การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง
คำที่มักกล่าวเมื่อไหว้ทักทายหรือลาคือ "สวัสดี" มาจากคำ "สฺวสฺติ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง หรือความปลอดภัย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ริเริ่มใช้ มีความหมายเชิงอำนวยพรให้เจริญรุ่งเรือง
การไหว้เดิมนั้น พัฒนามาจากการแสดงความเคารพและทักทายตามแบบโบราณ โดยยื่นมือมาข้างหน้า ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นว่าผู้ทักทายทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่มีอาวุธทั้งสิ้น ว่ากันว่าการไหว้ของคนไทยน่าได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ผ่านทางพุทธศาสนา โดยไหว้มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคม เพศและวัย
การประนมมือไหว้นั้น ฝ่ามือทั้งสองข้างจะต้องทาบทับกัน ปลายนิ้วทาบสนิทกัน ทำหลังมือให้โป่งออกเล็กน้อย ไม่ต้องมากเป็นดอกบัวตูมและไม่แบนราบเป็นใบไม้ จะมีด้วยกัน ๕ ระดับ คือ
ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ ค้อมหลังพอประมาณ ให้จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้จรดตีนผม แตะที่เหนือหน้าผาก
ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ ค้อมหลังพอประมาณ ให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว (หมายถึงพ่อแม่เป็นผู้ให้ชีวิตให้ลมหายใจ)
ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ ค้อมหลังพอประมาณ ให้นิ้วหัวแม่มือจรดปาก นิ้วชี้นาบกับจมูก (หมายถึงครูเป็นผู้สั่งสอนให้มีความรู้มีคุณธรรม)
ประนมมือขึ้น แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะนิดหน่อย ให้มือชิดอยู่ที่หน้าอก ปลายนิ้วชี้อาจอยู่ที่ปลายคาง