ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ความเอนเอียงทางประชาน

ความเอนเอียงทางประชาน (อังกฤษ: cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality)

ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล

ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p. 582) นอกจากนั้นแล้ว แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ยังอ้างไว้ด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมีผลทางด้านการปฏิบัติในฟิลด์ต่าง ๆ รวมทั้งการวินิจฉัยทางคลินิก

ความคิดเกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมาจากคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 ซึ่งมีรากฐานมาจากประสบการณ์ของพวกเขาเกี่ยวกับความไม่สามารถคิดโดยเหตุผลโดยใช้ตัวเลข (innumeracy) ของมนุษย์ คาฮ์นะมันและคณะได้แสดงโดยใช้วิธีที่ทำซ้ำได้หลายอย่างว่า การประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ต่างไปจากที่แสดงในแบบจำลองทางเศรษฐศาตร์ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางคือ rational choice theory (ทฤษฎีการเลือกโดยเหตุผล) โดยอธิบายว่า มนุษย์ทำการประเมินและตัดสินใจโดยใช้ฮิวริสติก ซึ่งเป็นทางลัดทางความคิดที่สามารถให้ค่าประเมินอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์บางอย่าง (Baumeister & Bushman, 2010, p. 141). ฮิวริสติกเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายกว่าในการคำนวณ แต่ว่าบางครั้งทำให้เกิด "ความผิดพลาดที่รุนแรงอย่างเป็นระบบ"

ยกตัวอย่างเช่น ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน (representativeness heuristic) คือ ความโน้มเอียงที่จะ "ประเมินความชุกหรือความน่าจะเป็น" ของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ โดยความคล้ายคลึงของเหตุการณ์นั้นกับรูปแบบตัวอย่าง (Baumeister & Bushman, 2010, p. 141) ในงานทดลองหนึ่ง คาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านข้อความสั้น ๆ เกี่ยวกับหญิงคนหนึ่งชื่อว่าลินดา โดยกล่าวถึงเธอว่า "อายุ 31 ปี ยังโสด พูดจาตรงไปตรงมา และฉลาดมาก เธอเรียนปรัชญาเป็นวิชาเอก แม้จะเป็นนักศึกษา เธอก็มีความสนใจในปัญหาการเลือกปฏิบัติ และปัญหาความยุติธรรมทางสังคมอย่างลึกซึ้ง และเข้าร่วมการเดินขบวนต่อต้านการใช้อาวุธ/พลังงานนิวเคลียร์" ผู้ร่วมการทดลองจะอ่านข้อความนี้แล้วประเมินความเป็นไปได้ของข้อความต่าง ๆ เกี่ยวกับลินดา รวมทั้ง "ลินดาเป็นพนักงานรับฝากถอนเงินในธนาคาร" และ "ลินดาเป็นพนักงานรับฝากถอนเงินในธนาคาร และเข้าร่วมกิจกรรมขบวนการเพื่อสิทธิของสตรี" เรามักจะมีความโน้มเอียงที่มีกำลังในการเลือกข้อความหลัง ซึ่งเฉพาะเจาะจงมากกว่า ว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงกว่า แม้ว่า จริง ๆ แล้ว ประพจน์เชื่อมในรูปแบบ "ลินดาเป็นทั้ง ก and ข" ไม่สามารถที่จะเป็นไปได้มากกว่าข้อความที่ทั่วไปยิ่งกว่าคือ "ลินดาเป็น ก" การอธิบายโดยใช้ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทนก็คือว่า การตัดสินใจบิดเบือนไป เพราะว่า สำหรับผู้อ่านแล้ว ข้อความอธิบายบุคลิกของลินดา คล้ายกับของบุคคลที่อาจจะเป็นนักสิทธินิยมของสตรี แต่ไม่เหมือนกับคนที่ทำงานในธนาคาร ซึ่งอาจจะตีความได้ว่า ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทนนำไปสู่ความผิดพลาดโดยกระตุ้นความคิดแบบเหมารวม และกระตุ้นการประเมินตัดสินผู้อื่นที่ไม่เที่ยงตรง (Haselton et al., 2005, p. 726).

แต่สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ มีวิธีการอธิบายอีกอย่างหนึ่งว่า การใช้ฮิวริสติกไม่ควรที่จะนำไปสู่ความคิดว่า ความคิดของมนุษย์เต็มไปด้วยความเอนเอียงทางประชานที่ไม่สมเหตุผล แต่ว่า ควรจะคิดถึงฮิวริสติกว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เหมือนการใช้ตรรกะเชิงรูปนัย (formal logic) และกฎความน่าจะเป็น อย่างไรก็ดี การทดลองต่าง ๆ เช่นเดียวกับเรื่องของลินดานี้ ได้กลายมาเป็นโปรแกรมงานวิจัยที่ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางเกินขอบเขตวิชาการทางจิตวิทยา ข้ามไปยังสาขาอื่น ๆ รวมทั้งแพทยศาสตร์และรัฐศาสตร์

ความเอนเอียงสามารถแบ่งประเภทได้หลายวิธี ยกตัวอย่างเช่นแบ่งเป็นความเอนเอียงที่เกิดเฉพาะในกลุ่มบุคคล (เช่น Group polarization) และที่เกิดในระดับบุคคล

ความเอนเอียงบางอย่างมีอิทธิพลตัดสินใจ (decision-making) ที่ต้องพิจารณาความน่าพอใจของผลทางเลือกต่าง ๆ (เช่น sunk costs fallacy) ความเอนเอียงอย่างอื่นเช่น illusory correlation (สหสัมพันธ์ลวง) มีอิทธิพลประเมินความน่าจะเป็น หรือว่าการประเมินว่าเหตุการณ์อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล มีความเอนเอียงพวกหนึ่งโดยเฉพาะที่มีผลต่อความจำ เช่น consistency bias ซึ่งก็คือการระลึกถึงทัศนคติและพฤติกรรมในอดีตว่าเหมือนกับทัศนคติในปัจจุบันเกินความเป็นจริง

มีความเอนเอียงที่สะท้อนถึงแรงจูงใจของบุคคลนั้น ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการที่จะมีภาพพจน์ของตนเชิงบวกจะนำไปสู่ Egocentric bias และการหลีกเลี่ยงความไม่ลงรอยกันทางประชาน (cognitive dissonance) ที่ทำให้รู้สึกไม่ดี มีความเอนเอียงบางอย่างที่เกิดจากวิธีการรับรู้ของสมอง หรือวิธีการสร้างความจำและทำการตัดสินใจ ซึ่งมีความแตกต่างกันที่แยกออกป็น "Hot cognition" (การคิดหาเหตุผลที่มีแรงจูงใจประกอบด้วยอารมณ์) และ "Cold Cognition" เพราะว่า การคิดหาเหตุผลประกอบด้วยแรงจูงใจ (motivated reasoning) อาจเกิดขึ้นภายใต้สภาวะตื่นตัว

การที่ความเอนเอียงบางอย่างสะท้อนแรงจูงใจ โดยเฉพาะแรงจูงใจที่จะมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับตนเอง สามารถอธิบายความที่ความเอนเอียงเป็นการรับใช้ตนเองหรือพุ่งความสนใจไปในตน (เช่น illusion of asymmetric insight, ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง [self-serving bias], และ projection bias) มีความเอนเอียงบางอย่างที่ใช้ในการประเมินบุคคลที่อยู่ใน in-group (คือในวงสังคมตนเอง) และ out-group (คือนอกวงสังคมตนเอง) โดยที่ประเมินวงสังคมของตนเองว่ามีความหลากหลายมากกว่า และดีกว่าโดยประการต่าง ๆ แม้ว่า "วงสังคม" เหล่านั้นอาจจะเป็นการกำหนดโดยสุ่ม (เช่น ingroup bias, outgroup homogeneity bias)

ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเป็นกลุ่มย่อยของความเอนเอียงโดยใส่ใจ (attentional bias) ซึ่งหมายถึงการใส่ใจสิ่งเร้าบางอย่างเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น มีหลักฐานว่า ผู้ที่ติดสุราหรือยาเสพติดอื่น ๆ ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในสิ่งเร้าที่เกี่ยวกับสิ่งเสพติดนั้น ๆ บททดสอบทางจิตวิทยาเพื่อวัดความเอนเอียงที่สามัญก็คือ Stroop Task และ Dot Probe Task

มีงานทดลองคลาสสิกที่แสดง FAE คือ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ผู้เขียนแต่ละคนได้รับมอบหมายให้เขียนปาฐกถาสนับสนุนหรือต่อต้านฟีเดล กัสโตร ผู้ร่วมการทดลองกลับไม่สนใจความกดดันทางสถานการณ์เช่นนั้นแล้วกล่าวว่าผู้เขียนแต่ละคนมีทัศนคติเช่นนั้นจริง ๆ

ความเอนเอียงเพื่อยืนยันมีความสัมพันธ์กับความไม่ลงรอยกันทางประชาน (cognitive dissonance) คือ เราจะลดความไม่ลงรอยกันของสิ่งที่พบ โดยสืบหาข้อมูลที่ยืนยันความเห็นของเราเพิ่มขึ้นอีก

ในบทความที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2012 นักวิชาการเสนอว่า ความเอนเอียงที่ดูเหมือนจะไม่มีความสัมพันธ์อย่างน้อย 8 อย่าง สามารถเกิดได้โดยใช้กลไกการสร้างของทฤษฎีสารสนเทศ คือมีการแสดงว่า ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการรบกวน ในกระบวนการประมวลข้อมูลที่ต้องอาศัยความจำ ที่แปลงหลักฐานที่เป็นปรวิสัย (คือสังเกตการณ์) ให้เป็นค่าประเมินที่เป็นอัตวิสัย (คือการตัดสินใจ) สามารถที่จะสร้างความเอนเอียงทางประชานต่าง ๆ ได้คือ regressive conservatism, belief revision (หรือเรียกว่า Bayesian conservatism), illusory correlation (สหสัมพันธ์ลวง), illusory superiority (ความเหนือกว่าลวง หรือปรากฏการณ์ว่าฉันเหนือกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย) และ worse-than-average effect (ฉันแย่กว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย), subadditivity effect, exaggerated expectation, overconfidence (มั่นใจมากเกินไป), และ hard-easy effect

สถาบันและแนวคิดต่าง ๆ ทางสังคม ตั้งอยู่ในรากฐานว่าเราจะทำการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล เช่น กฎหมายเกี่ยวกับตลาดลงทุนโดยมากสมมุติว่า นักลงทุนล้วนแต่มีการกระทำที่เป็นไปตามเหตุผลอย่างสมบูรณ์แบบ แต่จริง ๆ แล้ว นักลงทุนล้วนแต่มีความจำกัดทางประชานเนื่องจากการมีความเอนเอียง การใช้ฮิวริสติก และ framing effect

ตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งคือ ในการพิจารณาคดีโดยใช้ลูกขุนที่ยุติธรรม ลูกขุนจะต้องไม่ใส่ใจในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี สามารถชั่งหลักฐานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เปิดใจพิจารณาความเป็นไปได้ต่าง ๆ และพยายามยับยั้งการเกิดขึ้นของเหตุผลวิบัติต่าง ๆ เช่นการอุทธรณ์โดยความรู้สึก (appeal to emotion) แต่ว่า ความเอนเอียงที่พบในงานทดลองทางจิตวิทยาเหล่านี้แสดงว่า เราจะไม่สามารถทำการเหล่านั้นได้จริง ๆ แต่ความล้มเหลวนั้นจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ไปในทิศทางที่สามารถพยากรณ์ได้

ความเอนเอียงทางประชานยังมีความสัมพันธ์กับความดำรงอยู่ได้ของเรื่องเหนือธรรมชาติ กับปัญหาสังคมเช่นความเดียดฉันท์ และเป็นอุปสรรคกับการยอมรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่ความรู้โดยสัญชาตญาณ (non-intuitive) ของสาธารณชนทั่วไป

มีนักวิชาการหลายพวกที่ยืนยันว่า ประเด็นและทิศทางของความเอนเอียงทางประชานไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยสุ่ม คือไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องที่พยากรณ์ได้ นอกจากนั้นแล้ว เรายังสามารถควบคุมความเอนเอียงได้ เช่น "Debiasing" เป็นเทคนิคลดความเอนเอียงที่สนับสนุนบุคคลให้ใช้วิธีการประมวลผลเหนือสำนึกที่ควบคุมได้ เทียบกับผลที่ได้จากความเอนเอียงซึ่งเป็นกระบวนการจิตใต้สำนึกที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

ส่วนในเรื่องการลด FAE วิธีที่ใช้เงินเป็นตัวล่อ และที่แจ้งผู้ร่วมการทดลองว่าตนจะต้องรับผิดชอบหาเหตุที่ถูกต้อง ทำให้ผู้ร่วมการทดลองหาเหตุได้อย่างแม่นยำขึ้น

"Cognitive bias modification" (การปรับความเอนเอียงทางประชาน) หมายถึงกระบวนการที่ปรับความเอนเอียงทางประชานของผู้ที่มีสุขภาพดี และหมายถึงวิธีการบำบัดทางจิตวิทยาที่ไม่ใช้ยาเพื่อโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และการติดสิ่งเสพติดที่เรียกว่า "Cognitive bias modification therapy" (CBMT) CBMT มีอีกชื่อหนึ่งว่า Applied Cognitive Processing Therapies (ACPT) เป็นวิธีการบำบัดที่เป็นกลุ่มย่อย ๆ ภายในวิธีการบำบัดทางจิตวิทยาที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่ใช้ปรับเปลี่ยนกระบวนการทางประชาน โดยร่วมกับหรือไม่ร่วมกับการใช้ยาและการบำบัดด้วยการพูดคุย และแม้ว่า CBM จะหมายถึงการปรับกระบวนการทางประชานของผู้มีสุขภาพดี แต่ว่า CBMT จะหมายถึงการบำบัดทางจิตวิทยาที่อิงหลักฐาน ที่ทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางประชานเพื่อบำบัดความทุกข์ จากโรคซึมเศร้าที่รุนแรงโรควิตกกังวล และจากการติดสิ่งเสพติด CBMT เป็นการบำบัดที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้รักษาอยู่ร่วมด้วย CBM อาศัยทั้งหลักฐานและทฤษฎีจากแบบจำลองทางประชานเกี่ยวกับความวิตกกังวล จากประสาทวิทยาศาสตร์เชิงประชาน และจากแบบจำลองในการใส่ใจ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301