ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การโจรกรรมทางวรรณกรรม

โจรกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (อังกฤษ: plagiarism) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง

ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือนักวิจัยถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (en:academic dishonesty) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” (en:academic fraud) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงานสื่อสารมวลชนถือเป็นละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารศาสตร์ (en:journalistic ethics) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ (en:citation) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตที่บทความปรากฏในรูปของอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่า “การคัดลอก-แปะ” (en:copying and pasting)

โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน

ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนักศึกษาถือเป็นการกระทำความผิดขั้นร้ายแรงมากและมีผลให้ได้รับการลงโทษ เช่นปรับตกในงานที่นำส่ง (ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) หรือปรับให้ตกในรายวิชานั้น ๆ (ระดับอุดมศึกษา) ในกรณีที่กระทำความผิดซ้ำ หรือกระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมขั้นร้ายแรง (เช่น นำบทความหรืองานทางวิชาการทั้งหมดของผู้อื่นมาส่งโดยอ้างว่าเป็นของตนเอง) นักศึกษาผู้นั้นอาจถูกพักการศึกษาหรือถูกไล่ออก มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกถูกกดดันให้ทำรายงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่จำกัดและต้องมีคุณภาพดีมักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตลอกหรือทำโจรกรรมทางวรรณกรรมด้วยวิธี “คัดลอก-แปะ” ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ มาเป็นของตนเอง ในกรณีเช่นนี้อาจารย์มักจับได้โดยไม่ยากด้วยเหตุผลหลายประการ

มีหลายมหาวิทยาลัยที่มีบทลงโทษด้วยการถอนหรือเรียกปริญญาคืนหากพบภายหลังจากนักศึกษาประกอบอาชญากรรมทางวิชาการ

ปัจจุบันยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรมในโรงเรียนน้อยมาก ที่มีส่วนมากมักเป็นการวิจัยหลังระดับชั้นมัธยมไปแล้ว ในการฉ้อโกงแบบต่าง ๆ (เช่นการลอกและแอบอ้างงานบางส่วนของผู้อื่น การปลอมข้อมูลขึ้นมาเองและการทุจริตในการสอบ) นักเรียนและนักศึกษายอมรับว่า ที่ทำมากที่สุดคือการลอกและแอบอ้างงานบางส่วนของผู้อื่นมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี เมื่อถามถึงโจรกรรมทางวรรณกรรมขั้นร้ายแรง (ได้แก่การลอกรายงานของผู้อื่นมาทั้งหมด หรือจ้างผู้อื่นทำรายงานทั้งหมดให้ทางเว็บไซต์) ตัวเลขจะลดลงมาก การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการตรวจจับการลอกงานผู้อื่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ (ดูข้างล่าง) ได้ช่วยทำให้เห็นภาพของลักษณะโจรกรรมทางวรรณกรรมชัดเจนมากขึ้น

สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย การลงโทษการโจรกรรมทางวิชาการมีหลายรูปแบบ มีตั้งแต่การพักงานไปถึงขั้นไล่ออกหรือเลิกจ้าง ซึ่งผู้กระทำการดังกล่าวยังต้องเสียชื่อเสียงหมดความเชื่อถือ การกล่าวโทษนักศึกษาหรืออาจารย์มักได้ยินมาจากกรรมการสอบวินัยภายในสถาบันที่เป็นที่ยอมรับของนักศึกษาและอาจารย์

เนื่องจากหัวใจของวิชาการหนังสือพิมพ์คือการได้รับความเชื่อจากสาธารณชน ดังนั้นการบิดเบือนข่าวหรือแหล่งข่าวของผู้สื่อข่าวจึงมีส่วนทำให้สาธารณชนมองเห็นถึงความไม่สุจริตและลดความเชื่อถือไว้วางใจในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นหรือโทรทัศน์สถานีนั้นลงได้มาก นักหนังสือพิมพ์ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมส่วนใหญ่จะถูกพักงานจากงานสื่อข่าวในระหว่างการสอบสวนโดยผู้บริหารหนังสือพิมพ์หรือสถานีโทรทัศน์นั้น ๆ

ความง่ายของในการเรียกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีข้อความอีเลกทรอนิก (electronic text) ออนไลน์ ล่อใจให้ผู้ส่อข่าวกระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมมากขึ้น มีนักหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อยที่ถูกจับไว้ว่าทำข่าวหรือบทความด้วยการ “คัดลอก-แปะ” จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวนมาก

เนื่องจากความง่ายในการขโมยเนื้อความจากเว็บด้วยวิธีคัดลอก-แปะดังกล่าว โจรกรรมทางวรรณกรรมออนไลน์จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์นี้เรียกกันว่า “เนื้อความจากขยะ” (content scraping) ซึ่งมีผลกระทบ โดยเฉพาะกับเว็บไซต์จำนวนมากที่ตั้งตัวแล้ว และบลอก แรงจูงใจให้กระทำการดังกล่าวเกิดจากการดึงเว็บแทรฟฟิกส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของโปรแกรมค้นหาของเว็บไซต์หรือบลอกนั้นแล้วขโมยหรือโยกย้ายผู้เข้าชมเว็บไซต์/บลอกนั้นไปใช้หาเงินผ่านการโฆษณาออนไลน์

ปัจจุบันมีโปรแกรมเครื่องมือฟรีออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้ตรวจกับโจรกรรมทางวรรณกรรมอออนไลน์ได้ทำให้การป้องกันทำได้ง่ายขึ้น และยังมีโปรแกรมเครื่องมือแบบอื่นที่จะช่วยจำกัดการลอกงานออนไลน์ เช่น disabling right clicking ซึ่งใช้วิธีใช้เมาส์เน้นข้อความขอเว็บเพจที่ต้องการตรวจจับแล้วคลิกขวาที่โปรแกรม หากเป็นโจรกรรมก็จะมีป้ายหรือแบนเนอร์ปรากฏขึ้นที่เว็บเพจนั้น และจะมีข้อความตัวอย่างของจริงหร้อมทั้งข้อความประกาศ DMCA ของเจ้าของงานตัวจริงแจ้งให้ผู้ละเมิดหรือ ISP ของเว็บไซต์นั้นลบออก

โดยทั่วไป แม้จะมีการกล่าวถึงโจรกรรมทางวรรณกรรมอย่างหลวม ๆ ว่าเป็นการลักลอบหรือการขโมย แต่ก็ไม่ได้กำหนดไว้ให้เป็นอาชญากรรมในศาลยุติธรรม โจรกรรมทางวรรณกรรมจึงไม่มีสถานะเป็นคดีอาญาในกฎหมายจารีตด้วยเช่นกัน แต่การฟ้องร้องโจรกรรมทางวรรณกรรมสามารถทำได้ทางแพ่ง โดยเจ้าทุกข์สามารถฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายจากถูกโจรกรรมทางวรรณกรรมได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการขัดต่อศีลธรรมก็ได้

กรณีปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดการถกเถียงกันว่ามากว่าจะนับให้เป็นคดีอาญาได้หรือไม่

“โจรกรรมทางวรรณกรรมของตนเอง” หมายถึงการนำเอางานส่วนใหญ่ หรืองานทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดของตนเองมาทำเป็นงานใหม่โดยไม่ได้แจ้งให้ชัดเจน บทความประเภทนี้ส่วนใหญ่มักเป็นบทความตีพิมพ์ซ้ำ (multiple publication) แต่อย่างไรก็ดี บทความประเภทนี้ที่กำลังแพร่หลายและเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจสาธารณชนไม่นับว่าเข้าข่ายการโจรกรรมผลงานตนเอง แต่ก็ควรระวังเรื่องลิขสิทธิ์หากมี เช่นเป็นบทความที่มีสำนักพิมพ์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นต้น “ข้อเขียนที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน” ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางสังคม วิชาชีพและความเห็นทางวัฒนธรรมซึ่งปกติจะตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่าง ๆ

ในสาขาวิชาการ การโจรกรรมผลงานของตนเองจะเป็นปัญหาเมื่อผู้เขียนนำส่วนหนึ่งของงานของตนเองที่ตีพิมพ์และสงวนลิขสิทธิ์ไปแล้วมาตีพิมพ์ซ้ำโดยไม่แจ้งหรือแถลงให้ทราบในงานตีพิมพ์ครั้งใหม่ การที่จะบ่งชี้ให้ชัดเจนว่างานใดเป็นการโจรกรรมผลงานของตนเองเป็นเรื่องลำบากเนื่องจากกฎหมายได้กล่าวถึงประเด็น “การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม” ไว้ด้วย บางองค์การวิชาชีพ เช่นสมาคมเครื่องคอมพิวเตอร์ (ACM) ได้จัดทำนโยบายของตนเองเกี่ยวกับการโจรกรรมผลงานตนเองขึ้น เมื่อเทียบกับโจรกรรมทางวรรณกรรม นับว่าการโจรกรรมผลงานของตนเองยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ดีพอ บางมหาวิทยาลัยและคณะบรรณาธิการบางคณะเลือกที่จะไม่มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย หลายคนที่คิดว่าผู้กล่าวหาเรื่องการโจรกรรมผลงานตนเองเป็นพวกขัดแย้งในตัวเองเนื่องจากไม่มีใครที่จะกล่าวว่าตนเองลอกงานตนเองได้

สำหรับผู้เขียนที่ประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นปัญหานี้เมื่อจะเขียนงานใหม่ ควรอย่างยิ่งที่จะพยายามปฏิบัติตามแนวทางที่ดีที่สุดต่อไปนี้

โจรกรรมทางวรรณกรรมไม่เป็นประเด็นปัญหาเมื่อองค์กรตีพิมพ์ผลงานร่วมหลายคนที่ไม่มีการใส่ชื่อผู้เขียนว่าเป็นเจ้าของงานแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ตัวอย่างเช่น “ประกาศว่าด้วยมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ” (พ.ศ. 2548) ของสมาคมประวัติศาสตร์อเมริกันว่าด้วยหนังสือตำราและหนังสืออ้างอิงว่าไม่เป็นโจรกรรมทางวรรณกรรม เนื่องจากตำราหรือสารานุกรมเป็นเพียงการสรุปเนื้อหาสาระมาจากผลงานวิชาการของผู้อื่น ไม่ได้ลอกต้นฉบับงานวิจัยดั้งเดิมมาใช้ทั้งหมดจึงไม่ตกอยู่ในสถานะเดียวกันกับมาตรฐานที่บ่งชี้ว่าเป็นโจรกรรมทางวรรณกรรม แต่อย่างไรก็ตาม งานตีพิมพ์นั้นจะต้องไม่นำข้อความ คำ หรือย่อหน้าจากหนังสืออื่นมาใช้โดยชัดเจนหรือทำรูปแบบการจัดเล่มเหมือนหนังสืออื่นมากเกินไป

ภายขององค์กรเอง แม้มาตรฐานงานจะหลวมกว่างานทางวิจัยหรือวิชาการ แต่ก็ยังคงต้องมีมาตรฐานเกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรมอยู่ หากมีผู้ช่วยด้านการเขียนรายงาน ผู้นั้นควรได้รับเครดิต (ข้อความให้เกียรติเจ้าของงาน) และหากบทย่อหน้าได้มาจากรายงานทางกฎหมายก็จะต้องจะต้องมีการประกาศกิตติคุณให้เสมอ หนังสือคู่มือทางเทคนิคจำนวนมากที่คัดลอกข้อเท็จจริงที่เป็นข้อความหรือตัวเลขมาโดยไม่ลอกรูปแบบจากหนังสืออื่นถือเป็นปกติ เนื่องจากผู้ผลิตงานมีจิตวิญญาณความมุ่งมั่นทางวิทยาศาสตร์ร่วมกัน (จะเห็นได้จากงานในโครงการต่าง ๆ เช่น “ฟรีซอฟต์แวร์” และ “ซอฟต์แวร์เสรี”) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มีความเต็มใจที่แบ่งปันงานซึ่งกันและกัน

หนังสือ “คู่มือสไตล์ว่าด้วยการตีพิมพ์งานเทคนิคของไมโครซอฟท์” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2546) โดยไมโครซอฟท์ไม่การกล่าวถึงการสงวนลิขสิทธิ์หรือโจรกรรมทางวรรณกรรมไว้แต่อย่างใด รวมทั้งหนังสือ “การเขียนงานทางวิทยาศาสตร์และงานเทคนิค: คู่มือว่าด้วยรูปแบบการเขียน” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2543) โดยฟิลิปส์ รูเบนส์ ก็เช่นกัน เส้นแบ่งระหว่างจรรยาของโจรกรรมทางวรรณกรรมว่าด้วยการยอมให้ได้กับการยอมให้ไม่ได้ทางวรรณกรรมนั้นค่อนข้างบาง เช่นเดียวกับที่สาขาทางเทคนิคอื่น ๆ เช่นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ทั่วไปที่คนอื่นคิดค้นขึ้น

นับเป็นเรื่องปกติที่นักวิจัยตามมหาวิทยาลัยที่จะอ้างงานของตนเองหรือนำงานตนเองมาพิมพ์ซ้ำ หรือดัดแปลงปรับปรุงเพื่อใช้ในบทความเพื่อลงในวารสารวิชาการหรือในหนังสือพิมพ์ เพื่อเผยแพร่งานของตนที่เกี่ยวกับความรู้ที่สาธารณชนกำลังให้ความสนใจได้ แต่นักวิจัยเหล่านี้จะต้องระลึกอยู่เสมอว่ามีขีดจำกัด ถ้าเมื่อใดเนื้อหาของบทความชื่อใหม่ที่มากกว่ากึ่งหนึ่งยังเหมือนบทความเดิมที่ตีพิมพ์ไปแล้วมักได้รับการปฏิเสธ ซึ่งกลไกหนึ่งในกระบวนการที่เรียกว่า “การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน” (peer-review) ที่ใช้ในวงการวิชาการเพื่อการรักษาคุณภาพและเพื่อป้องกันการเสนอบทความประเภท “แปรใช้ใหม่” หรือ recycle ดังกล่าว

นักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะมักใช้ผู้เขียนสุนทรพจน์ที่ไม่เปิดเผยนาม ถ้ามีโจรกรรมทางวรรณกรรมเกิดขึ้น ผู้ได้รับผลเสียย่อมเป็นตัวบุคคลสาธารณะนั้น ๆ เองไม่ใช่ผู้เขียนจริง ดังเช่นกรณีของโจ ไบเดน วุฒิสมาชิกจากรัฐเดลาแวร์ของสหรัฐที่ถูกบังคับให้ถอนตัวจากการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อ พ.ศ. 2531 (แต่ยังคงอยู่ในตำแหน่งวุฒิสมาชิกต่อไปได้) ที่หลายส่วนของสุนทรพจน์ลอกมาจากสุนทรพจน์ของ นีล คินนอก หัวหน้าพรรคแรงงานอังกฤษ และจากสุนทรพจน์ของโรเบิร์ต เคเนดี

บทความอ้างถึงการรั่วอย่างจงใจของบันทึกช่วยจำในรูปอีเมลจากเดวิด เกรียร์ รองประธานบริหารของบริษัทพลังงานสักขาลิน (Sakhalin Energy) แจกจ่ายแก่พนักงานบริษัท มีบางคนที่ตาแหลมคมได้สังเกตว่าข้อความให้ความบันดาลหลายข้อความในนั้นเอามาจากสุนทรพจน์อันมีชื่อเสียงของนายพลอเมริกันผู้มีตำนานโด่งดังคือนายพลจอร์จ เอส. แพตตัน (George S. Patton) ที่แสดงไว้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ก่อนวันดีเดย์ (D-Day) หนึ่งวัน ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์และเว็บไซต์ FT.com ก็ได้มีตีพิมพ์สุนทรพจน์ดังกล่าวของเกรียร์ ใต้พาดหัวว่า “บันทึกช่วยจำสักขาลินลอกจากสุนทรพจน์เกือบทั้งหมดของแพตตัน”

ในวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไฟแนนเชียลไทม์ได้ตีพิมพ์อีกบทความหนึ่ง เกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรม คราวนี้พาดหัวว่า “บักทึกสร้างแรงบันดาลใจนี้จะต้องทำความชัดเจนให้ปรากฏ” และในเนื้อข่าวเขียนว่าบันทึกของเกรียร์ซึ่งเป็นรองประธานบริษัทหยาบ เว้นวรรคตอนผิด ๆ ถูก ๆ และไม่ได้เขียนเองไปลอกของแพตตันมาเกือบทั้งหมดแล้วนำมาใช้เป็นของตนเองในการใช้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่วิศวกรเดินท่อน้ำมัน ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพ์มอสโคไทม์ก็ลงข่าวโจมตีในทำนองเดียวกันfront page story ในวันที่ 22 มิถุนายนก็รายงานข่าวว่าเกรียร์ซึ่งทำงานกับบริษัทนี้มา 27 ปีได้ขอลาออกจากบริษัทเพื่อไปประกอบอาชีพอื่นและว่าการลาออกโดยกะทันหันเนื่องมากจากทนแรงกดดันไม่ไหว

ในปี 2551 มีการวิพากษ์วิจารณ์ และฟ้องร้อง ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในกรณีโจรกรรมทางวรรณกรรมบทความทางวิชาการที่นายศุภชัยได้ส่งดุษฎีนิพนธ์ และเพื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานของ นายวิลเลี่ยม วีล เอลลิตส์ เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ทางมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่ามีความเป็นจริงหรือไม่ในปี 2553 โดยในขณะเดียวกันนายศุภชัยได้มีการแจ้งฟ้องกลับ นายวิลเลี่ยม วีล เอลลิตส์ เจ้าหน้าที่สหประชาชาติในข้อหาหมิ่นประมาท ในปี 2555 ทาง ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ ได้สอบถามไปทางมหาวิทยาลัยและทางนายศุภชัย แต่ไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด โดยทางบรรณาธิการวารสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ตีพิมพ์ผลงานนี้ให้คำตอบว่าจะไม่มีการถอนการตีพิมพ์หากไม่มีคำสั่งศาลออกมา และในเดือนมิถุนายน 2555 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ประกาศถอดปริญญา

แคแอฟยา วิศวานาธาน (Kaavya Viswanathan) นักศึกษาหญิงฮาร์วาร์ดผู้กระทำโจรกรรมทางวรรณกรรม ผู้แต่งหนังสือเรื่อง How Opal Mehta Got Kissed, Got Wild, and Got a Life ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ได้แต่งหนังสือภายหลังที่เธอจบการศึกษาจากมัธยมศึกษา และได้เป็นที่นิยมเป็นหนังสือขายดีในขณะที่เธอกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่ภายหลังหนังสือเล่มนี้ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากมีการถูกกล่าวถึงว่าได้มีการโจรกรรมทางวรรณกรรมจากหลายแหล่ง วิศวานาธานได้ขอโทษผ่านทางสื่อมวลชน และได้กล่าวว่า "เป็นความไม่เป็นตั้งใจที่เกิดขึ้น" หนังสือทั้งหมดที่ยังถูกวางขายได้ถูกเรียกคืนและทำลายทิ้งทั้งหมดจากทางสำนักพิมพ์ และสัญญาการเขียนหนังสือเล่มที่สองของเธอได้ถูกยกเลิกทันที


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406