ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กาฬโรคระบาดในยุโรป

แบล็กเดท (อังกฤษ: Black Death) หรือ กาฬมรณะ เป็นโรคระบาดทั่วครั้งที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว 75 ถึง 200 ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี 1348–50 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรปตอนเหนือและใต้บ่งชี้ว่า จุลชีพก่อโรคอันเป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งอาจก่อกาฬโรคได้หลายแบบ

คาดว่าแบล็กเดทเริ่มต้นในจีนหรือเอเชียกลาง จากนั้นแพร่มาตามเส้นทางสายไหมและถึงไครเมียในปี 1346 และหมัดหนูตะวันออก (Xenopsylla cheopis) ซึ่งอาศัยอยู่ในหนูดำอันอยู่บนเรือพาณิชย์ทั่วไป น่าจะเป็นตัวนำโรคจากไครเมีย กาฬโรคได้แพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียนและทวีปยุโรป ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็น 30–60% ของประชากรทั้งทวีปยุโรป กาฬโรคลดประชากรโลกจากที่ประเมินไว้ 450 ล้านคน ลงเหลือ 350–375 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14

กาฬโรคมีผลต่อเส้นทางประวัติศาสตร์ยุโรป ก่อให้เกิดทั้งกลียุคทางศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ ประชากรยุโรปกว่าจะกลับคืนจำนวนก็ใช้เวลา 150 ปี กาฬโรคอุบัติซ้ำเป็นครั้งคราวในทวีปยุโรปกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19

บันทึกเกี่ยวกับโรคนี้จากช่วงเวลาของการระบาดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากหรือไม่เช่นนั้นก็มีความคลาดเคลื่อน อาการที่มีบันทึกไว้บ่อยที่สุดคือการพบฝีมะม่วงที่ขาหนีบ คือ หรือรักแร้ ซึ่งฝีนี้มีหนองซึม เมื่อผ่าเปิดแล้วมีเลือดออก บอคคาจิโอได้บรรยายฝีนี้ไว้ดังนี้

ในชายในหญิงก็หามีความแตกต่างกันไม่ เขาทั้งหลายเมื่อแรกเริ่มแพ้ภัยจักมีก้อนเนื้อจำพวกหนึ่งขึ้นที่ขาหนีบหรือไม่ก็รักแร้ บางจำพวกโตใหญ่จนมีขนาดเท่าแอปเปิ้ลทั่วไปผลหนึ่ง จำพวกอื่นโตเพียงเท่าไข่ เมื่อขึ้นที่ตำแหน่งที่กล่าวไว้แล้วนี้เจ้าฝีอันตรายนี้จะแพร่ลามไปตำแหน่งอื่นในไม่ช้า แพร่ไปทุกทิศทาง เมื่อถึงตอนนี้โรคร้ายนี้เริ่มมีอาการเปลี่ยน ขึ้นเป็นจุดดำหรือจุดแดงเข้มที่แขนหรือต้นขาหรือที่อื่นของผู้ป่วยหลายคน บ้างขึ้นน้อยที่แต่มีขนาดใหญ่ บ้างขึ้นหลายที่แต่มีขนาดเล็ก

ผู้คนในสมัยกลางเรียกความหายนะในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ว่า "Great Pestilence (โรคระบาดครั้งใหญ่) " หรือ "Great Plague (กาฬโรคครั้งใหญ่) " นักเขียนร่วมสมัยเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "Great Mortality (การตายครั้งใหญ่) " บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของประเทศสวีเดนและเดนมาร์กในคริสต์ศตวรรษที่ 17 บรรยายถึงเหตุการณ์โดยใช้คำว่า "black (สีดำ) " เป็นครั้งแรก แต่คำนี้ไม่ได้สื่อถึงอาการขั้นสุดท้ายของโรคที่ผิวหนังของผู้ป่วยจะมีสีดำเนื่องมาจากเลือดออกใต้ชั้นหนังกำพร้า เนื้อตายเน่าบริเวณแขนและขา และการตายของเนื้อเยื่อบริเวณกระเบนเหน็บ มันหมายถึงสีดำในอารมณ์หม่นหมองโศกเศร้าหรือสะพรึ่งกลัวที่แสดงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ฟรังซีส ไอแดน กาสเกต (Francis Aidan Gasquet) อ้างว่า ชื่อในภาษาละติน "atra mors" (Black Death) ที่ใช้อ้างถึงโรคระบาดปรากฏครั้งแรกในสมัยใหม่เมื่อ ค.ศ. 1631 ในหนังสือประวัติศาสตร์เดนมาร์กโดย เจ.ไอ. พอนเทนนัส (J.I. Pontanus) ซึ่งพอนเทนนัสเขียนถึงโรคระบาดที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1348: "Vulgo & ab effectu atram mortem vocatibant." (จากอาการทั่วไปของโรค มันจึงถูกเรียกว่าความตายสีดำ) อย่างไรก็ดี กาสเกตสงสัยว่าพอนเทนนัสน่าจะหมายถึงกาฬโรคที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมและอักเสบ อย่างไรก็ตาม ชื่อแพร่กระจายผ่านทางกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียนไปถึงยอรมนี ในประเทศอังกฤษ คำนี้ไม่ปรากฏจนกระทั่ง ค.ศ. 1823 เมื่อเกิดโรคระบาดในสมัยกลางและมันถูกเรียกว่าแบล็กเดท

กาฬโรค มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เยอซิเนีย แพสทิซ (Yersinia pestis) ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนูในแถบตอนกลางของเอเชีย แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเป็นที่ใด ที่เริ่มมีการระบาดร้ายแรงในช่วงศตวรรษที่ 14 ทฤษฎีหนึ่งที่น่าเชื่อถือ กล่าวไว้ว่า ในทุ่งกว้างแถบเอเชีย ประมาณช่วงตอนบนของประเทศจีน จากที่นั่นเดินทางมาจากทั้งทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตกทาง ไปตามเส้นทางสายไหม ซึ่งพวกกองทัพและพ่อค้ามองโกล สามารถใช้เส้นทางการค้านี้ได้ฟรี จากบารมีของราชอาณาจักรมองโกล ภายใต้สนธิสัญญาแพค มองโกลลิกา (Pax Mongolica) ที่จะรับรองความปลอดภัย ซึ่งมีคำเปรียบเปรยไว้ว่า "แม้หญิงใดเดินเปลือยกายผ่านเส้นทางนี้ก็จะปลอดภัย แม้ชายใดถือทองคำ ใส่กระจาดทูนไว้บนหัวก็จะไม่ถูกปล้น"

ที่เมืองศูนย์กลางการค้า แคฟฟา (Feodosiya) ในประเทศ คริเมีย (Crimea) ในปี 1347 ภายหลังจากการโอบล้อมโจมตี ของกองทัพมองโกล ภายใต้การนำของ จานิ แบ็ค (Jani Beg) ทางฝ่ายกองทัพมองโกลต้องเผชิญกับกาฬโรค พวกเขาจึงได้ใช้ยุทธวิธี ยิงศพที่ติดเชื้อกาฬโรค เป็นกระสุนปืนใหญ่ข้ามกำแพงเมืองไป เพื่อทำให้โรคระบาดแพร่กระจายเข้าไปยังชาวเมืองที่อยู่ในตัวเมือง พวกพ่อค้าชาว จีนัว (Republic of Genoa) ต่างพากันหลบหนี และได้นำเอากาฬโรคไปด้วย ผ่านทางเรือเดินสมุทร ไปที่ซิซิลี และตอนใต้ของยุโรป ซึ่งเป็นที่ ๆ พบการแพร่ระบาด

ไม่ว่าข้อสันนิษฐานนี้จะถูกต้องหรือไม่ แต่เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า เหตุการณ์ก่อนหน้านั้นหลายอย่าง อย่างเช่น สงคราม ความอดอยาก สภาพอากาศที่เลวร้าย มีส่วนช่วยให้เหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีเช่นนี้ คล้ายกับสงครามที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน ระหว่างกองทัพของจีน กับกองทัพมองโกลที่มารุกราน ในช่วงปี 1205-1353 สงครามนี้ขัดขวางการทำเกษตรกรรมและการค้าขาย ทำให้เกิดภาวะอดอยากไปทั่วทุกสารทิศ และยังมีเหตุการณ์ยุคน้ำแข็งน้อย ที่กล่าวถึงสภาวะอากาศที่เลวร้ายอย่างมาก ในช่วงต้นถึงช่วงกลางของศตวรรษที่ 14 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก

ในช่วงปี 1205-1322 เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารไปทั่วทั้งยุโรปตอนบน (Great Famine of 1315–1317) ซึ่งทำให้ไม่มีอาหารเพียงพอจะยังชีพ และราคาอาหารที่สูงมากจนเกินกว่าจะรับได้ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวยุโรปมาร่วม 100 ปี ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของกาฬโรค ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต หญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ และสินค้าจากปศุสัตว์ล้วนแล้วแต่ขาดแคลนทั้งสิ้น ภาวะเช่นนี้ ส่งผลต่อความหิวโหย และขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังสุขภาพร่างกาย และภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่ด้อยประสิทธิภาพลง เศรษฐกิจของยุโรป ตกอยู่ในวงจรอุบาทของความหิวโหยเป็นเวลานาน แม้โรคภัยธรรมดายังส่งผลกกระทบ ต่อชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ทำให้อ่อนแอลง กำลังการผลิตลดลง ทำให้การส่งออกมีปัญหา ส่งผลให้ราคาสินค้ายิ่งถีบตัวสูงขึ้น

ไข้ไทฟอยด์ที่มาจากน้ำที่ไม่สะอาดระบาดมาก่อน ทำให้ชนพื้นเมืองนับพันล้มตายลง บางครั้งโรคแอนแทร็กซ์ ก็จู่โจมสัตว์เลี้ยงในยุโรป โดยโรคแอนแทร็กซ์นี้จะมุ่งเป้าโจมตีไปที่ แกะ และพวกปศุสัตว์ ทำให้ปริมาณอาหาร และรายได้ของเกษตรกรยิ่งลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอย และส่งผลกระทบในวงกว้างไปทั่วทั้งยุโรป เพราะว่าเมื่อแกะจำนวนมากล้มตายลง ประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และแปรรูปจากขนแกะอย่างอังกฤษก็ต้องล้มตามไปด้วย ภาวะว่างงานของแรงงาน ยังไปเพิ่มอาชญากรรม และความยากจน ให้เป็นปัจจัยเสริม ความรุนแรงของเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ท อีกด้วย

จากประวัติศาสตร์ การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศจีนในช่วงปี ค.ศ. 1330 กาฬโรคเริ่มระบาดในแถบหูเป่ย ในปี ค.ศ. 1334 และเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักในระหว่างปี ค.ศ. 1353-1354 จากบันทึกเก่าแก่ของจีน บันทึกไว้ว่า การแพร่ระบาดได้กระจายไปใน 8 พิ้นที่ของจีน ได้แก่ หูเป่ย เจียงซี ซานซี หูหนาน กวางตง กวางซี เหอหนาน และซุยยวน เพียงแต่ว่าข้อมูลนี้ได้มาจากผู้ที่รอดชีวิตจากยุคนั้น และยังไม่มีการศึกษาเพิ่มเติมในเบื้องลึก ซึ่งคาดว่ากองคาราวานพ่อค้าชาวมองโกล จะเป็นผู้นำเอากาฬโรคที่ระบาดที่เอเชียตอนกลาง มายังยุโรป

ในเดือนตุลาคม ปี 1347 กองเรือสินค้าที่อพยพมาจากเมือง เคฟฟา (Caffa) มาที่ท่าเรือ เมซซิน่า (Messina) ประเทศอิตาลี่ ในเวลาที่เรือเทียบท่า ลูกเรือทุกคนติดเชื้อหรือเสียชีวิตแล้ว จึงสัณนิษฐานได้ว่า เรือได้นำเอาหนูติดเชื้อที่เป็นพาหะนำโรคมาด้วย เรือบางลำยังไม่เทียบท่า แต่กลายเป็นเรือร้างลอยลำอยู่กลางน้ำ เพราะว่าทุกคนเสียชีวิตหมด พวกโจรสลัดที่เข้าไปปล้นเรือ ก็ได้ช่วยให้กาฬโรคแพร่ระบาดอีกทางหนึ่ง การระบาดได้กระจายจาก จีนัว (Genoa) และ เวนิช (Venice) ในช่วงปี 1347-1348

จากประเทศอิตาลี แพร่ระบาดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามยุโรป จู่โจมฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคมปี 1348 หลังจากนั้น ก็แพร่ไปกระจายไปทาง ทิศตะวันออกไปยังประเทศเยอรมนี และแถบสแกนดิเนเวีย (Scandinavia) ในช่วงปี 1348-1350 มีการพบการระบาด ที่นอร์เวย์ในปี 1349 และในที่สุดก็ระบาดลุกลามไปยังแถบตะวันตกเฉียงเหนือ ของรัสเซียในปี 1351 แต่อย่างไรก็ตามการระบาดก็ได้แพร่กระจายไปทั่ว ไม่ว่าจะที่ยุโรป โปแลนด์ เบลแยี่ยม หรือแม้กระทั่งเนเธอร์แลนด์

กาฬโรคแพร่กระจายไปในหลายประเทศ ในแถบตะวันออกกลาง ส่งผลให้เกิดการลดจำนวนลงของประชากรอย่างยิ่งยวด และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคมไปตลอดนับจากนั้น โดยแพร่ระบาดมาจากทางตอนใต้ของรัสเซีย ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1347 การแพร่ระบาดได้เข้าไปถึงเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ บางทีอาจผ่านทางเมืองท่า จากการค้าขายกับ คอนสแตนติโนเปิล และเมืองท่าแถบทะเลดำ ในช่วงปี 1348 การระบาดได้ลุกลามไปทางตะวันออกถึงกาซา และไปทางเหนือ ตลอดชายฝั่งทางตะวันออกของ เลบานอน ซีเรีย ปาเลสไตน์ รวมไปทั้งแอชเคลอน อาช เยรูซาเล็ม ซิดอน ดามัสคัส ฮอมส์ อเลปโป และในปี 1348-1349 โรคระบาดก็ได้เข้าไปถึง แอนทิออช ซึ่งชาวเมืองได้พากันอพยพหนีไปทางทิศเหนือ และส่วนมากจะเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง

นครเมกกะ กลายเป็นแหล่งแพร่ระบาดในปี 1349 ซึ่งในปีเดียวกันนี้เอง จากบันทึกได้แสดงให้เห็นถึง เมืองโมซุลที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะโรคระบาดร้ายแรง และนครแบกแดดต้องพบกับการแพร่ระบาดรอบสองในปี 1351 เยเมนก็ประสบปัญหาเดียวกัน อันเนื่องมาจากกษัตริย์ มูจาฮิด ของเยเมน ถูกจองจำที่กรุงไคโร ประเทศอิยิปต์ โดยคณะผู้ติดตามของกษัตริย์ มูจาฮิด ได้ติดเชิ้อกาฬโรคจากประเทศอิยิปต์ และอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังที่อื่น ๆ

มีการประมาณผู้เสียชีวิตจากเหตุการ เดอะ แบล็กเด็ธ ที่เป็นชาวยุโรปอย่างน้อย 1/4 ถึง 2/3 ของประชากรชาวยุโรปทั้งหมด ในระหว่างช่วงปี 1348-1350 หมู่บ้านเล็ก ๆ ตามชนบทมีประชากรลดลง ผู้รอดชีวิตส่วนมากจะพากันอพยพเข้าตัวเมืองที่ใหญ่กว่า แล้วทิ้งหมู่บ้านไป จนเป็นหมู่บ้านร้าง เดอะ แบล็กเด็ธ จู่โจมไปถึงวัฒนธรรมอย่างรุนแรง หมู่บ้านที่เคยมีคนอาศัยอยู่มากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีคนอาศัยอยู่เบาบางและโดดเดี่ยว อย่างโปร์แลนด์ (Poland) กับลิธูเนีย (Lithuania) ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย ส่วนพื้นที่อื่นอย่าง ฮังการี่ (Hungary) เบลเยี่ยม เขอาณาจักรดยุคแห่งบราบองต์ แอโน (County of Hainaut) ลิมเบิร์ก (Limbourg) ซานเตียโกเดโกมโปสเตลา (Santiago de Compostela) กลับไม่ได้รับผลกระทบโดยไม่ทราบสาเหตุ นักประวัติศาสตร์ได้พยายามหาเหตุผลมาอธิบายไว้ว่า มีกลุ่มผู้ที่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของกาฬโรคได้

อย่างไรก็ตามพื้นที่เหล่านี้ก็ถูกเล่นงาน ในการแพร่ระบาดใหญ่รอบที่ 2 ในปี 1360-1363 ซึ่งเริ่มมีกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถ ในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาด ของกาฬโรคขึ้นมาหลายกลุ่มแล้ว ส่วนพื้นที่อื่นที่เป็นที่อพยพหนีกาฬโรคจะเป็น เขตพิ้นที่ภูเขาโดดเดี่ยว เพราะว่าเขตตัวเมืองที่มีขนาดใหญ่ มีความหนาแน่นของประชากรสูง จะมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อกาฬโรคได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะเมืองในเขตที่สกปรก เต็มไปด้วยแมลงปรสิตอย่าง เห็บ หมัด หนู รวมไปถึงสภาพความอดอยากและ ไม่มีสุขอนามัยที่ดีพอ

ในประเทศอิตาลี เมือง ฟลอเรนซ์ (Florence) ในช่วงปี 1338 มีประชากรอยู่ประมาณ 110000-120000 คน ถูกกาฬโรคเล่นงานจนเหลือประชากรเพียง 50000 คนในปี 1351 ที่ ฮัมบูร์ก (Hamburg) กับ เบรเมน (Bremen) ประชากรเสียชีวิตจากกาฬโรคไปราว ๆ 60%-70% ของประชากรทั้งหมด ในพื้นที่อื่น ๆ บางพื้นที่ ประชากร 2/3 ตายเรียบ ที่อังกฤษมีผู้เสียชีวิตจากกาฬโรคราว 70% ซึ่งทำให้ประชากรลดลงจาก 7 ล้านคน เหลือเพียง 2 ล้านคนในปี 1400

กาฬโรคมีผลต่อประชากรทุกระดับชั้นโดยไม่ไว้หน้า ไม่ว่าจะเป็นคนระดับล่างที่อยู่ในที่สกปรก หรือชนชั้นสูง พระเจ้าอัลฟองโซที่ 11 แห่งคาสตีล (Alfonso XI of Castile) เป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่เสด็จสวรรคตจากกาฬโรค ปีเตอร์ ออฟ อารากอน (Peter IV of Aragon) สูญเสียภรรยา ลูกสาว และหลานสาวใน 6 เดือน จักรพรรดิไบเซนไทน์ สูญเสียลูกชาย ในขณะที่อยู่ในราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Ancien R?gime in France) โจน ออฟ นาวาร์ (Joan II of Navarre) ก็เป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียง ที่เสียชีวิตจากกาฬโรคเช่นกัน

รัฐบาลของยุโรปไม่มีนโยบายที่แน่ชัด ในการรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อกาฬโรค เพราะว่าไม่มีใครรู้สาเหตุของการแพร่ระบาด พวกผู้มีอำนาจปกครองส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีห้ามการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค กวาดล้างตลาดมืด ควบคุมราคาธัญพืช และการหาปลาบริเวณกว้างแบบผิดกฎหมาย ความพยายามต่าง ๆ นา ๆ นี้ส่งผลกระทบไปถึง ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ อย่างเช่น อังกฤษไม่สามารถนำเข้าธัญพืชจากฝรั่งเศสได้ เพราะฝรั่งเศสระงับการส่งออก อีกทั้งยังผู้ผลิตส่วนมากไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เต็มที่ เพราะว่าขาดแคลนแรงงาน ซ้ำร้ายผลผลิตที่เตรียมส่งออกแต่ถูกระงับ ก็ถูกปล้นสะดมโดยพวกโจรสลัด และหัวขโมยที่จะเอาไปขายต่อในตลาดมืด ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ค่อนข้างใหญ่อย่างอังกฤษ และสก็อตแลนด์ก็ตกอยู่ในช่วงภาวะสงคราม และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการรับมือ ปัญหาสินค้าราคาสูง

ในปี 1337 อังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ในช่วงสงครามที่รู้จักกันในชื่อ สงครามร้อยปี จากงบประมาณที่ร่อยหรอ ผู้คนล้มตายจำนวนมาก บ้านเมืองถูกทำลายจากภาวะสงคราม ความอดอยากหิวโหย โรคระบาด และเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ภาวะช่วงกลางของศตวรรษที่ 14 นี้ของยุโรป เหมือนตกอยู่ในฝันร้าย

กาฬโรคไม่เพียงแต่ทำให้ประชากรล้มตายราวใบไม้ร่วง จนกระทั่งจำนวนประชากรโดยเฉลี่ย ลดลงเท่านั้น แต่มันยังส่งผลทางโครงสร้างเศรษฐกิจที่ผิดคาดอีกด้วย นักประวัติศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ เฟอร์นัล บรูเดล (Fernand Braudel) ได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ไว้อย่างน่าสนใจว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ระหว่างภายหลังศตวรรษที่ 14 กับช่วงศตวรรษที่ 15 ศาสนจักรเสื่อมอำนาจลง ผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคมเปลี่ยนจากพวกศาสนจักร เป็นสามัญชน และทำให้เกิดการประท้วงของชนชั้นสามัญไปทั่วทั้งยุโรป

ยุโรปก่อนหน้านี้เคยประสบปัญหาภาวะประชากรล้นเมือง มีความเห็นว่าจากเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ทำให้ประชากรลดลงราว 30%-50% ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น มีที่ดินและอาหารเพียงพอจัดสรรให้ชนชั้นสามัญ แต่ว่า ความเห็นนี้ยังเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอยู่ เพราะว่าประชากรชาวยุโรป เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1420 จนกระทั่งเริ่มเพิ่มขึ้นอีกทีในปี 1470 ดังนั้นเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ จึงยังไม่มีเหตุผลสนับสนุนที่มีน้ำหนักพอ กับประเด็นที่ว่ามีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจพัฒนาขึ้นหรือไม่

การสูญเสียประชากรอย่างมาก ทำให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงแรงงานระหว่างเจ้าของที่ดิน (landlords) โดยเพิ่มค่าแรง และสวัสดิการแรงงานเพื่อดึงดูดใจแรงงานที่มีอยู่อย่างจำกัด จากภาวะขาดแคลนแรงงานนี้เอง ทำให้ชนชั้นสามัญมีโอกาสเรียกร้องสิทธิที่มากขึ้น และเป็นเวลากว่า 120 ปี ประชากรชาวยุโรปจึงจะเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406