การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนีรวมการเลือกตั้งสมาชิกบุนเดชตัก (ซึ่งบางทีถือเป็นสภาล่างของรัฐสภาสหพันธ์) ลันด์ทักของรัฐต่าง ๆ และการเลือกตั้งท้องถิ่น
หลายมาตราในหลายส่วนของกฎหมายหลักพื้นฐานแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วยการเลือกตั้งและสถาปนาข้อกำหนดแห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญอย่างการลงคะแนนลับ และข้อกำหนดว่าการเลือกตั้งทุกครั้งต้องกระทำโดยเสรีและเที่ยงธรรม กฎหมายหลักพื้นฐานยังกำหนดว่า สภานิติบัญญัติสหพันธ์ตรากฎหมายสหพันธ์โดยละเอียดเพื่อปกครองการเลือกตั้ง เรียก กฎหมายเลือกตั้ง มาตราดังกล่าวมาตราหนึ่ง คือ มาตรา 38 ซึ่งว่าด้วยการเลือกตั้งผู้ช่วยในบุนเดชตักสหพันธ์ มาตรา 38.2 แห่งกฎหมายหลักพื้นฐานสถาปนาสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป ว่า "ผู้ใดอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์จักมีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ใดที่อายุถึงอายุที่บรรลุนิติภาวะอาจได้รับเลือกตั้ง"
การเลือกตั้งสหพันธ์เยอรมันสำหรับสมาชิกบุนเดชตักทั้งหมด ซึ่งตัดสินผู้เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีตามลำดับ มีการเลือกตั้งสหพันธ์ในปี 2552 และ 2556
การเลือกตั้งสหพันธ์จัดประมาณทุกสี่ปี เกิดจากข้อกำหนดแห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญให้จัดการเลือกตั้ง 46 ถึง 48 เดือนหลังการประชุมบุนเดชตัก สามารถจัดการเลือกตั้งก่อนได้ในพฤติการณ์พิเศษทางรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างเช่น กรณีนายกรัฐมนตรีแพ้มติไม่ไว้วางใจใสบุนเดชตัก แล้วระหว่างระยะผ่อนผันก่อนบุนเดชตักสามารถลงมติเลือกผู้จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน นายกรัฐมนตรีสามารถขอประธานาธิบดีสหพันธ์ให้ยุบบุนเดชตักและจัดการเลือกตั้ง หากบุนเดชตักเลอกประชุมก่อนครบวาระสี่ปี ต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 100 วัน ประธานาธิบดีเป็นผู้เลือกวันที่การเลือกตั้งแน่ชัด และต้องเป็นวันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการ
ผู้มีสัญชาติเยอรมันอายุเกิน 18 ปีผู้พำนักในประเทศเยอรมนีเป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือนมีสิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยหลักไม่ต่างกัน
สภานิติบัญญัติสหพันธ์ในประเทศเยอรมนีมีรัฐสภาหนึ่งสภา คือ บุนเดชตัก (สภานิติบัญญัติสหพันธ์) ส่วนบุนเดซรัท (สภาสหพันธ์) เป็นตัวแทนของภูมิภาคและไม่ถือเป็นสภาเพราะสมาชิกมิได้มาจากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกบุนเดชตักใช้ระบบสัดส่วนสมาชิกผสม (mixed-member proportional) ผู้ออกเสียงลงคะแนนมีสองคะแนนเสียง คะแนนเสียงแรกเลือกสมาชิกบุนเดชตักสำหรับเขตเลือกตั้งของตน และคะแนนเสียงที่สองออกเสียงให้พรรคการเมือง ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงต่ำสุด (minimum threshold vote) ที่นั่งทั้งหมดซึ่งกำหนดในบุนเดชตักจัดสรรโดยสัดส่วนตามคะแนนเสียงที่สอง พรรคการเมืองที่ชนะในเขตในรัฐหนึ่งมากกว่าที่มีสิทธิตามจำนวนคะแนนเสียงพรรคการเมืองที่ได้ในรัฐนั้นให้เก็บที่นั่ง "เกิน" (overhang seat) เหล่านั้นไว้
บุนเดชตักมีสมาชิกในนาม 598 คน ได้รับเลือกตั้งวาระสี่ปี สมาชิก 299 คนหรือครึ่งหนึ่ง ได้รับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งคนเดียวโดยออกเสียงลงคะแนนแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (first-past-the-post) ส่วนอีก 299 คนจัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง (party list) เพื่อให้ได้การแบ่งเป็นสัดส่วนในสภานิติบัญญัติ และบัญชีรายชื่อใช้เพื่อทำให้ดุลของพรรคการเมืองตรงกับการกระจายของคะแนนเสียงที่สอง อาจเพิ่มที่นั่งเกินจากสมาชิกในนาม 598 คนได้ ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งสหพันธ์ปี 2552 มีที่นั่งเกิน 24 ที่นั่ง ทำให้มีทั้งหมด 622 ที่นั่ง เกิดจากพรรคการเมืองใหญ่ชนะเขตเลือกตั้งคนเดียวเพิ่มจากทั้งหมดที่กำหนดโดยคะแนนเสียงพรรคการเมืองตามสัดส่วนของพรรคนั้น
ประเทศเยอรมนีมีระบบหลายพรรคการเมืองโดยมีพรรคการเมืองเข้มแข็งสองพรรค และพรรคที่สามอื่น ๆ บ้างยังมีผู้แทนในบุนเดชตัก ตั้งแต่ปี 2533 มีห้าพรรค (นับ CDU และ CSU เป็นพรรคเดียว) ที่มีผู้แทนในบุนเดชตัก
ในปี 2551 มีการกำหนดการดัดแปลงระบบการเลือกตั้งบางอย่างภายใต้คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ ศาลวินิจฉัยว่า บทบัญญัติในกฎหมายเลือกตั้งสหพันธ์ซึ่งทำให้พรรคการเมืองมีน้ำหนักคะแนนเสียงลบ (negative vote weight) แล้วทำให้เสียที่นั่งเพราะคะแนนเสียงมากกว่า ละเมิดการรับรองตามรัฐธรรมนูญว่าระบบเลือกตั้งเท่าเทียมกันและโดยตรง
ศาลอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายสามปี ดังนั้น การเลือกตั้งสหพันธ์ปี 2552 จึงได้รับอนุญาตให้ดำเนินภายใต้ระบบก่อน การเปลี่ยนแปลงนี้กำหนดในวันที่ 30 มิถุนายน 2554 แต่กฎหมายที่เหมาะสมยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทันเส้นตายนั้น มีการตรากฎหมายเลือกตั้งใหม่ในปลายปี 2554 แต่ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ประกาศว่ามิชอบด้วยรัฐธรรมนูญอีกหนจากคดีจากพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มพลเมืองราว 4,000 คน
สุดท้าย สี่จากห้ากลุ่มแยกในบุนเดชตักตกลงการปฏิรูปการเลือกตั้งซึ่งจำนวนที่นั่งในบุนเดชตักจะเพิ่มขึ้นมากเท่าที่จำเป็นเพื่อรับประกันว่าจะมีการชดเชยที่นั่งเกินผ่านที่นั่งปรับระดับ (leveling seat) ที่กำหนดจำนวนผู้แทนตามส่วนของพลเมือง เพื่อรับรองความได้สัดส่วนสมบูรณ์ตามสัดส่วนคะแนนเสียงของพรรคการเมืองในระดับชาติ บุนเดชตักอนุมัติและตรากฎหมายการปฏิรูปการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งในประเทศเยอรมนี