แพทยศาสตร์ (อังกฤษ: Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง
แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น
การเรียนการสอนทางแพทยศาสตร์นั้น เกิดขึ้นครั้งแรกที่ โรงเรียนแพทยากร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น ณ โรงศิริราชพยาบาล ซึ่งก็คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ขึ้น เพื่อผลิตแพทย์ให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน นั่นคือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศคณะแรก ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 3 จากนั้น ได้จัดตั้ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 4 ของประเทศ และเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น ได้จัดตั้ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่5 และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่6 ของประเทศ และมีคณะแพทยศาสตร์ อื่นๆอีกรวม 20 แห่ง ทั่วประเทศ เช่น คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ฯลฯ
ตามระเบียบการและเกณฑ์การรับแพทย์ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ประจำปีการศึกษา 2559 มีการเรียนการสอนทางแพทยศาสตร์ 13 สถาบัน (คณะแพทยศาสตร์ 11 คณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2 วิทยาลัย), คณะทันตแพทยศาสตร์ 7 สถาบัน และคณะสัตวแพทยศาสตร์ 6 สถาบัน ที่ร่วมดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลผ่านระบบรับตรง รวม 1,592 คน
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ ? อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซั่ม ? อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ? อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก ? อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร ? อายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ? อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ? อายุรศาสตร์โรคเลือด ? อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ? อายุรศาสตร์โรคไต ? ตจวิทยา ? ประสาทวิทยา ? เวชบำบัดวิกฤต
กุมารศัลยศาสตร์ ? ศัลยศาสตร์ทรวงอก ? ประสาทศัลยศาสตร์ ? ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ? ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ? ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ? ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ? ศัลยศาสตร์หลอดเลือด ? ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา ? กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ? กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา ? กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม ? กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ? กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ ? กุมารเวชศาสตร์โรคไต ? กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ ? กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ? กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ? กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ ? โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
เวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์การบิน, เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก, สาธารณสุขศาสตร์, สุขภาพจิตชุมชน) ? เวชศาสตร์ครอบครัว ? รังสีวิทยา (รังสีวิทยาวินิจฉัย, รังสีร่วมรักษาของลำตัว, รังสีร่วมรักษาระบบประสาท, รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา, เวชศาสตร์นิวเคลียร์, ภาพวินิจฉัยชั้นสูง, ภาพวินิจฉัยระบบประสาท) ? วิสัญญีวิทยา (วิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ และทรวงอก, วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท) ? จิตเวชศาสตร์ ? จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ? นิติเวชศาสตร์ ? พยาธิวิทยา ? พยาธิวิทยาคลินิก ? พยาธิกายวิภาค ? เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ? จักษุวิทยา ? โสตศอนาสิกวิทยา ? เวชศาสตร์ฟื้นฟู ? ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ ? เวชศาสตร์การกีฬา ? เวชศาสตร์เขตเมือง ? เภสัชวิทยาและพิษวิทยา
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (จุลกายวิภาคศาสตร์, ชีวเคมี, จุลชีววิทยาคลินิก, ปรสิตวิทยา, ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก, เวชศาสตร์การบริการโลหิต) ? กายวิภาคศาสตร์ ? สรีรวิทยา ? เวชพันธุศาสตร์ ? คัพภวิทยา ? เวชศาสตร์การโรงพยาบาล ? ประวัติศาสตร์การแพทย์ ? แพทยศาสตรศึกษา ? โรงเรียนแพทย์ ? การแพทย์แผนไทย ? แพทย์ (แพทยศาสตรบัณฑิต) ? ผู้ช่วยแพทย์ ? สาธารณสุข