ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ความฝันอเมริกัน

ความหมายโดยทั่วๆ ไปแต่เดิมของ “ความฝันอเมริกัน” อาจนิยามได้ว่าเป็น “ความเท่าเทียมทางโอกาสและเสรีภาพที่เอื้อให้พลเมืองบรรลุถึงเป้าหมายในชีวิตด้วยการทำงานหนักและด้วยความมุ่งมั่น ปัจจุบัน ความหมายโดยทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนเป็นว่า ความมั่งคั่งของบุคคลขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและการทำงานหนัก ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างระดับชั้นที่ตายตัวของสังคม ซึ่งความหมายนี้ไปเปลี่ยนไปตามเวลาของประวัติศาสตร์ สำหรับบางคน อาจหมายถึงโอกาสที่จะบรรลุความมั่งคั่งได้มากกว่าที่เคยได้ในประเทศเดิมที่ตนย้ายถิ่นมา บางคนอาจหมายถึงโอกาสที่บุตรหลานที่จะเจริญเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่ดีและได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ รวมทั้งโอกาสการได้งานที่ดี สำหรับบางคนอาจเป็นการได้โอกาสที่จะเป็นปัจจเกชนที่ปราศจากการกีดกันด้วยชนชั้นทางสังคม จากวรรณะ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ หรือชาติพันธุ์

นิยามของความฝันอเมริกันดังกล่าว ณ ปัจจุบันยังคงเป็นหัวข้อที่ยังถกเถียงอภิปรายกันมากอยู่ และเช่นกันที่ “ชุดของความเชื่อ การตั้งข้อสมมุติฐานและรูปแบบของการประพฤติปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความฝันอเมริกันที่เกาะตัวกันอย่างหลวมๆ ในขณะนี้ ซึ่งประกอบด้วย เสรีภาพของบุคคลในการเลือกวิถีการดำเนินชีวิต โอกาสที่จะเข้าถึงความมั่งคั่งได้โดยเสรี และ การเสาะแสวงหาและการแลกเปลี่ยนเป้าประสงค์ร่วมระหว่างบุคคลกับสังคมของตน”

ในขณะที่คำว่า “ความฝันอเมริกัน” ในปัจจุบันมักเชื่อมโยงกับการอพยพมาตั้งถิ่นฐานในอเมริกาเป็นอย่างมากอยู่ แต่บุคคลที่เกิดในอเมริกาก็ยังถือว่า “การแสวงหาความฝันอเมริกัน” ของพวกเขาคือ “การที่จะได้ดำรงชีวิตตามแบบความฝันอเมริกัน” อยู่

นิยามโดยรวมของ “ความฝันอเมริกัน” ปรากฏครั้งแรกในหนังสือประวัติศาสตร์ที่เขียนโดยเจมส์ ทรัสโลว์ อดัมส์ ชื่อ “มหากาพย์แห่งอเมริกา” (The Epic of America - พ.ศ. 2474

"ถ้าเป็นดังที่ข้าพเจ้าพูดที่ว่า ถ้าทุกสิ่งทุกย่างที่เราได้บันทึกไว้แล้วทั้งหมดคือสิ่งที่เราจะต้องให้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง อเมริกาก็คงไม่ใช่ของขวัญที่ดีที่มีความเด่นเฉพาะสำหรับมนุษยชาติ แต่ก็มีความฝันอเมริกันที่เป็นความฝันถึงแผ่นดินที่ซึ่งจะให้ชีวิตที่ดีกว่า ให้ความร่ำรวยได้มากกว่าและให้โอกาสแก่ทุกคนที่มีความสามารถ" [น. 404]

แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดความฝันอเมริกันมีประวัติย้อนหลังไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ประมาณ พ.ศ. 2044 – พ.ศ. 2143 หรือระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเชษฐาธิราชกับรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช) โดยระหว่างคริสต์วรรษที่ 16-17 ได้มีการส่งเสริมให้ชาวอังกฤษย้ายไปตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกา ภาษาที่จะใช้และสัญญาที่จะให้สิ่งต่างๆ แก่ผู้อพยพกลายเป็นพื้นฐาน 3 แนวทางของเรื่องปรัมปราอเมริกันที่เกี่ยวพันกันคือ: อเมริกามีทุกอย่างที่เหลือเฟือ, อเมริกาคือดินแดนแห่งโอกาส และอเมริกาเป็นดินแดนแห่งพรหมลิขิต อเมริกาในฐานะเป็นดินแดนแห่งความเหลือเฟือปรากฏชัดเจนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2144 - พ.ศ. 2243) มากกว่าความฝันอเมริกันดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จุดกลางของความฝันอยู่ที่แผ่นดินที่ยังเป็นธรรมชาติของอเมริกา รวมทั้งคำถามที่ว่าจะต้องทำอย่างไรกับแผ่นดินนี้ และจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นบนผืนแผ่นดินอเมริกาได้อย่างไร

ไม่ว่าเนื้อหาของความฝันอเมริกันของแต่ละแนวจะเป็นอย่างไร ทั้งหมดจะรวมความเชื่อในโอกาสที่จะมีความสำเร็จในรูปใดรูปหนึ่งซึ่งอาจเป็นความสำเร็จเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพก็ได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นถึงความฝันอเมริกันแนวต่างๆ ดังกล่าว จึงอาจเป็นการดีที่จะต้องนิยามวิธีการวัดความสำเร็จในแนวต่างๆ เหล่านั้นด้วย ในหนังสือเรื่อง “การเผชิญกับความฝันอเมริกัน: เชื้อชาติ, ชนชั้น, และจิตวิญาณของชาติ” เจนิเฟอร์ ฮอชส์ไชลด์ (Jennifer Hochschild) ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเธอว่า นิยามของความสำเร็จเกี่ยวข้องกับทั้งการวัดและเนื้อหาของมัน เจนิเฟอร์ได้จำแนกความสำเร็จที่นับได้ว่ามีบรรทัดฐานสำคัญและมีการประพฤติปฏิบัติที่ตามมาออกเป็น 3 ประเภท

ความสำเร็จขั้นสัมบูรณ์ (Absolute success) - “ในกรณีนี้ การบรรลุความฝันอเมริกันส่อความหมายไปถึงการเข้าถึงขั้นเริ่มเปลี่ยนสู่ความอยู่ดีกินดีที่สูงกว่าที่เริ่มต้นแต่ก็ไม่ระดับโอ่อ่าหรูหรา "

ความสำเร็จเชิงการแข่งขัน (Competitive success) – ความต้องการบรรลุถึงชัยชนะที่มีต่อผู้อื่น ความสำเร็จของฉันหมายถึงความล้มเหลวของเธอ ผู้แข่งขันส่วนใหญ๋คือตัวบุคคลซึ่งมีทั้งบุคคลที่เป็นที่รู้จักและมีตัวตน (เช่นคู่แข่งในวงการเทนนิส) หรือเป็นบุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จักและเป็นนามธรรม (เช่นการแข่งขันในการสมัครงาน)

ความสำเร็จเชิงสัมพัทธ์ (Relative success) “ในกรณีนี้ การบรรลุถึงความฝันอเมริกันประกอบด้วยการดีกว่าผู้อื่นโดยเปรียบเทียบกับผู้อื่นในบางแง่มุม หรืออาจเปรียบเทียบกับบุคคลหนึ่งตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็ก หรือกับบุคคลในประเทศบ้านเกิด กับตัวละครในหนังสือ กับคนเชื้อชาติอื่นหรือเพศอื่นหรือกับใครก็ได้ที่พอจะนำมาเปรียบเทียบด้วย ความสำเร็จเชิงสัมพัทธ์ไม่ส่อความไปถึงเส้นขีดเริ่มเปลี่ยนไปสู่ความกินดีอยู่ดี และอาจจะมีหรืออาจจะไม่มีการวางเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงในการเปรียบเทียบระดับแห่งความสำเร็จที่มีความต่อเนื่องก็ได้

แม้บางคนอาจเชื่อว่าความฝันอเมริกันยังมีความไม่เท่าเทียมอยู่ในสังคม และเชื้อชาติ เพศ ระดับชั้นของสังคมและพื้นฐานของสังคมยังคงมีผลอย่างสำคัญต่อโอกาสในชีวิตอยู่บ้างก็ตาม ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ยังคงมีความเชื่อมั่นในความฝันอเมริกันอยู่มาก ถ้าเราถูกขอให้อธิบายความขัดแย้งระหว่างความเชื่อที่เรามีอยู่และความจริงที่เป็นอยู่ พวกเราหลายคนก็คงพยามยามตอบไปโดยไม่ได้สืบย้อนกลับไปถึงที่ว่าเราเองได้เข้าใจในความฝันอเมริกันมาตั้งแต่ต้นอย่างไร วิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจความฝันอเมริกันได้ดียิ่งขึ้น อาจได้แก่การศึกษากรอบงานที่ทำโดยฮอชส์ไชลด์ที่ได้กำหนดคตินิยมของความฝันอเมริกันไว้เป็นหลักของความสำเร็จ 4 ข้อ ตามมุมมองของโฮชไชลด์ หลักดังกล่าวเหล่านี้ได้บ่งชี้ถึงความฝันอเมริกัน รวมทั้งข้อบกพร่องที่มีอยู่ในตัวโดยตอบคำถามเกี่ยวกับการไขว่คว้าหาความสำเร็จที่ยกมาดังนี้:

คำตอบ- “ทุกคน ไม่ว่าจะมีกำเนิด มีพื้นฐานทางครอบครัวหรือมีประวัติส่วนตัวมาอย่างไร” (18) จุดบกพร่อง มีความล้มเหลว ไม่น่าเชื่อถือในแง่ของความเท่าเทียม เช่น ความลำเอียงด้านเชื้อชาติและเพศ (26)

คำถาม ไขว่คว้าหาอะไร? คำตอบ- “เป็นที่คาดหวังได้อย่างพอมีเหตุผล แม้จะไม่ประกันได้ว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน” (18). จุดบกพร่อง ล้มเหลวในการที่จะบอกได้แน่นอนถึงการขาดแคลนทรัพยากรและโอกาสที่จะเป็นขวากหนามให้ทุกคนมีโอกาสที่บรรลุความสำเร็จได้ตามที่คาดหวังไว้" (27)

คำถาม ไฝ่หาความสำเร็จกันอย่างไร? คำตอบ- “โดยประพฤติปฏิบัติและการสืบสันดานโดยควบคุมตนเอง” (18) จุดบกพร่อง มีการละเว้นความจริงที่ว่า ถ้ามีบุคคลผู้ที่จะอ้างว่าประสบความสำเร็จได้ บุคคลผู้นั้นจะต้องยอมรับความรับผิดชอบในความล้มเหลว ดังนั้น ผู้ล้มเหลวจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่เก่งและขาดกำลังใจ (30).

คำถาม ทำไมความสำเร็จจึงคุ้มกับการไขว่คว้า? คำตอบ- “ความสำเร็จที่แท้จริงมีความสัมพันธ์กับคุณธรรม” (18) จุดบกพร่องความล้มเหลวหมายถึงบาป นอกจากนี้ การลดค่าของผู้แพ้ลงทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าโลกมีแต่ความเสมอตัวทั้งๆ ที่ไม่ใช่ (30)

นอกเหนือไปจากจุดบกพร่องของบุคคลในแต่ละกลุ่มที่ฮอชส์ไชลด์ยืนยันที่ว่าจุดบกพร่องรวมใน คตินิยมความฝันอเมริกัน ก็คือการเน้นที่ “พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลมากกว่าความสำเร็จทางกระบวนการทางเศรษฐกิจ อุปสรรคด้านสิ่งแวดล้อม หรือโดยโครงสร้างทางการเมืองที่ใช้อธิบายระเบียบสังคม” (36) ฮอชส์ไชลด์ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ระเบียบสังคมเกิดขึ้นได้ก็เนื่องจากสถาบันต่างๆ ของเรามีขึ้นเพื่อประกันความล้มเหลวบางส่วน และคตินิยมความฝันอเมริกันไม่ “ช่วยชาวอเมริกันให้รับได้หรือแม้แต่จะได้รู้ถึงความจริงอันนั้น” (37).

การอพยพมาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐฯ ในครั้งแรกๆ จะอยู่ในบริเวณแผ่นดินที่มีผู้คนเบาบางและยังไม่พัฒนา จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2400) ปริมาณของที่ดินที่จะมีให้แก่ผู้อพยพ การหมดไปของการครองที่ดินแบบชนาธิปไตยหรือโดยชนชั้นสูง และนโยบายของรัฐบาลกลางที่สนับสนุนสนับสนุนการตั้งถิ่นฐาน (โดยกำจัด หรือ ย้ายชาวอินเดียนแดงที่เป็นชนพื้นเมือง และในบางกรณีมีการให้ที่ดินฟรีแก่ผู้อพยพ) เหล่านี้ หมายถึงการมีที่ดินได้โดยง่ายของผู้อพยพเกือบทุกคน มีการเก็งกำไรที่ดิน ดังที่มาร์ก ทเวนได้พรรณนาไว้ในหนังสือเรื่อง “ยุคทอง: เรื่องราวในวันนี้" ( The Gilded Age: A Tale of Today) รวมทั้งการยกที่ดินของรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ (Land grants) เพื่อให้นายทุนเจ้าของรถไฟได้สร้างความร่ำรวยมากขึ้น ในช่วงระหว่าคริสต์ศตวรรษที่ 19 รถไฟสายข้ามทวีปได้เปิดประตูสู่ตะวันตกเพื่อการค้าและการตั้งถิ่นฐาน มีการพัฒนาการผลิตจำนวนมากทางอุตสาหกรรมและการค้นพบน้ำมันที่มีมากมายมหาศาลที่สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานพื้นฐานเพื่อการผลิตเหล่านี้ ได้เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากแก่คนงานและนักธุรกิจ รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนอเมริกันให้สูงขึ้น ในศตวรรษที่ 19 เรื่องราวเกี่ยวกับ “จากกระยาจกสู่มหาเศรษฐี” ( rags to riches) เช่นเรื่องราวของแอนดรูว์ คาร์เนกี และจอห์น ดี. รอกกีเฟลเลอร์ รวมทั้งนักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงเช่น ฮอเรโช อัลเจอร์ ได้สร้างความเชื่อที่ว่า ความสามารถและการทำงานหนักสามารถนำไปสู่ความมั่งคั่งได้

การเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและความอดหยากจากโรคระบาดมันฝรั่งในไอร์แลนด์ และการทำลายป่าในที่ราบสูงของสกอตแลนด์และผลกระทบจากสงครามนโปเลียนได้ส่งผลอย่างรุนแรงในยุโรปตะวันตกทำให้เกิดการอพยพระลอกมหาศาลสู่อเมริกา ชาวสแกนดิเนเวียและชาวเยอรมันที่อพยพเข้ามาในช่วง พ.ศ. 2350 – พ.ศ. 2440 ส่วนใหญ่มักตั้งถิ่นฐานทำฟาร์มในแถบกลางของภาคตะวันตก (Midwest) และประมาณช่วง พ.ศ. 2395 – พ.ศ. 2440 มีการระดมคนจากภาคใต้และภาคตะวันออกของยุโรปมาเป็นคนงานในอุตสาหกรรมใหม่ของสหรัฐฯ ชาวยิวที่หนีจากการกดขี่ทางศาสนา และการถูกระดมไปเป็นทหารในจักรวรรดิรัสเซียต่างอพยพเข้ามามากประมาณช่วง พ.ศ. 2415 – พ.ศ. 2470 ชาวอเมริกัน-เอเชียเริ่มข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2344 – พ.ศ. 2443) เพื่อหางานทำในอเมริกาตะวันตก ปัจจุบันมีผู้อพยพจากเอเชียใต้ ลาตินอเมริกาและสหภาพโซเวียตเดิมหลั่งไหลมาไขว่คว้าหาความฝันอเมริกัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง ข้อความคาดการณ์จำนวนเฉพาะคู่แฝด ข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาช เอกลักษณ์ของออยเลอร์ ทฤษฎีบทสี่สี วิธีการแนวทแยงของคันทอร์ ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส ทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา ทฤษฎีข้อมูล กลศาสตร์ ทฤษฎีเกม คณิตศาสตร์การเงิน การวิเคราะห์เชิงตัวเลข คณิตศาสตร์ฟิสิกส์ วิทยาการเข้ารหัสลับ การคำนวณ คณิตศาสตร์เชิงการจัด วิยุตคณิต ทฤษฎีความอลวน สมการเชิงอนุพันธ์ แคลคูลัสเวกเตอร์ แฟร็กทัล ทอพอลอยี เรขาคณิตสาทิสรูป พีชคณิตเชิงเส้น ทฤษฎีกรุป ทฤษฎีจำนวน อนันต์

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24157