ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ขบวนรถสินค้า

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: รฟท.; อังกฤษ: State Railway of Thailand ; SRT) เป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดูแลกิจการด้านรถไฟของประเทศไทย มีทางรถไฟอยู่ภายใต้ขอบเขตดำเนินการทั้งหมด 4,070 กิโลเมตร

ทางรถไฟในประเทศถูกระเบิดได้รับความเสียหายเป็นอันมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้มีความต้องการกู้เงินจากต่างประเทศ ธนาคารโลกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ บีบให้แปรรูปกรมรถไฟเป็นรัฐวิสาหกิจในปี 2494 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และมีการตราพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ขึ้น ส่งผลทำให้ผู้บริหารของกรมรถไฟซึ่งนับเป็นส่วนราชการที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพ ที่เดิมเคยเลื่อนตำแหน่งมาเป็นปลัดกระทรวงคมนาคมและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันกิจการรถไฟ ต้องกลายมาเป็นเพียงแค่ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย เท่านั้น ทำให้ขาดเส้นทางอาชีพที่จะผลักดันความก้าวหน้ากิจการรถไฟ

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเปิดการเดินรถไฟ สายกรุงเทพ-นครราชสีมา เส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศสยาม กรมรถไฟจึงถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสบริเวณเหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคม โดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา และมีทางแยกตั้งแต่เมืองลพบุรี - เชียงใหม่ สายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพ ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “กรมรถไฟ” เป็น “กรมรถไฟหลวง” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลสำคัญที่ผลักดันให้กิจการรถไฟของไทยเติบใหญ่อย่างมั่นคงในเวลาต่อมา คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่ตรินีตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้รับฉายาว่าพระบิดาแห่งการรถไฟไทย โดยปี 2453 ได้รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ต่อมาได้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกันเป็นกรมรถไฟหลวงเมื่อปี 2460 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก การที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอย่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงสมัยนั้น ดูเหมือนจะเป็นพระราชประสงค์จำนงหมายไว้แต่เดิมมากกว่าเป็นการบังเอิญเนื่องแต่สงคราม เพราะเมื่อทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ให้เป็นผู้บัญชาการในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2460 แล้วนั้น ต่อมาในเดือนพฤจิกายน พ.ศ.เดียวกัน ก็ได้มีพระราชหัตถเลขาเป็นส่วนพระองค์แสดงความในพระราชหฤทัยที่ทรงมีอยู่ (พระราชหัตถเลขาลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460) ทรงกล่าวว่า

“รู้สึกว่า ราชการกรมรถไฟ เป็นราชการสำคัญและมีงานที่ต้องทำมาก เพราะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก และฉันรู้สึกว่าเป็นเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ฉันได้เลือกให้ตัวเธอเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และอาจพูดได้โดยไม่แกล้งยอเลยว่า ถ้าเป็นผู้อื่นเป็นผู้บัญชาการ การงานอาจยุ่งเหยิงมากจนถึงแก่เสียทีได้ทีเดียว เมื่อความจริงเป็นอยู่เช่นนี้ ฉันจึงได้มารู้สึกว่า

1) การงานกรมรถไฟไม่ใช่เป็นของที่จะวานให้เธอทำเป็นชั่วคราวเสียแล้ว จะต้องคิดอ่านเป็นงานแรมปี....

จึงขอบอกตามตรง และเธอต้องอย่าเสียใจว่าในขณะนี้ เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า ภถึงแม้เธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี แต่กำลังกายของเธอจะไม่ทนไปได้ จริงอยู่ฉันได้ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า “ยอมถวายชีวิต” แต่ฉันขอบอกอย่างดื้อๆ เพราะฉันรักเธอว่า ฉันไม่ต้องการชีวิตของเธอ ฉันต้องการใช้กำลังความสามารถของเธอมากกว่า”

ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พุทธศักราช 2476

ใน พ.ศ. 2484 การคมนาคมก็ได้ถูกปรับปรุงให้กลับมาเป็นกระทรวงคมนาคมตามเดิม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2484 มีการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงคมนาคม ดังนี้

ได้มีการกำหนดลักษณะเครื่องแบบและสิ่งประกอบสำหรับเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2482 โดยได้มีการออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 เรื่อยมา แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยของรัฐบาลที่เข้ามาบริหาร ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2491) (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ) ออกกฎโดยรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี

กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2494) (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ) ออกกฎโดยรัฐบาลของจอมพล ป พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3 เซนติเมตร มีฟันเฟืองรอบวงกลม ภายในวงกลมมีอักษรย่อแสดงฝ่ายที่สังกัด ดังนี้

ในสมัยรัฐบาลที่มีจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เลขที่ 40 หมวด ก ฉบับพิเศษ ลงในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 และให้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม และให้มีการโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ต่างๆ รวมไปถึงข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ลูกจ้าง และสายงานทั้งหมด ของกรมรถไฟไปอยู่ในการดำเนินงานของ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) เป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก และเป็นอธิบดีกรมรถไฟคนสุดท้าย

หลังจากที่รถไฟไทยได้รับเสียงวิจารณ์ด้านลบอย่างมาก ทั้งในแง่ของการเดินรถช้า อุปกรณ์เก่าและขาดการซ่อมบำรุง จึงมีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการปรับปรุงระบบรถไฟหรือแปรรูปเป็นเอกชน แต่หลายๆครั้งก็ถูกคัดค้านโดยสหภาพการรถไฟ โดยที่พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 กำหนดให้ทุกรัฐบาล มีอำนาจในการควบคุมการแต่งตั้งและปลดผู้บริหารของการรถไฟฯ ควบคุมอัตราเงินเดือนของพนักงานการรถไฟฯ ควบคุมอัตราค่าโดยสาร และค่าระวางของการรถไฟฯ ควบคุมการเปิด-ปิดเส้นทาง และการบริการของการรถไฟฯ ควบคุมการลงทุนทั้งหมดของการรถไฟฯ และก็มีหน้าที่ที่สำคัญ คือ ในมาตรา 43 ของพรบ.การรถไฟฯ 2494 ระบุเอาไว้ว่า " ให้รัฐบาลชดเชยการขาดทุนให้แก่ การรถไฟฯเท่ากับจำนวนที่ขาดทุน อันเนื่องจากการดำเนินงาน "

ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการดำเนินการประมูลสร้างรถไฟทางคู่จากฉะเชิงเทราถึงแหลมฉบัง คิดเป็นระยะทาง78กิโลเมตร ตามมาด้วยรถไฟรางคู่จากคลองสิบเก้าถึงชุมทางแก่งคอย และทางคู่ขางนครปฐมถึงหัวหิน ในปี พ.ศ. 2553 โครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังจะเกิดขึ้น ทำให้เกิดโครงการรถไฟรางคู่จากนครราชสีมาถึงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยเริ่มจากสถานีรถไฟนครราชสีมาถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ โครงการรถไฟรางคู่มีเป้าหมายสูงสุดที่การปรับปรุงสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมเป็นระยะทางทั้งหมด 832 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2555 การรถไฟได้ทยอยเปิดประมูลซื้อหัวรถจักรใหม่ 70 คัน และรถโดยสาร 115 คัน คิดเป็นมูลค่ารวม 19,406.4 ล้านบาท โดยโครงการจัดซื้อถูกกระตุ้นจากเหตุรถไฟตกรางต่อเนื่องสามเหตุการณ์ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ถึงต้นปี พ.ศ. 2555

ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง กรุงเทพ - รังสิต ระยะทาง 31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วง รังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร โดยมีเส้นทาง ดังนี้

และการรถไฟฯ ยังได้เปิดเดินเส้นทางรถไฟฟ้าจำนวน 1 เส้นทาง ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร โดยให้บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (SRT Electrified Train Co., Ltd. หรือ SRTET) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจาก Deutsche Bahn AG ประเทศเยอรมนี เป็นผู้ดำเนินการในการเดินรถ โดยเส้นทางดังกล่าวคือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า - สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี - สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย - สถานีรถไฟศรีราชา - สถานีรถไฟแหลมฉบัง - สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ - สถานีรถไฟมาบตาพุด และโครงการรถไฟฟ้าอีกสองเส้นทางคือ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา - หัวหมาก) และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต - มหาชัย) หรือเรียกรวมๆ ได้ว่า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงรางที่สำคัญมากๆพัฒนารางคือ ขยาย รางให้เป็นรางคู่เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้มากขึ้นลดเวลาการเดินทาง จุโบกี้สินค้าได้มากขึ้น จุผู้โดยสารได้มาก และประหยัดพลังงานมากขึ้นเนื่องจาก การขนส่ง เที่ยวหนึ่ง สามารถจุคนสินค้าได้มากกว่ารถยนต์ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาปรับปรุงการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพและดีขึ้นซึ่งปัจจุบันรางเดี่ยวไม่เหมาะที่จะขนส่งอีกต่อไป ซึ่งรางเดี่ยวจะเสียต้นทุนมาก โครงการที่สำคัญๆ ที่จะสร้าง คือ ชุมทางสระบุรีไป ปากนำโพ 118กม นครปฐมไปหัวหิน 165 กม มาบกะเบา ไป ชุมทางจิระ132 กม และ จิระไปขอนแก่น 185กม ประจวบ คีรีขันธ์ไปชุมพร 167กม โครงการเฟสแรกรวม 767 กม

ปี 2465 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงจัดตั้ง "กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟหลวง" เพื่อทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์ข่าวสารและสารคดีเผยแพร่กิจการของกรมรถไฟหลวง ตลอดจนกิจการของกระทรวงทบวงกรมอื่นๆ ทั้งมวล รวมไปถึงบริการรับจ้างผลิตภาพยนตร์ให้แก่เอกชนทั่วไปด้วย นับได้ว่าเป็นการจัดตั้งหน่วยงานผลิตภาพยนตร์อย่างเป็นกิจลักษณะและใหญ่โตระดับชาติ กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ผลิตภาพยนตร์ ข่าวสารและสารคดีของชาติ การที่มีกองผลิตภาพยนตร์ในกรมรถไฟหลวงก็เพื่อสร้างภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ให้ คนไทยและชาวต่างประเทศนิยมท่องเที่ยวโดยใช้บริการของรถไฟ เพราะในขณะนั้นรถไฟเป็นสิ่งใหม่ สร้างภาพยนตร์ขึ้นมาเพื่อให้เห็นสถานที่น่าท่องเที่ยวต่างๆของไทย กรมรถไฟหลวงจึงกลายเป็นโรงเรียนในการสร้างคนที่จะผลิตภาพยนตร์เรื่องของไทยต่อไปในอนาคต ต่อมาเมื่อกิจการสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงของไทยเกิดขึ้นในปี 2470 ก็ได้อาศัยบุคลากรและอุปกรณ์ของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวนี้เองเป็นฐานสำคัญ เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2475 แล้ว กิจการของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ค่อยๆลดบทบาทลง เพราะรัฐบาลใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ได้จัดตั้งกรมโฆษณาการ (คือ กรมประชาสัมพันธ์ในเวลาต่อมา) และตั้งแผนกภาพยนตร์ขึ้นในสำนักงานนี้ เพื่อทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์เผยแพร่กิจการของรัฐบาล ผลงานภาพยนตร์บางส่วนของกรมรถไฟหลวง มีดังนี้

ในปี พ.ศ. 2461 ชาวบ้านฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบน้ำมันไหลขึ้นมาบนผิวดิน บริเวณบ่อต้นขาม ต่างเล่าลือกันว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ นำมาใช้ทาตัวเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ จึงสั่งให้ขุดบ่อกักน้ำมันไว้ เรียกกันว่า “บ่อเจ้าหลวง” หรือ “บ่อหลวง” ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จึงติดต่อว่าจ้าง “Mr. Wallace Lee” นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ให้สำรวจน้ำมันและถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรไอน้ำในกิจการรถไฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2464 – 2465 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้มีการใช้วิธีการทางด้านธรณีวิทยาในการสำรวจ แร่เชื้อเพลิง และปิโตรเลียมอย่างแท้จริง

ริเริ่มขึ้นโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ได้ทรงส่งเรื่องราวเมืองไทยไปเผยแพร่ในสหรัฐฯ ต่อมาในปี 2467 ได้จัดตั้งแผนกโฆษณาของกรมรถไฟหลวงขึ้น ทำหน้าที่โฆษณาและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางมาประเทศไทย ต่อมาเมื่อทรงเลื่อนตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม งานด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ย้ายไปอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมตามไปด้วย ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน

กรมรถไฟหลวงยังนับเป็นผู้บุกเบิกสำคัญ เช่น โรงแรมรถไฟหัวหิน ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัลหัวหินรีสอร์ท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2465 มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมยุโรป ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นโรงแรมตากอากาศที่หรูหราที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงนั้น โรงแรมรถไฟอีกแห่ง คือ โฮเต็ลวังพญาไท ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า นับว่าหรูหรามาก เนื่องจากดัดแปลงจากพระราชวังพญาไทมาเป็นโรงแรมเมื่อปี 2469 นอกจากนี้ ยังมีโรงแรมราชธานีที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เปิดดำเนินการเมื่อปี 2470 นับเป็นโรงแรมที่ทันสมัยระดับแนวหน้าของไทย มีบริการอาหารแบบตะวันตก ห้องพักทุกห้องมีห้องน้ำในตัว มีทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น ไฟฟ้า พัดลม และโทรศัพท์ ฯลฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน นับแต่แรกที่ทรงปฏิบัติราชการในกรมรถไฟ พระองค์ทรงฝึกให้ข้าราชการไทย โดยแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เอง และโดยจัดให้มีนักเรียนสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวงออกไปศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ ณ ต่างประเทศ เพื่อเข้ามาสวมตำแหน่งสำคัญๆ แทนชาวต่างประเทศดั่งที่เคยจำเป็นต้องจ้างมาใช้แต่ก่อน ได้ทรงเริ่มนโยบายนี้เมื่อต้นปี พ.ศ. 2461 และรุ่นสุดท้าย ได้ส่งไปในปี พ.ศ. 2466 รวมเป็นนักเรียน 51 คน นโยบายนี้ได้รับผลอันสมบูรณ์ราวต้นปี พ.ศ. 2475 นอกจากนั้น ยังทรงรับโอนนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศแล้วของกรมกองอื่นๆ มาเป็นนักเรียนใช้ทุนของกรมรถไฟหลวงก็อีกหลายนาย ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดชักนำให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยในกรมรถไฟมีความรู้สึกฉันมิตรซึ่งกันและกัน ร่วมมือฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นไปเยี่ยงนายกับบ่าว ความร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของข้าราชการกรมรถไฟนับแต่สมัยพระองค์ทรงบังคับบัญชา เป็นผลความเจริญแก่กรมรถไฟมาจนทุกวันนี้ และกรมรถไฟหลวงยังเป็นแหล่งผลิตวิศวกรไปยังงานก่อสร้างที่สำคัญของประเทศอีกหลายหน่วยงาน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406