กำแพงเมืองเชียงใหม่ หรือ กำแพงเวียงเชียงใหม่ เป็นกำแพงเมืองชั้นในของเวียงเชียงใหม่ สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพญามังราย เพื่อเป็นเมืองหลวงของล้านนา โดยขั้นแรกได้ขุดคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวด้านละประมาณ 1.63 กิโลเมตร และนำดินที่ได้จากการขุดคูเมืองนั้นขึ้นไปถมเป็นแนวกำแพงเมือง โดยเริ่มขุดที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือคือแจ่งศรีภูมิอันเป็นทิศมงคลก่อน แล้วก่ออิฐขนาบสองข้างกันดินพังทลาย ข้างบนกำแพงปูอิฐตลอดแนวทำเสมาไว้บนกำแพงทั้งสี่ด้านและประตูเมืองอีกทั้งสี่แห่ง
กำแพงด้านทิศเหนือ มีความยาวมากที่สุด วัดได้ประมาณ 1.67 กิโลเมตร รองลงมาเป็นกำแพงด้านทิศใต้ วัดได้ 1.63 กิโลเมตร ส่วนกำแพงด้านทิศตะวันออกมีความยาวเท่ากับทิศตะวันตก คือ 1.62 กิโลเมตร
หลังจากที่เชียงใหม่ได้รับอิสรภาพจากพม่า เจ้ากาวิละ ได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 โปรดให้บูรณะกำแพงเมืองเป็นครั้งใหญ่ เป็นกำแพงอิฐที่มีความมั่นคงทนทาน และบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ. 2361 ในรัชสมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2
ในปี พ.ศ. 2491 เนื่องจากกำแพงเมืองเชียงใหม่มีสภาพทรุดโทรมลงอย่างมาก และบางแห่งก็พังเป็นซากปรักหักพัง ทั้งยังมีวัชพืชขึ้นเป็นการรกอย่างมาก อีกทั้งยังบดบังทัศนียภาพของคนที่อยู่นอกกำแพงเมือง ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้เริ่มรื้อกำแพงออก เพื่อสร้างถนนและเส้นทางคมนาคมในตัวเมืองเชียงใหม่
เดิมกำแพงเมืองเชียงใหม่นั้นมีสองชั้น เรียกว่ากำแพงชั้นนอก สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 22 และ กำแพงชั้นในซึ่งเป็นกำแพงแต่เดิมสมัยสร้างเวียง
เป็นประตูของกำแพงเมืองชั้นนอก มีทั้งหมด 7 ประตู เป็นประตูเดิมที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 22 อยู่ 4 ประตู ได้แก่
และเป็นประตูที่สร้างในรัชสมัย พระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 ซึ่งสร้างเพิ่มอีก 3 ประตูได้แก่
คูเมืองเชียงใหม่ อดีตเป็นคูเมืองที่ใช้ป้องกันข้าศึก เป็นแหล่งประมงและแหล่งน้ำสำหรับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งน้ำในคูเมืองเป็นน้ำที่รับมาจากดอยสุเทพ
ในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีกำแพงเมืองแล้ว จึงเรียกแนวกำแพงเมืองเชียงใหม่นี้อย่างเป็นทางการว่า "คูเมือง" ซึ่งคูเมืองเชียงใหม่ เป็นคูน้ำความกว้างราว 10 เมตร (อดีตเคยกว้างสูงสุด 25 เมตร) ลึกสุด 4 เมตร ตลอดคูเมืองจะมีน้ำพุ และจุดกลับรถกั้นเป็นระยะๆ การจราจร รอบนอกเป็นแบบวิ่งรถทางเดียวตามเข็มนาฬิกา ส่วนรอบในวิ่งรถทางเดียวทวนเข็มนาฬิกา อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครเชียงใหม่