ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ความแพร่หลายของภาษาสเปน

ภาษาสเปนเป็นภาษาซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเป็นภาษาราชการใน 21 ประเทศ องค์การระหว่างประเทศจำนวนหนึ่ง และมีผู้พูดราว 329-500 ล้านคน คิดเป็นอันดับ 2 หรือ 3 ของโลก

ปัจจุบันมีประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา 13 แห่งที่ระบุให้ภาษาสเปนหรือภาษาคาสตีล (การเรียกชื่อต่างกันในแต่ละประเทศ) เป็นภาษาราชการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศโบลิเวีย (ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านความเห็นชอบเมื่อปี ค.ศ. 2007 หมวด 1 บทที่ 1 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง โดยมีสถานะเป็นภาษาราชการร่วมกับ "ภาษาของเชื้อชาติและชนพื้นเมืองต่าง ๆ ในเขตชนบททุกภาษา" เช่น ภาษาไอย์มารา ภาษากาบีเนญา ภาษากายูบาบา ภาษากวารานี ภาษากวาราซูเว ภาษาเกชัว ภาษาอูรู-ชีปายา และภาษาซามูโก), โคลอมเบีย (ร่วมกับภาษาและภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ของกลุ่มนั้น ๆ),คอสตาริกา,คิวบา,เอกวาดอร์,เอลซัลวาดอร์,กัวเตมาลา,ฮอนดูรัส,นิการากัว (รัฐธรรมนูญของประเทศ หมวด 2 มาตรา 12 ได้ระบุเพิ่มไว้ว่า "ภาษาของชุมชนต่าง ๆ ที่อยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของนิการากัวจะมีฐานะเป็นภาษาราชการเช่นกันในกรณีต่าง ๆ ตามแต่กฎหมายจะกำหนด"),ปานามา,ปารากวัย (เป็นภาษาราชการร่วมกับภาษากวารานี),เปรู (เป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาเกชัว ภาษาไอย์มารา และภาษาของชนพื้นเมืองอื่น ๆ ในพื้นที่ที่ชนกลุ่มนั้นอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก) และเวเนซุเอลา (รัฐธรรมนูญของประเทศได้ระบุเพิ่มไว้ว่า "ภาษาพื้นเมืองต่าง ๆ จะมีสถานะทางการสำหรับชนพื้นเมืองเหล่านั้นด้วย และภาษาเหล่านั้นต้องได้รับความเคารพในทั่วทุกพื้นที่ของสาธารณรัฐ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติ") ส่วนประเทศและดินแดนในภูมิภาคลาตินอเมริกาอีก 6 แห่งที่ไม่ได้ระบุให้ภาษานี้เป็นภาษาราชการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แม้จะใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาหลักเช่นกัน ได้แก่ อาร์เจนตินา,ชิลี,สาธารณรัฐโดมินิกัน,อุรุกวัย,เม็กซิโก (เป็นภาษาราชการโดยพฤตินัย) และเปอร์โตริโก ซึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกา

ภาษาสเปนกลับมามีความสำคัญอีกครั้งในประเทศบราซิล เนื่องจากความใกล้ชิดและการค้าที่ขยายตัวขึ้นระหว่างบราซิลกับประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้ภาษาสเปน เช่น ในฐานะสมาชิกตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง ในปี ค.ศ. 2005 รัฐสภาบราซิลได้ผ่านร่างกฎหมายที่กำหนดให้มีการสอนภาษาสเปนเป็นภาษาต่างประเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งของรัฐบาลและของเอกชน นอกจากนี้ ตามเมืองและหมู่บ้านตามชายแดนหลายแห่งของประเทศ โดยเฉพาะชายแดนที่ติดกับอุรุกวัยและอาร์เจนตินา ยังมีผู้ใช้ภาษาผสมระหว่างภาษาสเปนกับภาษาโปรตุเกสซึ่งเรียกว่า "ปอร์ตูญอล" (portu?ol)

ส่วนในประเทศเฮติซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของเกาะฮิสปันโยลา ภาษาฝรั่งเศส และภาษาครีโอลเฮติ (เป็นภาษาผสมที่ได้รับอิทธิพลบางส่วนจากภาษาสเปน) เป็นเพียงสองภาษาที่มีฐานะเป็นภาษาราชการของประเทศ แต่ผู้คนในบริเวณเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านบนเกาะเดียวกัน (คือสาธารณรัฐโดมินิกัน) จะเข้าใจภาษาสเปนในระดับพื้นฐานและนำมาใช้สนทนากันได้อย่างไม่เป็นทางการ

ในสหรัฐอเมริกา ภาษาสเปนจะใช้กันมากในรัฐต่าง ๆ ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ เช่น รัฐเทกซัส นิวเม็กซิโก แอริโซนา และแคลิฟอร์เนีย เป็นต้น เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเม็กซิโกมาก่อน นอกจากนี้ก็ยังใช้กันตามเมืองใหญ่ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นนิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส ชิคาโก ไมแอมี ฮิวสตัน แซนแอนโทนีโอ เดนเวอร์ บอลทิมอร์ หรือซีแอตเทิล

ภาษาสเปนมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานในสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่า ชื่อรัฐ เมือง หมู่บ้าน รวมทั้งสถานที่ภูมิศาสตร์หลายแห่งต่างได้รับการตั้งชื่อเป็นภาษานี้ เช่น โคโลราโด ("ทาด้วยสีแดง") ฟลอริดา ("เต็มไปด้วยดอกไม้") ซานตาเฟ ("ความเชื่ออันบริสุทธิ์") ลาสเวกัส ("ที่ราบอันอุดมสมบูรณ์") ลอสแอนเจลิส ("เหล่าทูตสวรรค์") แซคราเมนโต ("พิธีรับเป็นคริสต์ศาสนิกชน") และเซียร์ราเนวาดา ("ภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ") เป็นต้น ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาจากประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกาก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับภาษาสเปนในประเทศนี้ ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีจำนวนผู้ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาหลักมากที่สุดเป็นอันดับที่สองของโลก และภาษาสเปนยังเป็นภาษาต่างประเทศที่มีผู้เรียนมากที่สุดในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของประเทศอีกด้วย

ในรัฐนิวเม็กซิโก ภาษาสเปนเป็นภาษาที่ใช้ในการบริหารงานของรัฐ แม้ว่ารัฐธรรมนูญของรัฐจะไม่ได้กำหนดให้ภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาราชการก็ตาม ภาษาสเปนที่ใช้ในรัฐนี้มีต้นกำเนิดในช่วงการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และยังคงสามารถรักษาลักษณะดั้งเดิมไว้ได้มากจนถึงปัจจุบัน

ในประเทศเบลีซซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ภาษาสเปนไม่ได้รับการกำหนดให้เป็นภาษาราชการ แต่จากผลการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปี ค.ศ. 2000 พบว่าชาวเบลีซร้อยละ 52.1 สามารถใช้ภาษาสเปนในการสื่อสารได้ดีมาก โดยประชากรส่วนใหญ่ในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวสเปนซึ่งได้ตั้งรกรากในบริเวณนี้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่กระนั้น ภาษาอังกฤษก็ยังคงเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวของประเทศ

บนเกาะอารูบา (ดินแดนโพ้นทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์ในทะเลแคริบเบียน) มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นจำนวนมาก ในทางตรงกันข้าม ในเกาะเพื่อนบ้านอย่างกือราเซาและโบแนเรอกลับมีผู้พูดเป็นจำนวนน้อย เกาะทั้งสามสามารถรับสื่อแขนงต่าง ๆ เป็นภาษานี้จากประเทศเวเนซุเอลาได้โดยเฉพาะช่องโทรทัศน์ เนื่องจากมีที่ตั้งใกล้ชิดกันมาก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการสอนภาษาสเปนขั้นพื้นฐานในโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งในอารูบาและอดีตเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส เนื่องจากข้อผูกพันทางการค้าและความสำคัญด้านการท่องเที่ยวของประเทศที่ใช้ภาษาสเปนในภูมิภาคแคริบเบียน อย่างไรก็ตาม ดินแดนเหล่านี้ก็ใช้ภาษาดัตช์และภาษาปาเปียเมนโตเป็นภาษาราชการของตนเท่านั้น

สเปนได้เข้ายึดตรินิแดดและโตเบโกเป็นอาณานิคมในปี ค.ศ. 1498 แต่ต่อมาเกาะทั้งสองก็ตกไปอยู่ภายใต้การครอบครองของชาติยุโรปชาติอื่น ๆ และในที่สุดก็ตกเป็นของสหราชอาณาจักรก่อนจะได้รับเอกราช ประเทศนี้จึงใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก อย่างไรก็ตาม การที่มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ทำให้ตรินิแดดและโตเบโกได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้ภาษาสเปนเป็นหลักค่อนข้างมาก ผลสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่ามีประชากรมากกว่า 1,500 คนที่ใช้ภาษาสเปน ปัจจุบัน รัฐบาลตรินิแดดและโตเบโกได้เริ่มดำเนินการตามแผน "ภาษาสเปนในฐานะภาษาต่างประเทศภาษาที่หนึ่ง" (SAFFL) ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจและการค้าของประเทศเป็นหลัก โดยกำหนดให้มีการเรียนการสอนภาษาสเปนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และวางเป้าหมายไว้ว่า ภายในห้าปี ลูกจ้างภาครัฐร้อยละ 30 จะต้องใช้ภาษาสเปนระดับพื้นฐานได้ดี

ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการของประเทศสเปน และยังใช้กันในยิบรอลตาร์อันดอร์รา (ภาษาสเปนเป็นภาษาแม่ของประชากรจำนวนมากในประเทศนี้เนื่องจากชาวสเปนจำนวนมากย้ายเข้าไปตั้งรกรากที่นั่น แต่ก็ไม่มีฐานะเป็นภาษาราชการเหมือนภาษาคาตาลัน) รวมไปถึงในชุมชนขนาดเล็กในประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ (ภาษาสเปนเป็นภาษาแม่ของชาวสวิสร้อยละ 1.7 นับเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ใช้กันมากที่สุดในประเทศรองจากภาษาราชการทั้งสี่ภาษา)

ในยิบรอลตาร์ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงยิบรอลตาร์ (GBC) ออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุเป็นภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ ล่าสุดในประเทศรัสเซียกำลังจะเปิดสถานีโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงเป็นภาษาสเปน โดยใช้ชื่อว่า Rusia Hoy ("รัสเซียวันนี้")

นอกจากนี้ ภาษาสเปนยังเป็นหนึ่งในภาษาราชการ 23 ภาษาของสหภาพยุโรปอีกด้วย ประชากรในสหภาพยุโรป (นอกเหนือจากชาวสเปน) ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเกือบ 19 ล้านคนสามารถพูดภาษาสเปนได้ (นับรวมผู้ที่เรียนภาษาสเปนเป็นภาษาต่างประเทศมาอย่างถูกต้องด้วย)

ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาฝรั่งเศสและเป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศอิเควทอเรียลกินี นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ภาษานี้ในเมืองต่าง ๆ ของประเทศสเปนริมชายฝั่งแอฟริกาเหนือ (เซวตาและเมลียา) รวมทั้งในหมู่เกาะคะเนรีซึ่งเป็นดินแดนของประเทศสเปนในมหาสมุทรแอตแลนติก

ในเมืองทินดูฟ ประเทศแอลจีเรีย มีผู้อพยพลี้ภัยชาวเวสเทิร์นสะฮาราประมาณ 200,000 คนที่สามารถอ่านและเขียนภาษาสเปนได้ หลายพันคนจากจำนวนนี้ยังได้รับความช่วยเหลือให้ศึกษาต่อจนถึงระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นคิวบาและสเปน) ส่วนทางภาคเหนือของประเทศโมร็อกโกซึ่งเป็นอดีตรัฐในอารักขาของสเปนและมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับสเปนด้วยนั้น มีประชากรเกือบ 20,000 คนที่ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาแม่ สถานที่อื่นที่มีชุมชนผู้ใช้ภาษาสเปนอาศัยอยู่ได้แก่เมืองลูเอนาในประเทศแองโกลา อันเป็นผลจากการที่ทหารคิวบาจำนวนมากเข้าไปประจำการที่นั่นในช่วงสงครามเย็น

เมื่อไม่นานมานี้ โกโกบีช เมืองท่องเที่ยวบริเวณชายแดนของประเทศกาบองได้ทำข้อตกลงกับอิเควทอเรียลกินี ส่งผลให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองสองประเทศ ดังนั้น ภาษาสเปนจึงมีสถานะเป็นภาษาราชการของเมืองไปด้วย (นอกเหนือจากภาษาฝรั่งเศส) นอกจากนี้ ภาษาสเปนยังใช้กันในหมู่ชาวอิเควทอเรียลกินีซึ่งหลบหนีออกจากประเทศในช่วงที่ประธานาธิบดีฟรันซิสโก มาซีอัส อึงกูเอมาขึ้นครองอำนาจ ทุกวันนี้พวกเขายังคงอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกาบอง แคเมอรูน และไนจีเรีย

แม้ว่าภาษาสเปนจะเคยเป็นภาษาราชการของประเทศฟิลิปปินส์อยู่เป็นเวลากว่าสี่ศตวรรษ แต่ความสำคัญของภาษานี้กลับลดลงในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อสหรัฐอเมริกาได้เข้าครอบครองและบริหารหมู่เกาะแห่งนี้ต่อจากสเปน หลังได้รับเอกราช การนำภาษาอังกฤษมาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ได้นำจุดสิ้นสุดในการเป็นภาษาราชการมาสู่ภาษาสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1987 ซึ่งเป็นช่วงที่นางโกราซอน อากีโนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ ปัจจุบันฟิลิปปินส์ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาตากาล็อกเป็นภาษาราชการ จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 1990 พบว่ามีชาวพื้นเมือง 2,658 คนที่พูดภาษาสเปน นอกจากนี้ยังมีชาวพื้นเมืองในเมืองกาวีเตและเมืองซัมโบวังกาที่พูดภาษาชาบากาโน (Chavacano) ซึ่งเป็นภาษาครีโอล (ภาษาลูกผสม) ที่มีรากมาจากภาษาสเปนโดยตรง

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีกลอเรีย มากาปากัล-อาร์โรโยของฟิลิปปินส์ได้กล่าวในระหว่างการเยือนสเปนอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี ค.ศ. 2007 ว่า วิชาภาษาสเปนจะกลับมาเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรการศึกษาของประเทศอีกครั้งหนึ่ง และรัฐบาลฟิลิปปินส์ยืนยันว่าจะบรรจุวิชาภาษาสเปนเข้าไว้ในการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นไป

ในประเทศจีน สถานีโทรทัศน์กลางแห่งชาติ (CCTV) เริ่มแพร่ภาพออกอากาศทางช่อง CCTV-E เป็นภาษาสเปนตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007

ในบรรดาประเทศและดินแดนต่าง ๆ ในเขตโอเชียเนีย มีผู้ใช้ภาษาสเปนอยู่มากในเกาะอีสเตอร์ซึ่งเป็นดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกของประเทศชิลี

นอกจากนี้ในประเทศออสเตรเลีย จากผลการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2001 พบว่ามีผู้พูดภาษาสเปน 93,593 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 98,001 คนจากผลการสำรวจในปี ค.ศ. 2006 ส่วนใหญ่ในจำนวนนี้เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองซิดนีย์

ส่วนประเทศนิวซีแลนด์ จากผลการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2001 พบว่ามีผู้ใช้ภาษาสเปนทั้งหมด 14,676 คน และจากผลการสำรวจในปี ค.ศ. 2006 ตัวเลขได้เพิ่มขึ้นเป็น 21,645 คน

ในเกาะกวม หมู่เกาะปาเลา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะมาร์แชลล์ และหมู่เกาะไมโครนีเซียเคยมีผู้ใช้ภาษาสเปนเช่นกัน เนื่องจากในอดีต หมู่เกาะมาเรียนาและหมู่เกาะคาโรไลน์อยู่ภายใต้ครอบครองของสเปน จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1898 เมื่อสเปนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามกับสหรัฐอเมริกา ภาษาสเปนจึงเริ่มหายไปจากดินแดนเหล่านี้นับแต่นั้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406