ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การไฟฟ้านครหลวง

การไฟฟ้านครหลวง เป็นรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประชาชน อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย มีพื้นที่บริการในปัจจุบันได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ โดยแบ่งออกเป็น 18 เขต และ 14 สาขาย่อย ในอดีตเคยให้บริการจำหน่ายไฟฟ้าครอบคลุมถึงจังหวัดปทุมธานี ทว่าต่อมาโอนกิจการดังกล่าวให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[ต้องการอ้างอิง]

องค์กรที่ดำเนินกิจการไฟฟ้าในระยะแรกมีสองแห่ง ได้แก่ การไฟฟ้ากรุงเทพและกองไฟฟ้าหลวงสามเสน

การไฟฟ้ากรุงเทพ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2430 นายจอห์น ลอฟตัส กับ นาย เอ. ดู เปลซี เดอ ริเชอเลียว รับสัมปทานการเดินรถรางจากรัฐบาล เนื่องจากยังไม่มีไฟฟ้าจึงต้องใช้ม้าลาก ทำให้ดำเนินได้เพียงระยะหนึ่ง ต้องเกิดการขาดทุน จึงโอนกิจการให้บริษัทเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2435 บริษัทเดนมาร์กได้เปลี่ยนมาใช้รถรางไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2437 ขณะนั้นประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปยังไม่มีรถรางไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2443 บริษัทเดนมาร์กขายกิจการให้แก่ บริษัท บางกอกอีเล็คตริคซิตี้ ไลท์ ซินดิเคท และโอนกิจการให้บริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด ในปี พ.ศ. 2444 โดยทำสัญญากับรัฐบาลสยามเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 และ ได้มีการแก้ไขสัญญากับ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ต่อมา เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไฟฟ้าสยามคอร์ปอเรชั่น จำกัด จนกระทั่ง เมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไฟฟ้าไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อสัมปทานหมดอายุลงเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 รัฐบาลจึงเข้าดำเนินงานแทนและเปลี่ยนชื่อมาเป็น การไฟฟ้ากรุงเทพ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของคลองบางกอกน้อยและคลองบางลำภูเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2493

กองไฟฟ้าหลวงสามเสน เดิมชื่อ กองไฟฟ้าสามเสน กำเนิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล และผู้บังคับบัญชากรมสุขาภิบาลในขณะนั้น ดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายแก่ประชาชน นอกเหนือจากการจ่ายไฟฟ้าให้โรงกรองน้ำสามเสน บริเวณพระราชวังดุสิต และ โรงทำยาฝิ่นที่สามเสน (ปัจจุบันคือบริเวณ กรมสรรพสามิต) สมัยที่ฝิ่นยังเป็นของถูกกฎหมาย โดยให้มีการจัดการเช่นการค้าขายทั่วไป หรือรัฐวิสาหกิจในปัจจุบัน เมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2453

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)ในฐานะผู้บังคับบัญชากรมสุขาภิบาล จึงกู้เงินจากกระทรวงการคลัง สมัยที่ยังเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จำนวน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี โดย นำกำไรจากการขายไฟฟ้ามาชำระหนี้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และ ได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2455) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการดำเนินงานผลิตจำหน่ายกระแสไฟฟ้า แต่ในที่สุด ต้องกู้เงินเพิ่มอีก 1 ล้านบาท เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2457) เนื่องจากส่วนที่ประมาณไว้แต่เดิม ไม่เพียงพอกับงานที่ต้องทำจริง กองไฟฟ้าหลวงสามเสนจึงได้เริ่มทดลองเดินเครื่องจักรผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นครั้งแรก โดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากบริษัท เออีจี ส่งแรงไฟให้โรงยาฝิ่นหลวงเพื่อหารายได้เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 (นับอย่างปัจจุบัน ตรงกับ พ.ศ. 2457)

จากนั้นจึงเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชน เมื่อกรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีเขตจำหน่ายอยู่บริเวณสุขาภิบาลฝ่ายเหนือ อันได้แก่บริเวณตอนเหนือของคลองบางกอกน้อย คลองบางลำภู คลองมหานาค และ คลองแสนแสบ ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับบริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด ซึ่งได้มีการตกลงกันไว้ ตั้งแต่เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 แม้กว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจังเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2464 นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน ได้จำหน่ายไฟฟ้าให้ โรงกรองน้ำสามเสนเมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 แต่ผู้รับเหมาดำเนินการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่งมอบงานให้กรมสุขาภิบาลโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2457 (นับอย่างปัจจุบัน ตรงกับ พ.ศ. 2458)

จากนั้น โรงไฟฟ้าสามเสน ได้จำหน่ายไฟฟ้า ให้โรงงานบางซื่อ ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด เมื่อ พ.ศ. 2458 และพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดโรงไฟฟ้าสามเสนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2458

ต่อมารัฐบาลสมัยพลเอกถนอม กิตติขจร ควบรวมองค์การทั้งสองเข้าด้วยกัน เป็นการไฟฟ้านครหลวง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งต่อมา มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม เมื่อปี พ.ศ. 2530และปี พ.ศ. 2535

การไฟฟ้านครหลวง มีสถานพยาบาลสำหรับบริการพนักงาน ครอบครัว และบุคคลภายนอก 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง เป็นโรงพยาบาลขนาด 80 เตียง ตั้งอยู่บริเวณถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ให้บริการตรวจสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรคแก่พนักงาน ครอบครัว พนักงานเกษียณอายุของการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งบุคคลภายนอก


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406