ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก (อังกฤษ: Positive illusions) เป็นทัศนคติเชิงบวกไม่สมจริง ที่มีต่อตนเองหรือต่อบุคคลที่ใกล้ชิด เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดในรูปแบบของการหลอกลวงตนเอง (self-deception) หรือการยกย่องตนเอง (self-enhancement) ที่ทำให้รู้สึกดี ดำรงรักษาความเคารพตน (self-esteem) หรือช่วยกำจัดความไม่สบายใจอย่างน้อยก็ในช่วงเวลาสั้น ๆ มีรูปแบบใหญ่ ๆ 3 อย่างคือ ความดีกว่าเทียม (illusory superiority) ความเอนเอียงโดยมองในแง่ดี (optimism bias) และการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า "positive illusions" เกิดใช้เป็นครั้งแรกในงานปี 1988 ของเทย์เลอร์และบราวน์ โดยมีการกล่าวถึงภายหลังว่า "แบบจำลองสุขภาพจิตปี 1988 ของเทย์เลอร์และบราวน์ยืนยันว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกบางอย่างแพร่หลายเป็นอย่างสูงในความคิดปกติ และเป็นตัวพยากรณ์ค่าเกณฑ์ที่ปกติสัมพันธ์กับสุขภาพจิตที่ดี"

มีข้อถกเถียงที่ยังไม่ยุติว่า บุคคลแสดงปรากฏการณ์นี้อย่างสม่ำเสมอในขอบเขตแค่ไหน และปรากฏการณ์นี้มีประโยชน์อะไรกับบุคคลเหล่านั้น

ในเรื่องความดีกว่าเทียม (illusory superiority) บุคคลจะมองตนเองในเชิงบวกมากกว่ามองคนอื่น และมองตนในเชิงลบน้อยกว่าคนอื่นมองตน นอกจากนั้นแล้ว คุณลักษณะที่ดี ๆ ก็จะประเมินว่าเป็นคำกล่าวหมายถึงตน มากกว่าคนโดยเฉลี่ย (คนกลาง ๆ) เทียบกับคุณลักษณะเชิงลบ ที่ประเมินว่าเป็นคำกล่าวถึงตน น้อยกว่าคนโดยเฉลี่ย ต่อต้านความจริงว่า เป็นไปไม่ได้ทางสถิติที่คนทุกคนหรือโดยมาก จะดีกว่าคนโดยเฉลี่ย คือแทนที่จะตระหนักถึงข้อดีและข้อเสียของตนเท่า ๆ กัน คนตระหนักถึงข้อดีของตนเอง แต่ไม่ได้ตระหนักถึงข้อเสีย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ คนมักจะเชื่อว่าตนเก่งกว่าที่เป็นจริง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบเกี่ยวกับคุณลักษณะ และความสามารถต่าง ๆ อย่างมากมายกว้างขวาง รวมทั้งความสามารถในการขับรถ ความสามารถในการเลี้ยงลูก ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการสอน ค่าทางจริยธรรม และสุขภาพ รวมทั้งในเรื่องความจำ คือคนโดยมากมักจะรู้สึกว่าตนมีความจำดีกว่าเป็นจริง

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) เป็นการประเมินเกินจริงเกี่ยวกับความสามารถของตนในการควบคุมสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เช่น การทอดลูกเต๋า หรือการโยนเหรียญ

ส่วนความเอนเอียงโดยมองในแง่ดี (optimism bias) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินโอกาสประสบเหตุการณ์ดี ๆ เช่น การชอบงานแรกที่ทำ หรือมีลูกที่มีพรสวรรค์ เกินความจริง และประเมินโอกาสประสบเหตุการณ์ร้าย ๆ เช่น การหย่า หรือเกิดโรคเรื้อรัง ต่ำกว่าความจริง และเกิดแม้ในการประเมินเวลาที่ต้องใช้ทำงานต่าง ๆ โดยประเมินต่ำกว่าความจริง

เหมือนกับการรับรู้อื่น ๆ ของมนุษย์ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองมักจะมีการแปลสิ่งเร้าผิด แต่การแปลสิ่งเร้าผิดแบบบวก เป็นเรื่องที่เข้าใจว่าเป็นผลปรากฏของการยกย่องตนเอง (self-enhancement) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะมองตนเองในเชิงบวกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเป็นหน้าที่หนึ่งของการเพิ่มความเคารพตน (self-esteem) และอาจมีเหตุจากความต้องการที่จะมองตนเองในเชิงบวกดีกว่าคนรอบตัว แต่ว่าความเอนเอียงรับใช้ตนเองเช่นนี้ ดูจะมีแต่ในคนที่มองตัวเองในเชิงบวกเท่านั้น คือ จริง ๆ แล้ว คนที่มองตัวเองในเชิงลบแสดงปรากฏการณ์นัยตรงกันข้าม งานวิจัยบอกเป็นนัยว่า กรรมพันธุ์อาจจะมีส่วนให้เกิดการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก สิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นของชีวิตก็มีบทบาทสำคัญด้วย คนมักจะพัฒนาความเชื่อเชิงบวกเหล่านี้ได้ดีกว่า ในครอบครัวสิ่งแวดล้อมที่ให้ความอบอุ่น[ต้องการอ้างอิง]

มีคำอธิบายอื่นเกี่ยวกับปรากฏการณ์เช่นนี้ (นอกจากที่ว่า เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก) เช่น ความยากง่าย หรือความสามัญของงานที่ให้เพื่อการทดสอบ นอกจากนั้นแล้ว งานที่เปลี่ยนความใส่ใจจากตนเองไปยังเป้าหมายเปรียบเทียบอื่น จะหยุดคนไม่ให้คิดในเชิงบวกมากเกินความจริง

วัฒนธรรมก็มีบทบาทสำคัญแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก แม้ว่าจะง่ายที่จะแสดงปรากฏการณ์นี้กับวัฒนธรรมชาวตะวันตกที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง คนในเอเชียตะวันออกที่เน้นการอยู่ร่วมในสังคมมีโอกาสน้อยกว่าที่จะยกย่องตัวเอง และจริง ๆ แล้วมักจะถ่อมตัวเอง มีงานศึกษาที่แสดงหลักฐานว่า บุคคลต่าง ๆ มีระดับการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกที่แตกต่างกันอย่างสำคัญ ดังนั้น จะมีคนที่มีความเห็นเชิงบวกอย่างสุด ๆ บางคนก็จะมีแบบอ่อน ๆ บางคนก็แทบจะไม่มี และถ้าตรวจสอบคนทั่วประชากร ปรากฏการณ์นี้ค่อนข้างจะอ่อนโดยทั่ว ๆ ไป

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกอาจจะมีทั้งประโยชน์และโทษต่อบุคคล เป็นเรื่องถกเถียงที่ยังไม่ยุติว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นการปรับตัวทางวิวัฒนาการหรือไม่ คือปรากฏการณ์นี้อาจจะมีผลดีต่อสุขภาพเพราะช่วยบุคคลให้จัดการความเครียดได้ หรือสนับสนุนให้ทำงานให้สำเร็จ แต่ในด้านตรงกันข้าม การคาดหวังเชิงบวกเกินความจริง อาจขัดขวางไม่ให้ทำการป้องกันที่เหมาะสมกับเรื่องเสี่ยงต่อสุขภาพ งานวิจัยไม่นานนี้จริง ๆ ให้หลักฐานว่า คนที่แปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก อาจจะได้ทั้งประโยชน์ในระยะสั้นและโทษในระยะยาว โดยเฉพาะก็คือ การยกย่องตนเองไม่มีสหสัมพันธ์กับความสำเร็จทางการศึกษา หรืออัตราการจบปริญญาในมหาวิทยาลัย

แบบจำลองจิตวิทยาสังคมของเทย์เลอร์และบราวน์สันนิษฐานว่า ความเชื่อเชิงบวกจะมีผลต่อความเป็นสุขทางจิต คือการประเมินตัวเองในทางบวก แม้กระทั่งไม่สมจริง ก็จะช่วยให้สุขภาพจิตดี ส่วนความเป็นสุขในที่นี้หมายถึงการรู้สึกดีเกี่ยวกับตน การมีความคิดสร้างสรรค์ทำงานได้คล่อง การสร้างความสัมพันธ์ที่น่าพอใจกับผู้อื่น และการจัดการความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็น ปรากฏการณ์นี้ มีประโยชน์ช่วยให้บุคคลผ่านเหตุการณ์เครียดหรือเหตุการณ์ที่ก่อความบาดเจ็บทางกายหรือใจ เช่น ความเจ็บป่วยที่เสี่ยงต่อชีวิต หรืออุบัติเหตุรุนแรง คนที่พัฒนาและรักษาความเชื่อเชิงบวกเมื่อเผชิญกับปัญหาสำคัญเหล่านี้ มักจะดำเนินการไปได้ดีกว่า และเครียดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยทางจิตวิทยาแสดงว่า ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งแจ้งว่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคนที่ไม่เคยมี กระบวนการเช่นนี้อาจช่วยป้องกันสุขภาพจิต เพราะว่า สามารถที่จะใช้ประสบการณ์แย่ ๆ ปลุกความรู้สึกเกี่ยวกับความหมายและเป้าหมายแห่งชีวิต ซึ่งสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่อง psychological resilience (ความยืดหยุ่นทางจิต/การฟื้นคืนตนได้ทางจิต) หรือความสามารถของบุคคลที่จะแก้ไขจัดการสู้กับปัญหาและความเครียด เช่น การยกย่องตน (self-enhancement) สัมพันธ์กับการฟื้นคืนตนได้ในบุคคลที่อยู่ในตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์หรือใกล้ตึกในเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

ความเชื่อเชิงบวกบ่อยครั้งช่วยให้ทำงานได้มากกว่าและทนกว่า ซึ่งถ้าไม่เชื่อก็อาจจะเลิกไปกลางคัน คือเมื่อเชื่อว่าตนสามารถทำเป้าหมายที่ยากให้สำเร็จ ความคาดหวังนี้บ่อยครั้งจะช่วยให้เกิดกำลังใจและความกระตือรือร้น มีผลเป็นความก้าวหน้าที่ถ้าไม่เชื่อก็จะเป็นไปไม่ได้ ปรากฏการณ์นี้ อาจจะอ้างได้ว่าเป็นการปรับตัว เพราะช่วยให้คนมีความหวังเมื่อเผชิญกับความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้

นอกจากนั้นแล้ว การแปลสิ่งเร้าผิดยังเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ที่ดี คือ งานวิจัยแสดงทิศทางว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกเป็นเหตุของอารมณ์ที่ดี

แต่งานวิจัยหลังจากนั้นกลับพบว่า การแปลสิ่งเร้าผิดทุกอย่าง จะเชิงบวกหรือเชิงลบก็ดี สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้า และก็มีงานศึกษาอื่น ๆ อีกด้วยที่ปฏิเสธความสัมพันธ์ระหว่างการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกกับสุขภาพจิต ความเป็นสุข หรือความพอใจในชีวิต โดยยืนยันว่า การรับรู้ความจริงที่ถูกต้อง เข้ากับความสุขในชีวิต

ในงานปี 1992 ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเคารพในตน (self-esteem) กับการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก นักวิจัยพบกลุ่มคนที่เคารพในตนสูงโดยที่ไม่แปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก และคนเหล่านี้ก็ไม่ได้เศร้าซึม ไม่ได้เป็นโรคประสาท ไม่ได้ปรับตัวเข้ากับชีวิตได้ไม่ดี ไม่ได้ผิดปกติทางบุคลิกภาพ และดังนั้น จึงสรุปว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกไม่จำเป็นต่อความเคารพในตน และเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีทั้งการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกและความเคารพในตนสูง กลุ่มที่ไม่แปลสิ่งเร้าผิดที่เคารพในตนสูง สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ตนเองได้ดีกว่า มีบุคลิกภาพที่เข้ากันดีกว่า และมีระดับ psychoticism ที่ต่ำกว่า

งานวิเคราะห์อภิมานที่วิเคราะห์งานศึกษา 118 งานที่มีผู้ร่วมการทดลอง 7,013 คนพบว่า มีงานศึกษาที่สนับสนุนแนวคิดของสัจนิยมเหตุซึมเศร้า (depressive realism) มากกว่าไม่สนับสนุน แต่งานเหล่านี้มีคุณภาพแย่กว่า ใช้ตัวอย่างที่ไม่ได้เป็นคนไข้ (non-clinical) ทำการอนุมานโดยอุปนัยง่าย ๆ กว่า ให้ผู้ร่วมการทดลองแจ้งผลวัดเองแทนที่จะใช้การสัมภาษณ์ และใช้วิธีการทางความเอนเอียงโดยใส่ใจ (attentional bias) หรือการประเมินโอกาสที่จะเกิดขึ้น (judgment of contingency) เป็นวิธีวัดค่าสัจนิยมเหตุซึมเศร้า เพราะว่าวิธีการเช่นการระลึกถึงคำวิจารณ์และการประเมินผลงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถใช้วัดได้เหมือนกัน มักจะแสดงผลที่คัดค้านสัจนิยมเหตุซึมเศร้า

นอกจากช่วยให้ปรับตัวทางจิตได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ความสามารถสร้างและรักษาความเชื่อเมื่อเผชิญเหตุร้าย ก็จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย งานวิจัยแสดงว่า ชายที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือได้วินิจฉัยว่าเกิดโรคเอดส์แล้ว และประเมินความสามารถควบคุมสภาวะสุขภาพของตนอย่างไม่สมจริงเชิงบวก ใช้เวลานานกว่าที่จะปรากฏอาการต่าง ๆ มีการดำเนินของโรคที่ช้ากว่า และมีผลดีทางใจอื่น ๆ เช่นการยอมรับความจริง

มีความเสี่ยงที่เป็นไปได้หลายอย่างถ้ามีการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกเกี่ยวกับคุณสมบัติของตนและสิ่งที่อาจจะเกิดในอนาคต แรกสุดก็คือ อาจจะตั้งตนให้มีเรื่องแปลกใจแบบไม่น่ายินดีในอนาคตที่ไม่สามารถรับได้ เมื่อความเชื่อเชิงบวกที่ไม่สมจริงไม่ตรงกับความจริง และอาจจะต้องจัดการปัญหาที่ตามมา แต่ว่า งานวิจัยเสนอว่า โดยมากแล้ว ผลลบเช่นนี้ไม่เกิดขึ้น คือ ความเชื่อของคนจะตรงกับความจริงมากกว่าในช่วงต่าง ๆ ที่การยอมรับความจริงจะช่วยตนได้ดี เช่น เมื่อวางแผนในเบื้องต้น หรือเมื่อจะต้องรับผิดชอบหรือได้รับการตอบสนองที่ไม่ดีจากสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นแล้ว ถึงจะเกิดเหตุการณ์ร้ายหรือความล้มเหลว ก็ไม่ใช่ว่าจะเสียโอกาสทุกอย่างไป เพราะว่าความเชื่อเชิงบวกเกินจริงก็จะช่วยให้ทำการต่อ ๆ ไปได้

ความเสี่ยงที่สองก็คือ คนที่แปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกจะตั้งเป้าหมายหรือดำเนินการที่มีโอกาสจะล้มเหลวมากกว่าสำเร็จ แต่ความเป็นห่วงนี้ดูจะไม่มีหลักฐาน คืองานวิจัยแสดงว่า เมื่อคนกำลังคิดถึงแผนการในอนาคตสำหรับตน เช่น จะรับงานหรือศึกษาต่อในขั้นบัณฑิตศึกษา ความคิดมักจะใกล้กับความจริง แต่ว่า การดำเนินการตามแผนนั้นอาจจะทำด้วยความรู้สึกเชิงบวกมากเกินไป คือ แม้ว่าจะไม่มีอะไรประกันได้ว่า การพยากรณ์ที่สมจริงจะกลายเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่ว่า การเปลี่ยนความคิดแบบสมจริงสมจังเมื่อวางแผน ไปเป็นการมองโลกในแง่ดีเมื่อดำเนินการ อาจจะเป็นพลังช่วยให้ทำงานที่ยากจากต้นจนจบได้สำเร็จ

ปัญหาที่ 3 ก็คือปรากฏการณ์นี้อาจจะมีโทษทางสังคม หลักฐานมาจากงานศึกษาปี 1989 ที่ตรวจดูการประเมินความสามารถที่ยกย่องตนเอง เกี่ยวกับนิยามโดยเฉพาะ ๆ ของคุณลักษณะและความสามารถ ผู้วิจัยเสนอว่า โทษทางสังคมเกิดขึ้นเมื่อบุคคลเห็นความสามารถที่ตนนิยามเท่านั้น ว่าเป็นปัจจัยสำคัญให้ทำงานได้สำเร็จ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อคนไม่รู้ว่า มีนิยามของความสามารถอย่างอื่น ๆ อีกที่เป็นปัจจัยให้ถึงความสำเร็จได้ การประเมินความเป็นสุขของตนในอนาคตจึงจะเกินความจริง

โทษอย่างที่ 4 อาจเกิดขึ้นเมื่อรู้ว่าความเก่งจริงของตนไม่ตรงกับความคิด เพราะว่าสามารถทำลายความมั่นใจ แล้วทำให้ทำการได้แย่ลงในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นต้น

ดังนั้น แม้ว่าการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกจะมีประโยชน์ในระยะสั้น แต่ก็มาพร้อมกับโทษในระยะยาว นอกจากนั้นแล้ว ยังปรากฏหลักฐานเชื่อมโยงกับความเคารพตนและการอยู่เป็นสุขที่แย่ลง การหลงตัวเอง (narcissism) และความสำเร็จทางการศึกษาที่แย่ลงในนักเรียนนักศึกษา

แม้ว่าจะมีงานศึกษาทางวิชาการในเรื่องการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกมากกว่า แต่ก็ยังมีการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงลบอย่างเป็นระบบที่ปรากฏในสถานการณ์ที่ต่างกันเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่านักศึกษามหาวิทยาลัยจะบอกว่าตนมีโอกาสที่จะมีชีวิตจนกระทั่งอายุ 70 มากกว่าโดยเฉลี่ย แต่ก็เชื่อว่ามีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 100 น้อยกว่าโดยเฉลี่ย คนมักจะคิดว่าตนสามารถมากกว่าคนโดยเฉลี่ยในงานที่ง่ายเช่นการขี่จักรยานสองล้อ และคิดว่าสามารถน้อยกว่าคนโดยเฉลี่ยในงานที่ยากเช่นการขี่จักรยานล้อเดียว และปรากฏการณ์หลังนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์แย่กว่าโดยเฉลี่ย (Worse-than-average effect) ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว คนมักจะประเมินตัวเองสูงเกินจริง เมื่อตัวเองอยู่ในระดับสูงจริง ๆ และมักจะประเมินตนเองต่ำเกินจริง เมื่อตัวเองอยู่ในระดับต่ำจริง ๆ

ทฤษฎีสัจนิยมเหตุซึมเศร้า (depressive realism) เสนอว่า คนซึมเศร้ามองตนเองและโลกอย่างเป็นจริงมากกว่าคนมีสุขภาพจิตดี ธรรมชาติของความซึมเศร้าดูเหมือนจะมีบทบาทในการลดการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก ยกตัวอย่างเช่น คนที่เคารพตนน้อย หรือซึมเศร้าเล็กน้อย หรือว่าทั้งสองอย่าง จะมองตัวเองอย่างสมดุลกว่า และโดยนัยเดียวกัน คนซึมเศร้าเล็กน้อย จะไม่ค่อยประเมินความสามารถควบคุมเหตุการณ์เกินความเป็นจริง และไม่ประเมินเหตุการณ์ข้างหน้าอย่างเอนเอียง แต่ว่า สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ อาจจะไม่ใช่เพราะว่าคนซึมเศร้าแปลสิ่งเร้าผิดน้อยกว่าคนอื่น มีงานศึกษาเช่นงานในปี 1989 ที่แสดงว่าคนซึมเศร้าเชื่อว่าตนไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ แม้ว่าจริง ๆ จะสามารถ ดังนั้น การมองเห็นความเป็นจริงจึงไม่ได้ดีกว่าโดยทั่วไป

งานวิจัยในปี 2007 เสนอว่า คนซึมเศร้าเอนเอียงมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีผลเป็น "สัจนิยมเหตุซึมเศร้า" และจึงประเมินความจริงได้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ งานวิจัยในปี 2005 และ 2007 พบว่า การประเมินเกินความจริงของคนที่ไม่ซึมเศร้า จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเวลาระหว่างการแสดงเหตุการณ์กับการประเมินผลนานเพียงพอ ซึ่งบอกเป็นนัยว่า เป็นอย่างนี้เพราะว่าบุคคลปกติจะรวมเอาข้อมูลของเหตุการณ์ด้านอื่น ๆ เข้าในการพิจารณาด้วยโดยไม่เหมือนกับคนซึมเศร้า คือคนซึมเศร้าไม่สามารถประมวลข้อมูลได้เหมือนกับคนปกติ

นักวิจัยผู้หนึ่งตั้งสมมติฐานว่า การบิดเบือนความจริงเชิงบวกแบบเล็กน้อยอาจจะดีที่สุด เพราะว่า คนที่คิดบิดเบือนในระดับนี้ อาจจะมีสุขภาพจิตดีที่สุด


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301