แนโร เกลาดิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส แกร์มานิกุส (ละติน: NERO CLAVDIVS CAESAR AVGVSTVS GERMANICVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์ที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองอันติอูง จักรวรรดิโรมัน มีชื่อเต็มตอนเกิดว่า ลูกิอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส (LVCIVS DOMITIVS AHENOBARBVS) บิดาชื่อกไนอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส มารดาชื่ออากริปปีนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงน้องสาวของจักรพรรดิกาลิกุลา จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส
จากนั้นอากริปปีนาเริ่มเกิดความไม่พอใจอย่างรุนแรงที่แนโรมัวสนใจอยู่แต่แอ็คเต้ แม้กระนั้นแนโรก็ไม่ได้สนพระทัยท่านแม่เลยและคิดจะละทิ้งความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกเสีย เหลือไว้เพียงความรักกับแอ็คเต้เท่านั้น ซึ่งทำให้พระราชมารดาทรงขู่จะเปิดเผยพินัยกรรมฉบับจริงที่จักรพรรดิเกลาดิอุสทรงระบุว่า จะมอบราชสมบัติให้แก่บริทานิคัสผู้เป็นรัชทายาทที่แท้จริง คำขู่นี้ก่อให้เกิดผลร้ายต่อบริทานิคัสผู้ซึ่งไม่รู้อิโหน่อิเหน่เป็นคนแรก โดยแนโรได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์หนุ่มมาร่วมเสวย และแล้วเหตุการณ์ก็ซ้ำรอยเดิมเมื่อบริทานิคัสเกิดอาการชักเกร็งแล้วสิ้นใจในที่สุดด้วย "เห็ดพิเศษ" หลังจากนั้นจึงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า "บริทานิคัส พระบรมวงศานุวงศ์ผู้เป็นที่รักของซีซาร์เสด็จสู่สวรรค์คาลัยแล้วด้วยสาเหตุลมชักอันเป็นโรคประจำตัว"
"แทกซิตัส" นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันที่มีชื่อเสียงในยุคของแนโรได้บันทึกข้อกล่าวหาไว้และถูกเชื่อถือกันมาตลอดระยะเวลา 2,000 กว่าปี ดังนี้
ปัจจุบัน เอริก วาร์นเนอร์ และ เฮนรี่ เฮิร์สต์ นักประวัติศาสตร์สองท่านที่มีชื่อเสียงไม่เชื่อในบันทึกของแทกซิตัส เนื่องจากในขณะที่กรุงโรมเกิดเพลิงไหม้นั้นแทกซิตัสมีอายุเพียง 8 ขวบ ซึ่งเข้าใจว่าแทกซิตัสอาจจะบันทึกตามคำบอกกล่าวของชาวโรมในสมัยนั้น โดยมีข้อสังเกตว่า
อย่างใดก็ตามแต่ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าแนโรมีความผิดปกติทางจิตจริง โดยหลักฐานและบันทึกที่ปรากฏอยู่มากมาย แต่มีนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับแนโรอยู่หลายท่านที่บันทึกเรื่องราวที่เป็นธรรมกับแนโรด้วยเช่นกัน เช่น
โยเซฟัส (Josephus) นักประวัติศาสตร์ที่เกิดและโตในรัชกาลของแนโร และมีอายุยืนถึง 70 ปี เขากล่าวว่า แท็กซิตัส และ ซูโตเนียส บันทึกกล่าวว่าร้ายใส่แนโรจนเกินไป เพราะทั้งสองคนนี้อยู่ในสมัยหลังแนโรถึง 50 ปี และสิ่งที่บันทึกล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ได้แต่ฟังมา ไม่ได้เห็นด้วยตาตนเอง
มาร์คัส แอนเนียส ลูคานัส นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแนโรอีกคนหนึ่งบันทึกว่า ไพร่ฟ้าต่างหน้าใสเมื่ออยู่ใต้การปกครองของแนโร เศรษฐกิจของกรุงโรมในขณะนั้นดีมากประชากรต่างร่ำรวย และเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่นั้นถูกเป็นเครื่องมือหาความชอบธรรมให้กับเหล่าสมาชิกสภาสูงในการโค่นอำนาจจักรพรรดิ์แนโร