คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (อังกฤษ: National Council for Peace and Order (NCPO) เดิมใช้ชื่อ National Peace and Order Maintaining Council (NPOMC) ) เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่เวลา 16:30 น. หลังเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้สองวัน และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ
วันที่ 21-22 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) เรียกประชุมผู้แทนรัฐบาล, วุฒิสภา, คณะกรรมการการเลือกตั้ง, พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, นปช. และ กปปส. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อหาข้อสรุปในการก้าวผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ไม่อาจหาข้อสรุปได้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และผู้บัญชาการเหล่าทัพ จึงประกาศกระทำรัฐประหารในที่ประชุม และควบคุมตัวผู้เข้าร่วมประชุม ยกเว้นตัวแทนวุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำตัวไปยังกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
วันที่ 2 มิถุนายน 2557 ทหารแจกใบปลิวให้ประชาชนที่สัญจรย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เนื้อหาระบุเหตุผลที่ คสช. ยึดอำนาจว่า
วันที่ 2 สิงหาคม 2557 มีการออกกฎหมายกำหนดเงินเดือนและประโยชน์ทางการเงินอื่นแก่สมาชิก คสช. พลเอกประยุทธ์ได้รวม 125,590 บาทต่อเดือน ขณะที่สมาชิก คสช. คนอื่นได้รับรวม 119,920 บาทต่อเดือน ประโยชน์เหล่านี้เพิ่มเติมจากประโยชน์ที่ได้รับจากตำแหน่งในกองทัพ
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เงินประจำตำแหน่งเพิ่มเป็น 175,590 บาท (เพิ่มขึ้น 50,000 บาท) ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 174,420 บาท (เพิ่มขึ้น 45,500 บาท)
คณะกรรมการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 4 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 29 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) 2 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 6 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 3 คณะ คณะกรรมการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 1 คณะ มีจำนวนทั้งหมด 45 คณะ
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 1 /2559 แต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น 8 ราย ดังรายนามต่อไปนี้