ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

งานศึกษามีกลุ่มควบคุม

งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (อังกฤษ: case-control study, case comparison study, case compeer study, case history study, case referent study, retrospective study) เป็นแบบการศึกษาอย่างหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ ที่มีการพัฒนาในยุคแรก ๆ ในสาขาวิทยาการระบาด แม้ว่าต่อ ๆ มาก็มีการสนับสนุนให้ใช้ในการศึกษาสาขาต่าง ๆ ของสังคมศาสตร์ เป็นงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ประเภทหนึ่ง ที่จะกำหนดกลุ่มสองกลุ่มที่มีผลต่างกัน แล้วเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานว่าอะไรเป็นเหตุของผลที่ต่างกันนั้น เป็นแบบงานที่มักจะใช้เพื่อกำหนดองค์ประกอบที่มีผลต่ออาการของโรค โดยเปรียบเทียบคนไข้ที่มีอาการ/โรค (case) กับผู้ที่ไม่มีอาการ/โรค (control) ที่มีลักษณะอย่างอื่น ๆ เหมือน ๆ กัน เป็นแบบงานที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า แต่ว่าให้หลักฐานความเป็นเหตุผลได้อ่อนกว่าการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial)

ในสาขาวิทยาการระบาด การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาแบบสังเกต เป็นการศึกษาที่ไม่สุ่มจัดผู้ร่วมการทดลองให้อยู่ในกลุ่มทดลอง (เป็นกลุ่มที่รับเงื่อนไขที่เป็นประเด็นการศึกษา) หรือกลุ่มควบคุม แต่ว่าจะมีการ "สังเกต" ผู้ร่วมการทดลองเพื่อกำหนดทั้งการได้รับเงื่อนไขที่เป็นประเด็นการศึกษา ทั้งผลของการได้รับเงื่อนไขนั้น ดังนั้น การได้รับเงื่อนไขหรือไม่ได้รับสำหรับผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนจะไม่ได้กำหนดโดยผู้ทำการทดลอง

(เป็น) การศึกษาแบบสังเกตทางวิทยาการระบาดของผู้ที่มีโรค (หรือมีตัวแปรที่เป็นผลอย่างอื่น) ที่เป็นประเด็นการศึกษา และกลุ่มควบคุมที่เหมาะสมประกอบด้วยผู้ที่ไม่มีโรค (เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ หรือกลุ่มอ้างอิง) ความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ระหว่างองค์ความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เป็นประเด็นสงสัย หรือลักษณะ (attribute) อย่างหนึ่งของโรค (กับโรค) จะได้รับการตรวจสอบโดยเปรียบเทียบผู้ร่วมการทดลองที่มีโรคกับผู้ที่ไม่มีโรค ว่ามีความชุกขององค์ความเสี่ยงหรือลักษณะของโรค (หรือ ถ้าเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ระดับค่าของลักษณะ) ในแต่ละกลุ่ม (มีโรคและไม่มีโรค) แค่ไหน

ยกตัวอย่างเช่น ในการศึกษาที่พยายามจะแสดงว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ (attribute) มีโอกาสที่จะรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปอด (outcome) มากกว่า กลุ่มทดลองก็คือกลุ่มผู้ที่มีโรคมะเร็งปอด และกลุ่มควบคุมก็คือกลุ่มผู้ที่ไม่มีโรคมะเร็งปอด (แต่ไม่จำเป็นต้องมีสุขภาพดี) โดยที่จะมีคนที่สูบบุหรี่อยู่ในทั้งสองกลุ่ม ถ้าอัตราการสูบบุหรี่ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม นี้บอกเป็นนัยว่า สมมุติฐานนี้ถูกต้อง แม้ว่าจะยังไม่ใช่การสรุปว่าเป็นจริงอย่างเชื่อถือได้

การศึกษามีกลุ่มควบคุมมักจะเปรียบเทียบกับงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) ที่ติดตามบุคคลที่รับเงื่อนไขที่เป็นประเด็นการศึกษาหรือไม่ได้รับ จนกระทั่งเกิดผลที่เป็นประเด็นการศึกษา

บุคคลในกลุ่มควบคุมไม่จำเป็นต้องมีสุขภาพดี และการรวมคนป่วยเข้าในกลุ่มควบคุมบางครั้งเป็นความเหมาะสม เพราะว่า กลุ่มควบคุมควรจะเป็นตัวแทนของประชากรที่มีความเสี่ยงเกิดโรค บุคคลในกลุ่มควบคุมควรจะมาจากกลุ่มประชากรเดียวกับบุคคลในกลุ่มทดลอง และการเลือกคนในกลุ่มควบคุมควรจะเป็นอิสระจากการได้รับหรือไม่ได้รับเงื่อนไขที่เป็นประเด็นการศึกษา

กลุ่มควบคุมสามารถที่จะมีโรคเดียวกันกับกลุ่มทดลอง แต่ในระดับ/ความรุนแรงที่ต่างกัน และดังนั้น จึงมีผลที่ต่างไปจากผลที่เป็นประเด็นศึกษา (ซึ่งมีระดับ/ความรุนแรงอีกขั้นหนึ่ง) แต่ว่า เพราะว่า ความแตกต่างกันระหว่างผลของกลุ่มทดลองและผลของกลุ่มควบคุมมีน้อย ดังนั้นการตรวจจับเงื่อนไขที่เป็นประเด็นการศึกษาว่ามีโอกาสเป็นเหตุหรือไม่ ก็จะมีกำลังทางสถิติน้อยกว่า

โดยเหมือนกับการศึกษาของวิทยาการระบาดอื่น ๆ ยิ่งมีผู้ร่วมการทดลองมากเท่าไร ความน่าเชื่อถือของผลการทดลองก็มีเพิ่มยิ่งขึ้น จำนวนคนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่จำเป็นต้องเท่ากัน และจริง ๆ แล้ว ในหลาย ๆ สถานการณ์ การเกณฑ์หาคนเข้ากลุ่มควบคุมง่ายกว่าที่จะหาคนสำหรับกลุ่มทดลอง การเพิ่มจำนวนบุคคลในกลุ่มควบคุมมากกว่ากลุ่มทดลอง จนกระทั่งถึงอัตราส่วน 4 ต่อ 1 อาจะเป็นวิธีเพิ่มคุณภาพของงานศึกษาโดยเป็นการใช้ทุนอย่างมีประสิทธิผล

งานศึกษามีกลุ่มควบคุมเสียค่าใช้จ่ายน้อยโดยเปรียบเทียบ และเป็นแบบการศึกษาที่ใช้บ่อยในวิทยาการระบาด ที่สามารถทำได้โดยทีมงานเล็ก ๆ หรือโดยนักวิจัยเพียงคนเดียวที่ศูนย์วิจัยแห่งเดียว เป็นวิธีที่งานทดลองที่ทำอย่างเต็มรูปแบบอื่น ๆ อาจจะทำไม่ได้ เป็นแบบวิธีที่ชี้ทางที่ได้นำไปสู่การค้นพบและความก้าวหน้าใหม่ ๆ เป็นแบบวิธีที่มักจะใช้ศึกษาโรคหายาก หรือว่าเป็นการศึกษาขั้นเบื้องต้น (preliminary) เมื่อข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ความเสี่ยงที่ศึกษากับโรคยังมีน้อย

โดยเทียบกับการศึกษาตามรุ่นตามแผน (prospective cohort study) งานศึกษามีกลุ่มควบคุมเป็นการศึกษาที่มีค่าใช้จ่ายและใช้เวลาน้อยกว่า และในบางสถานการณ์ อาจจะมีกำลังทางสถิติที่เหนือกว่า เพราะว่า การศึกษาตามแผนบางครั้งต้องรอการเกิดของโรคที่เป็นผลที่มีจำนวนเพียงพอก่อนที่จะแสดงผลที่น่าเชื่อถือ

งานศึกษามีกลุ่มควบคุมเป็นงานแบบสังเกตโดยธรรมชาติ และดังนั้น จึงไม่ให้หลักฐานในระดับเดียวกับการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trials) คือ ผลที่พบอาจจะอิทธิพลมาจากตัวแปรสับสน จนกระทั่งว่า งานทดลองแบบที่ดีกว่าอาจจะให้ผลตรงกันข้าม เช่นมีงานศึกษาโดยวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ของงานศึกษามีกลุ่มควบคุมที่มีคุณภาพสูง 30 งาน งานวิเคราะห์แสดงผลสรุปว่า การใช้ผลิตภัณฑ์จะลดความเสี่ยงลงครึ่งหนึ่ง แต่ตามความจริงแล้ว จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว การเช็คเวลาที่เกิดเหตุการณ์เงื่อนไขที่สมมุติว่าเป็นเหตุของผลอาจจะยาก ถ้าใช้การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม คือยากกว่างานศึกษาตามรุ่นตามแผน เพราะงานตามแผนจะให้ความมั่นใจได้ว่า มีเหตุการณ์เงื่อนไขที่เกิดแล้วอย่างแน่นอน ก่อนที่จะติดตามผู้ร่วมการทดลองในระยะหนึ่งเพื่อตรวจดูว่ามีโรคเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะฉะนั้น ข้อเสียที่สำคัญที่สุดของการศึกษามีกลุ่มควบคุมก็คือ ความยากลำบากที่จะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการเกิดเหตุการณ์เงื่อนไขภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ดังนั้น การศึกษาแบบนี้จึงจัดอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำในลำดับชั้นหลักฐาน (hierarchy of evidence)

ชัยชนะสำคัญจากงานศึกษามีกลุ่มควบคุม เป็นงานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับโรคมะเร็งปอดที่ทำในปี ค.ศ. 1950 เป็นงานที่ทำมีผู้ร่วมการทดลองจำนวนมาก ที่แสดงนัยสำคัญทางสถิติของความสัมพันธ์ แม้ว่า ผู้ไม่เห็นด้วยจะได้อ้างต่อไปอีกหลายปีว่า งานศึกษาแบบนี้ไม่สามารถใช้ในการพิสูจน์เหตุ แต่ว่า งานศึกษาตามรุ่นที่ทำต่อ ๆ มายืนยันความเป็นเหตุ (ของการสูบบุหรี่) ที่งานศึกษามีกลุ่มควบคุมดั้งเดิมได้แสดง แม้ว่า ผู้ไม่เห็นด้วยจะได้อ้างต่อไปอีกหลายปีว่า งานศึกษาแบบนี้ไม่สามารถใช้ในการพิสูจน์เหตุ แต่ว่า งานศึกษาตามรุ่นที่ทำต่อ ๆ มายืนยันความเป็นเหตุ (ของการสูบบุหรี่) ที่งานศึกษามีกลุ่มควบคุมดั้งเดิมได้แสดง และในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ยอมรับทั่วไปแล้วว่า การสูบบุหรี่เป็นเหตุของการตายเพราะมะเร็งปอดถึงร้อยละ 87 ในประเทศสหรัฐอเมริกา

การวิเคราะห์ข้อมูลของงานศึกษามีกลุ่มควบคุมในตอนต้น ๆ เป็นการตรวจดูว่า มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญหรือไม่ระหว่างอัตราการมีเหตุการณ์เงื่อนไขระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ต่อมามีนักวิชาการที่ชี้ข้อสมมุติว่า เมื่อผลที่เป็นโรคมีน้อย odds ratio ของเหตุการณ์เงื่อนไข (exposure) สามารถใช้ในการประมาณความเสี่ยงสัมพัทธ์ แต่หลังจากนั้นก็มีนักวิชาการอีกท่านหนึ่งที่แสดงว่า ข้อสมมุตินี้ไม่จำเป็น และ odds ratio ของเหตุการณ์เงื่อนไขสามารถใช้ประมาณ incidence rate ratio ของเหตุการณ์เงื่อนไขได้เลย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301