ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีน

การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีน (อังกฤษ: k-means clustering ) เป็นวิธีหนึ่งในวิธีการแบ่งนับเวกเตอร์ (vector quantization) ที่มีรากฐานมาจากการประมวลผลสัญญาณ วิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับการแบ่งกลุ่มข้อมูล (cluster analysis) ทำเหมืองข้อมูล (data mining) การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนใช้สำหรับการแบ่งการสังเกตจำนวน n สิ่งเป็น k กลุ่ม โดยแต่ละการสังเกตจะอยู่ในกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ย(ที่ใช้เป็นแม่แบบ)ใกล้เคียงกันที่สุด โดยวิธีนี้จะเป็นการแบ่งพื้นที่ข้อมูลไปเป็นแผนภาพโวโรนอย

วิธีการจัดกลุ่มนี้อยู่ในกลุ่มความซับซ้อนของปัญหาเอ็นพีแบบยาก (NP-hard) แต่อย่างไรเราสามารถนำขั้นตอนวิธีแบบศึกษาสำนึก (heuristic algorithm) มาใช้หาจุดศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลจากการลู่เข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเหมือนกับขั้นตอนวิธีหาค่าคาดหมายสูงสุด (expectation-maximization algorithm) สำหรับโมเดลแบบผสม (Mixture Model) ของการแจกแจงปรกติ (Gaussian distribution) เนื่องจากทั้งสองขั้นตอนวิธีจะใช้แนวทางกระทำซ้ำการกลั่นกรอง (iterative refinement approach) นอกจากนี้ ทั้งสองขั้นตอนวิธียังใช้จุดศูนย์กลางของคลัสเตอร์สร้างแบบจำลองข้อมูล อย่างไรก็ตาม การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนมีแนวโน้มจะได้คลัสเตอร์ผลลัพธ์ที่มีตำแหน่งขอบเขตใกล้เคียงกัน ในขณะที่ขั้นตอนวิธีหาค่าคาดหมายสูงสุดนั้นยอมให้คลัสเตอร์ผลลัพธ์มีรูปร่างที่แตกต่างกันได้

ขั้นตอนวิธีนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับวิธีการค้นหาเพื่อนบ้านใกล้สุด (k-nearest neighbor) ซึ่งเป็นเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่เป็นที่นิยมอีกอย่างหนึ่ง

สมมติให้มีเซตของการสังเกต (x1, x2, …, xn) โดยแต่ละการสังเกตเป็นเวกเตอร์ค่าจริงใน d มิติ การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนจะตัดแบ่งการสังเกตจำนวน n ครั้งให้เป็นข้อมูลจำนวน k ชุด (โดยที่ k น้อยกว่าหรือเท่ากับ n) ในเซต S = {S1, S2, …, Sk} ที่จะทำให้ค่าผลบวกกำลังสองภายในคลัสเตอร์ (within-cluster sum of squares; WCSS) มีค่าน้อยที่สุด. หรือพูดได้อีกอย่างว่า จุดประสงค์ของการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนคือการหาผลลัพธ์ต่อไปนี้:

คำศัพท์ "k-means" ได้ถูกระบุใช้ครั้งแรกโดย James MacQueen ในปี พ.ศ. 2510, แม้ว่าแนวคิดเริ่มแรกจะเป็นของ Hugo Steinhaus ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2500. และขั้นตอนวิธีมาตรฐานนั้นก็ถูกเสนอขึ้นในปี พ.ศ. 2500 โดย Stuart Lloyd เพื่อเป็นเทคนิคสำหรับการกล้ำรหัสของพัลส์ (pulse-code modulation) อย่างไรก็ตามขั้นตอนวิธีไม่ได้ถูกเผยแพร่ออกไปจาก Bell Labs จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 ในปี พ.ศ. 2508 E.W.Forgy ได้ตีพิมพ์วิธีเดียวกันนี้เช่นกัน จึงทำให้บางครั้งวิธีนี้ถูกกล่าวถึงในชื่อ Lloyd-Forgy นอกจากนี้ได้มีการตีพิมพ์แบบฉบับที่มีการพัฒนาขึ้นไป โดย Hartigan and Wong ในปี พ.ศ. 2518/2522

ขั้นตอนวิธีที่ใช้มากที่สุดใช้แนวทางกระทำซ้ำการกลั่นกรอง (iterative refinement approach) และถูกเรียกว่า การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีน (k-means algorithm) หรือในบางครั้งสามารถพบในชื่อ Lloyd's algorithm โดยเฉพาะในวงการวิทยาการคอมพิวเตอร์ เริ่มด้วยเซตเริ่มต้นประกอบด้วยค่าเฉลี่ย k ค่า m1,…,mk แล้วจากนั้นจะเป็นการทำซ้ำระหว่างสองขั้นตอน

จากขั้นตอนข้างต้น ค่าที่ได้จะลู่เข้าหาค่าๆหนึ่งและไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการกำหนดค่าอีก และเนื่องจากทั้งสองขั้นตอนให้ค่า WCSS ที่เหมาะที่สุด และการเลือกแบ่งกลุ่มข้อมูลมีวิธีได้จำกัด ขั้นตอนวิธีนี้จะต้องลู่เข้าหาค่า local optimum ทั้งนี้ทั้งนั้นวิธีนี้ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะพบค่าที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ หรือ global optimum ขั้นตอนวิธีนี้ถูกใช้บ่อยเพื่อการแจกแจงสิ่งของไปยังกลุ่มที่ใกล้ที่สุดด้วยระยะห่าง ขั้นตอนวิธีมาตรฐานมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ค่า WCSS มีค่าน้อยที่สุดที่เป็นไปได้ และใช้ค่ากำลังสองน้อยสุดกำหนดระยะห่าง ซึ่งก็คือ ค่ากำลังสองของระยะทางแบบยุคลิด อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ฟังก์ชันระยะห่างอื่นๆ นอกเหนือไปจากค่ากำลังสองของระยะทางแบบยุคลิด อาจทำให้ขั้นตอนวิธีนี้ไม่เกิดการลู่เข้า[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมของกระบวนการ (modifications of k-means) เช่น เคมีนแบบทรงกลม (spherical k-means) และ k-medoids เพื่อทำให้การคำนวณระยะห่างแบบอื่นๆใช้กับขั้นตอนวิธีนี้ได้

โดยทั่วไปแล้ว จะใช้วิธีของ Forgy และวิธีการตัดแบ่งแบบสุ่ม (Random Partition) เป็นวิธีการกำหนดค่าตั้งต้น วิธีของ Forgy คือการเลือกข้อมูลการสังเกต k อย่างขึ้นมาแบบสุ่ม จากข้อมูลทั้งหมด แล้วใช้เป็นค่าเฉลี่ยเริ่มต้น ส่วนการตัดแบ่งข้อมูลแบบสุ่มนั้นจะเริ่มต้นด้วยการสุ่มจัดข้อมูลการสังเกตแต่ละอันไปอยู่ในกลุ่มใดๆ และจากนั้นจะทำการปรับค่าตามขั้นตอนที่กล่าวไปแล้ว ดังนั้นค่าเฉลี่ยเริ่มต้นที่ได้จาการปรับค่าจะเป็นจุดเซนทรอยด์ (centroid) ของข้อมูลการสังเกตในแต่ละคลัสเตอร์ที่สร้างขึ้นมาแบบสุ่มนั่นเอง วิธีของ Forgy มีแนวโน้มที่จะกระจายค่าเฉลี่ยเริ่มต้น ในขณะที่การตัดแบ่งข้อมูลแบบสุ่มจะเลือกค่าเริ่มต้นที่ใกล้กับจุดกึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด นอกจากนี้ อ้างอิงจาก Hamerly et al., การตัดแบ่งข้อมูลแบบสุ่มที่เหมาะกับขั้นตอนวิธีการหา k-harmonic means และ fuzzy k-means มากกว่า ในทางกลับกัน สำหรับขั้นตอนวิธีหาค่าคาดหมายสูงสุด หรือขั้นตอนวิธีการหาเคมีนแบบมาตรฐาน วิธีของ Forgy จะเป็นที่นิยมมากกว่า

2) สร้างคลัสเตอร์ k กลุ่ม โดยเชื่อมโยงทุกข้อมูลการสังเกตด้วยค่าเฉลี่ยที่ใกล้ที่สุด เส้นแบ่งในที่นี้แสดงให้เห็นแผนภาพของโวโรนอย (Voronoi diagram) ที่สร้างขึ้นจากค่าเฉลี่ย

การที่เป็นขั้นตอนวิธีแบบศึกษาสำนึก มันจะไม่สามารถรับประกันได้ว่ากระบวนการนี้จะลู่เข้าหา global optimum และการจัดกลุ่มในตอนเริ่มต้น หรือการกำหนดค่าตั้งต้นจะมีผลอย่างมากต่อผลลัพธ์ อย่างไรก็ตามขั้นตอนวิธีนี้สามารถหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องปรกติที่จะทดสอบข้อมูลหลายๆครั้งด้วยเงื่อนไขเริ่มต้นที่แตกต่างกัน แต่ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดค่าเคมีน (k-means) อาจจะลู่เข้าอย่างช้า ซึ่งมีความเป็นไปได้แม้แต่กับข้อมูลจำนวนน้อยๆ และมีการแสดงอย่างเฉพาะเจาะจงว่า สำหรับในบางตัวอย่างข้อมูล ที่มีแค่สองมิติ การหาค่าเคมีนเป็นขั้นตอนวิธีเวลาแบบเลขชี้กำลัง (exponential time) หรือก็คือ 2?(n) ในการลู่เข้า ข้อมูลดังกล่าวเหมือนว่าจะไม่เกิดขึ้นในการปฏิบัติจริง จึงสามารถยืนยันได้ว่า เวลาที่ใช้ทำงานที่ปรับเรียบ (smoothed running time) ของขั้นตอนการหาค่าเคมีนเป็นเป็นฟังก์ชันพหุนาม

ขั้นตอนการกำหนดค่ามีอีกชื่อหนึ่งคือ ขั้นตอนการคาดหมาย (expectation step) และขั้นตอนการปรับค่าสามารถเรียกว่า ขั้นตอนการหาค่าสูงสุด maximization step ทำให้ขั้นตอนวิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนวิธีหาค่าคาดหมายสูงสุดแบบทั่วไป (generalized expectation-maximization algorithm)

เมื่อกล่าวถึงความซับซ้อนเชิงคำนวณ (computational complexity) การหาคำตอบที่เหมาะสม ในการแบ่งข้อมูลแบบเคมีนสำหรับข้อมูลการสังเกต ใน d มิติ จะเป็น

ดังนั้น ประเภทของขั้นตอนวิธีแบบศึกษาสำนึก เช่น ขั้นตอนวิธีของ Lloyds จึงถูกใช้อย่างแพร่หลาย เวลาที่ใช้ทำงานของขั้นตอนวิธีของ Lloyds จะอยู่ในรูป โดยที่ค่า n เป็นจำนวนของเวกเตอร์ข้อมูล ใน d มิติ ค่า k เป็นจำนวนของคลัสเตอร์ และค่า i เป็นจำนวนของการวนซ้ำจนกระทั่งผลลัพธ์ลู่เข้าและไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้างเป็นกลุ่มก้อน การวนซ้ำในจำนวนรอบน้อยๆก็มักจะเห็นการลู่เข้า และผลลัพธ์จะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหลังจากการวนซ้ำสิบกว่าครั้ง ดังนั้นขั้นตอนวีธีของ Lloyds ในทางปฏิบัติจะระบุว่ามีความซับซ้อนแบบเชิงเส้น

ส่วนต่อจากนี้จะเป็นความรู้เพิ่มเติมล่าสุดเกี่ยวกับพฤติกรรมความซับซ้อนของขั้นตอนวิธีนี้

องค์ประกอบสองอย่างที่ทำให้การแบ่งกลุ่มแบบเคมีนเป็นอัลกอริธึมที่มีประสิทธิภาพแต่ก็มักจะถูกพิจารณว่าเป็นข้อเสียของการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนได้แก่:

ปัจจัยที่จำกัดความสามารถของการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนคือโมเดลของกลุ่มข้อมูล การแบ่งกลุ่มของข้อมูลแบบเคมีนคาดการณ์โมเดลของกลุ่มข้อมูลเป็นรูปแบบของทรงกลม และข้อมูลสามารถถูกแบ่งกลุ่มได้โดยที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มข้อมูลลู่เข้าถึงจุดศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลทรงกลมนั้น กลุ่มข้อมูลแต่ละกลุ่มถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะมีขนาดที่ใกล้เคียงกันทำให้การกำหนดกลุ่มของข้อมูลแต่ละตัวไปยังจุดศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลที่อยู่ใกล้ที่สุดถูกต้อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาในการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนต่อกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะไม่ตรงไปตามความคาดการณ์ที่ถูกกำหนดไว้ในอัลกอริธึม

เราสามารถมองผลลัพธ์ของการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนได้ในรูปแบบของแผนภาพโวโรนอยของค่าเฉลี่ยกลุ่มข้อมูล เนื่องจากข้อมูลถูกแบ่งครึ่งทางระหว่างระยะห่างของจุดศุนย์กลางของกลุ่มข้อมูลแต่ละกลุ่มดังนั้นจึงอาจจะทำให้เกิดการแบ่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสมอย่างที่สุดได้ (ดูตัวอย่างใน กลุ่มข้อมูล "mouse") การแจกแจงแบบปรกติ (The Gaussian model)ซึ่งใช้โดย Expectation-maximization (EM) อัลกอริธึม มีความยึดหยุ่นในการแบ่งข้อมูลเนื่องจากมีการคำนวณโดยใช้ทั้งการแปรปรวนและการแปรปรวนร่วมเกี่ยว ส่งผลให้สามารถแบ่งกลุ่มข้อมูลที่มีขนาดแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มได้ดีกว่าการแบ่งกลุ่มแบบเคมีน

การแบ่งกลุ่มแบบเคมีนเป็นอัลกอริธึมที่ง่ายสร้างและสามารถใช้ได้กับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนจึงถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลายหัวข้อ ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาด, คอมพิวเตอร์วิทัศน์, สถิติ, ดาราศาสตร์ และ เกษตรกรรม. การแบ่งกลุ่มแบบเคมีนมักถูกใช้เป็นตัวประมวณผลก่อนการเริ่มใช้อัลกอริทึมอื่นๆ

การแบ่งกลุ่มแบบเคมีนถูกริเริ่มขึ้นเพื่อใช้ในการประมวลสัญญาณและยังคงถูกใช้มาจนถึงในปัจจุบันนี้ ยกตัวอย่างเช่นในคอมพิวเตอร์กราฟิก, การแบ่งนับสี (Color quantization) เป็นกระบวนการของการลดจำนวนชนิดสีในแต่ละภาพให้เหลือเพียงจำนวนสีเท่ากับ k ตามที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งการการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนนี้สามารถนำมาใช้เพื่อปฏิบัติการแบ่งนับสีได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ การใช้ประโยชน์จากการแบ่งนับเวกเตอร์อย่างอื่นได้แก่การชักตัวอย่างแบบไม่สุ่ม (non-random sampling) ซึ่งการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนช่วยในการเลือก k ชนิดของข้อมูลที่แตกต่างกันจากจำนวนข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการดำเนินการวิเคราะห์ผลต่อไป

ในการวิเคราะห์กลุ่มข้อมูล (Cluster Analysis) การแบ่งกลุ่มแบบเคมีนสามารถถูกนำมาใช้ในการแบ่งเซ็ตข้อมูลอินพุทให้เป็น k ส่วนได้ อย่างไรก็ตามด้วยการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนเพียงอย่างเดียวไม่ยืดหยุ่นพอที่จะใช้แบ่งกลุ่มข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากในการเลือกค่าของ k ที่เหมาะสมต่อกลุ่มข้อมูลและข้อจำกัดที่การแบ่งกลุ่มแบบเคมีนนั้นไม่สามารถใช้แบ่งเซ็ตข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลขได้ ด้วยเหตุนี้อัลกอริทึมอื่นๆจึงถูกพัฒนาขึ้นทดแทนการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนได้ถูกนำไปใช้ในขั้นตอนฟีเจอร์เลิร์นนิ่ง (Feature learning) ทั้งในการเรียนรู้แบบมีผู้สอน (supervised learning) การเรียนรู้แบบกึ่งมีผู้สอน (semi-supervised learning) และการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (unsupervised learning) ขั้นตอนในการปฏิบัติเริ่มจากการสร้างกลุ่มข้อมูลจำนวน k กลุ่มด้วยการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนโดยใช้ข้อมูลสอน (training data) หลังจากนั้นจึงโปรเจกต์ข้อมูลอินพุทไปยังฟีเจอร์สเปซใหม่ โดยใช้แมทริกส์โปรดัคระหว่างข้อมูลและตำแหน่งของศูนย์กลางของแต่ละกลุ่มข้อมูล ระยะห่างระหว่างข้อมูลอินพุทและศูนย์กลางของแต่ละกลุ่มข้อมูล ฟังก์ชันที่ชี้ข้อมูลอินพุทถึงจุดศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลที่ใกล้ที่สุด หรือสมูทฟังก์ชันของระยะห่างระหว่างข้อมูลและศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลเป็นต้น

การใช้งานของการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนนี้ประสบความสำเร็จในร่วมใช้งานกับตัวแยกแบบเชิงเส้น (linear classifier) สำหรับข้อมูลแบบกึ่งมีผู้สอนในการประมวลภาษาธรรมชาติ และในคอมพิวเตอร์วิทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรู้จำวัตถุ (object recognition) นั้นการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนสามารถให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับวิธีการฟีเจอร์เลิร์นนิ่งที่ซับซ้อนแบบอื่นยกตัวอย่างเช่น [autoencoders]] และ [restricted Boltzmann machines]. อย่างไรก็ตามการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนนั้นต้องการจำนวนข้อมูลอินพุทที่มีขนาดมากกว่าที่วิธีฟีเจอร์เลิร์นนิ่งที่ซับซ้อนที่กล่าวมาข้างต้นต้องการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากในการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนนั้น ข้อมูลแต่ละอันส่งผลถึงฟีเจอร์เพียงอันเดียวมากกว่าที่จะส่งผลถึงหลายๆฟีเจอร์

เราสามารถกล่าวได้ว่าการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนและอัลกอริทึมแบบ EM นั้นเป็นเพียงแค่เคสพิเศษของการประมาณรูปร่างผสมของเกาส์ (Gaussian mixture model) ดังนั้นโดยปรกติแล้วเราจึงสามารถเปลี่ยนรูปของการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนให้อยู่ในรูปของรูปร่างผสมของเกาส์ได้ นอกจากรูปร่างผสมของเกาส์แล้ว เรายังสามารถเปลี่ยนรูปของการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนให้อยู่ในรูปของอัลกอริทึมแบบ K-SVD ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่คาดการณ์จุดข้อมูลแต่ล่ะจุดในรูปแบบของผลรวมเชิงเส้นของ"เวกเตอร์โค้ดบุ้ค" (codebook vector) โดยที่การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนนั้นมีความข้องเกี่ยวกับกรณีที่มีการใช้เวกเตอร์โค้ดบุ้คเพียงเวกเตอร์เดียวด้วยค่าน้ำหนักเท่ากับหนึ่งเท่านั้น

การแบ่งกลุ่มแบบมีนชิฟท์นั้นเป็นอัลกอริทึมที่คงจำนวนของข้อมูลในเซ็ตไว้ให้มีขนาดที่เท่ากับจำนวนข้อมูลอินพุทเริ่มต้น ในจุดเริ่มต้นของอัลกอริทึมนั้นเซ็ตของข้อมูลนี้เกิดจากการคัดลอกมาจากเซ็ตข้อมูลอินพุท หลังจากนั้นในแต่ละการวนซ้ำข้อมูลในเซ็ตนี้ได้ถูกแทนที่ด้วยค่าเฉลี่ยของจุดข้อมูลที่อยู่ในเซ็ตที่อยู่ภายในระยะทางที่กำหนดจากจุดข้อมูลจุดนั้น ในทางกลับกันการที่การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนจำกัดการอัปเดตข้อมูลนี้ให้อยู่ที่ข้อมูล k จุดและเปลี่ยนค่าของแต่ละจุดใน k จุดนี้ด้วยค่าเฉลี่ยของจุดข้อมูลทุกจุดที่ในเซ็ตข้อมูลอินพุทที่อยู่ใกล้กับจุดจุดนั้นที่สุดเมื่อเทียบกับจุดอื่นใน k จุด การแบ่งกลุ่มแบบมีนชิฟท์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนนั้นเรียกว่า likelihood mean shift ซึ่งในอัลกอริทึมนี้มีการแทนที่ค่าของเซ็ตข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยของจุดข้อมูลทั้งหมดในเซ็ตอินพุทที่มีระยะห่างภายในระยะทางที่กำหนดไว้จากเซ็ตนั้นๆ การแบ่งกลุ่มแบบมีนชิฟท์นั้นมีข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งเหนือการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนซึ่งคือการที่การแบ่งกลุ่มแบบมีนชิฟท์นั้นไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดจำนวนของกลุ่มข้อมูลเพราะว่าการแบ่งกลุ่มแบบมีนชิฟท์นั้นจะหาจำนวนของกลุ่มข้อมูลที่จำเป็นโดยอนิมัติ แต่อย่างไรก็ตามการแบ่งกลุ่มแบบมีนชิฟท์นั้นใช้เวลาในการประมวลผลนานกว่าการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนมาก

มีการแสดงให้เห็นในว่าผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปทั่วไปของการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีน (ร่วมด้วยตัวบ่งชี้จุดข้อมูลถึงแต่ละกลุ่มข้อมูล) คือผลจากการวิเคราะห์ส่วนประกอบสำคัญ (PCA) และซับสเปซของการวิเคราะห์ส่วนประกอบสำคัญที่ถูกขยายในทิศทางที่สำคัญกับซับสเปซของศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลที่เกิดจากการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน อย่างไรก็ตามการที่การวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญนั้นคือผลลัพธ์โดยทั่วไปของผลลัพธ์จากการแบ่งกลุ่มแบบเคมีนนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด (โปรดดูตัวอย่าง), และมันก็ตรงไปตรงมาที่จะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างหักล้างกับข้อความที่ว่าซับสเปซของจุดศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลถูกขยายโดยทิศทางที่สำคัญ

มีการแสดงให้เห็นใน ว่าภายใต้ข้อกำหนดบางประการและเมื่อข้อมูลอินพุทได้รับการประมวลผลเบื้องค้นด้วยอัลกอริทึม [whitening transformation] การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนนั้นจะให้ผลลัพธ์ที่มีค่าเท่ากับการวิเคราะห์องค์ประกอบอิสระแบบเชิงเส้น

การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนมีการทึกทักเอาว่าลำดับของจุดข้อมูลแต่ละจุดในเซ็ตข้อมูลอินพุทนั้นไม่มีผลต่ออัลกอริทึม การกรองข้อมูลแบบสองฝ่าย ([bilateral filter]) นั้นเหมือนกับการแบ่งกลุ่มข้อมูลของเคมีนด้วยตรงที่ว่ามันมีการเก็บรักษาเซ็ตของข้อมูลในขณะที่มีการแทนที่ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยในแต่ละการวนซ้ำ อย่างไรก็ตามการกรองข้อมูลแบบสองฝ่ายจำกัดการคำนวณของค่าเฉลี่ย (แบบ kernel weighted)ให้รวมถึงเพียงแค่จุดข้อมูลที่ใกล้ในลำดับของข้อมูลอินพุท ด้วยเหตุนี้การกรองข้อมูลแบบสองฝ่ายจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับปัญหาเช่นการขจัดสัญญาณรบกวนในรูปภาพ (image denoising) ซึ่งการเรียงตัวของพิกเซลในภาพนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีดอยด์นั้นมีความใกล้เคียงกับการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนในด้านของการแบ่งกลุ่มข้อมูลให้อยู่ใน k กลุ่มโดยทำให้ค่าความคลาดเลื่อนน้อยที่สุด จุดที่แตกต่างกันนั้นคือการที่การแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีนดอยด์กำหนดให้จุดศูนย์กลางของแต่ละกลุ่มข้อมูลเป็นจุดข้อมูลจริงๆที่อยู่ในเซ็ตข้อมูล ไม่ใช่จุดศูนย์กลางที่ถูกคำนวณขึ้นดังเช่นในอัลกอริธึมของการแบ่งกลุ่มข้อมูลแบบเคมีน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406