ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ความน่ารัก

ความน่ารัก (อังกฤษ: cuteness) เป็นคำบ่งความรู้สึกที่ใช้แสดงความน่าพึงใจ/ความน่าดูน่าชมที่มักจะเกี่ยวข้องกับความเยาว์วัยและรูปร่างหน้าตา เป็นคำบัญญัติทางวิทยาศาสตร์และแบบวิเคราะห์ในพฤติกรรมวิทยาอีกด้วย

นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้คำนี้เป็นคนแรก (ชาวออสเตรียชื่อว่าค็อนแรด ลอเร็นซ์) ได้เสนอความคิดในเรื่องแผนภาพทารก (อังกฤษ: baby schema, เยอรมัน: Kindchenschema) ซึ่งเป็นลักษณะทางใบหน้าและร่างกาย ที่ทำให้สัตว์หนึ่ง ๆ ปรากฏว่า "น่ารัก" และกระตุ้นให้ผู้อื่นช่วยดูแลรักษาสัตว์นั้น ๆ คำนี้สามารถใช้ในการชมบุคคลและสิ่งของที่น่าดูน่าชมหรือมีเสน่ห์

อีกอย่างหนึ่ง ความน่ารัก เป็นความสวยงามประเภทหนึ่งที่มีลักษณะละเอียดอ่อนและดึงดูดใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ความน่ารักมักจะเกิดจากส่วนประกอบของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายทารกหรือมีขนาดใกล้เคียงกับทารก และมักจะมีส่วนประกอบของความขี้เล่น ความเปราะบาง และการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้รวมอยู่ด้วย เด็กเล็ก ๆ และสัตว์ในวัยเยาว์มักจะมีการกล่าวถึงในลักษณะความน่ารัก ในขณะเดียวกันสัตว์ใหญ่บางประเภทเช่นแพนด้ายักษ์ ก็ยังมีการกล่าวถึงความน่ารัก เนื่องจากลักษณะที่คล้ายคลึงกับทารก และมีสัดส่วนหัวขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดร่างกาย เทียบกับสัตว์ชนิดอื่น

ในประเทศญี่ปุ่น ความน่ารักได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่าในสื่อต่าง ๆ เสื้อผ้า อาหาร ของเล่น หรือของใช้ส่วนตัว มักจะมีภาพแสดงความน่ารักออกมา หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐบาล การทหารก็ยังมีภาพแสดงความน่ารักออกมา ในขณะที่ไม่มีใช้กันในประเทศอื่นโดยถือว่าเป็นความไม่เหมาะสม ความน่ารักในปัจจุบันได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดของบริษัทขายของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยได้กลายเป็นจุดขายที่สำคัญ ตัวอย่างเช่นในสินค้า เฮลโล คิตตี้ หรือ โปเกมอน หรือแม้แต่ในวัฒนธรรมตะวันตก เช่น หมีพูห์ หรือ มิกกี้เมาส์

นักวิชาการมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลได้กล่าวไว้ว่า ส่วนสัดของใบหน้าจะเปลี่ยนไปตามอายุเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของอวัยวะทั้งที่เป็นส่วนที่แข็งและส่วนที่นิ่ม และความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับในธรรมชาตินั้นทำให้สัตว์มีอายุน้อยมองดูน่ารัก โดยมีจมูกและปากที่เล็กกว่า หน้าผากที่ใหญ่กว่า และตาที่ใหญ่กว่าผู้ที่ถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว อวัยวะที่แข็ง กะโหลกศีรษะส่วนบรรจุสมอง (neurocranium) ได้เติบโตขึ้นมากแล้วในเด็ก แต่ว่ากระดูกที่จมูกและส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยวอาหารจะเติบโตขึ้นในระดับสูงสุดต่อเมื่อภายหลัง อวัยวะที่นิ่ม ส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนคือหูและจมูกเป็นส่วนที่โตขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดชั่วชีวิต นอกจากนั้นแล้ว เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 25 ปี คิ้วจะเริ่มขยับลงจากเหนือเบ้าตามายังใต้เบ้าตา ส่วนคิ้วที่ทอดไปตามด้านข้างจะตกลงตามอายุ ทำให้ตาปรากฏว่าเล็กลง และส่วนแดงของปากจะบางลงเรื่อย ๆ ตามอายุเพราะการสูญเสียเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน:78-729

มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า หน้าของเด็กชาวอิตาลีผิวขาวภาคเหนือที่หน้าตาน่าดู จะมี "ลักษณะของเด็กทารก" เช่น "หน้าผากที่กว้างกว่า", กรามที่เล็กกว่า, ขากรรไกรบนที่ใหญ่กว่าและเด่นกว่า, หน้าที่กว้างกว่า แบนกว่า, และมีลักษณะใบหน้าจากหน้าไปหลังที่ใหญ่กว่า เด็กชาวอิตาลีที่ใช้เป็นจุดอ้างอิง

ค็อนแรด ลอเร็นซ์ได้เสนอในปี ค.ศ. 1949 ว่า ลักษณะของเด็กทารกเหล่านี้ ทำให้เกิดปฏิกิริยาเพื่อดูแลรักษาในผู้ใหญ่ เป็นการปรับตัวตามขบวนการวิวัฒนาการเพื่อให้มั่นใจว่า พ่อแม่จะดูแลลูก ๆ ของตน มีผลเป็นการสืบต่อสายพันธุ์ของสปีชีส์นั้น ๆ งานวิจัยวิทยาศาสตร์ต่อ ๆ มาเพิ่มหลักฐานให้กับทฤษฎีของลอเร็นซ์ ยกตัวอย่างเช่น มีหลักฐานที่แสดงว่ามนุษย์ผู้ใหญ่มีปฏิกิริยาเชิงบวกต่อทารกที่ดูน่ารักโดยเหมารวม และงานต่าง ๆ ก็แสดงด้วยว่า การตอบสนองต่อความน่ารัก ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปหมายถึงความน่าดูน่าชมของใบหน้า ดูจะเหมือนกันทั้งในวัฒนธรรมเดียวกันและในวัฒนธรรมต่าง ๆ กัน ในงานวิจัยทำที่มหาวิทยาลัยเอ็มมอรี่ในเมืองแอตแลนตา นักวิจัยพบโดยใช้ fMRI ว่า ภาพที่ดูน่ารักจะเพิ่มการทำงานในสมองที่คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าใกล้เบ้าตา (Orbitofrontal cortex) ซึ่งมีกิจเกี่ยวกับการประมวลผลทางประชานและการตัดสินใจ

นักโบราณคดีที่มหาวิทยาลัยลอนดอนท่านหนึ่งกล่าวว่า วัยเยาว์ที่นานขึ้นในมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของ neoteny (วิวัฒนาการทางธรรมชาติของมนุษย์ที่มีรูปร่างลักษณะบางอย่างเหมือนเด็กแม้ในวัยผู้ใหญ่)

ส่วนนักมานุษยวิทยาเชิงกายภาพท่านหนึ่งกล่าวว่า รูปแบบการเติบโตของเด็กดูเหมือนจะมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มระยะเวลาที่ดูน่ารัก คือ สมองของเด็กจะมีขนาดเท่ากับผู้ใหญ่แล้วแม้ว่าจะมีขนาดกายเพียงแค่ 40% มี "การเจริญเติบโตของฟันเพียงแค่ 58%" และมี "การเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์เพียงแค่ 10%" และการเจริญเติบโตเช่นนี้ทำให้เด็กมีลักษณะเหมือนทารก (คือมีกะโหลกศีรษะใหญ่ หน้าเล็ก ตัวเล็ก และระบบสืบพันธุ์ที่ยังไม่สมบูรณ์) นานกว่า "สปีชีส์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ" เป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยา "การเลี้ยงดู" และ "ให้ความดูแล" จาก "บุคคลที่มีอายุมากกว่า"

ความรู้สึกว่าน่ารักของทารกนั้น ขึ้นอยู่กับเพศและพฤติกรรมของทางรก งานวิจัยปี ค.ศ. 2006 พบว่า ทารกหญิงจะปรากฏว่าน่ารักถ้ามีรูปร่างหน้าตาที่น่าดูน่าชมที่ปกติทารกหญิงมีมากกว่าทารกชาย ในขณะที่งานวิจัยในปี ค.ศ. 1990 พบว่า ความใส่ใจและพฤติกรรมของคนดูแลในการปกป้องรักษาทารกชาย อาจมีเหตุจากความรู้สึกล้วน ๆ ว่า เด็กนั้นมีความสุขและมีความน่าดูน่าชมแค่ไหน

เพศของคนดูสามารถกำหนดความแตกต่างของความรู้สึกว่าน่ารัก งานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 พบว่า หญิงมีความอ่อนไหวต่อความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับความน่ารักมากกว่าชายที่มีอายุใกล้เคียงกัน ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ฮอร์โมนทางเพศของหญิงอาจมีความสำคัญในการกำหนดความน่ารัก

ผลเช่นนี้ก็พบด้วยในงานวิจัยปี ค.ศ. 1981 ที่นักวิจัยให้นักศึกษาปริญญาตรี 25 คน (ชาย 7 และหญิง 18) ให้คะแนนความน่ารักของทารกตามลักษณะต่าง ๆ เช่นอายุ พฤติกรรม และรูปร่างหน้าตาเช่นรูปร่างของศีรษะ และใบหน้า

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2014 พบว่า เด็กเล็ก ๆ แสดงความชอบใจในใบหน้าที่คล้ายกับของทารกมากกว่า คือ มีใบหน้ากลม มีหน้าผากที่ใหญ่กว่า มีตาใหญ่กว่า มีจมูกและปากที่เล็กกว่า ในงานวิจัยในเด็ก 3-6 ขวบ นักวิจัยพบว่า เด็ก ๆ ชอบใจภาพแสดงดวงตาของสุนัข แมว และมนุษย์ที่คล้ายของทารก เปรียบเทียบกับสัตว์กลุ่มเดียวกันที่มีลักษณะคล้ายทารกน้อยกว่า

มีข้อเสนอว่า ระดับฮอร์โมนอาจทำให้คนดูมีความรู้สึกว่าน่ารักต่าง ๆ กัน ค็อนแรด ลอเร็นซ์เสนอว่า "พฤติกรรมการดูแลรักษาและความรู้สึก" ต่อทารกเป็นกลไกทางธรรมชาตที่มีมาตั้งแต่กำเนิด และจะเกิดการกระตุ้นโดยลักษณะความน่ารักต่าง ๆ เช่น "แก้มยุ้ย" และตาที่ใหญ่ งานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 เพิ่มขอบเขตในการทดสอบทฤษฎีนี้โดยเปลี่ยนแปลงรูปทารกที่ให้ดู เพื่อทดสอบสมรรถภาพต่าง ๆ กันของกลุ่มบุคคลในการตรวจจับความน่ารักที่ต่าง ๆ กัน แล้วได้พบว่า หญิงก่อนวัยหมดระดูสามารถตรวจจับความน่ารักได้ดีกว่าหญิงวัยเดียวกันแต่หมดระดูแล้ว นอกจากหลักฐานนี้แล้ว ยังปรากฏด้วยว่า หญิงผู้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่เพิ่มระดับฮอร์โมนทางเพศ สามารถตรวจจับความน่ารักได้ดีกว่าหญิงวัยเดียวกันที่ไม่ได้ใช้ยา

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2009 นักวิจัยได้รวบรวมหญิงอายุน้อย 24 คน ชายอายุน้อย 24 คน และหญิงอายุมากกว่า 24 คนเพื่อการทดลองนี้ นักวิจัยได้ทำงานทดลอง 3 อย่างที่แสดงเด็กทารกผิวขาวเชื้อสายชาวยุโรป แล้วให้ผู้ร่วมการทดลองลงคะแนนเพื่อความน่ารักจาก 1 ถึง 7 งานทดลองแรกพบความแตกต่างกันของความสามารถในการกำหนดความน่ารักระหว่างกลุ่ม โดยออกแบบเพื่อกันอิทธิพลที่เกิดจากการมีประสบการณ์ร่วมกันหรือความกดดันทางสังคมออกไปแล้ว ส่วนงานทดลองที่สองพบว่า หญิงก่อนวัยหมดระดูสามารถกำหนดความน่ารักได้ดีกว่าหญิงวัยเดียวกันที่หมดระดูแล้ว ซึ่งบอกเป็นนัยว่ามีอิทธิพลที่เกิดจากชีวภาพ ซึ่งใช้เป็นประเด็นการศึกษาในงานทดลองที่สาม คือนักวิจัยได้เปรียบเทียบความไวต่อความน่ารักระหว่างหญิงก่อนวัยหมดระดูที่ใช้และไม่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด งานทดลองนี้พบว่า กระบวนการเกี่ยวกับความรู้สึกว่าน่ารัก เปลี่ยนแปลงไปสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนทางเพศ (โดยเฉพาะคือโพรเจสเทอโรนและเอสโทรเจน) และดังนั้นฮอร์โมนทางเพศจึงมีผลต่อความไวต่อความน่ารัก

ส่วนงานวิจัยในปี ค.ศ. 1990 บอกเป็นนัยว่า "ความเชื่อของผู้ใหญ่เกี่ยวกับบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่คาดหวังของเด็กทารก มีอิทธิพลต่อปฏิสัมพันธ์ของผู้ใหญ่กับเด็ก" ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่า "ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความน่ารักในขั้นพื้นฐานอาจเกิดการปิดบังได้ในทารกบางคน" (คือผลที่เกิดจากความน่ารักของเด็กอาจเปลี่ยนไปได้ตามความคิดของผู้ใหญ่) งานวิจัยในปี ค.ศ. 2006 พบว่า ความรู้สึกของผู้ใหญ่ว่าเด็กน่ารักสามารถกระตุ้นระดับการดูแลรักษาเด็กและความรู้สึกชอบใจในเด็กที่ต่าง ๆ กัน แต่ก็สรุปความอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า "ความรู้สึกว่าควรดูแลรักษาเด็กในผู้ใหญ่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญกว่าในการกำหนดความน่ารักของเด็กผู้ชาย"

ตารางนี้แสดงการแต่งสัดส่วนใบหน้าภาพทารกโดยใช้ระบบดิจิทัล โดยปรับขึ้น () หรือ ปรับลง () เมื่อเทียบกับภาพที่ไม่ได้แต่ง มีผลให้ทารกรับการระบุว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก การปรับแต่งจำกัดอยู่ในระดับ ?2 ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อไม่ทำให้ผิดปกติจากใบหน้าจริง ๆ

ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2009 แสดงหลักฐานว่า ควาน่ารักของทารกกระตุ้นการดูแลรักษาของผู้ใหญ่ แม้ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ นักวิจัยให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนความน่ารักของภาพทารกแล้วสังเกตว่าผู้ร่วมการทดลองมีแรงจูงใจที่จะดูแลรักษาทารกแค่ไหน ผลงานวิจัยบอกเป็นนัยว่า คะแนนที่ให้กับความน่ารักของทารกสอดคล้องกับระดับแรงจูงใจในการดูแลทารก นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยยังใช้ fMRI เพื่อแสดงว่า เด็กที่มีใบหน้าที่มีลักษณะน่ารักมากกว่า จะทำให้เกิดการทำงานในเขตสมอง nucleus accumbens ที่เป็นส่วนของ basal ganglia และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับความสุขใจมีการหัวเราะเป็นต้น และแรงจูงใจ ในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น งานวิจัยจึงช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกทางประสาทที่แผนภาพทารก (ที่น่ารัก) กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการดูแลรักษา นอกจากนั้นแล้ว ทารกที่น่ารักมีโอกาสสูงกว่าที่จะได้รับเลี้ยงเป็นลูก และจะได้รับการระบุว่า "น่าชอบใจ ดูเป็นมิตร มีสุขภาพดี และเก่ง" สูงกว่าทารกที่น่ารักน้อยกว่า ซึ่งชี้ว่า ปฏิกิริยาต่อความน่ารักของทารกเป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการในมนุษย์ เพราะเป็นฐานของการให้เกิดการดูแลและของความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ผู้เป็นคนดูแล

งานวิจัยของค็อนแรด ลอเร็นซ์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 เสนอว่า รูปร่างศีรษะของทารกอาจทำให้ผู้ใหญ่เกิดการดูแลรักษาทารก และความรู้สึกว่าน่ารัก และหลังจากนั้นก็มีงานต่าง ๆ ที่แสดงความสำคัญของรูปร่างศีรษะของเด็ก แต่ว่า งานวิจัยในปี ค.ศ. 1981 งานหนึ่งพบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับรูปร่างศีรษะของเด็กเหล่านั้น มักจะมีความผิดพลาดในวิธีการหรือใช้สิ่งเร้าที่ไม่ดี แต่ในที่สุดก็สรุปว่า รูปร่างศีรษะของทารกทำให้เกิดปฏิกิริยาเชิงบวกจากผู้ใหญ่จริง ๆ และเด็กที่มีรูปร่างศีรษะเหมือนทารกจะได้รับพิจารณาว่าน่ารักกว่า ในงานวิจัยนี้ นักวิจัยให้นักศึกษาชั้นปริญญาตรีให้คะแนนกับรูปเส้นของใบหน้าทารก คือมีการใช้ภาพเดียวกันในการให้ดูแต่ละครั้ง แต่ว่า รูปร่างของศีรษะแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไปโดยฟังก์ชันการแปลงแบบ "cardioidal transformation" ซึ่งเปลี่ยนรูปร่างศีรษะให้ไปเป็นไปตามลำดับอายุ แต่ว่า รูปร่างของลักษณะใบหน้าอื่น ๆ จะเหมือนเดิม งานวิจัยสรุปว่า ศีรษะที่ใหญ่ทำให้รู้สึกว่าน่ารัก แล้วจึงทำให้เกิดปฏิกิริยาเพื่อดูแลรักษาในเชิงบวกของผู้ใหญ่ นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ความรู้สึกว่าน่ารักยังขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่างหน้าตาและพฤติกรรมอื่น ๆ ของเด็ก รวมทั้งอายุ

นักวิชาการทางมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลได้กล่าวว่า ใบหน้าของลิง สุนัข นก และแม้แต่หน้ารถยนต์ สามารถทำให้ดูน่ารักขึ้นโดยแปลงแบบ "cardioidal transformation" คือ การแปลงสภาพให้ใบหน้าดูเป็นผู้ใหญ่น้อยกว่าและน่ารักกว่า จะทำให้ลักษณะต่าง ๆ ด้านบนของหน้าขยายออกทางด้านข้างและทางด้านบน ในขณะที่ทำให้ลักษณะของใบหน้าด้านล่างลดเข้าทั้งทางด้านข้างและทางด้านล่าง

นักบรรพมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งกล่าวว่า ตามประวัติแล้วมีการวาดมิกกี้ เมาส์ให้เหมือนกับเด็กเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีศีรษะที่ใหญ่ขึ้น ตาที่ใหญ่ขึ้น กะโหลกศีรษะที่ป่องออก หน้าผากที่ลาดเอียงน้อยลงและกลมขึ้น มีขาที่สั้น หนา และอ้วนขึ้น มีแขนหนาขึ้น และจมูกที่หนาขึ้นซึ่งทำให้เหมือนกับยื่นออกมาน้อยลง แล้วเสนอว่า การเปลี่ยนรูปร่างของมิกกี้ เมาส์มีจุดหมายเพื่อเพิ่มความนิยมโดยทำให้น่ารักขึ้นและดูเป็นภัยน้อยลง และได้กล่าวอีกด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงให้รูปร่างเหมือนกับเด็กเช่นนี้ เลียนแบบวิวัฒนาการทางธรรมชาติของมนุษย์ที่มีรูปร่างลักษณะบางอย่างเหมือนเด็กแม้ในวัยผู้ใหญ่ (Neoteny)

ความรู้สึกว่าน่ารักมีความแตกต่างกันในระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งแสดงว่า ความรู้สึกว่าน่ารักอาจจะมีความสัมพันธ์กับความปรารถนาเพื่อจะเป็นที่ยอมรับของสังคม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301