ประเด็นการเมืองขบวนการล้มเจ้า เริ่มจากที่รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะออกมาให้ข่าวทำนองว่าคู่แข่งทางการเมืองเป็นผู้ไม่จงรักภักดี คิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ รัฐบาลยังปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตของมวลชนฝ่ายตรงข้าม และได้สั่งปิดเว็บไซต์กว่า 43,000 เว็บไซต์ ภายหลังแกนนำ นปช. ได้ออกมาตอบโต้ว่าไม่รู้เรื่อง ไม่มีใครทำอะไรเป็นขบวนการแบบนี้ และจะฟ้องร้องดำเนินคดี ในข้อหาหมิ่นประมาทกับรัฐบาลและ ศอฉ.
วันที่ 22 มีนาคม 2554 พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ให้การต่อศาลระบุว่า เป็นเพียงการให้ข้อมูลความเชื่อมโยง ไม่ได้บอกว่าใครล้มเจ้า ชี้ประชาชน-สื่อเอาไปขยายความต้องรับผิดชอบเอง
มีกลุ่มบุคคลเคลื่อนไหวในหลายช่องทาง เช่น เผยแพร่บทความใบปลิว การให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ การจัดรายการวิทยุ การจัดรายการโทรทัศน์ การเผยแพร่สื่อสารไปยังประชาชนโดยตรง โดยพูดหรือปราศรัยในที่สาธารณะ การเผยแพร่บนระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การจัดทำเว็บไซด์ อาทิเว็บไซด์ฟ้าเดียวกัน หรือเว็บบอร์ด อาทิเว็บบอร์ดคนเหมือนกัน การเผยแพร่ภาพและบทความ หนังสือ คลิปวิดีโอ อีเมล การจัดรายการวิทยุออนไลน์ รายการโทรทัศน์ออนไลน์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์จุติ ไกรฤกษ์กล่าวว่าตนได้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปิดเว็บไซด์ที่เผยแพร่หรือตัดต่อภาพพระราชวงศ์หรือกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ว่ามีส่วนร่วมในทางการเมืองสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือสนับสนุนการรัฐประหาร
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมอบหมายให้ 3 กระทรวงร่วมมือกันปกป้องไม่ให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระบุว่า เจ้าหน้าที่กำลังเร่งดำเนินการจัดการกับพวกที่จาบจ้วงให้ร้ายป้ายสีสถาบันเบื้องสูง
กรมสอบสวนคดีพิเศษรับคดีขบวนการล้มเจ้าเป็นคดีพิเศษโดยให้ 13 หน่วยงาน ส่งตัวแทนเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมกันทำงานประกอบด้วย
ฝ่ายพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ทวิตข้อความว่ารัฐบาลชอบอ้างและผูกขาดความจงรักภักดี และกล่าวหาคนอื่นว่าไม่จงรักภักดี คนการเมืองต้องไม่เอาสถาบัน มาเป็นเครื่องมือทำลายคู่แข่งทางการเมือง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นของสูงไม่ควรนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อตนเองหรือเพื่อทำลายคนอื่น ผู้ใดทำผู้นั้นไม่รักจริงเพียงหาประโยชน์
หนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทรีบูน ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ ม็อบกับราชบัลลังก์ เตือนว่าการแอบอ้างสถาบันเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของตนเพื่อไปทำลายฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมือง สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทยต้องระคายเคือง อาจเป็นการหว่านเมล็ดของความไม่ไว้วางใจสถาบันพระมหากษัตริย์ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างไม่รู้ตัว