์ หรือหนังสืออื่นๆของศาสนจักรออร์ทอดอกซ์

จากการอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิเลโอที่ 4 เดอะคาซาร์ พระนางทรงมีพระโอรสหนึ่งพระองค์คือ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 6 ซึ่งพระนางทรงสืบราชบัลลังก์ต่อ พระญาติฝ่ายหญิงของพระนางไอรีนคือ ธีโอฟาโนแห่งเอเธนส์ได้ถูกเลือกโดยจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 1 ในปีค.ศ. 807 ให้เป็นพระชายาในพระโอรสของพระองค์คือ จักรพรรดิสตอราคิออส และพระญาติฝ่ายหญิงของพระนางคนหนึ่งที่ไม่ทราบชื่อได้เสกสมรสกับเทเลริกแห่งบัลแกเรีย พระประมุขชาวบุลการ์ ในปีค.ศ. 776 จักรพรรดินีไอรีนยังทรงมีพระนัดดาชายเพียงหนึ่งพระองค์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406