ข้อตกลงอังกฤษ-รัสเซีย (Anglo-Russian Entente) ลงนามเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1907 ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย ได้ทำให้ความสัมพันธ์ที่กำลังเผชิญหน้ากันระหว่างอังกฤษกับรัสเซียลดลงโดยกำหนดพรมแดนร่วมกันซึ่งระบุการควบคุมของทั้งสองในเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และทิเบต ข้อตกลงดังกล่าวเสมือนว่าได้ยุติการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจอันยาวนานซึ่งแผ่ขยายไปตลอดทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียกลางที่ยังด้อยพัฒนา แม้ว่าจักรวรรดิอังกฤษและจักรวรรดิรัสเซียจะเคยประสบกับความขัดแย้งขนาดใหญ่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในความขัดแย้งซึ่งเรียกว่า "เกมอันยิ่งใหญ่" ได้ซ้ำเติมสถานการณ์ในขอบเขตจนกระทั่งหนทางแก้ไขปัญหาเริ่มปรากฏในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลายคนเชื่อว่าการเจรจาดังกล่าวมีจุดประสงค์ในการสร้างพันธมิตรทางการเมืองด้วยความกลัวในแสงยานุภาพและอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของเยอรมนี ผลจากข้อตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ทำให้โอกาสในการปกครองของอิหร่านถูกทำลาย แนวคิดในการฟื้นฟูรัฐอิหร่านมิใช่สิ่งที่จักรวรรดิทั้งสองนี้สำนึกเลย; ทั้งสองได้รับเสถียรภาพและการควบคุมในเปอร์เซีย และวางแผนที่จะรักษาสภาวะเช่นนี้ต่อไป โดยรวมแล้ว อนุสัญญาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงท่าทีซึ่งได้รับการคำนวณอย่างระมัดระวังของมหาอำนาจแต่ละฝ่ายในส่วนที่ตนเลือกในการตีราคาของพันธมิตรอันทรงพลังมากกว่าการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเหนือพื้นที่หลายส่วนของเอเชียกลาง
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษมีอำนาจปกครองอินเดียอย่างมั่นคงและมองว่าอินเดียเป็นอาณานิคมที่สำคัญที่สุดของตน อย่างไรก็ตาม รัสเซียเองก็ได้แสดงแสงยานุภาพโดยขยายตัวลงมาทางใต้และตะวันออกสู่เอเชียกลางและรุกคืบเข้าสู่อินเดีย "เกมอันยิ่งใหญ่" หมายความถึง การแข่งขันในการควบคุมดนแดนและการควบคุมทางการเมืองในเอเชียกลางระหว่างอังกฤษและรัสเซีย ดินแดนที่อยู่ระหว่างอินเดียและดินแดนส่วนที่รัสเซียปกครอง ได้แก่ เปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และทิเบต เป็นความปรารถนาของจักรวรรดิทั้งสองอย่างมาก อังกฤษเกรงว่า การเผชิญหน้ากับรัสเซียอาจทำให้ชาวอินเดียมีความหวังที่จะก่อการกบฏ อันเป็นความท้าทายปกครองอาณานิคมของอังกฤษ ในความสำคัญ คือ อังกฤษมีเป้าหมายที่จะกัน "อิทธิพลของรัสเซียจากชายแดนอินเดียของอังกฤษ" ในอีกทางหนึ่ง รัสเซียเองก็ต้องการดินแดนเพิ่มเติมทางพรมแดนตอนใต้ คือ อัฟกานิสถาน และกลัวการขยายดินแดนของอังกฤษมายังอาณานิคมของตน ยิ่งไปกว่านั้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เกิดประเด็นปัญหาใหม่ขึ้น และได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทางการอังกฤษ เมื่อ จอร์จ นาทาเนียล เคอร์ซัน กระตุ้นให้รักษาความมั่นคงของน้ำมันในตะวันออกกลางของอังกฤษ นี่เป็นเพียงบางส่วนของประเด็นเท่านั้น และทำให้อังกฤษวางตัวเป็นกลางทางการทูตต่อทุกท่าทีของรัสเซีย การใช้ยุทธวิธีที่คล้ายคลึงกับการรวมเศรษฐกิจของตนเข้ากับอิหร่าน อังกฤษได้รวบรวมทิเบตเข้าสู่การปกครองโดยรุกรานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1903 จากนั้นได้ทำให้ทิเบตเป็นคู่ค้า ซึ่งได้ทำให้ทิเบตแบกภาระหนี้มหาศาลและได้ทำให้อังกฤษมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ว่าชาติมหาอำนาจทั้งสองต่างก็หลีกเลี่ยงสงครามอย่างเปิดเผย "เกมอันยิ่งใหญ่" ก็ได้สร้างความเสียหาทางการเมืองแก่อังกฤษและรัสเซียไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม จากความรุ่งเรืองของเยอรมนีในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้มหาอำนาจทั้งสองพบว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตนที่จะตกลงปรองดองและทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ความขัดแย้งอันตึงเครียดอย่างเช่น "เกมอันยิ่งใหญ่" ได้กีดขวางฝ่ายไตรภาคีในการเผชิญหน้ากับเยอรมนีและหลังได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1882 เยอรมนีลงนามเข้าเป็นไตรพันธมิตรกับอิตาลีและออสเตรีย-ฮังการี ทำให้เยอรมนีก้าวเข้าสู่เวทีโลกจากการพัฒนาอุตสาหกรรม สังคมและการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น เยอรมนีเพิ่มรายจ่ายทางทหารอย่างมากนับตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 จนกระทั่งการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภายใต้จักรวรรดิ "ปรัสเซีย-เยอรมัน" ใหม่นี้ รัฐบาลเยอรมันได้ทำงานเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งของชาติและบรรลุจุดสูงสุดของอำนาจเยอรมัน ในขณะที่อังกฤษและรัสเซียกำลังเคลือบแคลงกับจุดประสงค์ในการแผ่อำนาจของเยอรมนี สมาชิกของไตรพันธมิตรทีละชาติเองก็ได้ถูกคุกคามจากยุทธวิธีนโยบายต่างประเทศเชิงรุกของอังกฤษและรัสเซีย และความมั่งคั่งจากอาณานิคมของตน ด้วยเหตุนี้ การขยายดินแดนและทหารของจึงเป็นกุญแจของเยอรมนีที่จะทำให้ตนเองมีบทบาทหลักในเวทีอำนาจระหว่างประเทศ ตะวันออกกลางของเยอรมนีตกอยู่ในสถานะเป็นรอง ซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่าสำหรับนโยบายหลักของเยอรมนีต่อยุโรปและอเมริกา ตลอดช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในขณะที่มีความสำคัญเป็นรอง แต่มันได้เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้จัดการความพยายามของตะวันออกกลางที่จะให้อำนาจตะวันตกต่อสู้กันเอง เบอร์ลินได้แทรกซึมจักรวรรดิออตโตมันอย่างสันติ และมีความปรารถนาอาณานิคมในภูมิภาคนี้น้อย
ในปี ค.ศ. 1905 กิจกรรมการปฏิวัติได้แพร่ขยายตัวอิหร่าน โดยมีการบีบบังคับให้ชาห์ยอมรับรัฐธรรมนูญ อนุญาตให้จัดตั้งมาจิลิ (สมัชชญารัฐสภา) และจัดการเลือกตั้ง หัวใจของการปฏิวัติมีเป้าหมายตลอดกาล ซึ่งได้สร้างความแตกร้าวในหมู่นักบวชในข้อได้เปรียบของราชาธิปไตย ทั้งอังกฤษและรัสเซียต่างก็ไม่รับรองการจัดการทางการเมืองเสรีอันไม่มีเสถียรภาพนี้ ทั้งสองต่างการ "หุ่นเชิด" ที่มีเสถียรภาพ อย่างเช่นรัฐบาลที่ได้รับความยินยอมจากต่างชาติและทำงานได้ดีกับเป้าหมายในการขยายอำนาจของพวกเขา เพื่อทำให้สถานการณ์ในอิหร่านสะดวกขึ้น รัสเซียและอังกฤษได้พูดคุยกันที่จะแบ่งแยกอิหร่านออกเป็นสามส่วน ข้อตกลงที่พวกเขาต้องการนั้นจะแบ่งอิหร่านออกเป็นทางเหนือ รวมไปถึงเอสฟาฮาน ให้แก่รัสเซีย; ทางตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคอร์มาน ซิสถาน และบาลูชิสถาน ให้แก่อังกฤษ ส่วนดินแดนที่เหลือให้ปักเขตให้เป็น "เขตเป็นกลาง" ของทั้งสอง การแบ่งอิหร่านครั้งนี้ได้ทำให้การควบคุมผลประโยชน์ทางดินแดนและทางเศรษฐกิจในอิหร่านของทั้งสองมั่นคงยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการเข้าแทรกแซงระบบการเมืองอิหร่าน จากอิทธิพลจากต่างชาติ การปฏิวัติถูกบีบจากนักเคลื่อนไหวยุโรปและฝ่ายนิยมราชาธิปไตย