ซีเกมส์ (อังกฤษ: South-East Asian Games; ชื่อย่อ: SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสองปี (ปีเว้นปี) ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA)
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) องค์กรการกีฬา ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ร่วมกันจัดการประชุม เพื่อก่อตั้งองค์กรการกีฬาในระดับภูมิภาค โดยหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อดีตรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย) เสนอว่าควรจัดการแข่งขันกีฬา ระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
สหพันธ์กีฬาแหลมทอง (SEAP Games Federation) จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการสมาชิกผู้ก่อตั้งประกอบด้วย ประเทศไทย มลายา เวียดนามใต้ ราชอาณาจักรลาว พม่า และ ราชอาณาจักรกัมพูชา (หลังจากนั้น สิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย) โดยตกลงร่วมกันว่า จะจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างภูมิภาคขึ้นในทุกสองปี คือกีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือ เซียปเกมส์ (SEAP Games) ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครของไทย ระหว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยมีเจ้าหน้าที่และนักกีฬา จากประเทศไทย มลายา สิงคโปร์ เวียดนามใต้ ลาว และพม่า เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา 12 ชนิด รวมทั้งสิ้น 527 คน สำหรับกัมพูชา เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)
จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) สมาพันธ์กีฬาแหลมทองประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ซีเกมส์ ดังที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งมีมติให้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ บรูไน เข้าเป็นสมาชิกและกรรมการสมาพันธ์อย่างเป็นทางการ จึงได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่ 9 ที่กัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เป็นครั้งแรกด้วย และในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมาพันธ์ฯ มีมติให้ ติมอร์-เลสเต เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในซีเกมส์ครั้งที่ 22 ที่ฮานอยของเวียดนาม
สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 154 กรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ในวาระครบรอบ 48 ปีของซีเกมส์ โดยนับตั้งแต่การแข่งขันกีฬาแหลมทองเป็นต้นมา
เมืองที่เป็นเจ้าภาพสูงสุดถึง 2 ครั้งคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2508 และ 2514 โดยนครหลวงที่เป็นเจ้าภาพมาแล้ว 4 ครั้งมีถึง 3 เมืองคือ กรุงเทพมหานครของไทย (พ.ศ. 2502, 2510 และ 2518), สิงคโปร์ (พ.ศ. 2516) และ ส่วนกรุงย่างกุ้งของพม่า เคยเป็นเจ้าภาพมาสองครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และ 2512 กรุงพนมเปญของกัมพูชา เคยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพเมื่อปี พ.ศ. 2506 แต่เนื่องจากปัญหาภายในประเทศ ก่อนแข่งขันจึงต้องประกาศยกเลิกไป
เมืองที่เป็นเจ้าภาพสูงสุดถึง 4 ครั้งคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2520, 2532, 2544 และ 2560 โดยนครหลวงที่เป็นเจ้าภาพมาแล้ว 1 ครั้งมีถึง 7 เมืองคือ กรุงเทพมหานครของไทย (พ.ศ. 2528), กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2522, 2530, 2540 และ 2554 ร่วมกับเมืองปาเล็มบัง), สิงคโปร์ (พ.ศ. 2526, 2536 และ 2558), กรุงฮานอยของเวียดนาม (พ.ศ. 2564 ร่วมกับเมืองนครโฮจิมินห์) และกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2524, 2534, 2548 และ 2562) ส่วนกรุงย่างกุ้งของพม่า เคยเป็นเจ้าภาพมาสองครั้ง ตั้งแต่ส่วนการแข่งขันในปี พ.ศ. 2556 เมียนมายังคงจัดที่นครหลวง แต่หลังจากประกาศย้ายไปยังกรุงเนปยีดอ และเปลี่ยนชื่อประเทศไปเมื่อปี พ.ศ. 2553
ขณะที่เวียดนามให้กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ เป็นเจ้าภาพร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2546 อนึ่ง ส่วนกรุงบันดาร์เสรีเบกาวันของบรูไน (พ.ศ. 2542), กรุงพนมเปญของกัมพูชา (พ.ศ. 2566) และนครหลวงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว (พ.ศ. 2552) เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วเมืองละหนึ่งครั้ง สำหรับกรณีประเทศไทย การแข่งขันในปี พ.ศ. 2538 จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นซีเกมส์ครั้งแรก ที่จัดแข่งขันนอกนครหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2550 จัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นซีเกมส์ครั้งที่สอง จัดแข่งขันและในปี พ.ศ. 2568 จัดขึ้นที่หาดใหญ่จังหวัดสงขลา