ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ความเสมอภาค

ความเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้มนุษย์ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า มนุษย์เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตามกฎหมายของรัฐ (Kurian, 2011: 515) ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทางการเมืองคือ พลเมืองที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน ในบางกรณี ที่ความเสมอภาคยึดโยงเข้ากับหลักความเป็นธรรม (Justice) จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้คนที่แตกต่างกันด้วยมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยให้ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติได้รับการแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น เช่น มาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนทุพพลภาพ เพื่อบรรลุความเสมอภาคในสังคม ดังนั้น การมองอย่างฉาบฉวยว่าการเรียกร้องให้คนเท่ากันหมายถึงการเรียกร้องให้คนเหมือนกันนั้น จึงเป็นความเข้าใจผิดในประเด็นพื้นฐาน

แนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคนั้นสามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงสมัยกรีกจากงานเขียนของเพลโต้ (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) ที่ได้โจมตีแนวคิดประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ที่มีพื้นฐานอยู่บนความเท่าเทียมกันนั้นว่าไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดเพราะคนแตกต่างกัน คนบางคนโง่ คนบางคนฉลาด คนแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน คนบางคนไม่เหมาะกับการบริหารกิจการสาธารณะ หรือไม่เหมาะที่จะเป็นทหาร เมื่อพิจารณางานเขียนในยุคสมัยใหม่ นักคิดคนแรกที่เสนอว่ามนุษย์เท่าเทียมกันก็คือ นักคิดชาวอังกฤษ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) โดยฮอบส์ ได้เขียนงานที่โด่งดัง ชื่อว่า “เลอไว่อาเธิน” (Leviathan) ตอนหนึ่งมีการกล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่า “มนุษย์มีความเท่าเทียมกัน แม้ว่าเมื่อจะพิจารณาแล้วว่า มีความแตกต่างทางด้านร่างกาย หรือสติปัญญาก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญอะไรที่จะทำให้มนุษย์ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งสิ่งที่เสมอภาคกันของฮอบส์คือการที่ทุกคนเท่าเทียมกันในเรื่องการอ้างผลประโยชน์ และความสามารถที่จะทำร้ายผู้อื่นได้เท่าๆ กัน” (Hobbes, 1985: 183)

นอกจากฮอบส์ แล้วยังมีนักคิดอย่างจอห์น ล็อก (John Locke) และ ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) ซึ่งล้วนเป็นนักคิดสมัยใหม่ที่ล้วนแต่นำเสนอว่ามนุษย์แต่ละคนต่างเท่าเทียมกัน โดยความเสมอภาคของล็อกนั้นเน้นหนักอยู่ที่สิทธิที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดอันไม่สามารถพรากไปได้ (natural rights) มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดจึงส่งผลให้คนทุกๆคนนั้นเท่าเทียมกัน ในขณะที่ความเสมอภาคของรุสโซ นั้นมีจุดเน้นอยู่ที่มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพทุกๆคนมีเสรีภาพ ทำให้คนทุกๆคนเท่าเทียมกัน อนึ่งด้วยวิธีคิดของนักคิดทั้งสามคนที่ถือว่าเป็นรากฐานของความเป็นสมัยใหม่ได้ก่อให้เกิดทฤษฎีการเมืองที่ต่อเนื่องจากแนวคิดความเสมอภาคนั่นก็คือ ทฤษฎีสัญญาประชาคม ที่เสนอว่าการเกิดขึ้นของรัฐมีที่มาจากการที่มนุษย์แต่ละคนจะมาตกลงทำสัญญากันก่อตั้งรัฐ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถบีบบังคับให้มนุษย์คนอื่นๆเข้าร่วมสังคมหรือรัฐได้ถ้าตัวเขาไม่ยินยอม ในที่สุดแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคก็ได้นำไปสู่สองเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่นั่นก็คือ การปฏิวัติอเมริกัน ปี ค.ศ. 1776 และการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1789 ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้เป็นการปฏิวัติโดยมีความคิดพื้นฐานเพื่อยืนยันถึงเรื่องที่มนุษย์นั้นเกิดมาเท่าเทียมกัน

ในปัจจุบัน มโนทัศน์เรื่องความเสมอภาคมีบทบาทสำคัญในวงวิชาการเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการกระจายรายได้หรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเข้าถึงทรัพยากรและบริการสาธารณะ การกระจายการจ้างงานหรือโอกาสการทำงาน ประเด็นที่เกี่ยวกับการมีตัวแทนในทางการเมืองของบุคคล กลุ่มทางสังคม หรือการมีตัวแทนแห่งรัฐ รวมถึง การเรียกร้องของกลุ่ม “สตรีนิยม” (Feminism) ที่ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของสตรี ให้ยุติการถูกเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเพศ ป้องกันความรุนแรงทั้งเชิงกายภาพ โครงสร้าง และวัฒนธรรมต่อผู้หญิง อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวก็เป็นที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี พึงตระหนักว่า หลักความเสมอภาคนั้นต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเหนือประโยชน์ส่วนบุคคล เช่น หากเกิดความวุ่นวายไม่สงบขึ้น รัฐอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการบางอย่างระงับเหตุ และการใช้มาตรการดังกล่าวอาจสะท้อนให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติและขัดต่อหลักแห่งความเสมอภาคได้ ในทางกลับกัน การจะอ้างประโยชน์สาธารณะที่ถือว่ากระทบต่อหลักแห่งความเสมอภาคที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยก เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ เป็นต้น ก็ไม่อาจทำได้ การเลือกปฏิบัติในเรื่องความเสมอภาคที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต้องเป็นไปเพื่อมุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่ หรือการให้คุณในทางบวก เพื่อชดเชยให้คนที่มีสถานะด้อยกว่าบุคคล เท่าเทียมกันมากขึ้น หลักการนี้เกิดจากแนวคิดของประธานาธิบดีเคนเนดี้ (John F. Kennedy) และประธานาธิบดีจอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) ของสหรัฐอเมริกา โดยมีการตรากฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) ขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1964 และในปี ค.ศ. 1978 ศาลสูงสุด (Supreme Court) ของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินในคดี Regents of University of California V. Bakke ว่าการที่มหาวิทยาลัยสำรองที่นั่ง 16% ของคณะแพทยศาสตร์ให้แก่นักศึกษาผิวสีเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาค เนื่องจากถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่ นโยบายดังกล่าวของประธานาธิบดีเคนเนดี้ และประธานาธิบดีจอห์นสัน มีชื่อว่า “Affirmative Action” และยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีข้อถกเถียงและผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก

อภิชาต สถิตนิรามัย (2553) ทำวิจัยเรื่อง ใครคือคนเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ได้ศึกษากลุ่มคนเสื้อแดงในจังหวัดอุบลราชธานี นครปฐม เชียงใหม่ ผลงานการวิจัยพบว่า เหตุผลหลักในการเข้าร่วมและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงคือ ร้อยละ 28.13 เข้าร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงเพราะไม่ชอบปัญหาสองมาตรฐาน จากข้อมูลดังกล่าวนี้ อภิชาต สถิตนิรามัย ได้สรุปว่า ความคับข้องใจแรกของกลุ่มคนเสื้อแดงก็คือ ความคับข้องใจทางการเมืองที่เกิดมาจากการดูถูกดูแคลน ความรู้สึกว่าตนเองถูกเลือกปฏิบัติ ไม่มีความเสมอภาค


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301