กิ้งก่า (อังกฤษ: Lizard, Iguana, Gecko, Skink) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง
โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae
กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก
กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้
ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี
โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชนิด
กิ้งก่าเป็นสัตว์เลื่อยคลายที่กลุ่ใหญ่ที่สุด มีประมาน 3700 ขนิด อาศัยเกือบทุกสภาพแวดล้อมยกเว้น มหาสมุทร และดินแดนที่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างชนิดของกิ้งก่า 10 ชนิดดังนี้
6. Amblyrhynchus cristatus เป็นกิ้งก่าชนิดเดียวที่อาศัยทะเลเป็นแหล่งอาหาร หลายชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันบนเกาะ
7. Flying gecko ในประเทศไทย พบเฉพาะในป่าดงดิบชื้นในชายแดนภาคตะวันตกติดกับพม่าและภาคใต้ติดกับมาเลเซียเท่านั้น
9. Bipes biporus พบกระจายตั้งแต่อเมริกาใต้ ฟลอริดา ทางตอนใต้ของยุโรป ทวีปอาฟริกาทางตอนเหนือ และตะวันออกกลาง (ยังไม่มีรายงานพบในประเทศ ไทย)
กิ้งก่า สามารถเปลี่ยนสีเพื่ออำพรางตัว ซึ่งเป็นความเข้าใจแบบผิดๆ แต่ความจริงแล้วปัจจัยที่ทำให้กิ้งก่าเปลี่ยนสีนั่นคือ การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจาก กิ้งก่าไม่สามารถสร้างความร้อนในร่างกายได้ และอีกปัจจัยหนึ่งคือด้านอารมณ์ อย่างเช่นในภาวะปกติผิวหนังของ กิ้งก่าคามิเลี่ยน จะแสดงสีเขียว ในขณะที่โกรธจะแสดงสีเหลือง สดใส
ผิวของกิ้งก่าเกือบทั้งหมดมีองค์ประกอบโปรตีน (เคราติน) และ lipids (ไขมัน) เกล็ดจะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์และปกคลุมส่วนใหญ่ของ ร่างกายและแขนขา มันอาจประกอบด้วยส่วนที่เหมือนกัน ประกอบด้วยส่วนที่ต่างชนิดกัน (Bradypodion spp.), ลักษณะเป็นปุ่มคล้ายลูกปัด (Chamaeleo chamaeleon), ลักษณะหยาบ (หลากหลายสายพันธุ์ของกิ้งก่า Chameleons หางสั้น), หรือนิ่มลื่น (Furcifer willsii) หน้าที่เบื้องต้นของผิวหนัง ของกิ้งก่า คือการรักษาความสมบูรณ์มั่นคงของร่างกายมันเป็นแนวกั้น ในการปกป้องอวัยวะภายในและรักษา homeostasis (ความสมดุลของสารเคมีและอุณหภูมิร่างกายภายในที่เหมาะสม) มันยังถูกใช้เป็นสิ่งปิดบังพฤติกรรมซ่อนเร้นและเป็นอวัยวะหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารอีกด้วย(เซลล์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนสี) นั้นไวและทำปฏิกิริยากับรังสี อินฟราเรด, UV, และบางส่วนของแถบคลื่นแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า, แต่บทบาทการปกป้องของ integument (หนังส่วนนอกของกิ้งก่า) มีความจำกัดรักษาน้ำภายในและการควบคุมอุณหภูมิ, ตามที่พวกมันไม่มีต่อม ผลิตไขมันที่สร้าง sebum (สารประกอบทางเคมีหนึ่งที่มีแบคทีเรียค่า pH ต่ำและเป็น ตัวป้องกันน้ำ)
กิ้งก่า ลอกคราบออกเป็นหลายชิ้น การลอกคราบมักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงเวลาการเจริญเติบโตว่ารวดเร็วหรือช้า กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนที่ลอกคราบผิวหนังชั้นนอกจะหลุดออกตามรอยต่อ ระหว่างเกล็ดหรือสะเก็ดหนังกำพร้า (squama) แล้วจึงแยกตัวออกจากผิวหนังที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ ใต้ชิ้นหนังเดิมจะแห้งลงและแข็งขึ้นหลังจากนั้นก็จะหลุดออก ในการลอกคราบอาจใช้เวลาสองสามวันถึงจะเสร็จสิ้น แต่เมื่อบางส่วนของผิวหนังลอกออกไม่หมด กิ้งก่าจะถูออกโดยใช้กิ่งไม้ และเพราะว่าการลอกผิวหนังบน เปลือกตาและจมูกอาจทำให้การมองเห็นมีปัญหา มันจึงพยายามลอกทิ้งอยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ กิ้งก่า ชอบที่จะลอกผิวหนังเพราะพวกมันมักจะกินคราบของตัวเองหรือตัวอื่น
เส้นประสาทรับความรู้สึกพบได้ในผิวหนังของกิ้งก่านอกจากความสามารถรับรู้ทางแสงและความร้อนแล้ว ผิวหนังชั้นนอกของพวกมันยังไวสัมผัสอีกด้วย