โดยภูมิศาสตร์แล้วจีนและญี่ปุ่นถูกคั่นกลางด้วยพื้นสมุทรแคบ ๆ เท่านั้น แต่อิทธิพลของจีนที่มีต่อญี่ปุ่นนั้นมากมายทั้งระบบการเขียนหนังสือ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ศาสนา ตัวอักษร และกฎหมาย หลังจากที่ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในแถบเอเชียและบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นก็ได้นำพาตนเองก้าวข้ามเวลาเข้าสู่ความทันสมัย (การปฏิรูปเมจิ) และมองจีนว่าเป็นชาติโบราณล้าสมัย จากการที่จีนไม่สามารถป้องกันตัวเองจากกองกำลังต่างชาติได้ (จากสงครามฝิ่นและคณะทูตอังกฤษ - ฝรั่งเศส) ญี่ปุ่นผูกมัดอยู่กับการรุกรานและก่ออาชญกรรมสงครามต่อจีนอยู่เป็นเวลาในช่วง พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2488 เช่นเดียวกับทัศนคติของญี่ปุ่นที่มีต่อจีนในปัจจุบันเกี่ยวกับความบาดหมางระหว่างกันในอดีต ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายครั้ง
จีนและญี่ปุ่นถูกจัดว่ามีขนาดเศรษฐกิจโลกใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและสามในปี พ.ศ. 2551 ขณะที่การค้าระหว่างประเทศเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนมีมูลค่า 266.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโตร้อยละ 12.5 ในปี พ.ศ. 2550 ทำให้จีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย นอกจากนี้จีนยังเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) จีนได้เสนอหลัก 3 ประการในการรื้อฟื้นความ สัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งก็คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่รัฐบาล เดียวที่เป็นตัวแทนของจีน ไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งอันศักดิ์สิทธิ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่แบ่งแยกมิได้ สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างญี่ปุ่นกับเจียงไคเช็คเป็นสนธิสัญญาที่มิชอบด้วย กฎหมายและเป็นโมฆะ จึงจำต้องยกเลิก เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2515 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้มาเยือนจีน วันที่ 29 กันยายน รัฐบาลของจีนกับญี่ปุ่นได้ประกาศคำแถลงร่วม ความสัมพันธ์ระหว่างจีนญี่ปุ่นได้เข้าสู่ภาวะปกติ
ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศโดยทั่วไปได้รักษาไว้ซึ่งแนวโน้มแห่งการพัฒนา ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่มุ่งความเป็นจริงได้ผลที่ดี แต่อีกด้านหนึ่ง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ไปคารวะศาลเจ้ายาซุคุนิครั้งแล้วครั้งอีกจนได้กลายเป็นปัญหาอันสำคัญที่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน
จีนและญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันสำคัญต่อกัน ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีน ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 10 ปี ส่วนจีนก็เป็นคู่ค้าใหญ่และตลาดสินค้าส่งออกใหญ่อันดับที่ 2 ของญี่ปุ่น
หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุซึ่งความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ทั้งลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างจีนและญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 หลังจากนั้น การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสองประเทศได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งได้ขยายตัวกว้างขึ้น จนได้ก่อรูปขึ้นเป็นสภาวะที่มีหลายรูปแบบ หลายแนวทาง ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2522 จีนและญี่ปุ่นได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจีน-ญี่ปุ่น ตกลงพัฒนาการแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศในด้านวัฒนธรรม การศึกษา วิชาการ การกีฬาและด้านอื่น ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลสองประเทศตกลงจัดปีวัฒนธรรมจีนและปีวัฒนธรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้จัดค่ายพักแรมฤดูร้อนของเยาวชนและอนุชนจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ การประกวดความรู้ทางโทรทัศน์จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ และการสัมมนาทางเศรษฐกิจจีน-ญี่ปุ่น เป็นต้น
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น