ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ขรัวอินโข่ง

ขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 (ไม่ปรากฏวันเดือนปีเกิด) ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจำรัชกาลที่ 4 แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ ศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล นับเป็นศิลปินก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดำเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกย่องว่า ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัยนั้น

ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งหลุดพ้นมาเป็นงานในรูปแบบปริศนาธรรม ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวคือการ วาดภาพธรรมชาติโดยเฉพาะต้นไม้ และการควบคุมอารมณ์ของสีในภาพให้มีความกลมกลืนและ เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือภาพปริศนาธรรมที่ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิวาส

ชีวิตในวัยเด็กของขรัวอินโข่งไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด รวมทั้งปีที่เกิด ทราบเพียงว่าขรัวอินโข่งเกิดที่ตำบลบางจาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชื่อเดิมว่า "อิน" เดินทางเข้ามาบวชเป็นสามเณรที่กรุงเทพฯ แม้อายุเกินมากแล้วก็ยังไม่ยอมบวชพระจนถูกล้อเป็นเณรโค่ง แต่ในที่สุดสามเณรอินจึงได้ยอมบวชเป็นพระที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ชื่อจึงสันนิษฐานกันว่ามาจากการถูกเรียกล้อว่า “อินโค่ง” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงอธิบายว่า “โค่ง” กับ “โข่ง” แปลว่า “ใหญ่” ต่อมาโค่งเพี้ยนเป็น “โข่ง” จึงเรียกกันว่า “อินโข่ง” ส่วนคำว่า “ขรัว” ได้มาหลังจาก “พระอินโข่ง” มีพรรษาและทรงความรู้มากขึ้นจึงได้รับการเคารพนับถือเป็นพระอาจารย์ซึ่งเจ้านายสมัยนั้นนิยมเรียกว่า “ขรัว” คนทั่วไปจึงเรียกพระภิกษุอินว่า “ขรัวอินโข่ง” ถึงปัจจุบัน

ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าขรัวอินโข่งเรียนการเขียนภาพอย่างเป็นงานเป็นการจากที่ใดและเมื่อใด โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยหนุ่ม เข้าใจกันว่าอาศัยการมีพรสวรรค์และได้อาจได้หัดเขียนภาพแบบไทยกับช่างเขียนบางคนในสมัยนั้นจนเกิดความชำนาญขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวดติวงศ์ทรงเล่าว่า ขรัวอินโข่งเป็นพระที่ชอบเก็บตัวไม่ค่อยยอมรับแขก มักชอบปิดกุฏิใส่กุญแจให้คนเห็นว่าไม่อยู่เพื่อใช้เวลาที่สงบทำสมาธิวางแนวเรื่องเพื่อใช้สำหรับเขียนภาพฝาผนังโบสถ์วิหารซึ่งในสมัยแรกๆ ยังคงเป็นภาพปริศนาธรรมแบบไทย

จากการสันนิษฐานเช่นเดียวกันว่า อิทธิพลของตะวันตกที่เริ่มหลั่งไหลเข้ามามากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จึงมีการเร่งรัดพัฒนาประเทศเป็นแบบตะวันตกมากขึ้นทั้งด้านวัฒนธรรมและวิทยาการ ซึ่งรวมถึงรูปแบบศิลปะแบบตะวันตกจากทั้งยุโรปและอเมริกา เชื่อกันว่าขรัวอินโข่งเป็นศิลปินที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่แหวกแนวจากรูปแบบประเพณีเดิมอยู่แล้ว จึงกล้ารับเทคนิคแบบตะวันตกมาประยุกต์ด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี ในระยะแรก ขรัวอินโข่งยังคงเขียนภาพจิตรกรรมไทยเป็นแบบดั้งเดิม โดยเขียนภาพเกี่ยวกับชาดกและพระพุทธศาสนาเป็นภาพแบบ 2 มิติ เช่น ภาพยักษ์ หน้าลิง ภาพวาดที่วัดมหาสมณารามและหอราชกรมานุสร

เว็บไซต์ทางการเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ในหัวข้อ “จิตรกรรม” กล่าวถึงอืทธิพลของภาพเขียนตะวันตกที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทยในขณะนั้นไว้ว่า

อิทธิพลสำคัญอีกประการหนึ่งอาจเกิดจากความคุ้นเคยของขรัวอินโข่งที่มีอยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎระหว่างผนวชที่วัดราชาธิวาสวรวิหาร สืบเนื่องจากการที่ได้ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังจนได้ทรงตั้งธรรมยุตินิกายขึ้น ได้ทรงคิดแนวเรื่องปริศนาธรรมขึ้นแล้วโปรดเกล้าให้ขรัวอินโข่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบ

อิทธิพลภาพเขียนแบบตะวันตกเชื่อกันว่าได้มาจากภาพพิมพ์ที่หมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารีนำมาจากต่างประเทศ รวมทั้งภาพของยุโรปที่ส่งมาจำหน่ายแพร่หลายในเมืองไทยในสมัยนั้น ขรัวอินโข่งได้นำมาพัฒนาและประยุกต์ในงานจิตรกรรมไทยเป็นภาพทิวทัศน์แบบตะวันตกโดยใช้ตัวละครและสถานที่แบบตะวันตก เช่น ภาพปริศนาธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหารและวัดบรมนิวาส

งานจิตรกรรมไทยของขรัวอินโข่งในช่วงแรกยังคงเป็นแบบไทยดั้งเดิมดังได้กล่าวมาแล้ว ในระยะหลังแม้จะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมและศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะด้านการเขียนภาพหรือจิตรกรรม ซึ่งใช้วิธีการเขียนภาพแบบตะวันตกที่ใช้แสงและเงาสร้างเป็นภาพ 3 มิติทำให้เห็นภาพมีความลึกได้รับแสงไม่เท่ากันตามจริง แต่ภาพไทยที่เขียนแบบตะวันตกของขรัวอินโข่งก็ยังคงลักษณะไทยไว้ได้โดยยังคงแสดงลักษณะท่าทางและความอ่อนช้อยที่เน้นท่าพิเศษแบบไทยดังปรากฏในภาพเขียนแบบไทยทั่วไป นอกจากนี้ขรัวอินโข่งยังแสดงความอัจฉริยะในการสร้างจินตนาการจากความคิดและความเชื่อของไทยที่ยังคงมีอยู่ในสมัยนั้น

นอกจากนั้น น. ณ ปากน้ำก็ยังได้อธิบายเปรียบเทียบงานของขรัวอินโข่งกับช่างเขียนมีชื่อชาวตะวันตกไว้อย่างน่า สนใจว่า

เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เรื่องเดียวกันกล่าวถึงลักษณะเฉพาะในการเขียนภาพของขรัวอินโข่งไว้เช่นเดียวกันว่า

ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรไทยคนแรกที่เขียนภาพคนเหมือนแบบตะวันตก (Portrait) เป็นคนแรก โดยเขียนภาพเหมือนพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการศึกษาหลักฐานด้านประวัติศาสตร์จิตรกรรมของไทย ยังคงถือกันว่างานชิ้นนี้นับเป็นงานภาพคนเหมือนที่มีชื่อเสียงชิ้นแรกของประเทศไทย ปัจจุบันภาพเหมือนพระบรมสาทิสลักษณ์ฯ ดังกล่าวประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งผนวชที่วัดราชาธิวาสวรวิหาร ได้ทรงคิดแนวเรื่องปริศนาธรรมขึ้นแล้วโปรดเกล้าให้ขรัวอินโข่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบดังกล่าว พิสิฐ เจริญวงศ์ กล่าวถึงภาพปริศนาธรรมของขรัวอินโข่งไว้ในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยเล่ม 2 ของราชบัณฑิตยสถาน (2545) ไว้ว่า

ขรัวอินโข่งมีผลงานมากมาย แต่ยังไม่ปรากฏโดยชัดเจนว่ามีผู้ใด้จัดรวมรวมเป็นเอกสารไว้อย่างเป็นระบบมีหมายเลขกำกับเฉพาะและครบถ้วน พิสิฐ (2545) กล่าวไว้ว่ามีบันทึกผลงานเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานได้แก่

โดยปกติแล้ว ขรัวอินโข่งผู้เป็นจิตกรคนสำคัญแห่งยุคย่อมต้องมีลูกศิษย์ที่เป็นลูกมือช่วยวาดภาพเป็นจำนวนไม่น้อย จึงสันนิษฐานว่าขรัวอินโข่งน่าจะมีศิษย์จำนวนมาก แต่ที่ได้เป็นจิตรกรมีชื่อเสียงเด่นได้รับการบันทึกไว้มีคนเดียว คือ พระครูกสิณสังวร วัดทองนพคุณ

ไม่มีผู้ใดทราบว่าชีวิตในบั้นปลายของขรัวอินโข่งเป็นอย่างไร และวันมรณภาพเป็นวันเดือนปีใด เมื่ออายุเท่าใดและโดยสาเหตุใด แต่เชื่อกันว่าครองสมณเพศตลอดชีวิต แต่เชื่อแน่ว่ามรณภาพในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับชีวิตและงานของขรัวอินโข่งเลยในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นที่หวังว่างานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับศิลปินคนสำคัญยิ่งท่านหนึ่งของชาติในภายหน้าอาจให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406