ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี

บทความนี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 15 ปีของอาณาจักรธนบุรี

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี จะปรากฏในรูปของความขัดแย้ง การทำสงคราม โดยไทยเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกรานของพม่า หลังจากได้รับเอกราช ต้องทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้ง ส่วนใหญ่พม่าเป็นฝ่ายปราชัย ครั้งสำคัญที่สุด คือ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองเหนือ พ.ศ. 2318 ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ 1) และเจ้าพระยาสุรสีห์ สองพี่น้องได้ร่วมกันป้องกันเมืองพิษณุโลกอย่างสุดความสามารถ แต่พม่ามีกำลังไพร่พลเหนือกว่าจึงตีหักเอาเมืองได้

ความขัดแย้งนั้น เกิดขึ้นตลอดรัชกาล โดยเริ่มจากการรบครั้งแรกที่โพธิ์สามต้นเป็นต้นไปรวม 10 ครั้ง

เป็นการรบพม่ากันที่บางกุ้ง เขตแดนระหว่างเมืองสมุทรสงครามกับราชบุรี ไทยสามารถขับพม่าออกไปได้

รพกับพม่าเมื่อพม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัยครั้งแรก โปสุพลา แม่ทัพยกทัพไปช่วยเมืองเวียงจันทน์รบกับหลวงพระบาง ขากลับแวะตีเมืองพิชัย แต่ไม่สำเร็จ ไทยชนะ

รบกับพม่าเมื่อไทยยกไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ผลปรากฏว่า กองทัพไทยชนะ ยึดนครเชียงใหม่กลับจากพม่าได้ เพราะชาวล้านนาออกมาสวามิภักดิ์กับไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแต่งตั้งให้ พระยาจ่าบ้าน เป็น พระยาวิเชียรปราการ ปกครองนครเชียงใหม่ พระยากาวิละ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์กาวิละ ปกครองนครลำปาง และ พระยาลำพูน เป็น พระยาวัยวงศา ปกครองเมืองลำพูน การครั้งนี้จึงได้ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และ น่าน กลับมาเป็นของไทย

เป็นการรบกับพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินตรัสว่า ในขณะเดินทัพ อย่าให้ผู้ใดแวะบ้านเรือนเด็ดขาด แต่ พระยาโยธา ขัดรับสั่งแวะเข้าบ้าน เมื่อพระองค์ทรงทราบ พระองค์พิโรธ ทรงตัดศีรษะพระยาโยธาด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง และนำศีรษะไปประจารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ พม่าสู้ไม่ได้แตกทัพไป

เป็นการรบกับพม่า เมื่อครั้งอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองเหนือ เป็นสงครามที่ใหญ่มาก อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญศึก มีอัธยาศัยสุภาพ ส่วนทางด้านฝ่ายไทยนั้น มี เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) ในการครั้งนี้พม่ายกพลมา 30,000 คน เข้าล้อมเมืองพิษณุโลก อีก 5,000 คน ล้อมเมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ 10,000 คน เท่านี้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปช่วย และในที่สุดอะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคต กองทัพพม่าส่วนที่ตามไปไม่ทันจึงถูกกองทัพทหารจับ

เป็นการรบกับพม่าที่เชียงใหม่ พระเจ้าจิงกูจาโปรดให้เกณฑ์ทัพพม่ามอญ 6,000 คน ยกมาตีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2319 พระยาวิเชียรปราการได้พิจารณาแลเห็นว่า นครเชียงใหม่ไม่มีพลมากมายขนาดที่จะว่าป้องกันเมืองได้ จึงให้ประชาชนพลเรือนอพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้า ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกองกำลังพระยากาวิ เจ้าเมืองนครลำปาง ยกไปตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ และทรงให้นครเชียงใหม่เป็นเมืองร้างถึง 15 ปี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ฟื้นฟูใหม่

กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก กัมพูชาก็ตั้งตนเป็นอิสระ แต่ครั้นเวลาล่วงมา 2 ปี กัมพูชาก็เกิดจลาจลขึ้น สมเด็จพระนารายณ์ราชา (นักองตน) กษัตริย์กัมพูชาในขณะนั้นเกิดการแย่งอำนาจกันขึ้นกับ สมเด็จพระรามราชา (นักองนน) พระมหาอุปราช พระนารายณ์ราชาขอกำลังจากญวนมาช่วยปราบ สมเด็จพระรามราชาสู้ไม่ได้ จึงหนีมาขอความช่วยเหลือจากไทย

ครั้งแรกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเห็นโอกาสอันดีที่จะได้กัมพูชามาเป็นเมืองประเทศราชของไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดฯให้ส่งพระราชสาสน์ไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา โดยมีใจความว่า บัดนี้ กรุงศรีอยุธยาได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ให้กรุงกัมพูชาจัดส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองพร้อมเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายตามราชประเพณีดั้งเดิม แต่กัมพูชาตอบปฏิเสธ โดยอ้างว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมิใช่เชื้อสายพระมหากษัตริย์อยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกริ้วมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และ พระยาอนุชิตราชา (บุญมา) เป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองเสียมราฐ กับให้พระยาโกษาธิบดี เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองพระตะบองอีกทัพหนึ่ง ขณะที่ไทยตีได้เมืองเสียมราฐ พระตาบอง โพธิสัตว์ และกำลังจะเข้าตีเมือง พุทไธเพชร (บันทายเพชร) นั้น กัมพูชาก็ได้ปล่อยข่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตแล้วที่เมืองนครศรีธรรมราชระหว่างเสด็จตีเมืองนครฯ กองทัพไทยจึงต้องยกทัพกลับไปกรุงธนบุรี

ครั้งถึงปี พ.ศ. 2314 หลังจากปราบชุมนุมทั้งหมดเสด็จแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปตีกัมพูชาอีกครั้ง มี เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) เป็นแม่ทัพใหญ่ยกออกไปทางเมืองปราจีนบุรี พาสมเด็จพระรามราชาไปด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงคุมทัพเรือ มีพระยาโกษาธิบดี เป็นแม่ทัพหน้าทะเล ยกเข้าไปตีเมือง กำพงโสม บันทายมาศ และ พนมเปญ ได้ตามลำดับ ในขณะที่ทัพบกได้เมือง พระตะบอง โพธิสัตว์ บริบูรณ์ และ พุทไธเพชร ซึ่งทำให้กัมพูชาตกมาเป็นของไทยตามเดิม

ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ราชา หลังจากทรงพ่ายศึก จึงได้หนีไปพึ่งญวน แต่ต่อมากลับขอคืนดีด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงได้ทรงสถาปนา พระรามราชา ขึ้นเป็นกษัตริย์ของกัมพูชา ให้ พระนารายณ์ราชา เป็นพระมหาอุปโยราช และ นักองธรรม เจ้านายอีกองค์หนึ่งเป็น เป็น พระมหาอุปราช

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2323 กัมพูชาเกิดจลาจลขึ้นมาอีก เพราะมีคนแอบฆ่าพระมหาอุปราช พระมหาอุปโยราชก็ได้เป็นโรคสิ้นชีวิดลงเสียอีกองค์หนึ่ง ทำให้เหล่าขุนนางระแวงซึ่งกันและกัน โดยเข้าใจว่าสมเด็จพระรามราชาเป็นผู้บงการฆ่าเจ้านายทั้ง 2 จึงสมคบคิดกันกอกบฏขึ้น จับสมเด็มพระรามราชาไปถ่วงน้ำเสีย และอัญเชิญให้ นักองเอง พระชนมายุได้เพียง 4 พรรษา พระโอรสในพระมหาอุปโยราชขึ้นครองราชย์แทน โดยมี ฟ้าทะละหะ (มู) ขุนนางผู้ใหญ่ เป็นผู้สำเร็จราชการ

หลังจากนั้น กัมพูชาได้หันไปพึ่งญวนอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพหน้า และ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ เป็นกองหนุนร่วมเสด็จไปปราบด้วย แต่ขณะที่กองทัพไทยกำลังจะตีกัมพูชาอยู่นั้น ก็มีข่าวว่า ได้เกิดการกบฏในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่จึงต้องเลิกทัพกลับไปปราบกบฏที่กรุงธนบุรี

สมัยล้านช้างแตกพักพวก ในสมัยนั้น อาณาจักรล้านช้าง ได้แบ่งเป็น 3 อาณาจักร ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และ จำปาศักดิ์ สาเหตุ เนื่องจากล้านช้างมีปัญหาภายในราชวัง ล้านช้างได้แตกพักพวก จึงเกิดมี 3 อาณาจักร ที่ขัดแย้งกัน ทำให้อาณาจักร ล้านช้างอ่อนกำลังลง พระเจ้าตากสินได้ท่า ก็เลยหาข้ออ้างทำศึกกับล้านช้าง การทำศึกเกิดขึ้นจากการทำศึก 2 ครั้ง ดังนี้

ไทยพยายามขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถรักษาล้านนาไว้ได้ เพราะเมื่อทัพกรุงธนบุรีออกจากล้านนา ทัพพม่าก็เข้ามาคุกคามล้านนาอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคงทรงพิจารณาเห็นว่าล้านนาเป็นเมืองซึ่งพม่าใช้เป็นฐานทัพเสมอ ทุกครั้งที่พม่ายกทัพมาตีเมืองไทย ทุกครั้งที่พม่ามารบไทย ก็ใช้ล้านนาเป็นคลังเสบียงอาหาร จึงต้องทรงยกทัพไปตีเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2317 หลังจากนั้นล้านนาก็เป็นอิสระ โดยมีกรุงธนบุรีคุ้มกันอยู่

หัวเมืองมลายู ได้แก่ เมืองปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และ ตรังกานู เคยเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา เพิ่งมาแยกตัวเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อปี พ.ศ. 2310 ส่วนเมืองปัตตานี และ ไทรบุรี ในตอนต้นสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยังสวามิภักดิ์อยู่ เพิ่งมาแข็งข้อทีหลัง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง แต่มิได้ยกทัพไปตีเมืองมลายู มีแต่คิดอุบายให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชไปยืมเงินเมืองปัตตานี และไทรบุรี สำหรับที่จะซื้อเครื่องศัตราวุธเมืองละ 1,000 ชั่ง เพื่อหยั่งท่าทีพระยาไทรบุรี และ พระยาปัตตานี ดูว่าจะทำประการใด แต่ทั้งสองเมืองไม่ยอมให้ขอยืม สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มิได้ทรงยกทัพไปตี เพราะทรงพิจารณาเห็นว่า ขณะนั้นเป็นการเกินกำลังของพระองค์ที่จะยกทัพไปปราบ จึงปล่อยให้หัวเมืองมลายูเป็นอิสระ

หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา การติดต่อกาค้าไทยกับจีนได้อยุดชะงักลง แต่ก็ได้มาเริ่มใหม่ เมื่อจีนยอมรับเครื่องราชบรรณาการจากกรงธนบุรี ปีพ.ศ. 2324 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงส่งราชทูตไปกรุงปักกิ่ง โดยมี เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช เป็นหัวหน้าราชทูต

ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทยกับจีนเริ่มต้นจากการค้าข้าวเป็นสำคัญ ต่อมาได้ขยายเพิ่มขึ้น โดยประเทศจีนได้ส่งสินค้าพื้นเมืองจากแต้จิ๋วมาขาย ที่สำคัญ คือ เครื่องลายคราม ผ้าไหม ผักดอง และเสื่อ เป็นต้น เที่ยวกลับก็จะซื้อสินค้าจากไทย อาทิ ข้าว เครื่องเทศ ไม้สัก ดีบุก ตะกั่ว กลับไปยังเมืองจีนด้วย เช่นกัน

นอกจากนั้น ในปี พ.ศ. 2320 ได้มีหนังสือจีน ฉบับหนึ่งในสมัยราชวงศ์ ไต้เชงแห่งแผ่นดิน เฉียงหลง ปีที่ 42 ได้บันทึกไว้ว่า "สินค้าของไทยมี อำพัน ทอง ไม้หอม งาช้าง กระวาน พริกไทย ทองคำ หินสีต่าง ๆ ทองคำก้อน ทองคำทราย พลอยหินต่างๆ และตะกั่วแข็ง เป็นต้น"

ปี พ.ศ. 2313 ชาวฮอลันดาจากเมืองปัตตาเวีย (จาการ์ตา) และ พวกแขกเมืองตรังกานู ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อถวายปืนคาบศิลาจำนวน 2,200 กระบอก และ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง

ในปี พ.ศ. 2319 มีพ่อค้าชาวอังกฤษจากเกาะปีนังชื่อ ร้อยเอก ฟรานซิส ไลท์ (Francis Light) หรือชาวไทยเรียกว่า กปิตันเหล็ก ซึ่งไทยได้ติดต่อซื้อปืนนกสับ จำนวน 1,400 กระบอก มาสู้กับพม่า พร้อมกับสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่างๆ ต่อมามีการแลกเปลี่ยนพระราชสาส์นกัน และเมื่อ พ.ศ. 2320 นายยอร์จ สแตรตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราสในขณะนั้นได้ส่งสาส์นพร้อม กับดาบทองคำประดับพลอย มาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินส่วนร้อยเอกกปิตัน ได้รับพระราชทานยศว่า พระยาราชกปิตัน

ในปี พ.ศ. 2322 แขกมัวร์จากเมือง สุราต ในประเทศอินเดีย ได้นำสินค้าเข้ามาขายในกรุงธนบุรี และไทยได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายที่อินเดียด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406