ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

คอสเพลย์

คอสเพลย์ (อังกฤษ; cosplay) เป็นคำที่เกิดจากหน่วยคำควบของคำว่า "costume play" คือกิจกรรมและศิลปะการแสดงสดอย่างหนึ่งโดยที่ผู้เข้าร่วมจะถูกเรียกว่าคอสเพลเยอร์ ซึ่งจะสวมใส่เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับเพื่อแสดงเป็นตัวละครที่เฉพาะเจาะจง คอสเพลเยอร์มักจะมีปฏิสัมพันธ์กันบ่อยครั้งเพื่อสร้างวัฒนธรรมย่อยของตนเองขึ้นมา และการใช้คำว่า "คอสเพลย์" ในวงกว้างนั้นรวมไปถึงการสวมบทบาทพร้อมเครื่องแต่งกายใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นในการชุมนุมใด ๆ โดยไม่นับรวมการแสดงบนเวทีอีกด้วย สิ่งใดก็ตามที่สามารถนำมาตีความเช่นนี้ได้อย่างชัดเจนก็สามารถถูกนับว่าเป็นคอสเพลย์ได้เช่นกัน แหล่งที่มาของคอสเพลย์ที่เป็นที่นิยมได้แก่อนิเมะ, การ์ตูน, หนังสือการ์ตูน, มังงะ, ซีรีส์โทรทัศน์, การแสดงดนตรีร็อก, วิดีโอเกม และในบางกรณีก็อาจจะเป็นตัวละครต้นแบบด้วยเช่นกัน คำว่าคอสเพลย์นี้ประกอบจากคำสองคำดังที่กล่าวไว้ข้างต้นซึ่งก็คือ costume และ role play

จุดเริ่มต้นของคอสเพลย์ในยุคใหม่นั้นมาจากการแต่งกายของแฟนนิยายวิทยาศาสตร์ในงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์ที่เริ่มจัดขึ้นโดยโมโจโรภายใต้ชื่อ "futuristicostumes" ซึ่งจัดขึ้นในงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์โลกครั้งที่ 1 ในเมืองนครนิวยอร์กเมื่อปี 1939 คำว่าคอสเพลย์ในภาษาญี่ปุ่น (コスプレ, โคสุปุเระ, kosupure) เกิดขึ้นเมื่อปี 1984 การเติบโตของจำนวนประชากรคอสเพลเยอร์ที่ทำเป็นงานอดิเรกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ซึ่งทำให้ปรากฏการณ์นี้ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมประชานิยมของญี่ปุ่น รวมถึงส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโลกตะวันตกด้วยเช่นกัน งานคอสเพลย์ถือเป็นกิจกรรมที่พบเห็นได้โดยทั่วไปในฐานะของงานประชุมแฟนคลับ และในปัจจุบันนี้ได้มีงานชุมนุมหรือการประกวดและแข่งขัน, รวมถึงเครือข่ายสังคม, เว็บไซต์ และสื่อรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอสเพลย์อีกมากมาย คอสเพลย์เป็นที่นิยมในคนทุกเพศทุกวัยและไม่แปลกเลยที่จะได้เห็นการแต่งกายข้ามเพศหรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเจนเดอร์-เบนดิง (gender-bending)

คำว่า "cosplay" นั้นเป็นหน่วยคำควบในภาษาญี่ปุ่นซึ่งมาจากการคำในภาษาอังกฤษสองคำคือ costume และ play คำว่าคอสเพลย์ถูกคิดค้นขึ้นโดยโนบุยูกิ ทาคาฮาชิจาก Studio Hard หลังจากที่เขาได้เข้าร่วมงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์โลกในปี 1984 (เวิลด์คอน) ที่ลอสแองเจลิสและได้เห็นการแต่งกายของแฟนนิยายวิทยาศาสตร์ที่นั่น ซึ่งในเวลาต่อมาเขาได้เขียนบทความให้กับนิตยสารมายอะนิเมะของญี่ปุ่น ทาคาฮาชิได้ตัดสินใจคิดค้นคำใหม่ชึ้นมาแทนที่การใช้คำแปลจากภาษาอังกฤษคำว่า "masquerade" เนื่องจากคำแปลในภาษาญี่ปุ่นนั้นจะได้ความหมายว่า "เครื่องแต่งกายของชนชั้นสูง" ซึ่งไม่เหมาะสมกับประสบการณ์ที่เขาได้พบเจอมาที่เวิลด์คอน การคิดค้นคำใหม่เช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการย่อคำในภาษาญี่ปุ่นที่จะใช้มอราแรกของคู่คำนั้น ๆ มาสร้างเป็นคำใหม่ ซึ่งในที่นี้คือคำว่า 'costume' ที่ได้กลายเป็นโคสุ (コス) และคำว่า 'play' ที่ได้กลายเป็นปุเระ (プレ)

งานเต้นรำหน้ากากถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานคาร์นิวัลในศตวรรษที่ 15 พร้อมทั้งเป็นส่วนสำคัญในงานพระราชพิธี, งานประกวด, และงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ของราชวงศ์ในช่วงปลายยุคกลางอย่างเช่นงานฉลองชัยชนะหรืองานอภิเษกสมรสเป็นต้น นอกจากนี้ยังขยายออกไปยังเทศกาลการแต่งกายสาธารณะในอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 16 ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอีกด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานเต้นรำของชนชั้นสูงโดยเฉพาะในแถบเวนิส

ในเดือนเมษายนปี 1877 ฌูล แวร์นได้ส่งบัตรเชิญเกือบ 700 ใบสำหรับงานเต้นรำในเครื่องแต่งกายที่หรูหรา ซึ่งแขกหลายคนแต่งตัวเป็นตัวละครจากนิยายของแวร์น

งานปาร์ตี้เครื่องแต่งกาย (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน) หรืองานปาร์ตี้แต่งกายแฟนซี (ภาษาอังกฤษแบบบริติช) เป็นงานที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา นอกจากนี้หนังสือแนะนำการแต่งกายในยุคนั้นเช่น เครื่องแต่งกายของตัวละครเพศชาย (Male Character Costumes) ของซามูเอล มิลเลอร์ (1884) หรือ หนังสืออธิบายการแต่งกายแฟนซี (Fancy Dresses Described) ของอาร์ดดิร์น โฮลต์ (1887) มักเน้นไปที่การแต่งกายแบบทั่วไปโดยส่วนใหญ่ เช่นการแต่งกายในยุคต่าง ๆ , การแต่งกายประจำชาติ, วัตถุสิ่งของหรือแนวคิดทางนามธรรมเช่น "ฤดูใบไม้ร่วง" หรือ "กลางคืน" ซึ่งบางส่วนของการแต่งกายที่ระบุไว้ในนั้นเป็นของบุคคลในประวัติศาสตร์ แม้ว่าบางส่วนจะมาจากนวนิยาย เช่นตัวละครจาก สามทหารเสือ หรือตัวละครอื่น ๆ จากผลงานของเชกสเปียร์

ในเดือนมีนาคมปี 1891 เฮอร์เบิร์ต ทิบบิตส์ได้มีการเชิญชวนคนกลุ่มหนึ่งที่ในปัจจุบันอาจถูกเรียกได้ว่าเป็น "คอสเพลเยอร์" ซึ่งการเชิญชวนนี้ยังได้รับการโฆษณาอีกด้วย เพื่อให้มาเข้าร่วมงานที่จัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 5–10 มีนาคมในปีเดียวกันที่อาคารรอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ในกรุงลอนดอน งานนี้มีชื่อว่า Vril-Ya Bazaar and Fete ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นจากนวนิยายวิทยาศาสตร์และตัวละครในเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ออกมาก่อนหน้านั้นยี่สิบปี

ตัวละครจากการ์ตูนแนววิทยาศาสตร์ของ เอ.ดี. คอนโดที่มีชื่อว่ามิสเตอร์สกายแก็คจากดาวอังคาร (นักชาติพันธุ์วิทยาจากดาวอังคารที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องราวบนโลกอย่างน่าตลกขบขัน) อาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวละครสมมุติตัวแรกที่ผู้คนได้ทำการเลียนแบบโดยสวมใส่เครื่องแต่งกาย ซึ่งในปี 1908 คู่สามีภรรยาวิลเลียมเฟลล์ (William Fell) จากเมืองซินซินแนติในรัฐโอไฮโอถูกรายงานว่ามีการเข้าร่วมงานหน้ากากที่ลานสเก็ตโดยสวมเครื่องแต่งกายเป็นมิสเตอร์สกายแก็คและมิสดิลล์พิกเกิลส์ ต่อมาในปี 1910 ผู้หญิงที่ไม่เปิดเผยชื่อคนหนึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในงานหน้ากากที่เทศมณฑลทาโคมาในรัฐวอชิงตัน โดยสวมเครื่องแต่งกายเป็นมิสเตอร์สกายแก็คด้วยเช่นกัน

บุคคลกลุ่มแรกที่สวมเครื่องแต่งกายเข้าร่วมงานประชุมหรืองานชุมนุมจริงคือแฟนนิยายวิทยาศาสตร์นามว่าฟอร์เรสต์ เจ. อัคเคอร์แมนและเมอร์เทิล อาร์. ดักลาส ซึ่งเป็นที่รู้จักในวงการว่าโมโรโจ พวกเขาเข้าร่วมงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์โลกครั้งแรกในปี 1939 (Nycon หรือ 1st Worldcon) ที่อาคารคาราวานฮอลล์ในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสวมใส่ในกิจกรรม "futuristicostumes" ซึ่งประกอบด้วยเสื้อคลุมสีเขียวและกางเกงขาสั้นที่ได้รับการออกแบบโดยอ้างอิงจากภาพวาดในนิตยสารเยื่อกระดาษของแฟรงค์ อาร์. พอลและจากภาพยนตร์ปี 1936 เรื่องธิงส์ทูคัม โดยทั้งสองชุดนั้นออกแบบและตัดเย็บขึ้นมาโดยดักลาส หลังจากนั้นอัคเคอร์แมนได้ให้สัมภาษณ์ว่าตัวเขาคิดว่าทุกคนคงจะสวมชุดแนวเดียวกันกับเขาในงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์ ทว่ากลับมีเพียงแค่เขาและดักลาสเท่านั้น

แนวคิดการแต่งกายของแฟนคลับได้รับความนิยมมากขึ้น อย่างไรก็ตามในงานงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์โลกครั้งที่ 2 ในปี 1940 นั้นมีทั้งการจัดงานแฟนซีแบบไม่เป็นทางการในห้องของดักลาสและการจัดงานแฟนซีอย่างเป็นทางการที่เป็นส่วนหนึ่งของรายการอยู่แล้วด้วยเช่นกัน เดวิด ไคล์ชนะการประกวดแฟนซีโดยสวมชุดมิง เดอะ เมอร์ซิเลสที่จัดทำขึ้นมาโดยเลสลี่ เพอร์รี ในขณะที่โรเบิร์ต เอ. ดับเบิลยู. โลว์นเดสได้รับรางวัลตำแหน่งที่สองจากการสวมชุดบาร์ เซเนสโตร (จากนวนิยายเดอะไบลนด์สปอตโดยออสติน ฮอลล์และโฮเมอร์ เอียน ฟลินท์) ผู้เข้าร่วมงานคนอื่น ๆ ที่แต่งกายเข้าร่วมงานนั้นซึ่งรวมถึงแขกรับเชิญพิเศษนามว่าอี. อี. สมิธที่แต่งกายเป็นนอร์ธเวสต์ สมิธ (จากชุดเรื่องสั้นของซี. แอล. มัวร์) และทั้งอัคเคอร์แมนและดักลาสก็ได้สวมชุดในแนวคิด futuristicostumes ของพวกเขาอีกครั้งในงานประชุมครั้งนี้ การประกวดการแต่งกายแฟนซีและงานเต้นรำชุดแฟนซีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมในงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์โลกนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา งานเต้นรำแฟนซีในช่วงแรกเริ่มของเวิลด์คอนนั้นประกอบด้วยวงดนตรี, การเต้นรำ, อาหารและเครื่องดื่ม ผู้เข้าแข่งขันจะทำการเดินผ่านบนเวทีหรือแม้กระทั่งจัดแจงพื้นที่สำหรับการใช้เป็นพื้นที่เต้นรำ

อัคเคอร์แมนสวมชุด "คนค่อมแห่งนอเทรอดาม" ไปที่งานเวิลด์คอนครั้งที่ 3 ในปี 1941 ซึ่งรวมถึงหน้ากากที่ออกแบบและสร้างโดยเรย์ แฮร์รี่เฮาเซน แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็หยุดสวมชุดแฟนซีไปเข้าร่วมงานประชุมในครั้งถัด ๆ ไป ส่วนดักลาสนั้นได้สวมชุดของตัวละครอัคคา (จากนวนิยายเรื่องเดอะมูนพูลของเอ. เมอร์ริตต์) โดยรวมถึงหน้ากากที่ทำขึ้นโดยแฮร์รี่เฮาเซนอีกเช่นกัน ซึ่งเธอได้สวมชุดนี้เข้าร่วมงานเวิลด์คอนครั้งที่ 3 และชุดสเน็คมาเธอร์ (ซึ่งอ้างอิงจากนวนิยายของเมอร์ริตต์อีกเรื่องที่มีชื่อว่าเดอะสเน็คมาเธอร์) เพื่อเข้าร่วมงานเวิลด์คอนครั้งที่ 4 ในปี 1946 ในขณะนั้นคำศัพท์ที่ใช้เรียกงานชุมนุมเช่นนี้ยังไม่มีการกำหนดขึ้นมา ในสารานุกรมแฟนซี (Fancyclopedia) ของแจ็ค สเปียร์ฉบับปี 1944 ใช้คำว่า costume party

กฎข้อบังคับเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายได้เริ่มมีการกำหนดขึ้นมาเพื่อกำหนดแนวทางการแต่งกายและตอบสนองกับความนิยมในการแต่งกายบางรูปแบบ ผู้เข้าแข่งขันที่ทำการเปลือยกายคนแรกได้ปรากฏขึ้นในงานแต่งกายแฟนซีของเวิลด์คอนในปี 1952 ทว่าจุดสูงสุดของความนิยมนี้อยู่ในช่วงทศวรรษที่ 1970 และต้นทศวรรษที่ 1980 โดยในแต่ละปีนั้นมีเพียงคนจำนวนน้อยเท่านั้น ซึ่งท้ายที่สุดนำไปสู่กฎที่ว่า "ไม่มีเครื่องแต่งกายก็คือไม่มีเครื่องแต่งกาย" โดยเป็นการห้ามการเปลือยกายเต็มตัว แม้ว่าจะอนุญาตให้มีการเปลือยกายบางส่วนได้ตราบใดนำเสนอตัวละครนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง ไมค์ เรสนิกอธิบายว่าชุดเปลือยที่ดีที่สุดคือชุดของคริส ลุนดี (Kris Lundi) ที่สวมชุดฮาร์พีในงานเวิลด์คอนครั้งที่ 32 ในปี 1974 (เธอได้รับรางวัลชมเชยในการแข่งขัน) เครื่องแต่งกายอีกชุดหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎนั้นมาจากผู้เข้าร่วมงานที่งานเวิลด์คอนครั้งที่ 20 ในปี 1962 ซึ่งมีการพกพาอาวุธเลียนแบบที่สามารถปล่อยเปลวไฟได้จริง อันนำไปสู่กฎการห้ามใช้ไฟจริง ต่อมาในงานครั้งที่ 30 ในปี 1972 ศิลปินนามว่าสก็อต ชอว์ได้ทำการสวมชุดที่ประกอบด้วยเนยถั่วเป็นจำนวนมากเพื่อนำเสนอตัวละครจากคอมิกซ์ใต้ดินของเขาเองที่มีชื่อเรียกว่า "เดอะเทิร์ด" (The Turd) ทว่าเนยถั่วเหล่านั้นได้หลุดออกมาและก่อให้เกิดความเสียหายกับเฟอร์นิเจอร์ผิวนุ่มและเครื่องแต่งกายของคนอื่น ๆ และเริ่มส่งกลิ่นเหม็นภายใต้ความร้อนของแสงไฟ หลังจากนั้นอาหาร, วัตถุที่มีกลิ่น และสิ่งที่อาจทำให้เลอะเทอะจึงถูกห้ามใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายหลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น

การแต่งกายในลักษณะนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นพร้อมกับความนิยมในงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์และการมีปฏิสัมพันธ์ของแฟน ๆ เหตุการณ์แรกเริ่มที่มีการแต่งกายในงานประชุมที่สหราชอาณาจักรนั้นเกิดขึ้นในงานประชุมนิยายวิทยาศาสตร์ลอนดอนในปี 1953 แต่ยังคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์แฟนตาซีลิเวอร์พูลที่เข้าร่วมงานไซตริคอน (Cytricon) ครั้งที่ 1 ในปี 1955 ในเมืองเคทเทอริงนั้นได้สวมเครื่องแต่งกายเข้าร่วมงานและทำเช่นนั้นต่อมาในปีต่อ ๆ ไป ต่อมาในงานเวิลด์คอนครั้งที่ 15 ในปี 1957 ได้กำหนดให้มีการประกวดชุดแฟนซีอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ต่อมาในงานอีสเตอร์คอนในปี 1960 ที่จัดขึ้นในลอนดอนนั้นอาจนับได้ว่าเป็นงานประชุมในสหราชอาณาจักรครั้งแรกที่มีการจัดงานเลี้ยงชุดแฟนซีอย่างเป็นทางการที่เป็นส่วนหนึ่งของรายการ โดยมีผู้ชนะร่วมกันคือเอเธล ลินด์เซย์ (Ethel Lindsay) และไอนา ชอร์ร็อค (Ina Shorrock) ในฐานะแม่มดสองคนจากนวนิยายเดอะวิทเชสออฟคาร์เรส ซึ่งเขียนขึ้นโดยเจมส์ เอช. ชมิทซ์

ในปี 1969 ได้มีการจัดงานประชุมสตาร์ เทรคขึ้นมา และต่อมาในปี 1972 จึงได้เริ่มการจัดงานประชุมใหญ่ขึ้นมา ซึ่งได้มีการจัดประกวดเครื่องแต่งกายมาโดยตลอด

ในประเทศญี่ปุ่น การแต่งกายในงานประชุมนั้นเป็นกิจกรรมของแฟนคลับที่สามารถสืบย้อนกลับไปได้ในช่วงปี 1970 โดยเฉพาะหลังจากการเปิดตัวงานคอมิเก็ตในเดือนธันวาคมปี 1975 ซึ่งการแต่งกายในช่วงเวลานั้นถูกเรียกว่าคะโซ (仮装) บันทึกครั้งแรกที่เกี่ยวกับการแต่งกายในงานประชุมโดยแฟนคลับในญี่ปุ่นนั้นเกิดขึ้นที่งานอาชิโนคอนในปี 1978 ณ เมืองฮาโกเนะ ซึ่งในงานนี้นักวิจารณ์นิยายวิทยาศาสตร์แนวอนาคตนามว่ามะริ โคะทะนิก็ได้สวมชุดที่อ้างอิงมาจากภาพปกของนวนิยายเรื่องอะไฟติงแมนออฟมาร์ส โดยเอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรห์ส โคะทะนิได้ให้สัมภาษณ์ว่ามีผู้เข้าร่วมงานปาร์ตี้ชุดแฟนซีประมาณยี่สิบคน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกของชมรมแฟนคลับไทรทันออฟเดอะซีของเธอและกลุ่มคันไซเอนเตอร์เทนเนอร์ส (関西芸人, คันไซเกนิน) ที่เป็นต้นกำเนิดของสตูดิโออนิเมะไกแน็กซ์ ทว่าโดยส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมงานนั้นแต่งตัวตามปกติ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มคันไซซึ่งเป็นเพื่อนที่ไม่เปิดเผยชื่อของยะสุฮิโระ ทะเคะดะได้สวมชุดทัสเคนเรดเดอร์ (จากภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส) ที่ทำขึ้นอย่างเร่งด่วนจากม้วนกระดาษชำระของโรงแรมที่เป็นเจ้าภาพ การประกวดชุดแฟนซีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งอย่างถาวรของงานประชุมนิฮงเอสเอฟไทไคนับตั้งแต่งานโทคอนครั้งที่ 7 ในปี 1980 เป็นต้นมา

การแข่งขันแต่งกายชุดแฟนซีครั้งแรกที่จัดขึ้นในงานประชุมหนังสือคอมมิคนั้นเป็นไปได้ว่าอาจจะจัดขึ้นในงานอะคาเดมีคอนครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นที่โรงแรมบรอดเวย์เซ็นทรัลในนครนิวยอร์กในเดือนสิงหาคม ปี 1965 รอย ทอมัส ผู้ที่ต่อมาได้เป็นบรรณาธิการบริหารของมาร์เวลคอมิกส์ แต่ในขณะนั้นเขาเพิ่งเปลี่ยนจากบรรณาธิการแฟนซีนมาเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพก็ได้เข้าร่วมงานโดยแต่งกายในชุดพลาสติกแมน

งานเต้นรำหน้ากากครั้งแรกที่จัดขึ้นที่งานแซนดีเอโกคอมิกคอนนั้นจัดขึ้นในปี 1974 ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 6 โดยมีจูน โฟเรย์ที่ในขณะนั้นเป็นนักพากย์เสียงมาเป็นผู้ดำเนินรายการ บริงเก้ สตีเวนส์ ผู้ที่ต่อมาจะได้กลายเป็นดาราภาพยนตร์สยองขวัญนั้นสามารถคว้ารางวัลที่หนึ่งด้วยการสวมชุดของตัวละครแวมไพเรลลาในงานครั้งนี้ แอกเคอร์แมน (ผู้สร้างแวมไพเรลลา) ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้และถ่ายภาพร่วมกับสตีเวนส์ และต่อมาพวกเขาจึงได้กลายเป็นเพื่อนกัน สตีเวนส์ยังได้กล่าวว่า "ฟอร์รีและภรรยาของเขาเวนเดย์นได้กลายเป็นเสมือนพ่อแม่ทูนหัวของฉันในไม่ช้า" ต่อมาช่างภาพนามว่าแดน โกลเด้นได้เห็นภาพถ่ายของสตีเวนส์ในชุดคอสตูมแวมไพเรลลาในขณะเยี่ยมบ้านของแอกเคอร์แมน ทำให้ต่อมาเขาได้จ้างเธอให้เข้าแสดงในบทที่ไม่มีบทพูดในภาพยนตร์ของนักศึกษาครั้งแรกของเธอ ที่มีชื่อเรื่องว่าไซแซ็คอิสคิง (1980) และต่อมาได้ถ่ายภาพเธอขึ้นปกนิตยสารเฟมม์แฟเทลส์ฉบับแรกในปี 1992 ซึ่งสตีเวนส์ได้ยกให้เหตุการณ์เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพนักแสดงของเธอ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ โช นิชิโนะ อะยุมิ ทะฮะระ เร อะโอะอิ มาเรีย โอะซะวะ มิฮิโระ โรลา มิซะกิ ไอ อีจิมะ ซะโอะริ ฮะระ โซะระ อะโอะอิ เอลลี เอคิระ นางพยาบาล ภาพยนตร์เอวี วันเกิด วันพ่อ นักบุญดอมินิก แพตทริเซีย นีล เด็กดี ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง แคที เลียง คะโอะริ อีดะ คะโอะริ อีดะ ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23244