โดยทั่วไปแล้วการแสดงแผนที่ (อังกฤษ: Map projection) คือระบบการเปลี่ยนตำแหน่งของละติจูดและลองจิจูดบนพื้นผิวทรงกลมซึ่งในที่นี้คือโลก ให้มาอยู่บนแผ่นกระดาษที่มีลักษณะเรียบ ดังนั้นการแสดงแผนที่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำแผนที่ การแสดงแผนที่มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งในแต่ละประเภทมีข้อจำกัดที่เกิดจากการบิดเบี้ยวอยู่ในตัว ซึ่งการบิดเบี้ยวนี้เกิดมาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งจากทรงกลมให้มาอยู่บนผิวเรียบ ยกตัวอย่างเช่น การทำให้เปลือกส้มทั้งลูกที่มีลักษณะกลมให้เป็นแผ่นเรียบเพียงแผ่นเดียวย่อมมีการบิดเบี้ยวเกิดขึ้น
สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกใช้แผนที่ประเภทต่าง ๆ คือ วัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ การแสดงแผนที่ในแต่ละแบบมีจุดประสงค์เพื่อรักษาคุณสมบัติบางประการให้คงไว้ ในขณะเดียวกันก็จะทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของคุณสมบัติบางประการเกิดขึ้น จึงทำให้แผนที่แต่ละประเภทมีไว้สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป สำหรับการใช้งานโดยทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ที่อยู่บนลูกโลกทรงกลมจำลองนั้นเป็นการยากสำหรับการใช้งาน แต่เมื่อแผนที่ถูกแสดงลงบนแผ่นกระดาษที่เรียบแล้ว ย่อมทำให้เกิดความสะดวกเผยแพร่ การใช้งาน การพกพา และการเก็บรักษา
การบอกคุณลักษณะของแผนที่แสดงพื้นผิวโลกสามารถทำการจำแนกประเภทได้จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ อันประกอบไปด้วย
ในการแสดงแผนที่แต่ละประเภทมีจุดประสงค์เพื่อรักษาคุณลักษณะต่างๆข้างต้นให้คงอยู่ไว้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง ดังนั้นในกระบวนการทำแผนที่จึงต้องคำนึงถึงการรักษาคุณลักษณะแต่ละประเภทไว้เป็นพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าแผนที่ประเภทใดเป็นแผนที่คือแผนที่ที่ดีที่สุด เนื่องจากแต่ละประเภทมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือข้อมูลต่างๆทางภูมิศาสตร์ที่จะใส่ลงบนแผนที่ ในแผนที่ที่มีการใช้อัตราส่วนที่ไม่ใหญ่มากการลงข้อมูลให้ถูกต้องถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกัน
กระบวนการที่เรียบง่ายที่สุดของการแสดงแผนที่คือการฉายภาพ ซึ่งในที่นี้คือการใช้แสงเพื่อฉายภาพพื้นผิวโลกลงบนพื้นผิวเรียบประเภทต่างๆ
ในที่นี้คือการเลือกพื้นผิวที่สามารถห่อหุ้มลูกโลกที่เป็นต้นแบบได้ โดยที่ไม่ทำให้พื้นผิวโลกมีการสูญเสียพื้นที่ สามารถจำแนกประเภทพื้นผิวเรียบที่ใช้ออกได้เป็นสามประเภทใหญ่ๆ คือ ทรงกระบอก ทรงกรวย และ แผ่นเรียบ เมื่อภาพของต้นแบบบนพื้นผิวลูกโลกขึ้นไปอยู่บนพื้นผิวเรียบที่ใช้แล้ว จึงทำการคลี่พื้นผิวเรียบทรงกระบอกหรือทรงกรวยออก ให้กลายเป็นเป็นเรียบเพื่อนำไปใช้งานต่อไป
พื้นผิวทรงกระบอก คือ การแสดงแผนที่บนลูกโลกให้ไปอยู่บนพื้นผิวทรงกระบอก โดยให้แกนของทรงกระบอกอยู่ในแนวเดียวกันกับแกนของลูกโลกต้นแบบ หลังจากที่ได้ภาพบนพื้นผิวทรงกระบอกแล้วจึงนำไปคลี่ออกเพื่อใช้งานเป็นแผนที่ต่อไป อย่างไรก็ตามหากพิจารณาดูที่รูปประกอบแล้วจะเห็นได้ว่าเมื่อตำแหน่งละติจูดมีค่าสูงขึ้น จะมีการขยายออกในแนวเหนือ-ใต้ และ แนวตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งยิ่งเมื่อค่าละติจูดสูงขึ้นมากเท่าไหร่ก็จะมีการขยายตัวออกมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่การขยายขยายออกในแนวเหนือ-ใต้จะมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าการขยายตัวออกในแนวตะวันออก-ตะวันตกที่ตำแหน่งละติจูดเดียวกัน ตัวอย่างของแผนที่ที่เกิดจากการใช้พื้นผิวทรงกระบอก เช่น แผนที่แบบเมอร์เคเตอร์และเมอร์เคเตอร์ผันกลับ เป็นต้น
พื้นผิวทรงกรวย คือ การแสดงแผนที่บนลูกโลกให้ไปอยู่บนพื้นผิวทรงกรวย โดยให้แกนของทรงกรวยอยู่ในแนวเดียวกันกับแกนของลูกโลกต้นแบบ เส้นละติจูดในแนวนอนจะมีลักษณะเป็นวงกลมบนพื้นผิวกรวยล้อมรอบจุดยอด เส้นเมริเดียนหรือเส้นลองติจูดในแนวตั้งจะมีระยะห่างระหว่างเส้นที่เท่ากัน เมื่อนำพื้นผิวกรวยไปคลี่ออกเป็นแผ่นเรียบ ซึ่งในการใช้พื้นผิวแบบกรวยนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็นสองประเภท
ตัวอย่างของแผนที่ที่เกิดจากการใช้พื้นผิวทรงกรวย คือ แบบระยะเท่ากัน (Equidistant conic) แบบอัลเบอร์ส (Albers conic) และแบบมาตราส่วนแลมเบิร์ต (Lambert conformal conic) เป็นต้น
พื้นผิวเรียบ คือการแสดงแผนที่บนลูกโลกให้ไปอยู่บนพื้นผิวเรียบ โดยเลือกใช้จุดกึ่งกลางของแผ่นเรียบให้เป็นจุดสัมผัสและตั้งฉากพื้นผิวโลก วิธีการนี้จะเป็นการรักษาทิศทางจากจุดศูนย์การไปยังตำแหน่งต่างๆบนแผนที่ และทำให้เส้นรอบวงกลมโลกที่ใหญ่ที่สุดถูกแสดงเป็นเส้นตรงเมื่ออยู่บนพื้นผิวเรียบ แต่การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของรูปร่างและพื้นที่เกิดขึ้น
พื้นฐานหลักของการจำแนกการแสดงแผนที่ อยู่ที่ประเภทของพื้นผิวที่ใช้สำหรับการแสดงแผนที่ ซึ่งในที่นี้คือการนำพื้นผิวขนาดใหญ่มาสัมผัสกับพื้นผิวโลก ตามด้วยการกำหนดอัตราส่วนที่ต้องการใช้งาน พื้นผิวเหล่านี้ คือ
นอกจากนี้ยังมีพื้นผิวสำหรับการแสดงแผนที่ที่ไม่ได้จำแนกอยู่ในพื้นผิวสามประเภทนี้ เช่น ทรงกระบอกปลอม (Pseudocylindrical) หรือ ทรงกรวยปลอม (Pseudoconic) เป็นต้น
การจำแนกประเภทอีกแบบหนึ่ง คือ การจำแนกตามคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ต้องการการรักษาไว้ของแผนแต่ละประเภท ดังนี้