ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กำแพงเบอร์ลิน

กำแพงเบอร์ลินเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงสงครามเย็น มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนระหว่างเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตะวันตก กับเยอรมนีตะวันออกที่โอบอยู่โดยรอบ มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนถูกทลายในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532

ในเยอรมนีตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า สงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ

นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมนีตะวันออก ไปยังเยอรมนีตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตที่กำแพงเบอร์ลินขณะหลบหนีระหว่าง 137 ถึง 206 คน

ในปี ค.ศ. 1945 ภายหลังกองทัพนาซีเยอรมัน ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้พ่ายในสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพสัมพันธมิตรได้เข้ายึดครองประเทศเยอรมัน และต่อมา 4 ประเทศมหาอำนาจที่เป็นแกนนำในสงครามครั้งนั้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต ได้ทำสนธิสัญญาในการแบ่งการดูแลประเทศเยอรมันออกเป็น 4 ส่วนภายใต้การดูแลของแต่ละประเทศ และเช่นกัน กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของประเทศ ได้ถูกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ส่วนเช่นเดียวกัน

ปีต่อมา เยอรมนีภายใต้การปกครองของ 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส รวมกันจัดตั้งเป็นประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ เยอรมนีตะวันตก ในขณะที่เยอรมนีส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ได้จัดตั้งเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี หรือ เยอรมนีตะวันออก ในช่วงแรก ประชาชนของทั้งสองประเทศสามารถเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันได้เป็นปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ความแตกต่างระหว่างการปกครองแบบประชาธิปไตยในเยอรมนีตะวันตก และการปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออก มีความแตกต่างที่เด่นชัดขึ้น ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกได้รับการพัฒนา และฟื้นฟูประเทศ อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ที่พังทลายในช่วงสงครามโลกได้รับการบูรณะ ส่วนเยอรมนีตะวันออกทุกอย่างกลับสวนทางกัน ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจทุกอย่างถูกเปลื่ยนมือไปเป็นของรัฐ เป็นเหตุให้ผู้คนพากันอพยพข้ามถิ่นจากเยอรมนีตะวันออก ไปยังเยอรมนีตะวันตกกันมากขึ้น เฉพาะในปี ค.ศ. 1961 เพียงปีเดียว ซึ่งมีข่าวลือว่า ทางเยอรมนีตะวันออกจะปิดกั้นพรมแดนระหว่างสองประเทศ ทำให้ผู้คนกว่า 3 ล้านคน พากันอพยพไปยังเยอรมนีตะวันตก เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออก ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียตได้เร่งสร้างกำแพงกันแนวระหว่างสองประเทศ และรวมไปถึง แนวกำแพงที่ปิดล้อมกรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตกอีกด้วย

ผลจากการย้ายออกของชาวเยอรมันตะวันออก ที่มีมากเกินการควบคุม รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกในขณะนั้น จึงได้สร้างกำแพงกั้นระหว่างประเทศเยอรมนีตะวันออกกับเยอรมนีตะวันตก ว่ากันว่า แนวกำแพงที่กั้นระหว่างสองประเทศนี้ยาวเป็นอันดับสองรองจากกำแพงเมืองจีนทีเดียว

กรุงเบอร์ลิน นครหลวงของประเทศทั้งสอง มีที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเยอรมนีตะวันออก ดังนั้น นครเบอร์ลินฝั่งตะวันตก จึงถูกปิดล้อมด้วยเยอรมนีตะวันออกรอบด้าน ในระยะแรก การเดินทางเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตก เป็นไปโดยเสรี กระทั่งเมื่อมีการอพยพของชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมาก เป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกเร่งสร้างกำแพงเพื่อปิดกั้นการย้ายถิ่นของชาวเยอรมัน ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นวันแรกที่มีการสร้างกำแพงเพื่อปิดล้อมกรุงเบอร์ลินตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นในยุคนั้น

กำแพงเบอร์ลิน ถูกใช้งานเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานี้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบของกำแพงถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะเพิ่มความแข็งแรง และความสูงของกำแพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันตะวันออก เนื่องจากกำแพงกันระหว่างเยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีตะวันตก มีจุดเปราะบางที่สุดที่กรุงเบอร์ลินนี่เอง กำแพงเบอร์ลินทั้ง 4 รุ่นมีพัฒนาการดังนี้

สำหรับประชาชนเยอรมันทั้งตะวันตก และตะวันออก และประชาคมโลกในระบบประชาธิปไตย กำแพงเบอร์ลิน เปรียบเสมือนการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ว่ากันว่า กำแพงเบอร์ลิน เป็นกำแพงแห่งเดียวในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปิดกั้นประชาชนในประเทศของตนจากโลกภายนอก ในขณะที่กำแพงเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกนั้นมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ามารุกรานเสรีภาพของชาวเมือง ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียต ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างกำแพงเบอร์ลิน กลับมองว่า กำแพงเบอร์ลิน คือนวัตกรรมของชนชาติ

ในระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง ในช่วงแรกนั้น การหลบหนีเป็นไปอย่างไม่ยากนัก เนื่องจากกำแพงในช่วงแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ย ๆ และบางส่วนก็กระโดดออกมาทางหน้าต่างของตึกที่อยู่ติดกับกำแพง แต่ไม่นานนักกำแพงก็เปลี่ยนเป็นคอนกรีตที่แน่นหนา ส่วนหน้าต่างตึกต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกำแพงก็ถูกก่ออิฐปิดตาย

หากการสร้างกำแพงเบอร์ลิน คือ นวัตกรรมของชนชาติ การลอบข้ามกำแพงเบอร์ลิน เป็นย่อมเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่กว่า มีการลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินหลายต่อหลายครั้งที่แสดงถึงความสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่ เช่น การข้ามกำแพงด้วยบอลลูน การสร้างสลิงข้ามแนวกำแพงด้วยเวลาไม่ถึง 2 นาที การขุดอุโมงค์ลอดใต้กำแพง ซึ่งสามารถช่วยชาวเบอร์ลินตะวันออกหลบหนีได้มากถึงกว่าร้อยคน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีจุดข้ามแดนบางจุดที่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพสัมพันธมิตร อาทิ จุดข้ามแดนโดยว่ายข้ามแม่น้ำ กองทัพอังกฤษได้หย่อนบันไดลิงไว้ในฝั่งตรงข้ามเพื่อให้ผู้ที่ว่ายน้ำข้ามไปสามารถปีนขึ้นฝั่งได้

ในการลอบข้ามกำแพง เป็นความเสี่ยงที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต ด้วยรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกมีกฎที่ว่าผู้หลบหนีจะถูกยิงทิ้งทันทีที่พบเห็น จำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจากการลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินนั้นยังไม่แน่ชัดนัก บางแหล่งระบุว่ามี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ขณะที่บางแหล่งข้อมูลกลับมีตัวเลขผู้เสียชีวิตเพียง 136 คน บางแหล่งข้อมูลกับมีตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงถึง 246 คน และในวิกีพีเดียภาษาอังกฤษได้ระบุตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ 100 - 200 คน เหตุที่เป็นดังนี้ เนื่องจากทางรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกไม่ได้ทำรายงานเรื่องนี้ และเมื่อมีผู้เสียชีวิตในการลอบข้ามกำแพง ทางการก็ไม่ได้แจ้งข่าวแก่ครอบครัวอีกด้วย

เหตุการณ์เสียชีวิต ณ กำแพงเบอร์ลิน ครั้งที่โด่งดังที่สุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) เมื่อนายปีเตอร์ เฟตช์เตอร์ (Peter Fechter)เด็กหนุ่มที่ลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินถูกยิง และปล่อยให้เลือดไหลจนตายต่อหน้าสื่อมวลชนตะวันตก เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการต่อต้านกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวัน ผู้หลบหนีรายสุดท้ายที่ถูกยิงตายคือนาย Chris Gueffroy เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)

ในปี ค.ศ. 1989 ตรงกับยุคที่ นายมีฮาอิล กอร์บาชอฟ เป็นประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต ได้มีการทดลองการปฏิรูปการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ในเยอรมนีตะวันออก ได้มีการชุมนุมประท้วงใหญ่อย่างสงบขึ้นโดยเฉพาะในเมือง โพสต์ดัม ไลพ์ซิจ และเดรสเดน เริ่มต้นในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1989 และดำเนินเรื่อยมา เป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้รับความกดดันเป็นอย่างมาก กระทั่งได้มีการประกาศว่า จะเปิดพรมแดนให้ชาวเยอรมันสามารถเดินทางผ่านแดนได้อย่างอิสระ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ในวันดังกล่าวชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากได้มารวมตัวกัน ณ กำแพงเบอร์ลิน เพื่อข้ามผ่านแดนไปยังเบอร์ลินตะวันตกครั้งแรกในรอบ 28 ปี จึงถือเอาวันดังกล่าว เป็นวันล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน

มีบางแหล่งข้อมูลอ้างว่า ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นาย G?nter Schabowski รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Minister of Propaganda) ของเยอรมนีตะวันออกได้แถลงข่าว (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเขาเอง) ว่าทางการจะอนุญาตให้ชาวเบอร์ลินตะวันออก ผ่านเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง ทันใดนั้นเอง ผู้คนนับหมื่นที่ได้ทราบข่าวก็ได้หลั่งไหลไปยังด่านต่าง ๆ ของกำแพง. หลังจากความโกลาหลอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับคำสั่งใด ๆ จากทางการ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องยอมปล่อยให้ฝูงชนผ่านเขตแดนไปอย่างไม่มีทางเลือก ชาวเบอร์ลินตะวันตกออกมาต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก บรรยากาศในเช้ามืดวันนั้นเหมือนงานเฉลิมฉลอง

ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทำลายบางส่วนโดยชาวเยอรมัน และชาวยุโรป แต่การทำลายกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นทางการ เริ่มเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2533 แต่กระนั้นยังคงอนุรักษ์กำแพงบางช่วงไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ นอกจากนี้ ยังมีการประมูลจำหน่ายชิ้นส่วนกำแพงเบอร์ลิน และได้มีการมอบชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลินไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่สำคัญ ๆ อีกหลายแห่ง อาทิ ด้านหน้าสภายุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม พิพิธภัณฑ์นิวเซียม กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอมริกา พิพิธภัณฑ์จอห์น เอฟ เคนเนดี และพิพิธภัณฑ์โรแนล เรแกน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944