ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การ์กาซอน

1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ

การ์กาซอน (ฝรั่งเศส: Carcassonne ฟังเสียง; อ็อกซิตัน: Carcassona) มีกำแพงป้องกันเมืองล้อมรอบที่ตั้งอยู่จังหวัดโอดในอดีตแคว้นล็องก์ด็อกในประเทศฝรั่งเศส เมืองการ์กาซอนแยกออกเป็นสองส่วน “Cit? de Carcassonne” (ไทย: การ์กาซอนเก่า) ซึ่งเป็นบริเวณเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง และ “ville basse” (ไทย: การ์กาซอนใหม่) ซึ่งเป็นบริเวณปริมณฑลรอบตัวเมืองเก่า ที่มาของการ์กาซอนมาจากตำนานพื้นบ้านที่กล่าวว่าหลังจากประมุขของปราสาทชื่อ “การ์กัส” สามารถยุติการล้อมเมืองได้ก็ทำการสั่นระฆังเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง “Carcas sona” แต่การสร้างเป็นประติมากรรมฟื้นฟูกอธิคบนคอลัมน์บนประตูนาร์บอนเป็นของใหม่ ป้อมปราการที่บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดในปี ค.ศ. 1853 โดยสถาปนิกเออแฌน วียอเล-เลอ-ดุ๊กได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1997

การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในภูมิภาคการ์กาซอนเริ่มขึ้นราว 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่เนินการ์ซัก (Carsac) ซึ่งเป็นภูมินามภาษาเคลต์ใช้เป็นชื่อในบริเวณอื่นทางตอนใต้ กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญทางการค้าขายมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ต่อมาชนเผ่า Volcae Tectosages ก็สร้างกำแพงป้องกันล้อมรอบขึ้นเป็น “โอพพิดัม”

การ์กาซอนกลายเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์เมื่อโรมันทำการสร้างระบบป้องกันบนเนินราว 100 ปีก่อนคริสต์ศักราชและในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็น “เมืองโรมันระดับนิคม” ชื่อ “จูเลีย คาร์ซาโค” (Julia Carsaco) ที่ต่อมาเปลี่ยนเป็น “การ์กาซุม” (Carcasum) ส่วนสำคัญของตอนล่างของกำแพงเมืองทางตอนเหนือมีอายุมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมกอล-โรมัน ในปี ค.ศ. 462 โรมันยกเซ็พติเมเนียอย่างเป็นทางการให้แก่พระเจ้าธีโอโดริคที่ 2 กษัตริย์แห่งชาววิซิกอธผู้ครองการ์กาซอนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 453 พระเจ้าธีโอโดริคทรงสร้าง ระบบการป้องกันขึ้นใหม่ในบริเวณการ์กาซอน ซึ่งเป็นที่มั่นชายแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรชายแดนเหนือ (northern marches) ซึ่งยังคงมีร่องรอยเหลืออยู่ให้เห็น นอกจากนั้นก็ยังเชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้สร้างคริสต์ศาสนสถานก่อนหน้าที่จะกลายมาเป็นบาซิลิกาที่ในปัจจุบันอุทิศให้แก่นักบุญนาซาเรียส ในปี ค.ศ. 508 ชาววิซิกอธก็สามารถได้ชัยชนะโจมตีของกษัตริย์แฟรงค์โคลวิสที่ 1 ได้ ซาราเซนจากบาร์เซโลนายึดการ์กาซอนได้ในปี ค.ศ. 725 แต่สมเด็จพระเจ้าเปแปงเดอะชอร์ททรงสามารถขับซาราเซนออกจากการ์กาซอนได้ในระหว่างปี ค.ศ. 759 ถึงปี ค.ศ. 760 แม้ว่าสมเด็จพระเจ้าเปแปงเดอะชอร์ทจะทรงยึดดินแดนต่างทางตอนใต้ของฝรั่งเศสได้แทบทั้งสิ้นแต่พระองค์ก็ไม่ทรงสามารถบุกเข้ายึดป้อมปราการการ์กาซอนได้

ในยุคกลางอาณาจักรเคานท์แห่งการ์กาซอนมีอำนาจปกครองเมืองและบริเวณใกล้เคียง โดยทั่วไปแล้วการ์กาซอนก็มักจะเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรเคานท์แห่งราเซส์ ที่มาของการเป็นอาณาจักรเคานท์ของการ์กาซอนก็อาจจะมาจากการมีผู้แทนท้องถิ่นของวิซิกอธ แต่เคานท์คนแรกที่มีหลักฐานบันทึกชื่อเบลโล เคานท์แห่งการ์กาซอนในสมัยของชาร์เลอมาญ เคานท์เบลโลก่อตั้งตระกูลเบลโลนิดส์ (Bellonids) ผู้ปกครอง “honores” หลายแห่งในเซ็พติเมเนียและกาตาลุญญาเป็นเวลาราวสามร้อยปี

ในปี ค.ศ. 1067 การ์กาซอนก็กลายเป็นสมบัติของแรมง แบร์นาร์ ทร็องกาแวล ไวส์เคานท์แห่งอาลบี และนีมส์โดยสมรสกับแอร์มองการ์ดน้องสาวของเคานท์แห่งการ์กาซอนคนสุดท้าย ในช่วงหลายร้อยปีต่อมาตระกูลทรองคาเวลก็เป็นพันธมิตรกับไม่เคานท์แห่งบาร์เซโลนาก็เคานท์แห่งตูลูส และได้ทำการสร้าง “Ch?teau Comtal” (ไทย: วังเคานท์) และ บาซิลิกาแซงต์นาแซร์ ในปี ค.ศ. 1096 สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ทรงเจิมศิลาฤกษ์ของมหาวิหารใหม่ที่เป็นมหาวิหารที่มั่นของโรมันคาทอลิกในการต่อต้านฝ่ายคาทาร์

การ์กาซอนกลายมามีบทบาทความสำคัญระหว่างสงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียนเมื่อตัวเมืองกลายเป็นที่มั่นของอ็อกซิตันคาทาร์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1209 กองทัพครูเสดของไซมอนเดอมอนต์ฟอร์ต เอิร์ลแห่งเลสเตอร์ที่ 5 บังคับให้ชาวเมืองยอมจำนน หลังจากทำการจับกุมและคุมขังแรมง-รอเฌ เดอ ทร็องกาแวลและปล่อยให้เสียชีวิตแล้ว ไซมอนเดอมอนฟอร์ทก็ตั้งตนเป็นไวเคานต์ และสร้างเสริมระบบป้อมปราการ การ์กาซอนกลายที่มั่นชายแดนระหว่างฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอารากอน (สเปน)

ในปี ค.ศ. 1240 บุตรชายของทรองคาเวลพยายามยึดการ์กาซอนคืนแต่ล้มเหลว การ์กาซอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1247 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ทรงก่อตั้งบริเวณใหม่ของเมืองอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำจากการ์กาซอน พระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ผู้ครองราชย์ต่อจากพระองค์ทรงสร้างเชิงเทินด้านนอก ระหว่างสงครามร้อยปีในปี ค.ศ. 1355 เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำพยามยามจะตีเมืองแต่ไม่สำเร็จ แต่ก็กองทหารของพระองค์ก็ทำลายเมืองล่าง

ในปี ค.ศ. 1659 สนธิสัญญาพิเรนีสขยายเขตแดนของฝรั่งเศสไปถึงรูซียง ซึ่งทำให้ความสำคัญของการ์กาซอนลดถอยลง ป้อมปราการต่าง ๆ ก็ถูกละทิ้ง การ์กาซอนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่ทำการค้าขายอุตสาหกรรมผ้าขนแกะ ที่ในปี ค.ศ. 1723 แฟร์นองด์ โบรเดลบันทึกว่าการ์กาซอนเป็น “ศูนย์กลางของการผลิตของล็องก์ด็อก”

การ์กาซอนถูกลบออกจากรายชื่อทางการของเมืองที่มีระบบป้องกันในรัชสมัยของนโปเลียนและสมัยฟื้นฟู เมืองล้อมด้วยกำแพงแห่งการ์กาซอนเสื่อมโทรมลงจนอยู่ในสภาพที่รัฐบาลฝรั่งเศสตัดสินใจว่าควรจะรื้อทิ้ง พระราชประกาศที่ออกมาในปี ค.ศ. 1849 ก่อให้เกิดการประท้วงกันอย่างขนานใหญ่ นักโบราณศึกษา (antiquary) และนายกเทศมนตรีของการ์กาซอน Jean-Pierre Cros-Mayrevieille และนักเขียนพรอสแพร์ เมอริมีผู้ตรวจสอบอนุสาวรีย์โบราณคนแรกเป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์ป้อมปราการไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ ต่อมาในปีเดียวกันสถาปนิกเออแฌน วียอเล-เลอ-ดุ๊กผู้ที่ขณะนั้นกำลังทำงานซ่อมบาซิลิกาแซงต์นาแซร์อยู่แล้วก็ได้รับการจ้างให้บูรณปฏิสังขรณ์

ในปี ค.ศ. 1853 การบูรณปฏิสังขรณ์ก็เริ่มขึ้นที่กำแพงด้านตะวันตกและด้านด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพง ตามด้วยหอของ “ประตูนาร์บอน” (porte Narbonnaise) และ ประตูทางเข้าหลักของตัวเมือง ป้อมบางส่วนก็ได้รับการผสานเข้าด้วยกัน และสิ่งสำคัญของโครงการคือการบูรณปฏิสังขรณ์หลังคาของหอและเชิงเทิน ในบางจุดเออแฌน วียอเล-เลอ-ดุ๊กก็สั่งให้ทำลายโครงสร้างที่อิงกำแพง ที่บางครั้งเป็นโครงสร้างที่เก่าแก่ วียอเล-เลอ-ดุ๊กทิ้งบันทึกอันละเอียดละออเกี่ยวกับการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อเสียชีวิต ในปี ค.ศ. 1879 ที่ Paul Boeswillwald ผู้เป็นลูกศิษย์และต่อมาสถาปนิกโนเดต์ใช้ในการดำเนินซ่อมแซมต่อมา

การบูรณปฏิสังขรณ์ได้รับการวิจารณ์อย่างหนักขณะที่วียอเล-เลอ-ดุ๊กยังคงมีชีวิตอยู่ เพิ่งเสร็จจากงานที่ทำอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสใหม่ วียอเล-เลอ-ดุ๊กมาใช้แผ่นหินชนวนในการซ่อมหลังคาที่เป็นรูปกรวยแหลม ซึ่งทางตอนใต้ของฝรั่งเศสจะนิยมใช้กระเบื้องและมุมตื้นเพราะเป็นภูมิภาคที่ไม่มีหิมะ แต่กระนั้นลักษณะโดยทั่วไปของงานที่บูรณะเสร็จก็เป็นที่เห็นพ้องกันว่าเป็นงานชิ้นเอง แม้จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงทางสถาปัตยกรรมนักก็ตาม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406