สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้รับการตราขึ้นและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ตลาดทุนมีการพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางที่เอื้อ ประโยชน์ระดมทุนและการลงทุน ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน โดยมี คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงาน
พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ได้รับการตราขึ้นเพื่อให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตัวกลางที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจน รวมทั้งให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแลนโยบายและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนโดยรวม โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547
สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มอบหมาย และกำกับดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งรับผิดชอบการดำเนินงานประจำวันในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติคำขอต่าง ๆ และพิจารณาการกระทำที่อาจเข้าข่ายฝ่าฝืน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
"ขับเคลื่อนตลาดทุนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงตลาดทุน พร้อมยกระดับสู่การเป็นตลาดทุนแห่งภูมิภาค ส่งเสริมสินค้าหรือกิจการในตลาดทุนนำหลักธรรมาภิบาล
ไปปฏิบัติจริง เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และพัฒนาเครื่องมือให้ผู้ลงทุนสามารถเป็นพลังในการสร้างวินัยในตลาด"
เพิ่มคุณภาพและช่องทางของผู้ระดมทุน สร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ให้แข่งขันในระดับสากล ที่มีความเชื่อมโยงกับตลาดการเงินโลกมากขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสแก่ธุรกิจรูปแบบใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีทางการเงิน และพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ นอกจากนี้ ยังสอดรับกับการที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ หลักประกันทางรายได้ยังไม่เพียงพอ ตลาดทุนจึงควรสนับสนุนให้เห็นความจำเป็นของการออมและการลงทุน โดยเป็นช่องทางในการลงทุนที่เหมาะกับความต้องการของตน
3. สร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้สถาบันการเงินและกิจการเสนอสินค้าและบริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นที่ตั้ง และ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงินเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงตลาดทุน
เป็นยุทธศาสตร์ที่ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการก้าวไปสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีทางการเงินหรือ FinTech โดยเปิดโอกาสให้เข้าถึงข้อมูล มีพื้นที่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม มีโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยลดต้นทุนการกำกับดูแลให้แก่ภาคธุรกิจ การใช้เทคโนโลยีในการกำกับดูแล และการมีระบบที่มั่นคงเพื่อรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมให้ตลาดทุนไทยเป็นแหล่งระดมทุนที่น่าสนใจสำหรับกิจการทั้งในประเทศและภูมิภาค
การซื้อขายและการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ ยังมีแผนงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อการยอมรับในระดับสากล เพิ่มความน่าสนใจให้แก่สินค้าในตลาดทุนไทย ขจัดอุปสรรคด้านกฎเกณฑ์ให้ตลาดทุนไทยพร้อมพัฒนาเศรษฐกิจและตลาดทุนของประเทศเพื่อนบ้าน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้สถาบันการเงินและกิจการเสนอสินค้าและบริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นที่ตั้ง
ยกระดับการทำหน้าที่อย่างมืออาชีพ เพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือและคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันให้ทุกภาคส่วนเห็นประโยชน์ของการมีธรรมาภิบาลในธุรกิจตน และปฏิบัติตามด้วยตัวเองมากกว่าที่จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ รวมถึงการปรับปรุงวิธีการเสนอผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทแม่
โดยให้ความรู้ผู้ลงทุนผ่านเครื่องมือและตัวช่วยในการตัดสินใจ ไม่ถูกหลอก และรู้จักเรียกร้องสิทธิที่พึงได้ มีตัวกลางที่ให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระ ตลอดจนการพัฒนากลไกการระงับข้อพิพาทและบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ข้างต้น ก.ล.ต. จะต้องพัฒนาศักยภาพองค์กร เพื่อรองรับการดำเนินการด้วย โดยพัฒนาความรู้และทักษะบุคลากรภายในองค์กร ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานให้สามารถวิเคราะห์ จัดการปัญหาได้ฉับไว และร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนอื่น ๆ ในตลาดทุนเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างตรงจุด
ก.ล.ต. มุ่งมั่นสร้างประโยชน์สุขให้ประชาชน ด้วยการพัฒนาตลาดทุนที่ยั่งยืน โดยเป็นองค์กรเชิงรุก ที่ทุกภาคส่วนเชื่อมั่นร่วมกันทำงาน
มีหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศ โดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนดังนี้
มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานของ ก.ล.ต. ในด้านการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง และธรรมาภิบาล รวมทั้งจัดทำรายงานทางการเงิน เพื่อให้การดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลของสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วย กรรมการ ก.ล.ต. ที่มิได้เป็นผู้บริหาร ซึ่งมีความเป็นอิสระ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน โดยในจำนวนนี้จะต้องมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. อย่างน้อย 2 คน ?
มีหน้าที่ออกกฎเกณฑ์ในเรื่องการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สำนักหักบัญชี นายทะเบียนหลักทรัพย์ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. รวมทั้งปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์