การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นคำที่ใช้เรียก หนังสือการ์ตูน หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะของการ์ตูนญี่ปุ่น ตัวละครในเนื้อเรื่องจะมีลักษณะเฉพาะตัว และเนื้อเรื่องที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากแล้ว ภาพของคนและสัตว์ที่ปรากฏในการ์ตูนญี่ปุ่นมักจะมีสัดส่วนผิดเพี้ยนไปจากความจริง เช่นมีทรวดทรงที่เล็ก-ใหญ่กว่าปกติ หรือดวงตาที่โตกว่าปกติ แตกต่างจากการ์ตูนฝั่งตะวันตกที่มักจะเขียนภาพคนและสัตว์ออกมาในลักษณะเหมือนจริง ในภาษาญี่ปุ่นและหลายประเทศที่รับเอาวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นเข้าไปจะเรียกหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นศัพท์เฉพาะว่า มังงะ (ญี่ปุ่น: ?? manga ?) และเรียกภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่นว่า อะนิเมะ (ญี่ปุ่น: ??? anime ?) (ตัดทอนมาจากคำว่า Animation ในภาษาอังกฤษ)
การ์ตูนญี่ปุ่นยุคแรก ได้เข้ามาประเทศไทยประมาณช่วงปี พ.ศ. 2508-2525 การ์ตูนเรื่องแรกที่นำเข้ามาฉายครั้งแรก คือ เรื่องเจ้าหนูลมกรด ในปี 2508[ต้องการอ้างอิง] ทางช่อง 4 บางขุนพรหม เรื่องที่ได้รับความนิยมในช่วงต้นได้แก่ หน้ากากเสือ เจ้าหนูอะตอม (ในสมัยนั้นใช้ชื่อว่า เจ้าหนูปรมาณู) ส่วนหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาตั้งแต่ ปี 2514 และสนพ.ต่าง ๆ เริ่มให้สนใจพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นจำหน่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงปี 2520 - 2525 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงยุคทองของนักอ่านการ์ตูน มีเรื่องที่โด่งดังที่สุด คือ โดราเอมอน เและต่อจากนั้นการ์ตูนญี่ปุ่นมากมายก็เดินแถวเข้าประเทศไทยอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
การ์ตูนที่เป็นที่รู้จักในยุคนั้น ได้แก่ รินที่รัก แคนดี้ คอบร้า คำสาปฟาโรห์ กุหลาบแวร์ซายส์ โดราเอมอน นินจาฮาโตริ ผีน้อยคิวทาโร่ ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่ คินิคุแมน เซนต์เซย่า กันดั้ม มาครอส ดราก้อนบอล ทั้งในรูปแบบของหนังสือการ์ตูนและภาพยนตร์การ์ตูน โดยช่อง 9 นำมาฉายเป็นประจำในช่วงตอนเช้าวันเสาร์และวันอาทิตย์ รวมถึงวันหยุดราชการที่สำคัญ และต่อมาช่องต่าง ๆ ได้นำการ์ตูนญี่ปุ่นมาฉาย เช่น ช่อง 3 เรื่องที่นำมาฉายได้แก่ ชินจัง ฮิคารุเซียนโกะ Yu-Gi-Ohเกมกลคนอัจฉริยะ เป็นต้น ช่อง 5 เรื่องที่นำมาฉายได้แก่ เมก้าแมน เป็นต้น ช่อง TITV เรื่องที่นำมาฉายได้แก่ วันพีช เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก แอร์เกียร์ ขาคู่ทะลุฟ้า ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส เป็นต้น